X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดูแลของใช้ในบ้าน ที่เป็นอันตรายกับลูกมีอะไรบ้าง รู้แล้วเก็บด่วน!

บทความ 5 นาที
ดูแลของใช้ในบ้าน ที่เป็นอันตรายกับลูกมีอะไรบ้าง รู้แล้วเก็บด่วน!

เมื่อลูกน้อยของเราเริ่มเข้าสู่วัยเตาะแตะ ก็เริ่มที่จะเดินหรือคลานสำรวจสิ่งต่าง ๆ ไปทั่ว แต่แค่ดูยังไม่พอ เพราะมือน้อย ๆ ก็พลอยจะคอยหยิบจับ คว้านู่นคว้านี่ไปเรื่อย แถมบางครั้งก็ยังเอาเข้าปากไปชิมรสชาติเสียด้วย ซึ่งถ้าเป็นของที่ไม่เป็นอันตรายก็โชคดีไป อย่างมากก็แค่สกปรกเลอะเทอะไปบ้าง  แต่ถ้าเจ้าตัวน้อยเผลอไปหยิบของอันตรายเข้าปากตอนที่เราละสายตาพอดีล่ะก็ อาจได้รับสารพิษ หรือติดคอจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกในวัยนี้จึงต้องจัดบ้านให้เรียบร้อย ดูให้ดีว่ามี ดูแลของใช้ในบ้าน ชิ้นไหนที่อาจเป็นอันตรายหรือไม่

 

ตัวอย่างอันตรายที่เกิดภายในบ้าน

1. ดูด – ช็อต

อาการโดนไฟดูด หรือโดนไฟช็อต ที่อาจเกิดจากการที่ลูกน้อยของเรา เอานิ้วไปแหย่รูปลั๊กไฟ หรือเล่นสายไฟที่มีโอกาสรั่ว ในขณะที่เราไม่ได้ระวังให้เพียงพอ

2. หนีบ

อาการอันตรายที่อาจเกิดได้จากการหนีบทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นตู้หนีบ ประตูหนีบ ฯลฯ ที่เกิดจากความซุกซนของเด็ก ๆ ที่อาจจะลองเปิดปิดด้วยตนเอง ลองเอานิ้วจิ้มเข้าไป เพราะการลอกเลียนแบบ

3. ตก – ล้ม

อันตรายจากการตกจากที่สูง หรือการล้มลงไปที่พื้น ที่เกิดจากความซนที่อยากจะปีนป่าย ที่อาจจะเกิดการตกบันได, ตกโต๊ะ, ตกเตียง หรือล้มจากการพยายามเดินไปหาพ่อแม่ ที่อยู่อีกที่

4. ชน – กระแทก

โดยส่วนใหญ่แล้ว อันตรายเหล่านี้ มักเกิดจากการที่ในบ้านมีเฟอร์นิเจอร์ และมีเด็กเล็กที่อยู่ในวัยที่กำลังอยากเรียนรู้ อาจจะยังไม่เข้าใจได้ว่าการ ชนโต๊ะ ชนเตียง ชนตู้-เสา หรือบริเวณที่มีมุมแหลม จะสามารถทำให้ตัวเองเจ็บปวดได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ระวัง! 9 ของใช้ในบ้าน ตัวการก่อมะเร็ง

 

วิธีป้องกันอันตรายเบื้องต้นจาก ของใช้ในบ้าน

1. อุด : คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเริ่มทำการสำรวจค่ะ ว่าบริเวณใดบ้างที่มีรู มีช่อง ให้หาทางปิดไว้ หรือเก็บให้พ้นมือเด็ก หากไม่สามารถเก็บไว้พ้นมือได้ แนะนำให้หาอะไรมาปิดไว้ อาทิเช่น ที่อุดปลั๊กไฟ นำมาติดไว้เพื่อเด็ก ๆ จะได้ไม่แหย่ และยากต่อการแกะ

2. กั้น : ข้อนี้อาจจะต้องเริ่มจากการจำกัดวงการเล่นของน้อง ๆ หรือหาวัสดุมาปิดกันประตูเปิด-ปิด หรือตัวช่วยที่ทำให้ไม่ได้เปิดเฟอร์นิเจอร์นั้นง่ายขึ้น ก็จะพอช่วยไม่ให้น้องเปิดแล้วปิดหนีบมือตัวเองได้ อาทิ ตัวล็อกลิ้นชัก, โฟมกั้นประตูเปิดปิด ก็มีส่วนช่วยได้มากเช่นกันค่ะ

3. รอง : เมื่อน้องวัยกำลังตั้งไข่ หรือวัยกำลังหัดเดิน อาจจะต้องมีหกล้มอยู่บ่อยครั้ง แนะนำแผ่นปูรองพื้นนุ่ม ๆ หรือแผ่นรองคลานลายน่ารัก ๆ ที่สามารถทำความสะอาดง่าย ๆ มาติดบ้านไว้ เมื่อยามน้องล้มจะได้ลดความอันตรายที่เกิดขึ้นไปค่ะ

Advertisement

4. ติดกันกระแทก : ตัวช่วยสำคัญที่สุดและมีความสวยงามขอเฟอร์นิเจอร์นั้น ๆ อยู่ก็คือ การติดด้วยโฟมกันกระแทก บริเวณที่เฟอร์นิเจอร์ที่คิดว่าจะเป็นอันตรายได้ง่าย จากการชนหรือล้มมาโดน อาทิ มุมแหลม ขอบ สันเป็นต้น

 

10 วิธี ดูแลของใช้ในบ้าน ที่เป็นอันตราย

1. ของมีคม

จริงอยู่ว่าคงไม่มีใครวางมีดทิ้งไว้ทั่วบ้าน แต่บางครั้งเวลาแค่เสี้ยววินาทีที่คุณแม่ละสายตาจากการทำอาหารเพื่อไปรับโทรศัพท์ หรือทำอย่างอื่น เจ้าตัวน้อยก็คว้ามีดไปเล่นจนโดนมีดบาดเสียแล้ว เพราะฉะนั้นต้องอย่าประมาทเด็ดขาด แม้ว่าจะลุกไปทำธุระแค่แป๊บเดียวก็ต้องนำมีดไปเก็บให้ดี หรือวางไว้ในจุดที่มั่นใจว่าลูกจะหยิบไม่ถึงแน่นอน นอกจากนี้ก็ยังมีคัตเตอร์ที่เราเก็บรวมไว้กับเครื่องเขียนอื่น ๆ หากลูกไปหยิบมาเล่นก็อาจเป็นอันตรายได้เช่นกันค่ะควรเก็บใส่ตู้ให้มิดชิด

 

ดูแลของใช้ในบ้าน

 

2. น้ำยาทำความสะอาด ผงซักฟอก 

เพราะน้ำยาทำความสะอาดต่าง ๆ มักจะมีสีสันสดใสเตะตาเด็กน้อย แถมบางครั้งยังมีกลิ่นผลไม้อีกด้วย ทำให้เด็ก ๆ อาจเข้าใจว่าเป็นน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ แล้วหยิบไปดื่มได้ เพราะฉะนั้นน้ำยาเหล่านี้ควรเก็บไว้ในตู้ที่ปิดมิดชิด ทางที่ดีล็อกกุญแจเอาไว้ด้วยจะดีที่สุดค่ะ

 

3. ของที่แตกได้ เช่น จาน ชาม แจกัน กระถางต้นไม้

จานชามเป็นสิ่งที่ต้องใช้กันทุกบ้านอยู่แล้วจนเราอาจลืมไปว่า มันก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน เพราะถ้าเด็ก ๆ ไปปีนโต๊ะ หรือดึงผ้าปูโต๊ะจนจานชามตกมาใส่ล่ะก็เป็นเรื่องใหญ่แน่ ๆ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องอย่าวางจานชามทิ้งไว้บนโต๊ะอาหาร และทางที่ดีงดใช้ผ้าปูโต๊ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกดึงจนของบนโต๊ะตกลงมาด้วยค่ะ นอกจากนี้ยังมีแจกันและกระถางต้นไม้ที่ต้องระวังอีกด้วย เพราะเด็ก ๆ อาจไปปีน หรือไปปัดโดนจนล้มลงมาแตกได้ค่ะ

 

4. ตู้ ชั้นวางของ

อย่าคิดว่าตู้หรือโต๊ะจะไม่เป็นอันตรายนะคะ เพราะถ้าเด็ก ๆ ไปปีนป่ายล่ะก็ตู้อาจจะล้มลงมาทับเด็กได้ ทางที่ดีหาซื้ออุปกรณ์สำหรับยึดเฟอร์นิเจอร์กับกำแพงมาใช้ก็จะช่วยป้องกันได้ค่ะ นอกจากนี้ยังต้องระวังเรื่องเหลี่ยมมุมตามตู้โต๊ะ เพราะเด็กเล็กอาจจะยังเดินไม่คล่องนักทำให้ล้มบ่อย และอาจไปฟาดนู่นนี่จนหัวโนได้ แต่ถ้าโชคร้ายไปชนตามมุมแหลมของเฟอร์นิเจอร์ได้ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาที่ป้องกันมาติดตามเหลี่ยมมุมของเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ในที่ ๆ ลูกเราเดินผ่านบ่อย ๆ นะคะ

 

ดูแลของใช้ในบ้าน

 

5. ถ่าน

ถ่านจำพวกถ่านไฟฉายหรือถ่ายกระดุมก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่อันตรายอย่างมาก เพราะมีขนาดที่กำลังพอดีสำหรับมือเด็ก ๆ ซึ่งถ้าลูกเอาเข้าปากล่ะก็นอกจากจะเป็นอันตรายเพราะสารเคมีแล้ว ยังอาจหลุดลงคอจนอุดกั้นทางเดินหายใจอีกด้วยค่ะ ดังนั้นควรเก็บให้เป็นที่ ส่วนถ่านที่หมดแล้วก็อย่าวางทิ้งไว้ ควรห่อกระดาษให้ดีแล้วนำไปทิ้งทันทีนะคะ

 

6. ยา

เชื่อว่าบางคนคงเคยทำยาตกตามใต้ตู้ใต้เตียงแล้วหาไม่เจอเลยปล่อยทิ้งไว้และหยิบเม็ดใหม่มากินแทน ซึ่งห้ามทำเด็ดขาดเลยค่ะหากว่าเรามีเด็กเล็กที่บ้าน เพราะเด็กอาจไปเจอและคิดว่าเป็นลูกอมได้ ซึ่งถ้าเด็กกินเข้าไปจะเป็นอันตรายอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 ของใช้ในบ้าน ที่ไม่ควรลืมทำความสะอาด

 

7. น้ำมันหอมระเหย

ถึงแม้ว่าการใช้น้ำมันหอมระเหยจะทำให้เรารู้สึกสดชื่น และผ่อนคลาย แต่ถ้าสูดดมมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ รวมถึงถ้าเจ้าตัวน้อยเผลอไปหยิบมากินล่ะก็อันตรายสุด ๆ เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้ก็ใช้แต่พอดี และตั้งไว้ในจุดที่มั่นใจว่าลูกจะหยิบไม่ถึงนะคะ

 

8. เหรียญ

เหรียญก็เป็นอีกหนึ่งในสิ่งที่เรามักมองข้าม และวางเศษเหรียญทิ้งไว้ตามจุดต่าง ๆ ทั่วบ้าน ซึ่งเด็กอาจจะนำเข้าปากได้ และมีกรณีที่เด็กทำเหรียญติดคอจนหายใจไม่ออกบ่อยเลยล่ะค่ะ

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

9. อ่างบัว บ่อปลา ถังน้ำ

เด็กเกือบทุกคนชอบเล่นน้ำกันอยู่แล้วค่ะ เพียงแต่ว่าถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ดูให้ดูล่ะก็ ลูกอาจเสียหลักและพลัดตกลงไปในน้ำได้ และแม้ว่าจะเป็นภาชนะเล็ก ๆ อย่างเช่นอ่างบัวหรือถังน้ำก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี เพราะเด็กอาจไม่มีแรงพอที่จะดันตัวเองขึ้นจนอาจทำให้จมน้ำได้ค่ะ

 

ดูแลของใช้ในบ้าน

 

10. บันได

ข้อสุดท้ายนี้แม้จะไม่ใช่สิ่งของแต่ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่อันตรายสำหรับเด็ก ๆ ค่ะ เพราะเจ้าตัวน้อยอาจเล่นซน จนตกบันไดหรือหัวไปติดตามช่องของราวบันไดได้ คุณพ่อคุณแม่ควรใช้ประตูสำหรับกั้นบันได เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเดินขึ้นลงบันไดเองได้ และหากราวบันไดของเรากว้างจนลูกอาจตกหรือเอาหัวลอดไปได้ล่ะก็ ควรหาลูกกรงหรือตาข่ายมากันไว้เพื่อความปลอดภัยดีกว่าค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 สารเคมีอันตรายใน น้ำยาซักผ้าเด็ก และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับลูกรัก

เด็กเล็กเล่นกระบะทรายปลอดภัยหรือไม่ ? อันตรายกับลูกไหม ?

5 ภัยใกล้ตัวลูก เตือนพ่อแม่ !! ให้รู้เท่าทันอันตรายรอบตัวเด็ก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

kamonchanok

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนเข้าเรียน
  • /
  • ดูแลของใช้ในบ้าน ที่เป็นอันตรายกับลูกมีอะไรบ้าง รู้แล้วเก็บด่วน!
แชร์ :
  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว