คุณน้าเล่าว่า ภายหลังจากที่หลานชายเกิดได้เพียงไม่กี่วัน คุณหมอก็พบว่าหลานชายมีหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงต้องทำการผ่าตัดบริเวณหน้าขา แต่เรื่องไม่ได้จบเพียงแค่นั้น เมื่อหลังจากผ่าตัดได้เพียงแค่ 4 วัน คุณหมอก็กลับมาบอกว่า หลานชายเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วอีก!
และในระหว่างที่หลานชายกำลังนอนพักฟื้นอยู่นั้น ก็ได้เกิดภาวะแทรกซ้อนคือ น้ำท่วมปอดขึ้น คุณหมอจึงต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด จนตอนนี้หลายชายเริ่มมีอาการที่ดีขึ้น แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า หลายชายจะไม่ต้องผ่าตัดซ้ำสองอีก เพราะคุณหมอยังคงต้องเฝ้าดูอาการของน้องเป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจว่า น้องมีอาการที่ดีขึ้นแล้วจริง ๆ ซึ่งสิ่งที่ทุกคนในครอบครัวทำได้ในตอนนี้คือ การสวดมนต์ภาวนา และพูดคุยกับน้อง ขอให้น้องสู้ และมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อคุณแม่และทุก ๆ คน
ลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจรั่ว
ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน ขอร่วมเป็นกำลังใจและภาวนาให้น้องมีอาการดีขึ้นไว ๆ นะคะ … คุณแม่คะ ทราบกันหรือไม่คะว่า ปัจจุบันเราพบว่ามีทารกแรกเกิดป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วกันมากขึ้น ซึ่งการกำเนิดของเด็กแต่ละครั้งทั่วโลก จะพบว่ามีเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด 8 คน และหนึ่งในนั้นจะเป็นโรคลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิดประมาณ 5 เปอร์เซ็น จริงอยู่ที่โรคลิ้นหัวใจรั่วนั้น สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับคนที่เรารักเป็นแน่ และเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ทุก ๆ ท่าน วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาฝากกันค่ะ
สาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดลิ้นหัวใจรั่ว
- มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โดยอาจไม่มีอาการอะไรให้เห็นในวัยเด็กหรือตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์
- ลิ้น หัวใจเสื่อมตามอายุ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวและรับแรงจากเลือดตลอดเวลา ดังนั้นจึงเกิดการเสื่อมขึ้น ลิ้นหัวใจ จะหนาตัวขึ้นและเริ่มมีหินปูน (calcium) เข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อ ทำให้ปิดไม่สนิท
- โรคหัวใจรูห์มา ติค ซึ่งพบบ่อยในเด็ก ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ต่อต้านหัวใจตนเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ ผลตามมาคือลิ้นหัวใจหนาตัวขึ้นมาก เกิดลิ้นหัวใจตีบและรั่ว โรคนี้ยังจัดเป็นปัญหา สาธารณสุขของประเทศอยู่ พบบ่อยๆ ในผู้ป่วยเศรษฐานะต่ำ หรืออยู่ในชุมชนแออัด
- เกิดจากการติด เชื้อที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นรู เชื้อโรคอาจมาจากช่องปาก เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาดในผู้ติดยาเสพติด การเจาะตามร่างกาย เป็นต้น
ปัจจุบันพบเด็กเป็นโรคหัวใจรูมาติกเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นการที่เด็กมีอาการเป็นหวัด เจ็บคอ พ่อแม่จะต้องหมั่นดูแลเป็นอย่างดี ต้องทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง เพราะถ้าเชื้อไม่หมด จะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ และส่งผลให้เป็นโรคหัวใจรูมาติกได้
ที่มา: โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
โรคลิ้นหัวใจตีบในเด็ก หากเข้าใจ ไม่ยากเกินรับมือ
ความรู้จากแพทย์กับโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดในทารก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!