X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลักษณะครรภ์เป็นพิษ อันตรายมากไหม คนท้องควรดูแลตัวเองอย่างไร

บทความ 10 นาที
ลักษณะครรภ์เป็นพิษ อันตรายมากไหม คนท้องควรดูแลตัวเองอย่างไรลักษณะครรภ์เป็นพิษ อันตรายมากไหม คนท้องควรดูแลตัวเองอย่างไร

ลักษณะครรภ์เป็นพิษ ภาวะครรภ์เป็นพิษ มีลักษณะเป็นอย่างไร ครรภ์เป็นพิษอันตรายมากไหม อาการที่แสดงเป็นอย่างไรบ้าง คนท้องมีอาการครรภ์เป็นพิษ ควรดูแลตัวเองอย่างไร

 

 

ครรภ์เป็นพิษ ครรภ์มีพิษ ภาวะครรภ์เป็นพิษ คืออะไร

ครรภ์ มาจากภาษาอะไร เชื่อว่าใครหลายคนอาจจะเคยได้ยินคำนี้มาบ้าง แต่ก็อาจจะยังไม่รู้ว่าคำเหล่านี้มาจากภาษาอะไร แน่นอนว่าคำว่า “ครรภ์” ที่เราเคยได้ยินกันนั้น มาจากภาษาบาลีสันสกฤต ที่มีความหมายแปลว่า ท้อง หรือท้องที่มีลูก นั่นเอง

รกครรภ์ คืออะไรกันนะ?

รก หรือ รกครรภ์ เป็นอวัยวะชนิดหนึ่งที่จะพบได้ในเฉพาะหญิงที่กำลังตั้งครรภ์เท่านั้น โดยอวัยวะส่วนนี้จะทำหน้าที่คอยลำเลียงออกซิเจนและอาหารส่งไปยังทารกในท้อง เพราะฉะนั้น รกครรภ์ จึงถือได้ว่าเป็นอวัยวะที่พิเศษสำหรับคุณแม่และลูกมากๆ เลยค่ะ

ในส่วนครรภ์เป็นพิษ หรือ ครรภ์เป็นพิษภาษาอังกฤษ เรียกว่า  Pregnancy poisoning เป็นอาการที่ผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์ โดยจะมีอาการร่วม 3 ประการ คือ อาการบวม ความดันโลหิตสูง และสารไข่ขาวในปัสสาวะ ส่วนใหญ่จะพบเมื่อมีการตั้งครรภ์ได้ 5-6 เดือนขึ้นไป จนกระทั่งหลังคลอด 1 สัปดาห์ โดยอาการครรภ์เป็นพิษจะถูกแบ่งออกเป็น 2 อาการ คือ

  • พรีอีแคลมป์เชีย (preeclampsia) จะทำให้คุณแม่มีอาการบวม ความดันโลหิตสูง และมีสารไข่ขาวในปัสสาวะ แต่ไม่มีอาการชักหรือหมดสติแต่อย่างใด
  • อีแคลมป์เชีย (eclampsia) จะทำให้คุณแม่มีอาการบวม ความดันโลหิตสูง มีสารไข่ขาวในปัสสาวะ และมีอาการชักหรือหมดสติ ซึ่งเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตลงได้

 

อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์มีพิษ เกิดจากอะไร

นพ.ร่มไทร เลิศเพียรพิทยกุล สูติแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ครรภ์เป็นพิษมักเกิดกับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป พบว่า 4 ใน 100 คน ของคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการครรภ์เป็นพิษ ในจำนวนนี้ 80% มีอาการไม่รุนแรง แต่อีก 20% อาการค่อนข้างรุนแรง ทั้งนี้ ครรภ์เป็นพิษเกิดจากความผิดปกติของการฝังตัวของรก ซึ่งโดยธรรมชาติรกจะฝังบริเวณเยื่อบุผนังมดลูก แต่ในกรณีที่แม่ครรภ์เป็นพิษ รกจะฝังตัวได้ไม่แน่น ส่งผลให้รกบางส่วนเกิดการขาดออกซิเจน ขาดเลือด เมื่อเลือดไปเลี้ยงรกได้น้อยลง จะเกิดการหลั่งสารที่เป็นสารพิษเข้าสู่กระแสเลือดของแม่ทีละเล็กทีละน้อย เมื่อถึงจุดหนึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เช่น เส้นเลือดสมองตีบ ตาพร่ามัว ตับวาย ฯลฯ ต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะหากร้ายแรงถึงขั้นมีอาการชักร่วมด้วย อาจมีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตทั้งแม่และลูก

 

ครรภ์เป็นพิษ อันตรายต่อคนท้องอย่างไร อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นแบบไหน

ครรภ์เป็นพิษ หรือ ครรภ์เป็นพิษภาษาอังกฤษ เรียกว่า  Pregnancy poisoning

ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษ

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงครรภ์เป็นพิษคือ

  1. ผู้หญิงที่มีโรคอ้วน เส้นเลือดไม่ค่อยดี มีโอกาสตีบง่าย
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุเกิน 35 ปี
  3. มีกรรมพันธุ์หรือคนในครอบครัวมีครรภ์เป็นพิษมาก่อน
  4. คนที่มีบุตรยาก
  5. คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เด็กมากกว่า 1 คนหรือตั้งครรภ์แฝด
  6. ตั้งครรภ์ครั้งแรก
  7. คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไต ไทรอยด์ แพ้ภูมิตนเอง (SLE) เป็นต้น

ภาวะครรภ์เป็นพิษ น่ากลัวแค่ไหน

ระดับความรุนแรงของครรภ์เป็นพิษ มีความรุนแรงหลายระดับโดยเริ่มตั้งแต่

  1. ครรภ์เป็นพิษระดับที่ไม่รุนแรง (Non – Severe Pre – Eclampsia) แม่ตั้งครรภ์จะมีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท แต่ไม่เกิน 160/110 มิลลิเมตรปรอท ยังไม่พบภาวะแทรกซ้อน
  2. ครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง (Severe Pre – Eclampsia) แม่ตั้งครรภ์จะมีความดันโลหิตสูงกว่า 160/110 หรือตรวจพบความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น ตับอักเสบ ไตทำงานลดลง เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดแดงแตก ฯลฯ
  3. ครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรงและมีภาวะชัก (Eclampsia) แม่ตั้งครรภ์จะมีอาการชัก เกร็ง หมดสติ อาจมีเลือดออกในสมอง ซึ่งหากอยู่ในระยะนี้ต้องรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยอาการผิดปกติทางร่างกายที่แสดงออกหากครรภ์เป็นพิษ ได้แก่
    • อาการบวม เช่น บริเวณมือ เท้า หน้า
    • น้ำหนักเพิ่มเร็วขึ้นผิดปกติ (โดยปกติน้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มเดือนละ 1.5 – 2 กิโลกรัม)
    • ปวดศีรษะมาก รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น 4
    • ทารกดิ้นน้อย ตัวเล็ก โตช้า
    • ความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ140/90 มิลลิเมตรปรอท ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ตาพร่ามัว ปวดหรือจุกเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา

 

ครรภ์เป็นพิษ อันตรายต่อคนท้องอย่างไร อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นแบบไหน

ครรภ์เป็นพิษอันตรายต่อคนท้องอย่างไร

 

สาเหตุที่ทำให้คนท้องมี อาการครรภ์เป็นพิษ ภาวะครรภ์เป็นพิษ

สำหรับสาเหตุของครรภ์เป็นพิษยังไม่แน่ชัดเท่าไหร่นัก ระยะเวลาและความรุนแรงของการเกิดโรคก็ไม่มีความแน่นอน ต้องรอให้อาการแสดงก่อนคุณหมอจึงจะวินิจฉัยได้ แต่มีการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ทีมีว่า อาการครรภ์เป็นพิษ เกิดจากที่รกสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดของคุณแม่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และเกิดเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษได้ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดครรภ์เป็นพิษ มีดังต่อไปนี้

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ในขณะอายุที่น้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
  • เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
  • มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก คือ อาการที่เนื่อเยื่อรกที่มากกว่าผิดปกติ ทำให้มีอาการท้องโตเหมือนคนท้องแต่ไม่มีเด็ก เมื่อมีการลอกตัวออกมา จะมีเลือดออกทางช่องคลอดมีก้อนเล็กๆ คล้ายไข่ปลา
  • มีประวัติครรภ์เป็นพิษหรือหลอดเลือดหัวใจในครอบครัว
  • มีโรคประจำตัว หรือโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต เบาหวาน โรคแพ้ภูมิตนเอง (SLE) ข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • มีประวัติการเกิดครรภ์เป็นพิษ ทั้งจากตัวคุณแม่เอง หรือทางเครือญาติ

 

ลักษณะของ อาการครรภ์เป็นพิษ เป็นอย่างไร

  • ปวดหัวรุนแรง
  • มีอาการตาพร่ามัว มองเห็นแสงเป็นจุดๆ หรือเห็นแสงวูบวาบ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดตรงใต้ลิ้นปี่
  • บวมตามมือ ตามเท้า และใบหน้า
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินไปอย่างรวดเร็วใน 1 -2 วัน
  • ปัสสาวะลดลงหรือปัสสาวะไม่ออก
  • ปวดศีรษะโดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย หน้าผาก
  • ความดันโลหิตสูงกว่า 130/80
  • อาจมีการชัก หรือหมดสติ (อันตรายมาก)
  • บางรายมีอาการมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก เอนไซม์ตับขึ้นสูง และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ: ประสบการณ์จริง คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ ลูกอยู่รพ.เกือบ 2 เดือน

 

ลักษณะครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นผิดอาการ

อาการคันเป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษ

อาการครรภ์เป็นพิษ กระทบต่อลูกในท้องอย่างไร

  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคลมชัก
  • เกิดน้ำในปอด
  • เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
  • มีเลือดออกจากตับ
  • สูญเสียการมองเห็น
  • ทารกในครรภ์เติบโตช้า
  • น้ำคร่ำน้อย ทำให้ทารกเติบโตผิดปกติ
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์

 

คนที่มีอาการครรภ์เป็นพิษควรทำอย่างไร

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจนมากเกินไป (ตามเกณฑ์ขึ้นเดือนละไม่เกิน 2 กิโลกรัม)
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เค็มจัด
  • พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
  • ไม่ควรทำอะไรที่เหนื่อยจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการดื่มชา หรือกาแฟ
  • พยายามยกขาสูงเมื่อมีโอกาสเช่น ขณะนั่ง นอน
  • งดมีเพศสัมพันธ์ เพราะในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์อาจทำให้หัวใจเต้นสูง เกิดเป็นความดันสูงได้

 

อาการแบบไหนที่ควรมาพบแพทย์ด่วน

ในกรณีที่คุณแม่ได้รับการวินิจฉัยจากคุณหมอแล้วว่ามีอาการครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด และคอยสังเกตุอาการตัวเองอย่างต่อเนื่อง หากพบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

บทความจากพันธมิตร
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
  • มีความดันโลหิตที่สูงกว่าหรือเท่ากับ 160/110
  • ลูกดิ้นน้อยกว่าวันละ 10 ครั้ง
  • มีอาการน้ำเดิน หรือมีน้ำไหลออกจากช่องคลอด
  • มีอาการปวดหัวรุนแรง ตาพร่ามัว พร้อมกับจุกแน่นที่ลิ้นปี่

 

การวินิจฉัยของโรคครรภ์เป็นพิษ

การวินิจฉัยของภาวะครรภ์เป็นพิษ แพทย์จะต้องตรวจความดันโลหิตก่อน เพราะภาวะความดันโลหิตสูงควบคู่กับอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งหลังจากที่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์เป็นต้นไป ด้วยวิธีการตรวจต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • การตรวจสุขภาพทั่วไป เป็นการที่ชักประวัติทางการแพทย์ทั่วไปของผู้ป่วยเอง และครอบครัว ตรวจดูอาการผิดปกติเบื้องต้นก่อน เช่น มีปัญหาทางด้านสายตาหรือไม่ ปวดศีรษะอย่างต่อเนื่อง มีอากรที่ที่บ่งบอกว่าไตทำงานผิดปกติ โดยที่ภาวะของครรภ์เป็นพิษมักจะมีการตรวจพบได้ในขณะที่แพทย์นัดตรวจครรภ์ปกติ

 

  • การตรวจวัดระดับของความดันโลหิต การที่ตรวจวัดความดันโลหิตจะทำให้ทราบว่าผู้ป่วยเข้าข่ายภาวะครรภ์เป็นพิษอยู่หรือไม่ โดยที่แพทย์อาจจะตรวจวัดอยู่หลายรอบ ซึ่งในแต่ละครั้งจะต้องทิ้งระยะห่างกันอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง หากวัดความดันโลหิตได้ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ก็อาจจะมีความเป็นไปได้สูงมาก ว่าผู้ป่วยจะมีภาวะครรภ์เป็นพิษ

 

  • การตรวจเลือด จะช่วยให้แพทย์ทราบถึงการทำงานของตับ และไต

 

  • การตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจหาโปรตีนและไข่ขาวในปัสสาวะ โดยที่ใช้แถบการตรวจปัสสาวะแบบจุ่มลงไปในปัสสาวะเพื่อทำการเทียบสี หากตรวจพบว่ามีโปรตีนในปัสสาวะ แพทย์จะทำการส่งตัวอย่างของปัสสาวะไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อที่จะทำการยืนยันผลอีกครั้ง

 

  • การตรวจสุขภาพของทารก ตรวจสุขภาพของทารกที่อยู่ในครรภ์ โดยที่ดูอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อทารกมีการเครื่อนไหวหรือว่าดิ้นนั้นเอง ในบางกรณีอาจจะประเมินความสมบูรณ์ของทารกด้วยการอันตราซาวด์ดูปริมาณของน้ำคร่ำร่วมกับการหายใจ การขยับของกล้ามเนื้อ หรือการเคลื่อนไหวของทารกที่อยู่ภายในม้องของแม่ ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เสริมแคลเซียมของแม่ท้อง แหล่งแคลเซียมสำหรับคนท้อง เสริมแม่ท้อง!

 

อาการครรภ์เป็นพิษ

การวินิจฉัยของ ภาวะครรภ์เป็นพิษ

 

การรักษาของภาวะครรภ์เป็นพิษ

ภาวะของครรภ์เป็นพิษจะรักษาหายได้ก็ต่อเมื่อคลอดลูกออกมาเท่านั้น โดยที่อาการป่วยต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ลดหายไปเองหลังจากที่คลอดลูกออกมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตามแพทย์จะต้องพิจารณาในหลาย ๆ ปัจจัยก่อนที่จะทำคลอดด้วย เช่น ระยะเวลาของการตั้งครรภ์ สุขภาพของตัวคุณแม่ หรือความรุนแรงของอาการ หากว่าคุณแม่มีอายุครรภ์น้อยแพทย์ก็อาจจะยังทำคลอดไม่ได้ในทันที จึงต้องดูแลกันอย่างใกล้ชิดและประคับประคองอาการจนกว่าใกล้ถึงระยะเวลาที่พร้อมจะคลอดได้อย่างที่ปลอดภัย แต่ว่าถ้าหากมีอายุครรภ์ที่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป แพทย์จะแนะนำให้เร่งคลอดหรือผ่าคลอด เพื่อที่จะไม่ใช้ผู้ป่วยมีอาการที่แย่ลงและลดความเสี่ยงกัยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อีกด้วย

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาวะครรภ์เป็นพิษ

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลทำให้ครรภ์เราเป็นพิษได้ หรือมีสัญญาณอะไรหรือเปล่าที่กำลังบ่งบอกว่าครรภ์เราเป็นพิษมาดูไปพร้อมกัน

1. ครรภ์เป็นพิษ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอาจเสียชีวิตได้

ภาวะครรภ์เป็นพิษ หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยทำการวัดสองครั้ง มีระยะห่างกัน 4 ชั่วโมง และอาจมีภาวะโปรตีนรั่วออกมาปนในปัสสาวะของแม่ตั้งครรภ์ โดยความรุนแรงของโรคอาจมีตั้งแต่เล็กน้อย, รุนแรงจนกระทั่งทำให้เกิดการชักหมดสติ, มีภาวะซีดจากการที่เม็ดเลือดแดงแตกสลาย, เกล็ดเลือดลดต่ำทำให้มีเลือดออกผิดปกติ, การทำงานของตับผิดปกติ ส่งผลให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่และทารกในครรภ์

 

2. โอกาสของแม่ท้องที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้แก่

• สตรีตั้งครรภ์แรก
• สตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ครั้งก่อน
• สตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะครรภ์เป็นพิษ
• สตรีตั้งครรภ์ที่ยังอายุน้อยกว่า 18 หรือที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
• สตรีตั้งครรภ์แฝด
• สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวก่อนตั้งครรภ์ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
• สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคอ้วน

 

3. สัญญาณเตือนภัยที่จะบอกว่าภาวะครรภ์เป็นพิษมาเยือน

โดยส่วนใหญ่แล้ว แม่ท้องที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ จะไม่ค่อยรู้สึกว่าตัวเองป่วย จนกระทั่งเกิดอาการที่รุนแรงขึ้น ได้แก่

  • ปวดศีรษะ, ตาพร่ามัว, คลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น รวมถึงสมองบวม หรือเลือดออกในสมอง
  • เจ็บจุกแน่นที่ลิ้นปี่หรือบริเวณชายโครงขวา เนื่องจากตับโตขึ้น หรือมีเลือดออกในตับ -เหนื่อยหอบ, หายใจลำบาก, นอนราบไม่ได้ เนื่องจากน้ำท่วมปอด
  • ตัวบวม, น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นรวดเร็วในเวลาไม่กี่วัน, ปัสสาวะออกน้อยลง เนื่องจากไตทำงานผิดปกติ มีการรั่วของโปรตีนออกมาในปัสสาวะ

ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปสู่ลูกในท้องด้วย เช่น เจริญเติบโตได้ช้า, น้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ และอาจเสียชีวิตได้ กรณีที่ครรภ์เป็นพิษนั้นรุนแรงมาก

ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการร้ายใกล้ตัวแม่ท้องที่ควรรู้

4. วิธีรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษ

หากแม่ท้องที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ เป้าหมายที่จะรักษาต้องคำนึงถึง 3 สิ่งต่อไปนี้คือ

  • การคลอด ซึ่งอาจต้องพิจารณาถึงอายุครรภ์ร่วมด้วย ในกรณีที่ครรภ์เป็นพิษนั้นอยู่ในขั้นรุนแรง จำเป็นต้องพิจารณาให้คลอด ไม่ว่าอายุครรภ์จะมากน้อยเพียงใด ครบกำหนดหรือไม่ เพื่อรักษาชีวิตของมารดาเป็นสำคัญ สำหรับทารกที่อายุครรภ์ไม่ครบกำหนด อาจต้องมีการใช้ยาช่วยในการพัฒนาของปอดเพื่อให้ทารกสามารถหายใจได้เอง โดยพิจารณาเป็นราย ๆ

 

  • การให้ยาป้องกันการชัก ภาวะชักเนื่องจากครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะที่รุนแรง สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงต้องมีการให้ยากันชักในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง (แต่ผลที่ได้จากการรับยา แมกนีเซียมซัลเฟต อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกร้อนวูบวาบ, คลื่นไส้อาเจียน, ความดันโลหิตลดต่ำลง จึงจำเป็นต้องมีการวัดสัญญาณชีพผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ หลังจากที่ให้ยาตัวนี้กับผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตที่สูงมากก็อาจจำเป็นต้องพิจารณาให้ยาลดความดันโลหิตแก่ผู้ป่วย ซึ่งมีทั้งที่ให้ทางหลอดเลือดหรือการรับประทาน)
  • การให้ยาลดความดันโลหิต สตรีมีครรภ์ที่พบว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษจะต้องได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยการตรวจความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และตรวจอัลตราซาวน์อย่างสม่ำเสมอ และในบางกรณีอาจต้องมีการใช้ยาช่วยลดความดันโลหิต เพื่อให้การตั้งครรภ์มีความปลอดภัยนานที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

แม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงและได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องร่วมกับขั้นตอนปฏิบัติที่ถูกวิธีสามารถป้องกันไม่ให้โรคนี้มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มารดาและทารกมีความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้การสามารถยืนยันได้ว่าสตรีมีครรภ์รายใดไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ จะช่วยให้แม่ท้องลดความกังวลใจ และตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้

 

5. การฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

จะช่วยให้แพทย์ตรวจคัดกรอง ค้นหาความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ได้จากการตรวจและซักถามอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น มีการซักประวัติของผู้ป่วยว่าตั้งครรภ์มาแล้วกี่ครั้ง, เคยมีภาวะครรภ์เป็นพิษในท้องก่อนหรือไม่, มีโรคประจำตัวใดบ้าง, มีการชั่งน้ำหนัก, วัดความดันโลหิต, ตรวจปัสสาวะเพื่อหาน้ำตาลและโปรตีนว่ามีรั่วออกมาหรือไม่ รวมถึงมีการตรวจวินิจฉัยทารกโดยวิธีอัลตร้าซาวด์ เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารก และทำการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ได้โดยการตรวจติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทารก พร้อมกับตรวจการหดรัดตัวของมดลูก เมื่อพบความผิดปกติที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ แพทย์ก็จะได้ดำเนินการรักษา ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการสูญเสียหรือทุพพลภาพของมารดาและทารกได้

 

ครรภ์แฝดน้ำ คืออะไร อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่คุณแม่ต้องระวัง

 

ลักษณะครรภ์เป็นพิษ 1

(รูปจาก shutterstock.com)

 

ปัจจัยเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจ และเฝ้าระวังมากๆ ส่วนใครที่ยังไม่รู้ว่าสาเหตุเหล่านี้เกิดจากอะไร หรือมีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลทำให้เราต้องเกิดอาการเหล่านี้ มาดูกัน

ครรภ์แฝดน้ำ เรียกได้ว่าเป็นความผิดปกติชนิดหนึ่งที่เกิดในช่วงของการตั้งครรภ์ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ อาจเนื่องมาจากที่คุณแม่มีปริมาณน้ำคร่ำในท้องมากจนเกินไป ซึ่งหากเราไม่รีบทำการรักษา หรือปล่อยไว้นานจนเกินไป สิ่งนี้อาจจะทำให้เป็นอันตรายต่อลูกในท้องและคลอดก่อนกำหนดได้เลย ซึ่งอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะพบในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 4 – 5 เดือนนั่นเอง โดยอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

 

1. สาเหตุมาจากทารกในครรภ์

คุณแม่คนไหนที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ นั่นอาจกำลังบ่งบอกเราว่าลูกในท้องของเรามีอาการผิดปกติ เพราะฉะนั้นเราควรรีบทำการรักษาและขอคำแนะนำจากคุณหมอให้เร็วที่สุด ไม่อย่างนั้นลูกในท้องอาจเกิดมาเป็นเด็กพิการ ได้ง่าย ๆ

 

2. สาเหตุมาจากคุณแม่

อีกหนึ่งสาเหตุที่จะทำให้อาการเหล่านี้ได้ อาจเป็นเพราะว่าคุณแม่บางคนมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจนเกินไป เพราะเมื่อไหร่ที่เราระดับน้ำตาลในเลือดสูง สิ่งนี้ก็จะส่งผลทำให้เราปัสสาวะบ่อย ที่สำคัญยังเสี่ยงต่อการเป็นภาวะครรภ์แฝดน้ำได้เช่นกัน

 

3. สาเหตุมาจากรกในครรภ์

ปัจจัยอีกหนึ่งอย่างที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างมาก นั่นคือรกในครรภ์ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่ภาวะครรภ์แฝดน้ำ เกิดจากรกในครรภ์ สิ่งนี้ก็จะส่งผลทำให้เกิดน้ำคร่ำในปริมาณที่มาก อีกทั้งยังทำให้เกิดเนื้องอกในรกได้ด้วย เพราะฉะนั้นคุณแม่ต้องระวัง

 

หลังจากที่เราได้พาคุณแม่มาทำความรู้จักกับครรภ์เป็นพิษ และครรภ์แฝดน้ำ กันแล้ว เชื่อว่าหลายคนอาจจะเข้าใจแล้วว่าสาเหตุที่ทำให้เรามีอาการเหล่านี้เกิดจากอะไรบ้าง ดังนั้นรถ้าคุณแม่อยากให้ลูกในท้องของเราเติบโตมาเป็นเด็กที่แข็งแรงสมบูรณ์ ยังไงอย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองด้วยนะคะ แอดขอให้เป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนผ่านเรื่องราวเหล่านี้ไปให้ได้นะคะ

 

 

ที่มา: thaihealth, หนังสือพิมพ์แนวหน้า, haamor

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

อาหารต้านหวัดคนท้อง เมนูอาหารต้านหวัด แก้ไอ เสริมสร้างภูมิต้านทานคนท้อง

คนท้องดื่มน้ํากี่ลิตร คนท้องกินน้ําเย็นดีไหม คนท้องกินน้ำมากเป็นไรไหม แม่ท้องต้องกินน้ำกี่แก้วต่อวัน

ท้องแล้วไม่อยากกินข้าว เบื่ออาหาร มีวิธีแก้ไหม คนท้องควรทำอย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ลักษณะครรภ์เป็นพิษ อันตรายมากไหม คนท้องควรดูแลตัวเองอย่างไร
แชร์ :
  • อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ เพื่อแม่ท้องและทารกในครรภ์

    อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ เพื่อแม่ท้องและทารกในครรภ์

  • ครรภ์เป็นพิษ เสียชีวิต ครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง วิธีสังเกตอาการครรภ์เป็นพิษของคนท้อง

    ครรภ์เป็นพิษ เสียชีวิต ครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง วิธีสังเกตอาการครรภ์เป็นพิษของคนท้อง

  • ชื่อลูก ก - ฮ อัปเดตล่าสุด 2565 ชื่อน่ารัก ๆ เรียงตัวอักษร ก-ฮ

    ชื่อลูก ก - ฮ อัปเดตล่าสุด 2565 ชื่อน่ารัก ๆ เรียงตัวอักษร ก-ฮ

  • 7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

    7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

app info
get app banner
  • อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ เพื่อแม่ท้องและทารกในครรภ์

    อาการครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ อันตรายไหม วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ เพื่อแม่ท้องและทารกในครรภ์

  • ครรภ์เป็นพิษ เสียชีวิต ครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง วิธีสังเกตอาการครรภ์เป็นพิษของคนท้อง

    ครรภ์เป็นพิษ เสียชีวิต ครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง วิธีสังเกตอาการครรภ์เป็นพิษของคนท้อง

  • ชื่อลูก ก - ฮ อัปเดตล่าสุด 2565 ชื่อน่ารัก ๆ เรียงตัวอักษร ก-ฮ

    ชื่อลูก ก - ฮ อัปเดตล่าสุด 2565 ชื่อน่ารัก ๆ เรียงตัวอักษร ก-ฮ

  • 7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

    7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ