X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หลังคลอดต้องอยู่ไฟหรือไม่ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 82

บทความ 5 นาที
หลังคลอดต้องอยู่ไฟหรือไม่ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 82

หลังคลอดต้องอยู่ไฟหรือไม่ การอยู่ไฟ เป็นวิธีทางการแพทย์แผนไทยที่ใช้ดูแลสภาพร่างกายด้านต่าง ๆ ของผู้หญิงหลังคลอดลูก แม้การอยู่ไฟจะถูกปรับเปลี่ยนไปจากอดีตพอสมควรเพื่อความเพิ่มปลอดภัย และความสะดวกสบายแก่คุณแม่ แต่ในปัจจุบันวิธีการนี้ก็ยังเป็นที่นิยมอยู่มาก เพราะเชื่อกันว่าการอยู่ไฟมีประโยชน์มากมาย เช่น อาจช่วยขับน้ำคาวปลา กระตุ้นน้ำนม และฟื้นฟูสภาพร่างกายที่อ่อนล้าหลังคลอดได้ เป็นต้น แต่ก็มีคุณแม่หลายคน ต่างก็มีข้อสงสัยว่า หลังคลอดต้องอยู่ไฟหรือไม่ จำเป็นมากแค่ไหน ถ้าไม่อยู่ไฟ จะมีผลกระทบอะไรหรือไม่

การอยู่ไฟแบบโบราณ

หลังจากคลอดลูกแล้ว คุณแม่จะต้องไปนอนบนแผ่นกระดานที่เรียกว่า “กระดานไฟ” ซึ่งกระดานนี้มีการจัดวาง 2 แบบตามแต่ละบ้านจะเลือกใช้ แบบแรกคือการยกกระดานให้สูง แล้วก่อกองไฟไว้ด้านล่าง แบบนี้เรียกว่า “อยู่ไฟญวน” หรือ “ไฟแคร่” ส่วนอีกแบบคือการก่อกองไฟไว้ข้าง ๆ กระดาน เรียกว่า “อยู่ไฟไทย” หรือ “ไฟข้าง”

การอยู่ไฟนี้คุณแม่ต้องเข้าไปในเรือนไฟพร้อมกับลูก และห้ามออกมาจากเรือนไฟเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ทั้งหมดนี้จะกินระยะเวลาประมาณ 7 – 15 วัน โดยให้คุณพ่อหรือญาติคอยมาคุมฟืนไฟไม่ให้ร้อนเกินไป หรือหากคุณแม่ร้อนมากก็สามารถใช้กาน้ำที่อยู่ด้านข้างราดหรือพรมกองไฟได้เลย

ตลอดระยะเวลาอยู่ไฟ คุณแม่ต้องอาบน้ำร้อนและดื่มเฉพาะน้ำอุ่น งดเว้นของแสลงทุกชนิด เน้นกินเฉพาะข้าวกับเกลือหรือปลาเค็ม เพราะเชื่อว่าจะไปทดแทนเกลือที่เสียไปทางเหงื่อจากการอยู่ไฟ ถ้าคุณแม่มีอาการปวดเมื่อยก็อาจมีการประคบสมุนไพรร่วมด้วย

หลังคลอดต้องอยู่ไฟหรือไม่

การอยู่ไฟยุคใหม่

เมื่อยุคสมัยใหม่ไม่เอื้อต่อการนอนอยู่ในเรือนไฟ จึงมีการปรับเปลี่ยนการอยู่ไฟเป็นการใช้ความร้อนควบคู่กับสมุนไพร ให้ความร้อนเฉพาะช่วงท้อง ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนวดประคบด้วยลูกประคบสมุนไพร, การประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน, การใช้ชุดคาดไฟรัดไว้บริเวณหน้าท้อง, อบซาวน่าด้วยสมุนไพร, การนาบหม้อเกลือ, การดื่มและอาบน้ำสมุนไพร, การนวดคลายเส้นด้วยสมุนไพร และการเข้ากระโจมอบไอน้ำจากสมุนไพร

วิธีการเหล่านี้ นอกจากจะช่วยกระตุ้นการทำงานของร่างกายคุณแม่ให้เป็นปกติแล้ว ยังช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และปลอบประโลมร่างกายของคุณแม่ไปในตัวได้อีกด้วย

 

อยู่ไฟ ทำอย่างไร ?

ในอดีต การอยู่ไฟเพื่อ พักฟื้นหลังคลอด อาจทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การนั่งถ่าน การเข้ากระโจม การประคบสมุนไพร การทอดไฟ การย่างไฟ การรมเตา การทับหม้อเกลือ หรือการนาบหม้อเกลือ เป็นต้น แต่ในปัจจุบัน วิธีการอยู่ไฟถูกปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น เช่น การใช้ตู้อบไอน้ำ หรือการนำกระเป๋าน้ำร้อนมาอังที่หน้าท้อง เป็นต้น

การอยู่ไฟอาจทำได้ด้วยตนเองที่บ้าน โดยนำสมุนไพรไทยไปต้มน้ำเพื่อให้ได้ไอความร้อน และตั้งสมุนไพรที่ต้มแล้วไว้ใกล้ตัวในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก ซึ่งควรอยู่ไฟประมาณ 1 เดือน ทำเช่นนี้ประมาณ 3 ครั้ง/วัน ครั้งละ 15 นาที และควรเว้นช่วงพักเพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย จิบน้ำร้อนหรือน้ำสมุนไพรเป็นระยะเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะขาดน้ำ หรืออาจรับประทานข้าวต้มผสมเกลือเพื่อทดแทนเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป ทั้งนี้ ควรมีคนอยู่ดูแลตลอดการอยู่ไฟด้วย เพื่อคอยช่วยดูแลความปลอดภัยในด้านต่าง ๆ และควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ก่อนทำการอยู่ไฟทุกครั้ง

หลังคลอดต้องอยู่ไฟหรือไม่

นอกจากนี้ ในปัจจุบันโรงพยาบาลบางแห่งอาจมีบริการดูแลมารดาหลังคลอดในรูปแบบของการแพทย์แผนไทยด้วยการใช้ไอน้ำอบตัวเป็นเวลาประมาณ 15 นาที โดยมีเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยหรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยจัดเตรียมอุปกรณ์และสมุนไพรไว้ให้เรียบร้อย พร้อมทั้งคอยดูแลเรื่องความปลอดภัยตลอดเวลาที่อยู่ไฟ ดังนั้น การอยู่ไฟที่โรงพยาบาลก็อาจเป็นอีกทางเลือกที่สะดวก ประหยัด และปลอดภัยกว่าทำเองที่บ้าน

 

อยู่ไฟ จำเป็นหรือไม่ ?

อยู่ไฟ เป็นวิธีการพักฟื้นหลังคลอดของผู้เป็นแม่ซึ่งมีมาแต่โบราณ โดยกระทรวงสาธารณสุขไทยได้แนะนำการอยู่ไฟให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลตนเองสำหรับผู้หญิงหลังคลอดลูก เพราะเชื่อว่าอาจช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น และช่วยดูแลสุขภาพร่างกายในด้านต่าง ๆ ได้ด้วย

หลังคลอดต้องอยู่ไฟหรือไม่

โดยความเชื่อเกี่ยวกับประโยชน์ของการอยู่ไฟ มีดังนี้

– ฟื้นฟูสภาพร่างกายที่อ่อนล้าหลังการคลอด

– ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น

– ขับน้ำคาวปลา

– กระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น

– พักฟื้นเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง

– ป้องกันอาการหนาวสะท้าน

– กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต

– ลดความรู้สึกชาที่มือหรือเท้าและการเกิดตะคริว

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

– ลดปัญหาผิวบวมช้ำ

– คลายกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อย

อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้มีการพัฒนายาแผนปัจจุบันที่ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็ว รวมทั้งช่วยขับน้ำคาวปลาให้หมดไปได้เร็วและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การอยู่ไฟก็อาจไม่จำเป็นต่อผู้หญิงหลังคลอดอีกต่อไป

 

หลังคลอดต้องอยู่ไฟ ไม่เช่นนั้นจะหนาวใน

ไม่จริง การอยู่ไฟเป็นกุศโลบายในสมัยก่อนที่จะช่วยให้คุณแม่ได้พัก ได้ดูแลตนเอง และเลี้ยงดูลูกได้อย่างเต็มที่ แต่ในปัจจุบันคุณแม่ก็สามารถลาพักหลังคลอดเพื่อดูแลตนเองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องอยู่ไฟก็ไม่จำเป็น ส่วนความเชื่อเรื่องหนาวในไม่เป็นความจริง เหตุที่หลังคลอดแล้วมีอาการหนาว เป็นเพราะการลดลงของฮอร์โมนซึ่งมีสูงในระหว่างตั้งครรภ์ พอคลอดแล้วฮอร์โมนลดลง ก็จะมีอาการหนาว และร้อนวูบวาบ ไม่ว่าจะอยู่ไฟหรือไม่ก็ตาม (และความรู้สึกนี้ก็จะเกิดอีกครั้งกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เพราะขาดเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน เนื่องจากรังไข่หยุดทำงานนั่นเอง)

 

ข้อควรระวังของการอยู่ไฟ

หากต้องการอยู่ไฟหลังคลอด ควรไปพบแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ก่อนทำการอยู่ไฟทุกครั้ง เพื่อปรึกษาถึงวิธีการที่ถูกต้องปลอดภัยและความเสี่ยงเผชิญอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งคุณแม่ที่ต้องการอยู่ไฟหลังคลอดควรตระหนักถึงข้อควรระวังต่าง ๆ ของการอยู่ไฟด้วยเช่นกัน

 

โดยข้อควรระวังของการอยู่ไฟ มีดังนี้

– ควรอยู่ไฟในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีแสงสว่างเพียงพอ

– ควรจิบหรือดื่มน้ำทดแทนน้ำที่เสียไป และเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะขาดน้ำ

– ไม่ควรก่อไฟให้ร้อนหรือลุกโชนเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวหนังพุพองได้

– ไม่ควรนำทารกเข้าไปอยู่ไฟด้วย เนื่องจากความร้อนจะทำให้ทารกเสียน้ำและเกลือแร่มากจนเป็นอันตรายได้

– หากมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า หรือเหนื่อยผิดปกติ ควรหยุดการอยู่ไฟ

– หากมีฝีเย็บ ให้รอจนครบ 7 วันก่อนเริ่มอยู่ไฟ เพราะอาจทำให้ไหมละลายได้

– ห้ามใช้ฟืนไม้ตาด ฟืนไม้รัก และฟืนไม้แดง เพราะเมื่อนำมาเผาอาจทำให้ไฟแตกกระเด็นเป็นควันแสบตาได้ ซึ่งรวมถึงฟืนไม้เนื้ออ่อน เช่น มะม่วง ขนุน งิ้ว หรือนุ่น เป็นต้น เพราะอาจทำให้เกิดควันมากเกินไป

 

ที่มา : พบแพทย์ , trueplookpanya , รพ.ขอนแก่น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เมนูสำหรับคุณแม่อยู่ไฟ อาหารว่างอร่อย ๆ ประโยชน์เน้น ๆ สำหรับคุณแม่

เครื่องดื่มคุณแม่อยู่ไฟ สูตรเมนูอาหารเครื่องดื่มคุณแม่อยู่ไฟ ทำง่าย ๆ อร่อยด้วย

สมุนไพรอยู่ไฟมีอะไรบ้าง สมุนไพรอยู่ไฟหลังคลอดมีอะไรบ้าง การอยู่ไฟหลังผ่าคลอด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • หลังคลอดต้องอยู่ไฟหรือไม่ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 82
แชร์ :
  • แม่หลังคลอดห้ามแช่น้ำ จริงหรือไม่ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 84

    แม่หลังคลอดห้ามแช่น้ำ จริงหรือไม่ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 84

  • อาการปวดมดลูก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 71

    อาการปวดมดลูก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 71

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • แม่หลังคลอดห้ามแช่น้ำ จริงหรือไม่ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 84

    แม่หลังคลอดห้ามแช่น้ำ จริงหรือไม่ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 84

  • อาการปวดมดลูก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 71

    อาการปวดมดลูก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 71

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ