ทารกเป็นหวัด พ่อแม่ควรรับมือยังไง

ทารกเป็นหวัด พ่อแม่ควรรับมือยังไง เพราะมันคือเรื่องใหญ่เเละไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลยในสายตาคุณพ่อคุณเเม่มือใหม่ เเต่จริงๆ เเล้ว เเค่ต้องรู้สิ่งเหล่านี้เท่านั้น
ทารกเป็นหวัด พ่อแม่ควรรับมือยังไง
ทารกเป็นหวัด พ่อแม่ควรรับมือยังไง เเค่ลูกร้องหน่อยเดียว คุณพ่อคุณเเม่มือใหม่ก็กังวลไปไกลเเล้ว อย่าว่าเเต่เป็นหวัดเลย เเต่ถ้าลูกเป็นหวัดขึ้นมาละจะงานใหญ่ขนาดไหนกันนะ
ปัจจัยที่ทำให้ลูกเป็นหวัด
- ภูมิอากาศ หนาวเย็นเกินไป ร้อนชื้นเกินไป
- อยู่ในชุมชนที่มีผู้ป่วย
- อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- สุขภาพร่างกายของเด็ก มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ จะติดเชื้อได้ง่าย
อาการหวัดของลูก
- ตัวร้อน มีไข้
- คัดจมูกน้ำมูกไหล
- ไอ
- ครั่นเนื้อครั่นตัว
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
เมื่อลูกรักเป็นหวัดจากเชื้อไวรัส ควรรักษาตามอาการ
เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำมะนาว
- โดยนำมะนาว 1 ลูกใส่ลงไป กดมะนาวให้อยู่ใต้น้ำ 20-30 วินาที
- หั่นมะนาวเเละบีบน้ำมะนาวใต้น้ำ
- ใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดย้อนตามรูขุมขนเข้าไปหาหัวใจ เพื่อให้รูขุมขนเปิด เเละร่างกายระบายความร้อนได้ดี
- ใช้ผ้าอีก 2 ผืน ชุบน้ำอุ่นเเล้วพันรอบเท้าถึงหัวเข่า ทิ้งไว้ 10 นาที
- ไม่ต้องเป็นห่วงหากลูกร้องไห้งอแง เพราะถ้าไข้ขึ้นเเล้วไม่ลดลูกอาจจะชักได้
ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเเละลูกยาง
แก้ไอในทารกโดยการกินนม
หากลูกยังไม่หย่านม การเเก้ไอที่ดีที่สุดคือให้ลูกเข้าเต้าดูดนมคุณเเม่ให้เยอะกว่าเดิมค่ะ หรือในวัยที่โตขึ้นมา ก็เป็นการดื่มน้ำอุ่นๆ เเทนได้ เเละควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนะคะ เเละควรให้ลูกดื่มน้ำเยอะกว่าเดิม โดยสังเกตจากสีของปัสสาวะของลูก ควรให้ลูกดื่มน้ำจนสีปัสสาวะเจือจางเหมือนน้ำเปล่ามากที่สุดนะคะ
นอกจากนี้
- ถ้าเบื่ออาหารให้กินน้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำข้าวต้ม ทีละน้อย แต่บ่อยๆ
- เมื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ อาการตัวร้อนควรจะหายเป็นปกติ ภายใน 3-4 วัน (อย่างมากไม่เกิน 7 วัน) แต่อาจมีน้ำมูกหรือไอต่อไปอีก 1-2 สัปดาห์ ถ้าอาการทั่วๆ ไปเป็นปกติดี กินได้น้ำหนักไม่ลด ก็ไม่ต้องตกใจ จะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง
- เเต่ถ้ายังมีอาการตัวร้อนเกิน 7 วัน ควรรีบพาไปพบเเพทย์ เนื่องจากลูกอาจจะมีอาการเเทรกซ้อนอื่นๆ ได้ค่ะ
โรคเเทรกซ้อนจากหวัด
- ไซนัสอักเสบ เมื่อเป็นหวัด มีน้ำมูก มีเยื่อจมูกบวมที่ทำให้คัดจมูก จนลามขึ้นไปถึงโพรงไซนัสที่อยู่ข้างโพรงจมูกและหน้าผาก ทำให้มีหนองหรือน้ำมูกอยู่ในโพรงไซนัสด้วย เรียกว่า ไซนัสอักเสบ จะมีอาการปวดโพรงไซนัส เสียงอู้อี้ขึ้นจมูก หายใจมีกลิ่นเหม็น การรักษาใช้ยาคล้ายๆรักษาหวัด แต่อาจจะเป็นยาฆ่าเชื้อที่แรงขึ้น ซึ่งควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
- หูอักเสบ เนื่องจากหูและคอมีท่อที่เชื่อมต่อกัน คือ ท่อยูสเตเชียลทิ้วบ์ เมื่อเป็นหวัด เยื่อบุต่างๆบวม ทำให้เยื่อที่บุอยู่ในท่อนี้บวมไปด้วยจนตีบตัน จึงไม่สามารถระบายแรงดันอากาศในช่องหูชั้นกลางออกมาได้ ทำให้ปวดหู หรือบางครั้งเชื้อโรคอาจจะลามขึ้นไปติดเชื้อในหูชั้นกลาง ทำให้เกิดเป็นหูอักเสบ หรือหูน้ำหนวกได้ด้วย
- หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เมื่อเชื้อโรคผ่านหลอดลมลงมาส่วนล่าง เข้ามาที่ปอด ก็สามารถทำให้เป็นหลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบได้ จะทำให้ไอมากขึ้น มีไข้ หรือหอบเหนื่อยได้ บางกรณีที่เป็นมาก อาจต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อรับยาฆ่าเชื้อทางเส้นเลือด
- หอบหืด สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวเดิมเป็นหอบหืด คือหลอดลมมีความไวต่อการถูกกระตุ้น และเกิดการตีบตัว ทำให้หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อย มีเสียงวี้ดในปอด เป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไขอาการหลอดลมตีบด้วยยาขยายหลอดลม คนที่เป็นโรคหอบหืดจึงต้องรีบรักษาหวัดให้หาย อย่าให้เป็นมาก
- ชักจากไข้สูง มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ให้รีบลดไข้ด้วยการเช็ดตัวหรือทานยาลดไข้ อย่าปล่อยให้เด็กไข้สูงนาน จนเกิดอาการชัก และรักษาหวัดให้หาย
ที่มา Babycenter สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มูลนิธิหมอชาวบ้าน และ โรงพยาบาลกรุงเทพ
บทความที่น่าสนใจ
เป็นหวัดตอนท้องกินยาอะไรได้บ้าง?