ในปัจจุบันนี้คุณแม่หลังคลอดไม่ถือว่าเป็นผู้ป่วยหรือคนไข้แต่อย่างใดนะคะ เพียงแต่หลังคลอดคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ ที่ต้องปรับตัวเองกันนิดหน่อยและต้องดูแลร่างกายหลังคลอดกันบ้าง ในระยะ หลังคลอดบุตรแม่ควรพักฟื้นประมาณกี่วัน ร่างกายถึงจะฟื้นคืนสภาพปกติกันนะ
หลังคลอดบุตรแม่ควรพักฟื้นประมาณกี่วัน

คุณแม่ที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติหรือคลอดเอง
หากในช่วงคลอดเบ่งคลอดง่าย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน คุณแม่เสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดคลอด ก็จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าคุณแม่ที่ทำการผ่าคลอด มีระยะเวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 2 วันก็สามารถกลับบ้านได้

สำหรับคุณแม่ผ่าคลอด
ที่ต้องเจอกับฤทธิ์ยาชา หลังผ่าคลอดอาจจะรู้สึกเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด แม้จะอยากหน้าลูกน้อยเป็นสิ่งแรก แต่ก็ไม่ควรที่จะรีบลุกขึ้นในทันทีนะคะ เพราะการผ่าตัดทำให้คุณแม่เสียเลือดมากซึ่งอาจจะทำให้หน้ามืดวิงเวียนศีรษะได้ เมื่อคุณแม่แข็งแรงพอที่จะลุกหรือยืนได้แล้ว ค่อย ๆ พยายามเคลื่อนไหวหรือพลิกตัวบ่อย ๆ เปลี่ยนอิริยาบทเพื่อลดความตึงจากแผลผ่าตัดบนหน้าท้อง ซึ่งอาการปวดแผลจะค่อย ๆ ทุเลาลงหลัง 48 ชั่วโมง คุณแม่ที่ผ่าคลอดจึงมีระยะพักฟื้นในโรงพยาบาลอย่างน้อย 3-4 วันนานกว่าคุณแม่ที่คลอดเองด้วยวิธีธรรมชาติ
หลังจากออกจากโรงพยาบาล โดยทั่วไปประมาณ 5-6 สัปดาห์ ร่างกายคุณแม่ก็เริ่มเข้าที่กลับคืนเข้าสู่สภาพปกติ สามารถประคับประคองและช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง สิ่งที่ควรทำคือ ดูแลตัวเองหลังคลอด ด้วยการพักผ่อน กินอาหารย่อยง่าย รสไม่จัด ออกกำลังกายเคลื่อนไหวให้เพิ่มขึ้น ในส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ก็จะค่อย ๆ กลับคืนสภาพปกติสามารถมีเพศสัมพันธ์ 1 เดือนหลังคลอดได้ และเรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องเตรียมรับมือหลังจากนี้อีก คือการปรับตัวในบทบาทของคุณแม่ที่จะต้องเลี้ยงดูลูกน้อยในเวลาต่อจากนี้นะคะ

หลังการคลอด คุณแม่คงรู้สึกโล่งใจที่การคลอดผ่านไปได้ด้วยดี แต่อาจมีความกังวลใจต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้วสภาพร่างกายของคุณแม่จะกลับเข้าสู่สภาพเดิมภายใน 6-8 สัปดาห์หลังคลอด รวมทั้งแผลที่เกิดจากการคลอด ก็จะหายไปในระยะนี้ด้วย ดังนั้นคุณแม่ควรทำความเข้าใจเพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
ด้านจิตใจ
หลังคลอดปริมาณฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณแม่ยังต้องปรับตัวกับบทบาทใหม่ อ่อนเพลียจากการคลอด กังวลใจกับสรีระของตนเองและการเลี้ยงลูก จึงทำให้รู้สึกเครียด หงุดหงิด หรือซึมเศร้าโดยไม่มีเหตุผล เรียกว่า “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” ดังนั้น คุณพ่อจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูและดูแลงานบ้านแทนคุณแม่ จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
ด้านร่างกาย
1.การดูแลแผล
- แผลฝีเย็บ คุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย แผลจะหายประมาณ 7 วัน แต่อาจจะรู้สึกเจ็บประมาณ 2 สัปดาห์ คุณแม่ทำความสะอาดโดยใช้น้ำและสบู่ล้างจากด้านยหน้าไปด้านหลัง และซับให้แห้งเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดหรืออาบน้ำในอ่าง คุณแม่เป็นริดสีดวงทวาร หากมีอาการปวดอาจจะประคบด้วยถุงน้ำแข็ง ใช้ครีมหรือยาเหน็บตามแพทย์สั่ง ดื่มน้ำและรับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยอาหารมาก เพื่อลดอาการท้องผูก
- แผลผ่าตัด คุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย ไม่ต้องตัดไหม ปิดไว้ด้วยปลาสเตอร์กันน้ำ คุณแม่สามารถอาบน้ำได้ แต่ถ้าสังเกตว่ามีน้ำซึมเข้าแผล ให้กลับมาเปลี่ยนปลาสเตอร์ปิดแผล แผลจะหายประมาณ 7 วัน หากเจ็บแผลขณะเคลื่อนไหว คุณแม่อาจจะใช้ผ้ารัดหน้าท้องช่วยพยุงไว้จะช่วยให้หลับสบายขึ้น
2. น้ำคาวปลา
คือน้ำคร่ำปนกับเลือดที่ออกจากแผลในมดลูกไหลออกมาทางช่องคลอด ในช่วง 3 วันแรกจะมีสีแดงเข้ม จากนั้นจะจางลงเรื่อยๆ คล้ายกับสีน้ำล้างเนื้อแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นมูกสีเหลืองๆ ตามปกติจะมีอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งหลังการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ
3. การฟื้นตัวตัวของมดลูก
ระหว่างตั้งครรภ์มดลูกจะขยายตัวใหญ่ขึ้นกว่าปกติ แต่หลังคลอดมดลูกก็จะหดตัวลงจนมีขนาดปกติและกลับเข้าสู่ตำแหน่งในอุ้งเชิงกราน(มดลูกเข้าอู่) ประมาณ 4-6 สัปดาห์ หากมีอาการปวดมดลูกรับประทานยาแก้ปวดได้
4. การดูแลเต้านม
ขนาดของเต้านมใหญ่ขึ้นและมีอาการคัดตึงในวันที่ 2-3 หลังคลอด เป็นภาวะที่ต่อมน้ำนมเริ่มผลิตน้ำนมสำหรับลูก เวลาอาบน้ำงดฟอกสบู่บริเวณลานนม เพื่อให้น้ำมันธรรมชาติที่ผิวหนังสร้างขึ้นยังคงอยู่ ช่าวยลดความเจ็บขณะลูกดูดนม หากมีอาการนมคัดแต่ยังไม่มีน้ำนมให้ใช้ผ้าชุปน้ำเย็นประคบเต้านม และทานยาแก้ปวดได้ พยายามให้ลูกดูดนมบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนนมเร็วขึ้น หากมีน้ำนมไหลแล้วให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมก่อนให้นมลูก ก็จะช่วยให้การไหลเวียนเลือดบริเวณเต้านมดีขึ้น ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดหัวนมและลานนมทุกครั้งทั้งก่อนและหลังให้นมลูก
5. การรับประทานอาหาร
คุณแม่หลังคลอดยังคงต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เหมือนในระยะตั้งครรภ์เพราะต้องใช้พลังงานในการฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่เองและผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก คุณแม่ควรรับประทานประเภท ผัก ผลไม้ เนื้อสัตย์ ไข่ นม แลดอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และของหมักดอง งดเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ การรับประทานยาควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ เพราะยาบางชนิดหลั่งออกทางน้ำนมได้ (ช่วง 1สัปดาห์แรกหลังคลอดให้งดนมก่อน)
6. การพักผ่อน
ช่วงที่พักฟื้นในโรงพยาบาลคุณแม่จะได้พักผ่อนเต็มที่ เมื่อกลับบ้านนช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องปรับตัวกับวิถีชีวิตใหม่ ต้องดูแลตัวเอง ดูแลลูก และคุณพ่อ จึงควรจัดสรรเวลาในการททำกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสม เช่นทำความสะอาดเสื้อผ้า ของใช้ลูกวันละ 1 ครั้ง ควรได้หลับพักผ่อนบ้าง ขณะลูกหลับเพื่อไม่ให้คุณแม่เหนื่อยอ่อนเพลียมากเกินไป
7. กิจจกรรมที่คุณแม่ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด
– ไม่ควรยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักของทารก
– ไม่ควรออกแรงแบ่งมากๆ หรือนานๆ
– ไม่ควรขึ้ง – ลง บันไดบ่อยๆ
– ไม่ควรขับรถโดยบไม่จำเป็น
– ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม ทำได้เฉพาะท่ากายบริหารเบาๆ
8. การมีเพศสัมพันธ์
คุณแม่อาจมีความรู้สึกทางเพศลดลง เนื่องจากความอ่อนเพลีย กังวล และความไม่สุขสบาย และเจ็บแผล จึงควรงดในช่วง 4 – 6 สัปดาห์แรก หรือจนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอดและวางแผนคุมกำเนิดแล้ว
9. การตรวจหลังคลอด
คุณหมอจะนัดคุณแม่มาตรวจ 4 – 6 สัปดาห์หลังคลอด
– เพื่อความสมบูรณ์ของร่างกาย
– ตรวจดูสภาพของปากมดลูกและอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน (หรือแผลผ่าตัดหน้าท้อง หากคุณแม่ผ่าตัดท้อง)
– ตรวจดูมะเร็งปากมดลูก
– แนะนำเรื่องการวางแผนครอบครัวและคุมกำเนิด
อาการผิดปกติหลังคลอด ที่ควรรีบมาพบแพทย์
– มีไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ
– น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น หรือมีสีแดงสดตลอด 15 วันหลังคลอด
– ปวดท้องน้อย เจ็บปวดหรือแสบขัดเวลาปัสสาวะ
– ปวดศีรษะรุนแรง
– เต้านมบวมแดง อักเสบ หัวนมแตกเป็นแผล
– แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัด อักเสบ บวมแดงหรือมีหนอง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
7 สิ่งที่ควรทําหลังคลอด พาลูกกลับบ้านแล้วต้องทำอะไรอีกนะ
ช่วยด้วย!! ผมร่วงหลังคลอด ทำไมผมถึงร่วง ขอคำแนะนำด้วยค่ะ
ที่มา : 1
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!