ปากนกกระจอก มุมปากเป็นแผล ที่เด็ก ๆ หลายคน เป็นกัน ว่าแต่ ปากนกกระจอก เกิดจากอะไร ทำไมเด็ก ๆ ถึงชอบเป็นกัน ปากนกกระจอกเกิดจากอะไร วันนี้เรามีคำตอบ พร้อมกับวิธีการรักษาปากนกกระจอก มาฝากค่ะ
ปากนกกระจอก มุมปากเป็นแผล มุมปากเปื่อย
ปากนกกระจอกเกิดจาก อะไรกันนะ ปากนกกระจอก คือ ภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นตรงมุมปาก โดยจะเกิดอาการเจ็บปาก ปากแห้งและแตก เป็นแผล อาจมีรอยแดง บวม และตึงที่มุมปากข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการของโรคนี้เพียง 2-3 วัน หรือนานกว่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุ ที่ทำให้เกิดปากนกกระจอก
ทำไมถึงเป็นปากนกกระจอก ปากนกกระจอกเกิดจาก ?
ปากนกกระจอก รักษายังไง ปากนกกระจอก คืออะไร ปากนกกระจอกรักษา ยังไง ปากนกกระจอกเกิดจาก
ปากนกกระจอกเกิดจาก เป็นแผลที่มุมปาก โรคปากนกกระจอกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคนี้คือเชื้อแคนดิดา (Candida) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็กทารก นอกจากนี้ โรคปากนกกระจอกยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ ดังนี้
- ปากนกกระจอก น้ำลายจากการเลียปาก
เนื่องจากน้ำลายจะหมักหมมอยู่บริเวณมุมปาก ทำให้ปากแห้งและแตก เมื่อเลียมุมปากที่แห้ง จะทำให้เชื้อราตรงแผลที่มีอยู่ก่อนแล้วเจริญและแบ่งเซลล์มากขึ้น จนนำไปสู่การติดเชื้อได้ โดยผู้ป่วยอาจเกิดการอักเสบที่ริมฝีปาก หรือเกิดผื่นแพ้จากการระคายเคือง (Irritant Contact Dermatitis) ร่วมด้วยได้
- มุมปากตก มุมปากเป็นแผล มุมปากเปื่อย
เนื่องจากริมฝีปากบนคร่อมริมฝีปากล่างมากเกินไป ผิวหนังรอบปากห้อยลงมา เนื่องจากอายุมากขึ้นหรือน้ำหนักลดลง ทำให้รอยย่นที่มุมปากลึกมาก
- เกิดการติดเชื้อที่ปาก ปากนกกระจอก
ผู้ป่วยอาจติดเชื้อต่าง ๆ ที่ปาก โดยเชื้อนั้นได้ลุกลามขึ้น เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราจากโรคเชื้อราในช่องปาก หรือเชื้อไวรัสจากโรคเริมที่ริมฝีปาก ปากแห้งแตก
บทความที่เกี่ยวข้อง : จูบเด็กอันตราย? ภัยที่มาจากจูบมีอะไรบ้าง? ผู้ปกครองควรป้องกันอย่างไร?
ปากนกกระจอกเกิดจาก อาการของปากนกกระจอก มุมปากเป็นแผล เป็นอย่างไร
- เป็นแผลที่มุมปาก มีรอยแดงและเลือดออก
- เกิดตุ่มพองขึ้นมา เป็นแผล มีของเหลวไหลเยิ้มออกมา หรือเกิดสะเก็ดแผลที่มุมปาก
- ปากลอก รวมทั้งแห้งและแตก โดยปากอาจตึง ซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบายปาก
- รู้สึกคันระคายเคืองตรงมุมปากที่เป็น ทำให้ผู้ป่วยอาจรับประทานอาหารลำบากในกรณีที่เกิดอาการดังกล่าวอย่างรุนแรง อาจส่งผลให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือน้ำหนักตัวลดลง
- เกิดอาการบวมบริเวณมุมปาก
ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้เสี่ยงเป็นปากนกกระจอก เป็นแผลที่มุมปาก
ปากนกกระจอก รักษายังไง ปากนกกระจอก คืออะไร ปากนกกระจอกรักษา ยังไง ปากนกกระจอกเกิดจาก
- มีเชื้อราในช่องปาก โดยมักเกิดกับเด็กทารกหรือผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือใช้ยาปฏิชีวนะ
- ต้องใส่ฟันปลอม เนื่องจากการใส่ฟันปลอมนั้นเกี่ยวข้องกับปัญหาเหงือกร่น โดยเฉพาะฟันปลอมที่ไม่พอดีกับขนาดของช่องปาก
- ได้รับการจัดฟัน เนื่องจากต้องใส่ยางสำหรับจัดฟัน ส่งผลให้มีน้ำลายล้นออกมาหมักหมมอยู่ที่มุมปากได้
- ป่วยเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease: IBD) เช่น ลำไส้อักเสบ หรือโรคโครห์น (Crohn Disease)
- ผิวแพ้ง่าย เช่น ป่วยเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)
- ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น รับประทานอาหารที่มีวิตามินบีหรือธาตุเหล็กน้อยเกินไป
- ป่วยเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)
- รับประทานยาเรตินอยด์ เช่น รับประทานยาไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) เพื่อรักษาสิว หรือรับประทานยาอะซิเทรติน เพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงิน
- ป่วยเป็นโรคอื่น ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง มะเร็งที่เกี่ยวกับเลือดหรือมะเร็งที่ไต ตับ ปอด หรือตับอ่อน รวมทั้งติดเชื้อเอชไอวีและโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันร่างกาย
ปากนกกระจอก มุมปากเป็นแผล ควรรักษาอย่างไร
การรักษาด้วยตนเอง
- รับประทานอาหารประเภทข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง ผักและผลไม้
- ถ้าเป็นปากนกกระจอก จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากเซลล์หนังกำพร้ามุมปาก ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษา
- ดื่มน้ำให้มาก ๆ
- ควรเช็ดมุมปากให้แห้งอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการอับชื้น (แนะนำให้พกผ้าเช็ดหน้าสะอาด ติดตัวไว้เสมอ เพื่อใช้เช็ดซับน้ำลาย)
- ไม่เลียริมฝีปาก และมุมปาก เพราะการทำแบบนี้ จะทำให้เกิดการอักเสบของแผล และเกิดการติดเชื้อของแบคทีเรีย ทำให้แผลไม่หายและอาจจะแย่ลงกว่าเดิม
- หมั่นทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟัน และบ้วนปากให้สะอาด หลังรับประทานอาหาร
- รักษาความสะอาดเครื่องนอน เช่น ผ้าห่ม ปลอกหมอน รวมไปถึงผ้าเช็ดหน้าที่ใช้เป็นประจำ
- หากแผลที่มุมปาก มีอาการเจ็บและตึง ให้ทาปากด้วยครีมทาปาก ปิโตรเลี่ยมเจล ลิปบาล์ม หรือขี้ผึ้ง ที่มีส่วนผสมของวิตามินอีอยู่เสมอ ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : 20 อาหารเสริมโอเมก้าสูง ต้องกินอะไร ดีต่อสุขภาพอย่างไร
การรักษาด้วยยาต้านเชื้อรา
ยานี้ใช้รักษาเชื้อราแคนดิดา และเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก (Gram-Positive Cocci) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยควรทาครีม ไมโคนาโซล ตรงมุมปาก ที่เกิดการติดเชื้อวันละ 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) ไม่ควรใช้ยานี้ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการต้านฤทธิ์กันอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลให้มีเลือดออกมาก
ผู้ป่วยจะรับประทานยานี้ เพื่อรักษาการติดเชื้อราที่ปาก หรือโรคเชื้อราในช่องปาก หรือในทางเดินอาหาร โดยแพทย์จะให้ใช้ยาวันละ 4 ครั้ง อมไว้ปาก ให้นานก่อนกลืนลงไป ทารกควรงดน้ำ และอาหารเป็นเวลา 5-10 นาที หลังจากใช้ยานี้ ทั้งนี้ ตัวยาจะไม่ซึมเข้ากระแสเลือด
- โคลไตรมาโซล (Clotrimazole)
ยานี้ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับเชื้อรา ได้แก่ น้ำกัดเท้า ติดเชื้อราที่ขาหนีบ และกลาก โดยตัวยาจะส่งผลต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อราให้สลายลง ส่งผลให้เชื้อราตายได้
- คีโตโคนาโซล (Ketoconazole)
มีสรรพคุณ ขัดขวางการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อรา อย่างไรก็ตาม แพทย์จะใช้รักษาผู้ป่วย ในกรณีที่ตัวยาอื่นไม่สามารถรักษาอาการป่วยให้ทุเลาลง ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ ก่อนใช้ยาดังกล่าว ทั้งนี้ อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับตับได้
การรักษาด้วยยาต้านแบคทีเรีย
ยานี้ใช้รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยตัวยายับยั้งการผลิตโปรตีนที่ใช้เลี้ยงแบคทีเรียบนผิวหนัง ผู้ป่วยโรคปากนกกระจอกที่ติดเชื้อจากโรคพุพอง
- กรดฟูซิดิก (Fusidic Acid)
ชนิดครีม หรือขี้ผึ้ง เป็นยาต้านแบคทีเรีย ชนิดทาภายนอก ที่รักษาการติดเชื้อผิวหนัง โดยอาจใช้รักษาเชื้อสแตปฟิโลค็อกคัส ออเรียส และเชื้อโครีนแบคทีเรียม (Corynebacterium) ยานี้ใช้รักษาโรคผิวหนังหลายโรค เช่น โรคพุพอง รูขุมขนอักเสบ ผู้ป่วยปากนกกระจอก ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ควรทายาตรงบริเวณที่ติดเชื้อ ตามแพทย์สั่ง
ปากนกกระจอก ป้องกันอย่างไร
ปากนกกระจอก คืออะไร ปากนกกระจอกรักษา ยังไง
- ไม่ควรกัดหรือเลียริมฝีปากเมื่อปากแห้งหรือแตก
เนื่องจากการกัดปากจะทำให้เลือดออกและแผลหายได้ช้า ทั้งนี้ น้ำลายที่เลียริมฝีปากจะล้างความชุ่มชื้นของผิวหนังออกไป ส่งผลให้ปากแห้งกว่าเดิม
- ควรทาลิปบาล์มที่ผสมเจลหรือขี้ผึ้งเป็นประจำ
เมื่อเกิดอาการปากแห้ง โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง
ผู้ป่วยโรคเชื้อราในช่องปากที่มีปัญหาสุขภาพอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าว เช่น ป่วยเป็นเบาหวาน ควรรักษาความสะอาดช่องปากและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้อาการของโรคแย่ลง
เช่น ปลา ตับ ถั่ว นม
เนื้อแดง ใบกะเพรา หอย ไข่แดง ธัญพืช
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ลูกทานสารอาหารไม่ครบ ส่งผลเสียต่อลูกอย่างไร
อาการมือเท้าปาก แผลร้อนใน ในเด็กโรคยอดฮิตของเด็กทุกวัยหน้าตาเป็นยังไง?
แผลฟกช้ำ ตามร่างกายเด็ก ทำยังไงให้หาย ต้องไปหาหมอหรือเปล่า
ที่มา : (pobpad.),(thaihealth.),(thaijobsgov)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!