X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการหนาวใน เพราะไม่ได้อยู่ไฟ จริงหรือ แนวทางการรักษา อาการหนาวใน

บทความ 3 นาที
อาการหนาวใน เพราะไม่ได้อยู่ไฟ จริงหรือ แนวทางการรักษา อาการหนาวใน

อาการหนาวในกระดูก อาการหนาวใน โบราณว่าเป็นเพราะไม่ได้อยู่ไฟหลังคลอด คุณแม่บางคนบอกว่าหนาวจนเข้ากระดูก แค่ฝนตั้งเค้ามาก็หนาวแล้ว ใครไม่เป็นรู้หรอก!! ในความเป็นจริง หนาวในเกิดจากอะไรกันนะ?

อาการหนาวใน หรือ อาการหนาวในกระดูก ตามตำราแพทย์แผนไทย

มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้กล่าวถึงอาการหนาวในไว้ว่า ตามตำราแพทย์แผนไทย เชื่อว่า การคลอดบุตรทำให้สูญเสียความร้อนในร่างกาย เสียธาตุไฟ ร่างกายขาดความสมดุล และยังสามารถเกิดในผู้สูงอายุที่กำลังจะหมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมาน้อย เป็นไข้ทับระดู มาไม่ตรงวัน ปวดประจำเดือนรุนแรง ลักษณะของประจำเดือนมีสีคล้ำ เป็นก้อน เป็นลิ่ม เป็นต้น

 

อาการหนาวในกระดูก อาการเริ่มต้นของอาการหนาวในที่ควรสังเกต

จะมีอาการหนาวสั่นสะท้านเข้ากระดูก มือเท้าเย็น ปากเขียว มือเขียว เหมือนเลือดไหลเวียนไม่ดี และเมื่อมีอาการหนาวในเป็นประจำจะทำให้เกิดอาการปวดหลังชาๆ ขัดข้อสะโพก มีจ้ำเขียวตามร่างกายได้ง่าย เป็นไข้ทับระดูทุกครั้งที่มีประจำเดือน มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว

 

แนวทางการรักษา อาการหนาวใน ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

อาการหนาวในยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด และมีลักษณะอาการแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ถ้าปล่อยทิ้งไว้จนเป็นมากก็อาจมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยจนถึงมดลูกอักเสบ โดยแพทย์แผนไทยถือว่าอาการของกลุ่มมดลูกอักเสบนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการปรับสมดุลธาตุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องได้รับการตรวจจากแพทย์แผนไทยอย่างละเอียด ว่าต้องปรับอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับอาการ และธาตุของคนไข้

นอกจากคนที่ไม่ได้อยู่ไฟแล้ว อาการหนาวใน เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

  1. รูปร่างผอมบางเกินไป

คนที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน อาจส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถสร้างความอบอุ่นได้เพียงพอจนทำให้รู้สึกหนาวง่าย อีกอย่างเมื่อเราผอมเพราะไม่ค่อยได้กินอาหาร ก็ยิ่งลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญ จนความร้อนในกระบวนการเผาผลาญไม่เกิด ดังนั้นคนที่ตัวผอมบางจึงมักจะรู้สึกหนาวง่ายหรือหนาวตลอดเวลานั่นเอง

  1. ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

อาการหนาวเป็นพักๆ รวมทั้งผมเริ่มร่วงและบาง ผิวแห้งมากขึ้น แถมยังรู้สึกอ่อนเพลียด้วย ลักษณะอาการเช่นนี้อาจเข้าข่ายภาวะขาดไทรอยด์ ซึ่งเป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์ไม่หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่พอเพียง จนส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ความร้อนในร่างกายจึงลดน้อยลงไปด้วย

  1. ขาดธาตุเหล็ก

เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ช่วยขนส่งออกซิเจนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง นำพาความร้อนและสารอาหารที่สำคัญเข้าสู่กระบวนการทำงานของเซลล์ทุกแขนงในร่างกาย ดังนั้นหากขาดธาตุเหล็กไป กระบวนการดังกล่าวก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้ความอบอุ่นในร่างกายลดน้อยลง

  1. ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี

อาการมือเย็นเท้าเย็นบ่อยๆ แต่ร่างกายโดยรวมไม่ได้ผิดปกติอะไร การวินิจฉัยจากแพทย์ อาจเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายทำงานไม่ปกติ ไม่สามารถไหลเวียนเลือดได้สะดวกไปทั่วทั้งร่างกาย หรืออาจจะมีภาวะของโรคหลอดเลือดอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ ที่อาจขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังมือและเท้าได้

  1. โรคเรย์นอยด์ (Raynaud Disease)

เป็นสาเหตุให้เส้นเลือดบริเวณมือตีบ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่ดี ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วมือ ร่วมกับอาการนิ้วมือนิ้วเท้าเย็นตามมาด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษา

  1. พักผ่อนไม่เพียงพอ

การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้สารเคมีในสมองรวมไปถึงระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติได้ ซึ่งก็นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง รวมทั้งอาการหนาวง่ายก็เป็นผลพวงที่ตามมาด้วยเช่นกัน

  1. ดื่มน้ำน้อยเกินไป

น้ำเป็นส่วนประกอบในร่างกายมากกว่า 60% และยังมีหน้าที่สำคัญที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้เป็นปกติ นักโภชนาการให้ข้อมูลว่าร่างกายที่ไม่ได้รับน้ำสะอาดเพียงพออาจเกิดได้ทั้งภาวะอุณหภูมิที่ร้อนจัดและเย็นจัด เนื่องจากภาวะขาดน้ำจะทำให้ระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกายปรวนแปร รวมไปถึงเมื่อขาดน้ำ ระบบเผาผลาญก็ทำงานไม่สะดวกด้วย

  1. ขาดวิตามินบี 12

วิตามินบี 12 มีหน้าที่สำคัญพอๆ กับธาตุเหล็กตรงที่ช่วยลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งหากร่างกายไม่ได้รับวิตามินบี 12 ที่พอเพียงอาจทำให้หลอดเลือดแดงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และเมื่อการไหลเวียนของเลือดติดขัด ก็จะรู้สึกหนาวง่ายบวกกับมีอาการเหน็บชาบ่อยๆ ด้วย

  1. โรคเบาหวาน

อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปลายประสาทอักเสบได้ ซึ่งอาการนี้จะส่งผลให้มือและเท้าของคุณไวต่อสิ่งเร้าและการสัมผัส จนอาจทำให้รู้สึกหนาวเย็น ณ บริเวณนี้ได้ อีกทั้งปลายประสาทยังจะส่งสารบางอย่างไปยังสมองในส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ให้รู้สึกถึงความหนาวเย็นได้

  1. กล้ามเนื้ออ่อนแอเกินไป

แพทย์หญิง Margarita Rohr แห่ง NYU Langone Medical Center นิวยอร์ก บอกไว้ว่า กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยคงอุณหภูมิร่างกายของเราให้สมดุล การมีมวลกล้ามเนื้อมาก หนาแน่นและแข็งแรง จะช่วยให้ระบบเผาผลาญให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไปในตัว และช่วยรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้เป็นอย่างดี

 

อาการหนาวใน หรือหนาวง่ายจึงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เฉพาะคุณแม่ที่ไม่ได้อยู่ไฟหลังคลอดเท่านั้น การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณห่างไกลจากอาการหนาวในค่ะ

 

 

ที่มาและภาพประกอบ kaijeaw.com, matichon.co.th

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ทำไมหลังคลอดถึงปัสสาวะเล็ดบ่อย?

ความเชื่อเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอด

theAsianparent Community

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • อาการหนาวใน เพราะไม่ได้อยู่ไฟ จริงหรือ แนวทางการรักษา อาการหนาวใน
แชร์ :
  • เมนูอาหารคุณแม่อยู่ไฟ เมนูอาหารเด็ด ๆ อร่อย ๆ สำหรับคุณแม่อยู่ไฟ

    เมนูอาหารคุณแม่อยู่ไฟ เมนูอาหารเด็ด ๆ อร่อย ๆ สำหรับคุณแม่อยู่ไฟ

  • อยู่ไฟหลังคลอด จำเป็นต่อแม่หลังคลอดอย่างไร ควรระวังเรื่องใดบ้าง?

    อยู่ไฟหลังคลอด จำเป็นต่อแม่หลังคลอดอย่างไร ควรระวังเรื่องใดบ้าง?

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • เมนูอาหารคุณแม่อยู่ไฟ เมนูอาหารเด็ด ๆ อร่อย ๆ สำหรับคุณแม่อยู่ไฟ

    เมนูอาหารคุณแม่อยู่ไฟ เมนูอาหารเด็ด ๆ อร่อย ๆ สำหรับคุณแม่อยู่ไฟ

  • อยู่ไฟหลังคลอด จำเป็นต่อแม่หลังคลอดอย่างไร ควรระวังเรื่องใดบ้าง?

    อยู่ไฟหลังคลอด จำเป็นต่อแม่หลังคลอดอย่างไร ควรระวังเรื่องใดบ้าง?

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ