X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนไฟช๊อต

บทความ 5 นาที
ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนไฟช๊อต

เรื่องของไฟฟ้า เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่สามารถที่จะเลี่ยง หรือปฏิเสธการใช้งานได้ และหลายครั้งที่เรามักจะได้เห็นข่าวการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจาก ไฟฟ้าช๊อต บางคนเสียชีวิต เพียงเพื่อต้องการช่วยเหลือ แต่ก็ขาดทักษะ หรือความเข้าใจ ทำให้เกิดการสูญเสียที่มากขึ้นเป็นทวีคูณ ดังนั้นสิ่งที่เราควรเรียนรู้เบื้องต้นคือ ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร และ วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนไฟช๊อต

ไฟช็อต ไฟดูด ไฟรั่ว ต่างกันอย่างไร?

เป็นปัญหาที่หลายคนสงสัย และยังคงไม่สามารถแยกได้ ว่าแต่ละอย่างนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร แล้ว ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร สามารถใช้วิธีป้องกัน และปฐมพยาบาลได้แบบเดียวกันหรือไม่หากเกิดกรณี ไฟดูด ไฟรั่ว แต่ก่อนอื่น เรามาจำแนกออกมาก่อนดีกว่าค่ะ ว่าแบบไหนคือไฟช็อต แบบไหนคือไฟดูด และอาการแบบไหนคือไฟรั่วกันแน่ เรามาดูความแตกต่างกันดีกว่าค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : สยอง! เด็กหญิงถูกไฟดูดจนนิ้วไหม้เป็นสีดำ

ไฟรั่ว เป็นอย่างไร อันตรายมาก-น้อยแค่ไหน?

ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนไฟช๊อต

อันตรายจากความเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า

ไฟรั่วนั้น คือการที่กระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกจากวงจรไฟฟ้า เช่น การรั่วไหลออกมาที่พื้นผิวของสายไฟ หรือลักษณะของฉนวนกันไฟฟ้า ไม่สามารถป้องกันการรั่วไหลของไฟได้อย่างเต็มที่ โดยมีสาเหตุจาก การเดินระบบไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือความเสื่อมสภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ โดยกระแสไฟที่รั่วไหลออกมานั้น อาจจะได้ให้รู้สึกเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะทำให้สะดุ้งบ้าง แม้จะไม่มีผลถึงชีวิตโดยทันที แต่ก็ทำให้เกิดความลำบากกับปัจจัยส่วนอื่นได้เช่นกัน

จะรู้ได้อย่างไรว่าไฟรั่ว

1. เมื่อค่าไฟปรับสูงขึ้นกว่าปกติ

แน่นอนค่ะว่าหากมีการรั่วไหลของไฟฟ้าแล้วล่ะก็ อัตราการใช้ไฟฟ้า ก็จะเพิ่มขึ้นมามากกว่าปกติ โดยเฉพาะหากเราเสียบปลั๊ก หรือมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ค่าไฟฟ้าก็จะเพิ่มขึ้นทวีคูณอย่างเห็นได้ชัด หากรู้สึกว่าค่าไฟมีอัตราเพิ่มขึ้นผิดปกติแล้วล่ะก็ การสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจึงมีความสำคัญอย่างมากค่ะ

2. ภายในบ้านมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกติ

หากเดิมทีเวลาคุณเข้าบ้านแล้ว จะรู้สึกว่าบ้านเย็นอยู่สบาย แต่วันใดวันหนึ่งเกิดรู้สึกว่า อุณหภูมิภายในบ้านสูงขึ้นผิดปกติแล้วล่ะก็ หากต้นเหตุไม่ได้มาจากอากาศรอบข้างแล้ว ก็อาจจะสันนิษฐานได้ว่า เกิดการรั่วไหลของไฟฟ้าภายในบ้าน เพราะเมื่อมีการรั่วไหลของไฟฟ้าแล้วเกิดรั่วไหลลงดิน ไฟฟ้าก็จะกระจายผ่านวัสดุต่าง ๆของบ้าน จนทำให้เกิดภาวะร้อนชื้น เป็นสาเหตุให้เกิดอุณหภูมิที่สูงขึ้นผิดปกติ

3. เมื่อจับเครื่องใช้ไฟฟ้า บริเวณที่มีโลหะผสม แล้วเกิดการดูดของไฟฟ้า

หากเราเกิดไปสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วรู้สึกถึงกระแสไฟ (ไฟดูด) อาจจะสันนิษฐานได้ว่า มีการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า ณ บริเวณนั้น หรือ หรือจากวัสดุ อุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ๆ

4. ปิดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในบ้าน แต่มิเตอร์ไฟยังคงทำงานเป็นปกติ

เป็นการสังเกตที่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนถึงการรั่วไหลของไฟฟ้าภายในบ้าน เนื่องจากบางจุดอาจจะมีการรั่วไหลที่เบาบาง จนเราอาจจะไม่ได้สนใจเมื่อถูกไฟฟ้าดูด ทำให้ไม่เกิดการระมัดระวังเท่าที่ควร แต่การปิดการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภทในบ้านแล้ว แต่มิเตอร์ไฟยังคงหมุนทำงานอยู่ นั่นเป็นการบ่งบอกว่ามีการรั่วไหลของไฟฟ้าเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นการสำรวจ การสังเกต ก็จะทำให้คุณสามารถค้นพบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพ และทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนที่จะเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ในอนาคต

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เตือนพ่อแม่ ระวังไฟช็อตมือลูก เพราะสร้อยข้อมือเข้าไปในรูปลั๊กไฟ

ไฟดูด เป็นอย่างไร?

ไฟดูดนั้น เป็นเหตุที่เกิดมาจากการเกิดไฟรั่ว จนทำให้มีกระไฟฟ้าส่งผ่านออกมาภายนอก และไหลผ่านวัตถุต่าง ๆ และเมื่อผิวเราไปสัมผัสโดน ก็จะเกิดการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า เข้าสู่ร่างกาย และหากกระแสไฟฟ้ามีประจุที่มากเพียงพอ ก็จะทำให้เกิดไฟดูด และหากรุนแรงมาก ก็จะทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ จนทำให้เกิดอาการชัก อาจเกิดอาการไหม้ได้ หมดสติ และส่งผลให้เกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนแรง จนไม่สามารถช่วยตัวเองได้ และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด

วิธีการช่วยเหลือ

หลายคนเมื่อพบเจออุบัติเหตุไฟดูดเช่นนี้แล้ว และต้องการเข้าไปช่วยเหลือให้ทันท่วงที แต่อาจจะลืมคำนึงถึงอันตรายจากกระแสไฟฟ้า ก็ทำให้หลายคน ต้องจบชีวิต หรือบาดเจ็บจากการช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูดอยู่ในขณะนั้น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดอันดับแรกเมื่อคุณพบเจอคนที่ถูกไฟดูดอยู่นั้น ควรตัดไฟจากอุปกรณ์ดังกล่าวก่อน จึงจะสามารถเข้าไปช่วยได้ เพื่อความปลอดภัย ตั้งตัวของผู้ถูกดูด และคนที่ต้องการเข้าไปช่วยนั่นเอง

สิ่งที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษนั้น การจะเข้าไปช่วยผู้ที่ถูกไฟดูดนั้น น้ำคือสิ่งต้องห้ามค่ะ เนื่องจากน้ำนั้น เป็นตัวนำไฟฟ้าชั้นยอด ดังนั้น หากคุณกำลังตัวเปียก เท้าเปียก การจะเข้าไปช่วยนั้น เท่ากับการเพิ่มภาระให้กับเพื่อน รวมถึงเพิ่มความเสี่ยง ความอันตรายให้กับตัวเองอีกด้วย

ในขณะที่คุณไม่สามารถตัดไฟได้ตามขั้นตอนที่กล่าวเอาไว้ข้างต้น คุณสามารถใช้วิธีดึงผู้ประสบเหตุออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ได้ด้วยการใช้ผ้าที่แห้ง หนัง หรือไม้ เพื่อดึงตัว หรือผลักตัวผู้ประสบเหตุให้ออกจากบริเวณที่โดนไฟฟ้าดูด แล้วจึงทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เด็กหกขวบถูกไฟช็อตตาย หลังแอบหนีมาเล่นน้ำ

ไฟฟ้าช็อต เป็นแบบไหน อันตรายมากหรือไม่?

ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนไฟช๊อต

ไฟฟ้าช็อต อันตรายที่ต้องใส่ใจ

ไฟฟ้าลัดวงจร หรือที่เรามักเรียกกันว่าไฟฟ้าช็อต เป็นการที่ไฟฟ้าจากเส้นนึงมีการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าไปยังอีกเส้น เนื่องจากฉนวนที่กั้นอยู่เกิดการชำรุดเสียหาย หรือเสื่อมสภาพตามการใช้งาน ทำให้เกิดความร้อนเนื่องการประจุไฟเกิดการลัดจรจร และเกิดความร้อนที่มากกว่าปกติ จนทำให้เกิดการสปาร์คของกระแสไฟ นั่นคือลักษณะของไฟฟ้าที่ช็อต

สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าช็อต

การเกิดไฟฟ้าช็อตนั้น อาจจะมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของฉนวนกันไฟ บริเวณสายไฟ หรือตัวอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วยังรวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์พ่วงที่ไม่มีมาตรฐาน แม้ราคาจะถูก แต่สำหรับความปลอดภัยนั้น การเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาสูงกว่า แต่ได้รับมาตรฐานถูกต้อง ก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับเงินที่ถูกจ่ายออกไป

ป้องกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดไฟดูด ไฟรั่ว ไฟช็อต

ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนไฟช๊อต

หากมีเด็กเล็กภายในบ้าน ควรติดอุปกรณ์ป้องกันเอาไว้

1. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับมาตรฐาน มอก.

การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟ้าที่ได้รับมาตรฐาน มอก. เป็นหลักประกันที่ช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกซื้อได้อย่างมั่นใจ ถึงความปลอดภัยจากการใช้งาน แม้ว่าจะมีราคาที่สูงกว่าสินค้าทั่วไปที่ไม่มีมาตรฐาน แต่อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า เหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น หรือเหตุไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าดูดนั้น เทียบไม่ได้กับเงินที่จะต้องจ่ายออกไปเลยทีเดียว

2. หมั่นตรวจสอบสายไฟอยู่สม่ำเสมอ

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

ควรหมั่นตรวจสอบสายไฟฟ้าภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอ หากมีร่องรอยของการฉีกขาด จากการใช้งาน หรือจากสัตว์ต่าง ๆ กัดแทะ ก็ควรรีบซ่อมแซมโดยทันที เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณ และคนในครอบครัว

3. ตรวจเช็คเครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เรามักจะใช้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เราจะต้องจับต้องอยู่เสมอ เช่น เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น ควรหมั่นใช้อุปกรณ์สำหรับการวัดกระแสไฟฟ้ามาตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำการเช็คว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วออกมาหรือไม่ หากมีการรั่วเกิดขึ้น ควรหยุดใช้งาน และส่งซ่อมในทันที

4. ติดตั้งสายดิน

เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายประเภท มักจะมีสายดินไว้ให้ติดตั้งอยู่ ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาณ ควรทำการติดตั้งสายดินให้เรียบร้อย ก็จะช่วยให้ลดการเกิดปัญหาการรั่วไหลของไฟฟ้าได้อีกส่วนหนึ่ง

5. ติดตั้งระบบตัดไฟอัตโนมัติ (Safe-T-Cut)

เพื่อความปลอดภัย คุณควรติดตั้งระบบตัดไฟอัตโนมัติ เพื่อเป็นการตัดกระแสไฟฟ้า ที่รั่วไหลออกมาได้อย่างทันท่วงที และเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรได้เป็นอย่างดี

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ปั๊มหัวใจผิด เป็นอันตราย และเสียแรงฟรี

ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนไฟช๊อต

ควรศึกษา หรือฝึกการปั้มหัวใจ เพื่อเพิ่มทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน

หากเกิดอุบัติเหตุไฟฟ้าช็อต แล้วช่วยได้สำเร็จ แต่ผู้ประสบภัยกลับมีอาการหมดสติ หายใจรวยริน หรืออาจจะมีภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน จำเป็นจะต้องขอความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งทำการปั้มหัวใจเบื้องต้น โดยการวางฝ่ามือซ้ายบนหน้าอก บริเวณตรงกลางระหว่างหัวนม หรือกลางกระดูกหน้าอก แล้วค่อยวางส้นมือขวาทับลงบนมือข้างซ้าย เหยียดแขนให้ตรง ทิ้งน้ำหนักตัวไปที่ฝ่ามือโดยตรง

การกดปั้มหัวใจควรกดบนหน้าอกผู้ประสบภัยตรง ๆ ลงไปประมาณ 2 นิ้ว หรือ 5 ซม. ทำการปั้มหัวใจ 30 ครั้งแล้วจึงเป่าปาก 1 ครั้ง ทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าผู้ป่วยจะมีสติกลับมา แต่ห้ามลืมว่า ก่อนปฐมพยาบาล หรือหากมีผู้อื่นอยู่ด้วย ควรทำการเรียกหน่วยแพทย์ฉุกเฉินโดยทันที และการปฐมพยาบาลโดยการปั้มหัวใจนี้ควรมีทักษะที่ถูกต้อง เพราะหากทำไม่ถูก นอกจากจะไม่ได้ช่วยเหลือแล้วยังอาจจะทำให้ผู้บาดเจ็บมีอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ข้อควรระวังไม่ให้เกิดไฟดูด

  1. ห้ามแตะ หรือสัมผัสกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น รวมถึงการยืนอยู่ในบริเวณที่เปียกชื้นด้วยเช่นกัน เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ก็อาจจะถูกไฟดูดได้
  2. หลีกเลี่ยงการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเอง หากไม่มีความชำนาญมากพอ เพราะอาจจะเกิดอันตรายได้
  3. เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก มอก.
  4. ในกรณีที่บ้านถูกน้ำท่วม ให้ตัดสวิตซ์ไฟฟ้าภายในบ้าน แล้วจึงเครื่องย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากบริเวณที่น้ำท่วมถึง

เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าช็อต ควรโทรแจ้ง 1669 สายด่วนเหตุป่วยฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ตลอด 24 ชม.

 

ที่มา : (A) , (B) , (C) , (D)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนไฟช๊อต
แชร์ :
  • โรคตาที่ต้องระวัง แก้ไข และป้องกันได้อย่างไร

    โรคตาที่ต้องระวัง แก้ไข และป้องกันได้อย่างไร

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • โรคตาที่ต้องระวัง แก้ไข และป้องกันได้อย่างไร

    โรคตาที่ต้องระวัง แก้ไข และป้องกันได้อย่างไร

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ