theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

อาการครรภ์เป็นพิษ อันตรายมากไหม คนท้องควรดูแลตัวเองอย่างไร

บทความ 3 นาที
•••
อาการครรภ์เป็นพิษ อันตรายมากไหม คนท้องควรดูแลตัวเองอย่างไร

อาการครรภ์เป็นพิษ มีลักษณะเป็นอย่างไร ครรภ์เป็นพิษอันตรายมากไหม อาการที่แสดงเป็นอย่างไรบ้าง คนท้องมีอาการครรภ์เป็นพิษ ควรดูแลตัวเองอย่างไร

อาการครรภ์เป็นพิษ เกิดจากอะไร

อาการครรภ์เป็นพิษ เป็นอาการที่ผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์ โดยจะมีอาการร่วม 3 ประการ คือ อาการบวม ความดันโลหิตสูง และสารไข่ขาวในปัสสาวะ ส่วนใหญ่จะพบเมื่อมีการตั้งครรภ์ได้ 5-6 เดือนขึ้นไป จนกระทั่งหลังคลอด 1 สัปดาห์ โดยอาการครรภ์เป็นพิษจะถูกแบ่งออกเป็น 2 อาการ คือ

  • พรีอีแคลมป์เชีย (preeclampsia) จะทำให้คุณแม่มีอาการบวม ความดันโลหิตสูง และมีสารไข่ขาวในปัสสาวะ แต่ไม่มีอาการชักหรือหมดสติแต่อย่างใด
  • อีแคลมป์เชีย (eclampsia) จะทำให้คุณแม่มีอาการบวม ความดันโลหิตสูง มีสารไข่ขาวในปัสสาวะ และมีอาการชักหรือหมดสติ ซึ่งเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตลงได้

สาหตุที่ทำให้คนท้องมีอาการครรภ์เป็นพิษ

สำหรับสาเหตุของครรภ์เป็นพิษยังไม่แน่ชัดเท่าไหร่นัก ระยะเวลาและความรุนแรงของการเกิดโรคก็ไม่มีความแน่นอน ต้องรอให้อาการแสดงก่อนคุณหมอจึงจะวินิจฉัยได้ แต่มีการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ทีมีว่า อาการครรภ์เป็นพิษ เกิดจากที่รกสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดของคุณแม่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และเกิดเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษได้ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดครรภ์เป็นพิษ มีดังต่อไปนี้

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ในขณะอายุที่น้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
  • เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
  • มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก คือ อาการที่เนื่อเยื่อรกที่มากกว่าผิดปกติ ทำให้มีอาการท้องโตเหมือนคนท้องแต่ไม่มีเด็ก เมื่อมีการลอกตัวออกมา จะมีเลือดออกทางช่องคลอดมีก้อนเล็กๆ คล้ายไข่ปลา
  • มีประวัติครรภ์เป็นพิษหรือหลอดเลือดหัวใจในครอบครัว
  • มีโรคประจำตัว หรือโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต เบาหวาน โรคแพ้ภูมิตนเอง (SLE) ข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • มีประวัติการเกิดครรภ์เป็นพิษ ทั้งจากตัวคุณแม่เอง หรือทางเครือญาติ

ลักษณะอาการของครรภ์เป็นพิษ

  • ปวดหัวรุนแรง
  • มีอาการตาพร่ามัว มองเห็นแสงเป็นจุดๆ หรือเห็นแสงวูบวาบร่
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดตรงใต้ลิ้นปี่
  • บวมตามมือ ตามเท้า และใบหน้า
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินไปอย่างรวดเร็วใน 1 -2 วัน
  • ปัสสาวะลดลงหรือปัสสาวะไม่ออก
  • ปวดศีรษะโดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย หน้าผาก
  • ความดันโลหิตสูงกว่า 130/80
  • อาจมีการชัก หรือหมดสติ (อันตรายมาก)
  • บางรายมีอาการมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก เอนไซม์ตับขึ้นสูง และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
อาการครรภ์เป็นพิษ

อาการครรภ์เป็นพิษ

อาการครรภ์เป็นพิษกระทบต่อลูกในท้องอย่างไร

  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคลมชัก
  • เกิดน้ำในปอด
  • เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
  • มีเลือดออกจากตับ
  • สูญเสียการมองเห็น
  • ทารกในครรภ์เติบโตช้า
  • น้ำคร่ำน้อย ทำให้ทารกเติบโตผิดปกติ
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์

คนที่มีอาการครรภ์เป็นพิษควรทำอย่างไร

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจนมากเกินไป (ตามเกณฑ์ขึ้นเดือนละไม่เกิน 2 กิโลกรัม)
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เค็มจัด
  • พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
  • ไม่ควรทำอะไรที่เหนื่อยจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการดื่มชา หรือกาแฟ
  • พยายามยกขาสูงเมื่อมีโอกาสเช่น ขณะนั่ง นอน
  • งดมีเพศสัมพันธ์ เพราะในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์อาจทำให้หัวใจเต้นสูง เกิดเป็นความดันสูงได้

อาการแบบไหนที่ควรมาพบแพทย์ด่วน

ในกรณีที่คุณแม่ได้รับการวินิจฉัยจากคุณหมอแล้วว่ามีอาการครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด และคอยสังเกตุอาการตัวเองอย่างต่อเนื่อง หากพบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

  • มีความดันโลหิตที่สูงหว่าหรือเท่ากับ 160/110
  • ลูกดิ้นน้อยกว่าวันละ 10 ครั้ง
  • มีอาการน้ำเดิน หรือมีน้ำไหลออกจากช่องคลอด
  • มีอาการปวดหัวรุนแรง ตาพร่ามัว พร้อมกับจุกแน่นที่ลิ้นปี่

ที่มา: thaihealth, หนังสือพิมพ์แนวหน้า, haamor

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

อาหารต้านหวัดคนท้อง เมนูอาหารต้านหวัด แก้ไอ เสริมสร้างภูมิต้านทานคนท้อง

คนท้องดื่มน้ํากี่ลิตร คนท้องกินน้ําเย็นดีไหม คนท้องกินน้ำมากเป็นไรไหม แม่ท้องต้องกินน้ำกี่แก้วต่อวัน

ท้องแล้วไม่อยากกินข้าว เบื่ออาหาร มีวิธีแก้ไหม คนท้องควรทำอย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อาการครรภ์เป็นพิษ อันตรายมากไหม คนท้องควรดูแลตัวเองอย่างไร
แชร์ :
•••
  • อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ เพื่อแม่ท้องและทารกในครรภ์

    อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ เพื่อแม่ท้องและทารกในครรภ์

  • ครรภ์เป็นพิษ อาการร้ายใกล้ตัวคนท้อง ไม่อยากเป็นต้องทำอย่างไร

    ครรภ์เป็นพิษ อาการร้ายใกล้ตัวคนท้อง ไม่อยากเป็นต้องทำอย่างไร

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

app info
get app banner
  • อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ เพื่อแม่ท้องและทารกในครรภ์

    อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ เพื่อแม่ท้องและทารกในครรภ์

  • ครรภ์เป็นพิษ อาการร้ายใกล้ตัวคนท้อง ไม่อยากเป็นต้องทำอย่างไร

    ครรภ์เป็นพิษ อาการร้ายใกล้ตัวคนท้อง ไม่อยากเป็นต้องทำอย่างไร

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป