คุณแม่ท่านไหนบ้างคะ ที่เคยประสบหรือกำลังประสบกับปัญหาไอแห้งตอนท้องบ้าง? อาการ ไอแห้งตอนท้อง นั้น นอกจากจะทำให้เรารู้สึกเจ็บแล้ว ยังทำให้เรารู้สึกรำคาญอีกด้วย และคุณแม่ทราบหรือไม่คะว่า สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะอะไร วันนี้เราเตรียมคำตอบมาฝากกันค่ะ
อาการไอแห้ง คืออะไร
อาการไอแห้ง (Non-Productive Cough) หรืออาการที่เรียกว่า เป็นการไอโดยที่ไม่มีเสมหะ เป็นอาการที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป แม้จะไม่ใช่คนท้องก็ตาม เป็นอาการที่อาจรบกวนการนอน และการใช้ชีวิตประจำวัน ในกรณีที่รุนแรง ยังสามารถนำพาอาการเจ็บปวดอื่น ๆ มาร่วมได้ด้วย เช่น อาการปวดท้อง ปวดศีรษะ เป็นต้น ในเบื้องต้น เราอาจสามารถบรรเทาอาการไอแห้งได้ด้วย การดื่มน้ำให้มากขึ้น นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และหมั่นรับประทานอาหารที่มีสรรพคุณที่ช่วยในการบรรเทาอาการเจ็บคอได้ แต่หากอาการไอแห้ง มีความรุนแรงขึ้น เช่น ไอจนเริ่มมีเลือดปนออกมา หรือเริ่มมีเสมหะอย่างรุนแรง สาเหตุนั้นอาจเกิดจากโรคที่รุนแรงแทรกซ้อนได้ ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเร็วที่สุดนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้หรือไม่! อาการไอ เกิดจากอะไร ? มาดูสาเหตุ พร้อมวิธีการรับมือไปพร้อมกัน

อาการ ไอแห้งตอนท้อง มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
เรียกได้ว่า อาการไอแห้งถือเป็นอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่มีโรคภูมิแพ้กันอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ท้อง ร่างกายของคุณแม่จะบอบบางกว่าเดิม จึงไม่แปลกที่อาการดังกล่าวจะเกิดง่ายขึ้น แม้จะป้องกันแล้วก็ตาม
โดยจากสถิติแล้ว กว่าร้อยละ 50 ของโรคหอบหืดที่มักจะเกิดในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติการเป็นโรคหืด หรือเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน เมื่อได้รับสารกระตุ้นการก่อให้เกิดภูมิแพ้ ยกตัวอย่างเช่น ขนสัตว์ ฝุ่น หรืออาหารบางชนิด ก็ทำให้อาการดังกล่าวกลับมาเกิดขึ้นได้
คุณแม่บางคนก็อาจเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้เช่นกัน ซึ่งโรคดังกล่าวนั้น เกิดจาก ก่อนหน้าตั้งครรภ์อาจจะสูบบุหรี่จัด หรืออาจจากการได้รับสิ่งกระตุ้นไม่ว่าจะเป็น ควัน ฝุ่นละออง หรือได้รับเชื้อหวัด เป็นต้น
ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณแม่ท้องชอบไอแห้ง ประมาณร้อยละ 20 – 40 ของหญิงตั้งครรภ์ มักมาพบแพทย์เพราะมีอาการเยื่อบุจมูกอักเสบ ไซนัส และเลือดกำเดาไหล ที่เป็นเช่นนั้นเพราะอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่งผลในการกระตุ้นระบบประสาทที่มาเลี้ยงเยื่อบุจมูก ทำให้เส้นเลือดในเยื่อบุจมูกมีการขยายตัว และมีการกระตุ้นการทำงานของต่อมสร้างน้ำมูกในเยื่อจมูกมากขึ้น ทำให้เกิดอาการทางจมูกหรือไซนัสที่เป็นอยู่แล้วแย่ลงได้
ไข้หวัด เป็นอาการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง โดยปกติแล้วจะไม่มีความรุนแรง และสามารถหายได้เองแม้ไม่ได้รักษา ภายใน 1 สัปดาห์ โดยโรคนี้จะมีไข้ร่วมด้วย และอาจเกิดการอักเสบบริเวณลำคอ หรือก็คืออาการไอ นั่นเอง ในบางคนอาจจะมีทั้งอาการไอแห้ง บางคนอาจจะมีอาการไอแบบมีเสมหะ แต่โดยปกติแล้ว มักจะเป็นอาการไอแห้ง ถ้าหากไม่มีอาการรุนแรงของไข้หวัด
หากคุณแม่รู้สึกว่าไอบ่อยขึ้น หรือมีอาการไอแห้ง คันคอ แสบคอ โดยเฉพาะเวลาอยู่นอกบ้าน อาจไม่ได้เป็นแค่หวัดธรรมดา แต่อาจเกิดจาก มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น PM2.5 หรือควันจากรถและโรงงาน ที่ลอยปะปนอยู่ในอากาศ
ฝุ่นเหล่านี้สามารถระคายเคืองทางเดินหายใจ ทำให้คุณแม่ไอมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงที่ตั้งครรภ์ ร่างกายจะไวต่อสิ่งกระตุ้นมากขึ้น จึงรู้สึกไม่สบายได้ง่าย
โรคกรดไหลย้อน เป็นอาการที่คนที่เป็นจะเกิดอาการ แสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย และทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นผลให้มีอาการและน้ำย่อยไหลย้อนกลับขึ้นมาตามท่อลำเลียงอาหาร เมื่อน้ำย่อยสัมผัสกับลำคอ จึงทำให้มีอาการแสบในลำคอนั่นเองค่ะ พอเมื่อลำคอมีการอักเสบ ก็จะส่งผลให้เกิดอาการไอแห้งได้เช่นกัน โดยโรคนี้มักพบในเวลากลางคืน หลังจากการนอนทันทีหลังทานอาหาร ที่อาหารยังไม่ย่อยดี ทำให้มีอาการไอและเจ็บคอ รวมไปถึงมีอาการจุกเสียด และแน่นหน้าอกอีกด้วย

นอกจากโรคที่นำเสนอข้างต้นแล้ว อาการไอแห้ง ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก เช่น
- การสูดสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ควันบุหรี่ น้ำหอม หรือมลพิษอื่น ๆ
- การได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง ละอองเกสร เชื้อรา หรือแม้แต่ขนของสัตว์เลี้ยงก็ด้วย
- ผลข้างเคียงจากยาบางประเภท อย่าลืมอ่านฉลากยาก่อนทาน และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งนะคะ
- โรคหัวใจ เพราะโรคหัวใจนั้น อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ที่ทำให้เกิดอาการไอแห้ง จนนำมาถึงอาการหายใจไม่ออก จนเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
- การสำลัก เช่น สำลักน้ำลาย หรืออาหาร/น้ำ ที่ทานเข้าไป เป็นต้น
คนท้องไอจนเจ็บท้อง อันตรายไหม
คนท้องไอจนเจ็บท้อง เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากขณะไอ กล้ามเนื้อหน้าท้องจะหดตัวเกร็งตัว และถ้าไอติดต่อกันหลายครั้ง กล้ามเนื้อที่ยังตึงอยู่จะยิ่งเจ็บมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไป อาการนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกในครรภ์ค่ะ
หากอาการเจ็บท้องจากการไอไม่ดีขึ้นแม้ว่าอาการไอจะหายไปแล้ว หรือมีอาการปวดมากขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง และรับการดูแลอย่างเหมาะสมค่ะ
ไอแห้งตอนท้อง แบบไหนต้องไปหาหมอ
หากคุณแม่แค่ไอเล็กน้อย ไม่มีไข้ ไม่อ่อนเพลียมาก สามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ แต่ถ้ามีอาการไอร่วมกับสิ่งเหล่านี้ ต้องรีบพบแพทย์ทันที!
-
มี ไข้สูง ตัวร้อน หนาวสั่น
-
รู้สึก อ่อนเพลียมาก จนทำอะไรไม่ไหว
-
อาเจียน จนกินอะไรไม่ลง
-
มีอาการ หน้ามืด เวียนหัว
-
รับประทานอาหารได้น้อยกว่าปกติ
-
ไอแล้วมี เสมหะมาก หรือเสมหะเขียว
-
รู้สึก แน่นหน้าอก หรือเจ็บหน้าอก
อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หรือไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกได้ถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
วิธีการบรรเทาอาการ ไอแห้งตอนท้อง
คนท้องไอกินอะไรถึงหาย ลองทำตามวิธีบรรเทาอาการไอ คันคอ คนท้อง ต่อไปนี้
- ดื่มน้ำให้มาก และพยายามไม่ให้ร่างกายขาดน้ำในระหว่างตั้งครรภ์
- ดื่มน้ำอุ่นผสมมะนาว เลี่ยงการดื่มน้ำเย็น
- ผสมน้ำผึ้งลงไปในน้ำดื่ม เพราะน้ำผึ้งมีส่วนช่วยให้อาการไอแห้งนั้นดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณแม่ควรเช็คกับคุณหมอก่อนนะคะว่า สามารถดื่มได้หรือไม่ เพราะร่างกายและอาการตั้งครรภ์ของคุณแม่แต่ละท่านนั้นต่างกัน
- พักผ่อนให้เพียงพอ และพยายามงีบหลับสัก 5 – 10 นาทีในระหว่างตั้งครรภ์
- อมลูกอม เพื่อให้ชุ่มคอ แต่ไม่ควรใช้บ่อยจนเกินไป
- กินผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว สับปะรด ช่วยให้ชุ่มคอและกระตุ้นน้ำลาย แต่ไม่ควรกินบ่อยจนเกินไป
- ควรอยู่ในสถานที่อากาศปลอดโปร่ง หลีกเลี่ยงการไปพื้นที่แออัด

โดยสรุปแล้ว อาการไอแห้งตอนท้อง เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้โดยปกติ โดยมีสาเหตุหลายอย่าง ไม่ว่าจะทั้งเป็นอาการขาดน้ำ ขาดวิตามิน หรือแม้แต่ความเปลี่ยนแปลงของอากาศ ก็ส่งผลทำให้คุณแม่มีอาการไอแห้งได้เช่นกัน ทั้งนี้ อย่าลืมดื่มน้ำปริมาณอย่างเหมาะสม และปรึกษาแพทย์ หากมีอาการรุนแรงนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อ่านก่อนซื้อ เครื่องเพิ่มความชื้น ข้อเสีย คืออะไรบ้าง? จำเป็นมากแค่ไหนสำหรับเรา
10 วิธีบรรเทาอาการเจ็บคอ ที่ได้ผลจริง ลดอาการระคายเคืองคอได้ดี
ทารกไอ ลูกน้อยไอ ลักษณะอาการไอของทารกที่คุณแม่ควรรู้
ที่มา : momjunction , precisionlife
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!