เกล็ดเลือดต่ำ คืออะไร
เกล็ดเลือดต่ำที่พบบ่อยในเด็ก เรียกว่า ITP ชนิดที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน พบบ่อยในช่วงอายุ 2-6 ปี และมักจะหายเป็นปกติภายใน 6 เดือน เด็กที่อายุมากกว่า 10 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ ITP ชนิดเรื้อรัง ในรายที่มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 ตัวต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และมีเลือดออกมาก จำเป็นต้องให้การรักษาจำเพาะที่ทันท่วงที และพิจารณาตัดม้ามเมื่อเด็กมีอายุเกิน 4 ปี
ความสำคัญของเกล็ดเลือด เกล็ดเลือดต่ำ
เกล็ดเลือดถูกสร้างจากไขกระดูกเช่นเดียวกับเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือดมีหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผลทำให้แผลมีเลือดออกน้อยลง เกล็ดเลือดมีหลักการทำงานในการช่วยให้เลือดแข็งตัว 3 ขั้นตอน คือ
1. เกล็ดเลือดจะหลั่งเอนไซม์เพื่อช่วยให้เลือดแข็งตัว
2. เกล็ดเลือดจะจับตัวเป็นก้อน เพื่อขวางทางไหลของเลือดและอุดบาดแผล ทำให้เลือดหยุดไหลและลดการสูญเสียเลือด
3. ช่วยลดขนาดของก้อนเลือดหรือลิ่มเลือดที่อุดอยู่บริเวณปากแผล ภายหลังเมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว
โรคเกล็ดเลือดต่ำ( ITP) ในเด็กเล็ก
– สาเหตุสำคัญของโรคเกล็ดเลือดต่ำชนิด ITP ในเด็ก มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อเกล็ดเลือดของตนเอง ทำให้เกิดการทำลายเกล็ดเลือดของตนเองที่ม้าม จำนวนเกล็ดเลือดในกระแสเลือดจะลดต่ำลง ทำให้เกิดปัญหาเลือดออกเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ
– โรคเกล็ดเลือดต่ำในทารกแรกเกิด คือ เด็กจะมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก แต่มีน้ำเลือดจำนวนน้อย สาเหตุเกิดจากแม่ที่มีภาวะ รกเสื่อมทำให้นำอาหารไปสู่ทารกได้น้อย ส่งผลให้ทารกต้องสร้างเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก เพื่อนำพาอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของตนเอง เมื่อเลือดหนืดหรือเกล็ดเลือดต่ำทำให้เลือดวิ่งผ่านเส้นเลือดเล็ก ๆ ไม่สะดวก ทำให้เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญได้
บทความแนะนำ ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร
– นอกจากนี้ อาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา หรือมีการติดเชื้อในกระแสเลือด นอกจากนี้ในแม่ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเอสแอลอี (SLE) หรือโรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันตนเอง อาจคลอดลูกที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้ เพราะแม่ที่มีโรคนี้จะมีสารที่ทำลายเกล็ดเลือด
บทความแนะนำ โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ที่ควรรู้ก่อนตั้งครรภ์
เกล็ดเลือดต่ำ สังเกตได้อย่างไร
1. ทารกมีจ้ำเลือดตามตัวหรือไม่ หรือจ้ำเลือดเหล่านั้นมีไตแข็ง ๆ อยู่ใต้ผิวที่ช้ำ หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “พรายย้ำ” คือ เป็นจ้ำเลือดจะมีสีม่วงปนเหลือง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในตำแหน่งเลือดอออกแตกตัวให้สารสีเหลือง บางคนมีเลือดออกในช่องปาก เหงือก บางคนปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด หรือถ่ายสีดำเหมือนยางมะตอย บางรายมีเลือดออกภายใน ทำให้ช็อค และเสียชีวิตได้
2. มีจุดเลือดเล็ก ๆ ขนาดเท่าปลายเข็มหมุด ตามแขนขามากกว่าสิบจุดขึ้นไป
3. มีเลือดกำเดาไหลบ่อย หรือมีเลือดกำเดาไหลแล้วหยุดยากใช้เวลานานกว่าสิบห้านาที ทั้งที่พยายามกดให้เลือดหยุดไหลแล้ว
4. คลำท้องลูกตอนนอนแล้วพบมีก้อนในท้อง หากเป็นเช่นนี้ควรพามาพบคุณหมอโดยด่วนค่ะ
การรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำ
1. คุณหมอจะรักษาตามความรีบด่วนของอาการและตามสาเหตุ หากมีเลือดออกมากต้องห้ามเลือด และให้เกล็ดเลือดทดแทนก่อน โดยเฉพาะในเด็ก เกล็ดเลือดไม่ต่ำมาก ไม่มีเลือดออก อาจจะหายได้เอง
2. วิธีรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีมาก คือ การตัดม้าม เพราะม้ามเป็นตัวการในการทำลายเกล็ดเลือด เมื่อตัดม้ามออกทิ้งเสีย เกล็ดเลือดก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหามีอยู่ว่า แต่ละคนมีม้ามอันเดียว ตัดออกแล้วก็หมดกัน ปกติม้ามมีหน้าที่ช่วยจัดการเม็ดเลือด ที่ไม่สมบูรณ์ และป้องกันเชื้อโรคบางอย่าง ผู้ป่วยที่ตัดม้ามอาจจะติดเชื้อโรคบางอย่างที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ง่าย จึงต้องดูแลตนเองใกล้ชิด
3. ปัจจุบันการรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำพัฒนาไปมาก จากที่เคยต้องตัดม้าม ได้มีการค้นพบว่า IVIG ที่ไม่ต้องตัดม้าม เป็นการสร้างภูมิต้านทานให้กับแอนติบอดี้ในร่างกาย ซึ่งคุณหมอจะให้คำแนะนำกรณีต้องใช้วิธีการนี้ค่ะ
คุณหมอฝากบอก
1. โรคเกล็ดเลือดต่ำในเด็กควรแนะนำกิจกรรม หรือกีฬาที่ไม่เสี่ยงต่อการหกล้มหรือมีเลือดออกง่าย เช่น วิ่งแข่ง เตะบอล รักบี้ กีฬาที่ปลอดภัยที่แนะนำคือ ว่ายน้ำ ของเล่นควรเป็นพลาสติกที่ไม่แหลมคม เฟอร์นิเจอร์ในบ้านควรระวังที่มีมุมแหลมคม เด็กอาจวิ่ง หรือคลานไปชน ควรทำมุมให้มน
2. ระวังการกระทบกระแทก หรือเสี่ยงต่อการกระทบกระแทกอย่างแรง เช่น ขี่มอเตอร์ ไซค์ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัย อาจถูกรถเฉี่ยวชนล้ม ศีรษะฟาด มีเลือดออกในสมองหรือการปีนขึ้นไปทำงานในที่สูง เสี่ยงต่อการตกลงมา มีเลือดออกมาก ระวังการใช้ของมีคม เช่น มีดจะบาดได้และเลือดออกไม่หยุด การแปรงฟันต้องเลือกแปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มมากๆ และต้องแปรงค่อยๆ
3. สำหรับการไปทำฟัน หากต้องมีการถอนฟัน อุดฟัน ฉีดยา หรือผ่าตัด ต้องแจ้งคุณหมอให้ทราบทุกครั้งว่าลูกเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำเพื่อการรักษาต้องระมัดระวังมากขึ้น หรือใช้วิธีการรักษาที่จะป้องกันให้เด็กปลอดภัยที่สุด
ได้ทราบกันแล้วนะคะสำหรับข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวโรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) หากสงสัยว่าลูกเป็นอยู่หรือมีอาการใดที่แสดงออกควรรีบปรึกษาคุณหมอโดยด่วนนะคะ
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://clinicherbs.com
https://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net
https://baby.kapook.com
https://www.gotoknow.org
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ที่ควรรู้ก่อนตั้งครรภ์
ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เลี่ยงโรคทางพันธุกรรม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!