X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กินยาคุมตอนท้อง ท้องแล้วกินยาคุม อันตรายต่อลูกในท้องไหม

บทความ 5 นาที
กินยาคุมตอนท้อง ท้องแล้วกินยาคุม อันตรายต่อลูกในท้องไหม

กินยาคุมตอนท้อง ท้องแล้วกินยาคุม จะอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่ เพิ่งรู้ว่าท้อง แต่ก่อนหน้านั้นกินยาคุมไปสักระยะหนึ่งแล้ว จะมีผลกระทบอย่างไรได้บ้าง มาดูคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การกินยาคุมช่วงตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่ ?

 

ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะมีผลป้องกันการตั้งครรภ์ โดยยับยั้งการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูก (เยื่อบุมดลูก) บางตัวมีสภาพไม่พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน และทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ในท่อนำไข่ได้ค่ะ

ยาเม็ดคุมกำเนิด แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

  • ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined pill) ประกอบด้วยตัวยาทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสติน
  • ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสตินอย่างเดียว (Minipill)
  • ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Postcoital pill)

ยาเม็ดคุมกำเนิดนั้น เหมาะในผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดชั่วคราว ระยะเวลาไม่กี่ปี (น้อยกว่า 5 ปี) มีการวางแผนต้องการบุตรเพิ่มอีกในอนาคต และในปัจจุบันยาเม็ดคุมกำเนิดมีหลายชนิด ชนิดที่ได้รับความนิยม และมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ดีคือ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ส่วนยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว ควรใช้ในสตรีที่ให้นมบุตร และสตรีที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้นะคะ

 

กินยาคุมตอนท้อง ท้องแล้วกินยาคุม อันตรายต่อลูกในท้องไหม

 

กินยาคุมตอนท้อง ลูกจะพิการหรือไม่?

การกินยาคุมในช่วงท้องนั้น ยังไม่มีผลวิจัยว่าจะทำให้ลูกพิการ เพราะฉะนั้นแม่ท้องหมดกังวลไปได้เลยค่ะ แต่หากรู้ตัวว่าตัวเองตั้งครรภ์ควรหยุดกินยาคุมทันทีค่ะ

 

กินยาคุมตอนท้องทำให้แท้งลูกจริงหรือไม่ ?

เมื่อเรากินยาคุม ยาคุมจะไปมีผลต่อร่างกาย คือมดลูกจะมีเมือกมากขึ้น และผนังมดลูกจะมีความบาง ซึ่งจะขัดขวางการเคลื่อนที่ของอสุจิ ไม่ให้สามารถไปวางไข่ได้ เพราะมดลูกมีผนังบาง ดังนั้นเมื่อแม่ท้องกินยาคุมตอนท้องก็จะไม่มีผลกระทบ แต่ควรหยุดกินยาคุมในช่วงท้องจะปลอดภัยที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง กินบ่อยไปแล้วควรทำอย่างไร ?

 

กินยาคุมตอนท้อง ท้องแล้วกินยาคุม อันตรายต่อลูกในท้องไหม

 

กินยาคุมทำให้คลอดลูกก่อนกำหนดจริงหรือไม่ ?

บางงานวิจัยเผยว่า การกินยาคุมตอนท้อง อาจจะเสี่ยงต่อสภาวะคลอดก่อนกำหนด และส่งผลให้น้ำหนักลูกน้อยต่ำกว่าเกณฑ์ได้ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการกินยาคุมเป็นสาเหตุหลัก

 

กินยาคุมตอนท้องเสี่ยงท้องนอกมดลูกจริงหรือไม่ ?

การกินยาคุมตอนท้องมีความเสี่ยงที่จะทำให้ท้องนอกมดลูกได้ เพราะเคยมีรายงานว่า การกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว และอายุคุมฉุกเฉินตอนท้อง จะทำให้เพิ่มโอกาสในการท้องนอกมดลูกได้

 

กินยาคุมตอนท้อง

การใช้ยาคุมกำเนิดระหว่างการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกนั้น ไม่มีความเสี่ยงต่อการผิดปกติของทารกในครรภ์ค่ะ

ในขณะที่มีงานวิจัยบางชิ้น พบว่าการใช้ยาคุมกำเนิดนั้น ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย คลอดก่อนกำหนด หรือส่งผลให้เด็กทารกมีความผิดปกติทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กำเนิด แต่ความเป็นจริงแล้วยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่ะ

โดยรวมแล้วการกินยาคุมกำเนิดในการตั้งครรภ์ช่วงแรกนั้นมีความเสี่ยงต่ำ ที่ไข่จะปฏิสนธินอกมดลูก หรือท้องนอกมดลูก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นช่วงที่ไข่มีการเดินทางจากรังไข่ไปยังโพรงมดลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

 

ยาคุมแบบไหนเสี่ยงสุด

หากคุณแม่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestin-only contraception) อาจจะมีความเสี่ยงท้องนอกมดลูกได้มากกว่า เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน หากคุณแม่สงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ ให้รีบหยุดการกินยาคุมกำเนิด แล้วไปตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาล หรือซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาตรวจเบื้องต้นก่อนก็ได้ค่ะ

ดังนั้นหากยังกังวลอยู่ว่าจะเกิดผลกระทบอะไร ควรปรึกษากับคุณหมอ และนำยาคุมที่กินไปให้คุณหมอดูด้วยนะคะ

 

กินยาคุมตอนท้อง ท้องแล้วกินยาคุม อันตรายต่อลูกในท้องไหม

 

ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด

นอกเหนือไปจากป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการแล้ว ยาเม็ดคุมกำเนิดยังมีผลข้างเคียงมากมาย หากใช้ยาในเวลานาน

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
  • ยาเม็ดคุมกำเนิดทำให้เลือดข้น และจับตัวเป็นก้อนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดอุดตันในปอด เส้นโลหิตอุดตัน และโรคหัวใจ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และสูบบุหรี่เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง
  • ผลข้างเคียงอีกอันหนึ่งของยาเม็ดคุมกำเนิดคือ น้ำหนักขึ้น จากการที่ฮอร์โมนปรวนแปร ยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถทำให้ร่างกายของคุณกักเก็บน้ำไว้หรือเพิ่มไขมันในเนื้อเยื่อของคุณ
  • ฝ้า คือสิ่งธรรมดาสำหรับผู้หญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ผิวของคุณจะคล้ำลง โดยเฉพาะบริเวณเหนือริมฝีปากบน
  • ผู้หญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด อาจมีประสบการณ์ของความรู้สึกทางเพศต่ำ จากการศึกษาที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยอินเดียน่า แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นประจำยากที่จะกลับมามีอารมณ์ทางเพศตามปกติ ยาเม็ดคุมกำเนิดประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งนำไปสู่ความบกพร่องของฮอร์โมนเทสโตโรน ซึ่งจะมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการกระตุ้นเร้าทางเพศนั่นเอง
  • หัวข้อของมะเร็ง และยาเม็ดคุมกำเนิดยังอยู่ภายใต้การโต้แย้ง  การศึกษาเกี่ยวกับยาเม็ดคุมกำเนิดบางหัวข้ออ้างว่า ยาเม็ดคุมกำเนิดจะช่วยลดการเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งของรังไข่ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อเชื่อมโยงระหว่างยาเม็ดคุมกำเนิด เต้านม และมะเร็งปากมดลูกด้วยเช่นกัน ผู้หญิงที่ติดเชื้อ HPV (หูด) คือผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ในการที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ในช่วงขณะที่ยังใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
  • ยาเม็ดคุมกำเนิดมีผลกระทบในอนาคต เมื่อต้องการตั้งครรภ์ นี่คือเรื่องจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมาเป็นเวลานาน จากการศึกษาพบว่า การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้สูญเสียเยื่อบุโพรงมดลูกอย่างถาวร มีผู้หญิงมากมายที่หยุดใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด รายงานว่ามีความผิดปกติของรอบเดือน หรือรอบเดือนขาดหายไป นี่คือสิ่งปกติที่เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากภาวะที่รังไข่ไม่ปล่อยไข่สุกในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด

 

การศึกษาเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิดยังคงดำเนินต่อไป แต่ถ้าคุณวางแผนที่จะใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดต่อไป ขอให้คุณแน่ใจว่า ได้พิจารณาถึงผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ของยาเม็ดคุมกำเนิดกับแพทย์ของคุณแล้วนะคะ

 

หากคุณผู้หญิงยังมีข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับการกินยาคุมทั้งแบบทั่วไป และแบบฉุกเฉิน สามารถศึกษาเพิ่มได้จากบทความที่เรารวบรวมไว้ให้ คลิก

 

กินยาคุมตอนท้อง ท้องแล้วกินยาคุม อันตรายต่อลูกในท้องไหม

เพจ นานายาเด็ก โดย ณัฎฐา โมลีเศรษฐ์ (เภสัชกรกวาง)

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ราคายาคุมฉุกเฉิน แต่ละยี่ห้อเท่าไหร่บ้าง เทียบราคาอย่างละเอียด

ยาคุมกินช้าสุดกี่วัน เกิน 72 ชั่วโมง ยังทานยาคุมฉุกเฉินได้อยู่ไหม ?

ยาคุมยี่ห้อไหนดี ยาคุมแต่ละยี่ห้อ มีความแตกต่างกันอย่างไร ?

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการกินยาคุมตอนท้อง ได้ที่นี่!

กินยาคุมตอนท้อง เป็นอันตรายไหมคะ จะส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

 

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ณัฎฐา โมลีเศรษฐ์ (เภสัชกรกวาง

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • กินยาคุมตอนท้อง ท้องแล้วกินยาคุม อันตรายต่อลูกในท้องไหม
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว