X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดูแลของใช้ในบ้าน ที่เป็นอันตรายกับลูกมีอะไรบ้าง รู้แล้วเก็บด่วน!

บทความ 5 นาที
ดูแลของใช้ในบ้าน ที่เป็นอันตรายกับลูกมีอะไรบ้าง รู้แล้วเก็บด่วน!

เมื่อลูกน้อยของเราเริ่มเข้าสู่วัยเตาะแตะ ก็เริ่มที่จะเดินหรือคลานสำรวจสิ่งต่าง ๆ ไปทั่ว แต่แค่ดูยังไม่พอ เพราะมือน้อย ๆ ก็พลอยจะคอยหยิบจับ คว้านู่นคว้านี่ไปเรื่อย แถมบางครั้งก็ยังเอาเข้าปากไปชิมรสชาติเสียด้วย ซึ่งถ้าเป็นของที่ไม่เป็นอันตรายก็โชคดีไป อย่างมากก็แค่สกปรกเลอะเทอะไปบ้าง  แต่ถ้าเจ้าตัวน้อยเผลอไปหยิบของอันตรายเข้าปากตอนที่เราละสายตาพอดีล่ะก็ อาจได้รับสารพิษ หรือติดคอจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกในวัยนี้จึงต้องจัดบ้านให้เรียบร้อย ดูให้ดีว่ามี ดูแลของใช้ในบ้าน ชิ้นไหนที่อาจเป็นอันตรายหรือไม่

 

ตัวอย่างอันตรายที่เกิดภายในบ้าน

1. ดูด – ช็อต

อาการโดนไฟดูด หรือโดนไฟช็อต ที่อาจเกิดจากการที่ลูกน้อยของเรา เอานิ้วไปแหย่รูปลั๊กไฟ หรือเล่นสายไฟที่มีโอกาสรั่ว ในขณะที่เราไม่ได้ระวังให้เพียงพอ

2. หนีบ

อาการอันตรายที่อาจเกิดได้จากการหนีบทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นตู้หนีบ ประตูหนีบ ฯลฯ ที่เกิดจากความซุกซนของเด็ก ๆ ที่อาจจะลองเปิดปิดด้วยตนเอง ลองเอานิ้วจิ้มเข้าไป เพราะการลอกเลียนแบบ

3. ตก – ล้ม

อันตรายจากการตกจากที่สูง หรือการล้มลงไปที่พื้น ที่เกิดจากความซนที่อยากจะปีนป่าย ที่อาจจะเกิดการตกบันได, ตกโต๊ะ, ตกเตียง หรือล้มจากการพยายามเดินไปหาพ่อแม่ ที่อยู่อีกที่

4. ชน – กระแทก

โดยส่วนใหญ่แล้ว อันตรายเหล่านี้ มักเกิดจากการที่ในบ้านมีเฟอร์นิเจอร์ และมีเด็กเล็กที่อยู่ในวัยที่กำลังอยากเรียนรู้ อาจจะยังไม่เข้าใจได้ว่าการ ชนโต๊ะ ชนเตียง ชนตู้-เสา หรือบริเวณที่มีมุมแหลม จะสามารถทำให้ตัวเองเจ็บปวดได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ระวัง! 9 ของใช้ในบ้าน ตัวการก่อมะเร็ง

 

วิธีป้องกันอันตรายเบื้องต้นจาก ของใช้ในบ้าน

1. อุด : คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเริ่มทำการสำรวจค่ะ ว่าบริเวณใดบ้างที่มีรู มีช่อง ให้หาทางปิดไว้ หรือเก็บให้พ้นมือเด็ก หากไม่สามารถเก็บไว้พ้นมือได้ แนะนำให้หาอะไรมาปิดไว้ อาทิเช่น ที่อุดปลั๊กไฟ นำมาติดไว้เพื่อเด็ก ๆ จะได้ไม่แหย่ และยากต่อการแกะ

2. กั้น : ข้อนี้อาจจะต้องเริ่มจากการจำกัดวงการเล่นของน้อง ๆ หรือหาวัสดุมาปิดกันประตูเปิด-ปิด หรือตัวช่วยที่ทำให้ไม่ได้เปิดเฟอร์นิเจอร์นั้นง่ายขึ้น ก็จะพอช่วยไม่ให้น้องเปิดแล้วปิดหนีบมือตัวเองได้ อาทิ ตัวล็อกลิ้นชัก, โฟมกั้นประตูเปิดปิด ก็มีส่วนช่วยได้มากเช่นกันค่ะ

3. รอง : เมื่อน้องวัยกำลังตั้งไข่ หรือวัยกำลังหัดเดิน อาจจะต้องมีหกล้มอยู่บ่อยครั้ง แนะนำแผ่นปูรองพื้นนุ่ม ๆ หรือแผ่นรองคลานลายน่ารัก ๆ ที่สามารถทำความสะอาดง่าย ๆ มาติดบ้านไว้ เมื่อยามน้องล้มจะได้ลดความอันตรายที่เกิดขึ้นไปค่ะ

Advertisement

4. ติดกันกระแทก : ตัวช่วยสำคัญที่สุดและมีความสวยงามขอเฟอร์นิเจอร์นั้น ๆ อยู่ก็คือ การติดด้วยโฟมกันกระแทก บริเวณที่เฟอร์นิเจอร์ที่คิดว่าจะเป็นอันตรายได้ง่าย จากการชนหรือล้มมาโดน อาทิ มุมแหลม ขอบ สันเป็นต้น

 

10 วิธี ดูแลของใช้ในบ้าน ที่เป็นอันตราย

1. ของมีคม

จริงอยู่ว่าคงไม่มีใครวางมีดทิ้งไว้ทั่วบ้าน แต่บางครั้งเวลาแค่เสี้ยววินาทีที่คุณแม่ละสายตาจากการทำอาหารเพื่อไปรับโทรศัพท์ หรือทำอย่างอื่น เจ้าตัวน้อยก็คว้ามีดไปเล่นจนโดนมีดบาดเสียแล้ว เพราะฉะนั้นต้องอย่าประมาทเด็ดขาด แม้ว่าจะลุกไปทำธุระแค่แป๊บเดียวก็ต้องนำมีดไปเก็บให้ดี หรือวางไว้ในจุดที่มั่นใจว่าลูกจะหยิบไม่ถึงแน่นอน นอกจากนี้ก็ยังมีคัตเตอร์ที่เราเก็บรวมไว้กับเครื่องเขียนอื่น ๆ หากลูกไปหยิบมาเล่นก็อาจเป็นอันตรายได้เช่นกันค่ะควรเก็บใส่ตู้ให้มิดชิด

 

ดูแลของใช้ในบ้าน

 

2. น้ำยาทำความสะอาด ผงซักฟอก 

เพราะน้ำยาทำความสะอาดต่าง ๆ มักจะมีสีสันสดใสเตะตาเด็กน้อย แถมบางครั้งยังมีกลิ่นผลไม้อีกด้วย ทำให้เด็ก ๆ อาจเข้าใจว่าเป็นน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ แล้วหยิบไปดื่มได้ เพราะฉะนั้นน้ำยาเหล่านี้ควรเก็บไว้ในตู้ที่ปิดมิดชิด ทางที่ดีล็อกกุญแจเอาไว้ด้วยจะดีที่สุดค่ะ

 

3. ของที่แตกได้ เช่น จาน ชาม แจกัน กระถางต้นไม้

จานชามเป็นสิ่งที่ต้องใช้กันทุกบ้านอยู่แล้วจนเราอาจลืมไปว่า มันก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน เพราะถ้าเด็ก ๆ ไปปีนโต๊ะ หรือดึงผ้าปูโต๊ะจนจานชามตกมาใส่ล่ะก็เป็นเรื่องใหญ่แน่ ๆ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องอย่าวางจานชามทิ้งไว้บนโต๊ะอาหาร และทางที่ดีงดใช้ผ้าปูโต๊ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกดึงจนของบนโต๊ะตกลงมาด้วยค่ะ นอกจากนี้ยังมีแจกันและกระถางต้นไม้ที่ต้องระวังอีกด้วย เพราะเด็ก ๆ อาจไปปีน หรือไปปัดโดนจนล้มลงมาแตกได้ค่ะ

 

4. ตู้ ชั้นวางของ

อย่าคิดว่าตู้หรือโต๊ะจะไม่เป็นอันตรายนะคะ เพราะถ้าเด็ก ๆ ไปปีนป่ายล่ะก็ตู้อาจจะล้มลงมาทับเด็กได้ ทางที่ดีหาซื้ออุปกรณ์สำหรับยึดเฟอร์นิเจอร์กับกำแพงมาใช้ก็จะช่วยป้องกันได้ค่ะ นอกจากนี้ยังต้องระวังเรื่องเหลี่ยมมุมตามตู้โต๊ะ เพราะเด็กเล็กอาจจะยังเดินไม่คล่องนักทำให้ล้มบ่อย และอาจไปฟาดนู่นนี่จนหัวโนได้ แต่ถ้าโชคร้ายไปชนตามมุมแหลมของเฟอร์นิเจอร์ได้ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาที่ป้องกันมาติดตามเหลี่ยมมุมของเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ในที่ ๆ ลูกเราเดินผ่านบ่อย ๆ นะคะ

 

ดูแลของใช้ในบ้าน

 

5. ถ่าน

ถ่านจำพวกถ่านไฟฉายหรือถ่ายกระดุมก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่อันตรายอย่างมาก เพราะมีขนาดที่กำลังพอดีสำหรับมือเด็ก ๆ ซึ่งถ้าลูกเอาเข้าปากล่ะก็นอกจากจะเป็นอันตรายเพราะสารเคมีแล้ว ยังอาจหลุดลงคอจนอุดกั้นทางเดินหายใจอีกด้วยค่ะ ดังนั้นควรเก็บให้เป็นที่ ส่วนถ่านที่หมดแล้วก็อย่าวางทิ้งไว้ ควรห่อกระดาษให้ดีแล้วนำไปทิ้งทันทีนะคะ

 

6. ยา

เชื่อว่าบางคนคงเคยทำยาตกตามใต้ตู้ใต้เตียงแล้วหาไม่เจอเลยปล่อยทิ้งไว้และหยิบเม็ดใหม่มากินแทน ซึ่งห้ามทำเด็ดขาดเลยค่ะหากว่าเรามีเด็กเล็กที่บ้าน เพราะเด็กอาจไปเจอและคิดว่าเป็นลูกอมได้ ซึ่งถ้าเด็กกินเข้าไปจะเป็นอันตรายอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 ของใช้ในบ้าน ที่ไม่ควรลืมทำความสะอาด

 

7. น้ำมันหอมระเหย

ถึงแม้ว่าการใช้น้ำมันหอมระเหยจะทำให้เรารู้สึกสดชื่น และผ่อนคลาย แต่ถ้าสูดดมมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ รวมถึงถ้าเจ้าตัวน้อยเผลอไปหยิบมากินล่ะก็อันตรายสุด ๆ เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้ก็ใช้แต่พอดี และตั้งไว้ในจุดที่มั่นใจว่าลูกจะหยิบไม่ถึงนะคะ

 

8. เหรียญ

เหรียญก็เป็นอีกหนึ่งในสิ่งที่เรามักมองข้าม และวางเศษเหรียญทิ้งไว้ตามจุดต่าง ๆ ทั่วบ้าน ซึ่งเด็กอาจจะนำเข้าปากได้ และมีกรณีที่เด็กทำเหรียญติดคอจนหายใจไม่ออกบ่อยเลยล่ะค่ะ

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

9. อ่างบัว บ่อปลา ถังน้ำ

เด็กเกือบทุกคนชอบเล่นน้ำกันอยู่แล้วค่ะ เพียงแต่ว่าถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ดูให้ดูล่ะก็ ลูกอาจเสียหลักและพลัดตกลงไปในน้ำได้ และแม้ว่าจะเป็นภาชนะเล็ก ๆ อย่างเช่นอ่างบัวหรือถังน้ำก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี เพราะเด็กอาจไม่มีแรงพอที่จะดันตัวเองขึ้นจนอาจทำให้จมน้ำได้ค่ะ

 

ดูแลของใช้ในบ้าน

 

10. บันได

ข้อสุดท้ายนี้แม้จะไม่ใช่สิ่งของแต่ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่อันตรายสำหรับเด็ก ๆ ค่ะ เพราะเจ้าตัวน้อยอาจเล่นซน จนตกบันไดหรือหัวไปติดตามช่องของราวบันไดได้ คุณพ่อคุณแม่ควรใช้ประตูสำหรับกั้นบันได เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเดินขึ้นลงบันไดเองได้ และหากราวบันไดของเรากว้างจนลูกอาจตกหรือเอาหัวลอดไปได้ล่ะก็ ควรหาลูกกรงหรือตาข่ายมากันไว้เพื่อความปลอดภัยดีกว่าค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 สารเคมีอันตรายใน น้ำยาซักผ้าเด็ก และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับลูกรัก

เด็กเล็กเล่นกระบะทรายปลอดภัยหรือไม่ ? อันตรายกับลูกไหม ?

5 ภัยใกล้ตัวลูก เตือนพ่อแม่ !! ให้รู้เท่าทันอันตรายรอบตัวเด็ก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

kamonchanok

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนเข้าเรียน
  • /
  • ดูแลของใช้ในบ้าน ที่เป็นอันตรายกับลูกมีอะไรบ้าง รู้แล้วเก็บด่วน!
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว