คุณตั้งครรภ์หลาย ๆ คนอาจจะประสบปัญหามากมายขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการแพ้ท้อง ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไป เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับลูกน้อยที่จะคลอดออกมา โภชนาการขณะตั้งครรภ์ รวมไปถึงอาการแปลก ๆ ที่มาพร้อมกับการตั้งครรภ์ วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความสิ่งที่แม่ท้องต้องรู้ อาการบวมน้ำในคนท้อง เป็นอย่างไร มาแบ่งปันคุณแม่มือใหม่กัน
อาการบวมน้ำในคนท้อง
อาการบวมน้ำในคนท้อง
อาการบวมน้ำในคนท้อง แพทย์หญิงธาริณี ลำลึก โรงพยาบาลพญาไท ได้อธิบายสาเหตุของอาการนี้ไว้ว่า สาเหตุสำคัญของร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่ส่งผลให้เกิดอาการมือบวม เท้าบวมประการที่หนึ่งเกิดจากขนาดของมดลูกที่ขยายตัวขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้ไปกดทับหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งจะต้องไหลเวียนย้อนกลับไปที่หัวใจ ทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอ ทำให้เลือดเกิดการคลั่งอยู่บริเวณส่วนล่างของร่างกาย
และประการที่สองเกิดจากเวลาที่คุณแม่เกิดการตั้งครรภ์จะมีภาวะฮอร์โมนซึ่งเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ มีการดูดซึมน้ำมากกว่าปกติ และ กักเก็บน้ำมากกว่าปกติ เพราะฉะนั้นก็จะทำให้เกิดอาการมือเท้าบวม ตัวบวมขึ้นมาได้
คนท้องเท้าบวมอันตรายไหม
หากคุณแม่มีอาการบวมที่เกิดจากอาการครรภ์เป็นพิษถือว่าอันตราย เพราะเมื่อของเหลวที่อยู่ในร่างกายเกิดมีแรงดันเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่การทำงานที่ผิดปกติของไตทำให้การไหลเวียนเลือดของคนท้องมีอาการที่ผิดปกติ รวมถึงภายในรกด้วย ซึ่งอาจทำให้ลูกในท้องได้รับออกซิเจน และสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ทารกในครรภ์ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
วิธีป้องกันอาการบวมน้ำ
อาการบวมน้ำ ในคนท้อง
- นอนตะแคง
- ยกปลายเท้าให้สูงขึ้นขณะนอน
- เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย และไม่ได้ทำให้เกิดการกดทับของมดลูก
- ไม่ใส่แหวนที่นิ้ว
- ออกกำลังกายเบา ๆ
- ใส่รองเท้าที่สบาย
- หลักเลี่ยงกันอยู่ในท่าเดิม ๆ หรือยืนนาน ๆ
- สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ ไม่รัดร่างกาย
- ดื่มน้ำให้มาก ๆ
อาการบวมน้ำ สัญญาณบอกเหตุว่าครรภ์เป็นพิษ
สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวังมากที่สุด แม้ว่าอาการบวมน้ำปกติ อาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงแก่ลูกร้อยในครรภ์ แต่อาการบวมผิดปกตินั้น เป็นสัญญาณของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ โดยลักษณะของการบวมผิดปกตินั้น สังเกตได้จากลักษณะบวมของผิวในร่างกาย เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์กดผิวเนื้อและเกิดการบุ๋มคงสภาพไว้ การบวมดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ทั้งภาวะขสบวม มือบวม และหน้าบวม โดยอาการดังกล่าวจะมีอาการร่วมกับความดันโลหิตสูง โปรตีนรั่วในปัสสาวะ และสามอาการสำคัญของคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว และ ปวดจุดแน่นลิ้นปี่
ครรภ์เป็นพิษคืออะไร
ครรภ์เป็นพิษเกิดจากความผิดปกติของการฝังตัวของรก ซึ่งโดยธรรมชาติรกจะฝังบริเวณเยื่อบุผนังมดลูก แต่ในกรณีที่แม่ครรภ์เป็นพิษรกจะฝังตัวได้ไม่แน่น ส่งผลให้รกบางส่วนเกิดการขาดออกซิเจน ขาดเลือด เมื่อเลือดไปเลี้ยงรกได้น้อยลงจะเกิดการหลั่งสารที่เป็นสารพิษเข้าสู่กระแสเลือดของแม่ทีละเล็กทีละน้อย เมื่อถึงจุดหนึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เช่น เส้นเลือดสมองตีบ ตาพร่ามัว ตับวาย ฯลฯ ต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะหากร้ายแรงถึงขั้นมีอาการชักร่วมด้วย อาจมีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตทั้งแม่และลูก
สัญญาณเตือนครรภ์เป็นพิษ
อาการบวมน้ำในคนท้อง
ความผิดปกติของร่างกายที่อาจบ่งบอกว่าครรภ์เป็นพิษ ได้แก่
- อาการบวมผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณมือ เท้า หน้า
- น้ำหนักเพิ่มเร็วขึ้นผิดปกติ โดยปกติน้ำหนักแม่จะเพิ่มที่เดือนละ 1.5 – 2 กิโลกรัม
- ปวดศีรษะมาก ทานยาแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น
- ทารกดิ้นน้อย ตัวเล็ก โตช้า
- ความดันโลหิตสูง 140/90 มิลลิเมตรปรอท
- ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
- ตาพร่ามัว
- ปวดหรือจุกเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา
ป้องกันครรภ์เป็นพิษ
ครรภ์เป็นพิษสามารถป้องกันได้โดยการไปตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัดอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ เพราะหากเกิดความผิดปกติแพทย์จะทำการรักษาโดยด่วน แพทย์อาจมีการให้ยาแอสไพรินเพื่อละลายลิ่มเลือด แต่ต้องหยุดยาก่อนคลอด 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวช้าระหว่างผ่าตัดคลอดหรือคลอดธรรมชาติ
นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องสังเกตอาการที่เกิดขึ้น หากมีอาการบวมหรือน้ำหนักขึ้นเร็วและมากผิดปกติ ปวดศีรษะมากทานยาแล้วไม่หาย อาจเสี่ยงที่จะเป็นครรภ์เป็นพิษได้ จำไว้เสมอว่า ยิ่งรู้เร็วรักษาเร็วย่อมช่วยลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งแม่และลูก
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
Source : 1 , 2
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เช็คอาการคนท้อง ก่อนตรวจตั้งครรภ์ อาการก่อนตั้งครรภ์เป็นยังไงมาดูกัน!
อาการแม่ท้องใกล้คลอด ตรงตามตำราเป๊ะๆ แม่ท้องไตรมาสสุดท้าย แชร์ประสบการณ์สิ่งที่ต้องเจอ
ความดันสูง – ความดันต่ำของคนท้อง มีอาการและวิธีการรักษาแตกต่างกันอย่างไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!