X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นมแม่ทุนสมองของทารก

บทความ 3 นาที
นมแม่ทุนสมองของทารก

นมแม่อาหารมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติมอบให้แก่มนุษย์ ที่สำคัญนมแม่สร้างสมองของทารก แม้ว่าขณะที่ทารกยังอยู่ในท้องคุณแม่ สารอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป รวมถึงการกระตุ้นสมองด้วยวิธีการต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ เมื่อคลอดออกมาแล้วหน้าที่ต่อไปของคุณแม่ที่จะเสริมสร้างการทำงานของสมองทารกต่อ คือ นมแม่ ติดตามอ่าน นมแม่ทุนสมองของทารกค่ะ

นมแม่สร้างสมองของทารก

สมองของทารก

นมแม่สร้างสมองของทารก

1. สมองของทารกเริ่มพัฒนามาตั้งแต่อยู่ในท้องของคุณแม่ เริ่มตั้งแต่การเพิ่มเซลล์สมอง การแตกแขนงของเส้นประสาท และเชื่อมโยงปลายประสาทกับเซลล์ประสาท

2. หลังจากที่ทารกน้อยคลอดออกมาแล้ว เซลล์สมองของทารกจะมีประมาณ 100 ล้านล้านเซลล์ที่สำคัญเซลล์สมองจะไม่เพิ่มขึ้นหลังคลอด

3. สิ่งที่เพิ่มหลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว คือ จำนวนเซลล์พี่เลี้ยงต่าง ๆ ขนาดของเซลล์ และการขยายเครือข่ายของเซลล์ ทำให้สมองทารกในระยะหลังคลอดเจริญเติบโตขึ้นมากจนเกือบเป็นสองเท่าของน้ำหนักตัวทารกแรกเกิด ได้แก่ แขนงการรับ-ส่งข้อมูล และจุดเชื่อมประสาท แต่ละเซลล์จะมีจุดเชื่อมประมาณ 2,500 จุด และเพิ่มขึ้นประมาณ 15,000 จุดต่อหนึ่งเซลล์เมื่ออายุ 2 – 3 ขวบ ซึ่งจะมากกว่าสมองของผู้ใหญ่ประมาณ 2 เท่า

นมแม่สร้างสมองของทารก

4. การพัฒนาสมองสามารถทำได้โดยการเลี้ยงดูที่ดีและเหมาะสม ตั้งแต่การได้รับสารอาหารครบถ้วน ไปจนถึงสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของสมองระยะก่อนคลอด หรือช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์ พันธุกรรมจะมีบทบาทมากกว่า แต่เมื่อหลังคลอดสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูจะมีบทบาทมากขึ้น

นมแม่สร้างสมองของทารก

นมแม่สร้างสมองของทารก

นมแม่สร้างสมองของทารก อาหารที่สำคัญของทารกในการสร้างความเจริญเติบโตของร่างกายและการพัฒนาสมอง เรียกว่า เป็นทุนสมองให้ทารกเมื่อคลอดออกมาแล้ว คือ นมแม่

1. นมแม่ความเหมาะสมทั้งปริมาณ ทำให้ทารกอิ่มท้อง มีคุณภาพเสริมสร้างการเจริญเติบโต การทำงานของสมอง นอกจากนี้ยังย่อยง่ายเหมาะกับระบบการทำงานของลำไส้ที่ยังไม่ทำงานได้ไม่เต็มที่

บทความแนะนำ เคลียร์ข้อสงสัย ลูกกินนมแม่ ไม่ถ่ายได้กี่วัน

2. นมแม่สร้างสมองของทารก เพราะนมแม่มีสารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมอง นอกจาก กรดอะมิโนtaurine, carnitine กรดไขมัน arachidonic acid (AA หรือ ARA) และ docosahexaenoic acid (DHA)

3. นมแม่ยังมีสารสำคัญต่อพัฒนาการของสมองที่ไม่มีในนมผสม คือ nerve growth factor ฮอร์โมน และเอนไซม์แทบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการนำมาใช้ในการพัฒนาสมองอย่างครบถ้วนด้วย

นมแม่สร้างสมองของทารก

4. ร่างกายใช้สารนี้ในการสร้างเส้นใยประสาทในสมอง แม่ที่ให้นมลูกควรกินอาหารที่มี DHA มาก คือ ปลา กุ้ง หอย ปู อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อเพิ่มปริมาณ DHA ในน้ำนมแม่ ลูกที่กินนมแม่จะได้สารนี้ไปเสริมสร้างสมอง

5. มีสารหลายชนิดที่ต่อสู้เชื้อโรค ซึ่งมีอยู่ในนมแม่ มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคมากมายอีกทั้งสมองไม่หยุดชะงักจากการติดเชื้อโรคร้าย

นมแม่สร้างสมองของทารก

6. มีงานวิจัยในประเทศอังกฤษได้ทำการวิจัยวัดไอคิวเด็กที่คลอดก่อนกำหนด 300 ราย และวัดอีกครั้งเมื่อเด็กเหล่านี้มีอายุ 7 – 8ปี ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทารกที่ได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด มีไอคิวสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้นมแม่ 8.3 จุด ส่วนทารกที่ครบกำหนดคลอดและได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดมีไอคิวสูงกว่าทารกที่กินนมผง 2.66 จุด สรุปว่า การกินนมแม่เป็นระยะเวลานานจะยิ่งมีระดับสติปัญญาที่ดี

บทความแนะนำ นมแม่ช่วยเพิ่มไอคิว (IQ) ให้ลูกได้

7. ในขณะที่คุณแม่อุ้มลูกตอนให้นมแม่นั้น การสัมผัส ภาพ เสียง กลิ่น รส หรือการสัมผัสผิวหนัง เป็นการกระตุ้นประสาทรับสัมผัสของลูกน้อย และช่วยกระตุ้นสมองให้เส้นใยประสาทแตกแขนงงอกงาม

นมแม่สร้างสมองของทารก

8. ขณะที่ลูกดูดนมแม่ เมื่อคุณแม่ให้ลูกดูดนมสลับข้างกันซ้ายขวา ลูกใช้ดวงตามองมายังคุณแม่ เท่ากับลูกได้ฝึกการใช้สายตามองหน้าแม่จากทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ประสาทตาก็ได้รับการพัฒนาจากการใช้อวัยวะทั้งสองข้าง

นมแม่สร้างสมองของทารก

9. การพัฒนากล้ามเนื้อใบหน้า รูปปากของลูกจะไม่เปลี่ยนแปลงเพราะหัวนมแม่มีความยืดหยุ่นจึงเปลี่ยนรูปทรงไปตามรูปปากของลูก ตรงข้ามกับจุกนมยางซึ่งมีความแข็ง ทำให้ลูกต้องทำปากจู๋ให้พอดีกับจุกนม ทำให้ทารกที่ดูดนมแม่มีปากและขากรรไกรที่สวยงามได้รูปทรง

บทความแนะนำ แม่สอนลูก!!!ต้องงับหัวนมแบบนี้ถูกวิธีนะคะ

นมแม่มีความมหัศจรรย์จริง ๆ นะคะ เป็นอาหารแสนวิเศษที่หล่อเลี้ยงทารกให้เติบโตและยังเป็นทุนสมองให้แก่ลูกเพื่อต่อยอดการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต จึงกล่าวได่ว่า นมแม่สร้างสมองของทารกอย่างแท้จริง

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.si.mahidol.ac.th

เอกสาร ดูแลเจ้าตัวเล็ก แผนกกุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สารพันเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนมแม่

เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • นมแม่ทุนสมองของทารก
แชร์ :
  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว