X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด ลูกมีน้ำมูก แต่ไม่มีไข้ ควรทำอย่างไร?

บทความ 5 นาที
วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด ลูกมีน้ำมูก แต่ไม่มีไข้ ควรทำอย่างไร?

โรคหวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อยกับเด็ก โดยทั่วไปนั้นเมื่อลูกมีอาการน้ำมูกไหล หรือเสมหะ เจ็บคอ หรืออาจมีไข้เล็กน้อย หรือไม่มี ก็สามารถรักษาได้ง่าย ๆ โดยการให้ลูกรับประทานยา และพักผ่อนอยู่ในบ้านเท่านั้น วันนี้ theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่มาดู วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด ควรดูแลลูกอย่างไรให้ลูกปลอดภัยมากที่สุด ไปติดตามกันค่ะ

 

ลูกมีน้ำมูก แต่ไม่มีไข้ แปลว่าอะไร

เมื่อลูกไม่สบาย มีน้ำมูก แต่ไม่มีไข้ อาจหมายถึงลูกเป็น “โรคไข้หวัดธรรมดา” ซึ่งเป็นโรคที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ ทุกคนมีโอกาสเป็นหวัดทั้งนั้น ไม่ว่าลูกจะล้างมือบ่อยแค่ไหน คุณขยันให้ลูกทานวิตามินเสริม และหมั่นให้ลูกแต่งตัวอบอุ่นเพียงใด ลูกก็ยังเป็นหวัดได้อยู่ดี แต่คุณพ่อคุณแม่ยังมีหนทาง วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด จะช่วยบรรเทาอาการหวัดให้ลูกหายขาดเร็วขึ้นค่ะ

 

ไข้หวัดธรรมดา คืออะไร

โรคหวัดเกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก เชื้อเหล่านี้กระจายอยู่ในอากาศเมื่อผู้ติดเชื้อไอ จามหรือสั่งน้ำมูกออกมา สิ่งที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสอาจส่งต่อเชื้อโรคให้คนอื่นเป็นหวัดต่อไปเป็นทอด ๆ ไข้หวัดเป็นโรคที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นบ่อยกว่าโรคอื่น ๆ เชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของไข้หวัดธรรมดามีอยู่ในทุกสภาพอากาศแต่จะพบบ่อยที่สุดในอากาศหนาวเย็น และเปียกแฉะ

 

อาการของไข้หวัด

อาการของโรคไข้หวัดธรรมดาประกอบด้วย คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จาม มีไข้มีสูงนัก และไม่อยากอาหารเนื่องจากมีเสมหะ ร่างกายมักแสดงอาการของโรคภายใน 3-7 วันหลังได้รับเชื้อ และจะเป็นอยู่ราว 3-5 วันก่อนจะหาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และโควิดในเด็ก ที่พ่อแม่ควรแยกให้ออก

 

วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด

 

สิ่งที่ควรทำเมื่อลูกเป็นหวัด

เมื่อลูกเป็นหวัดในฐานะพ่อแม่ ไม่มีทางใดที่จะปัดเป่าโรคไข้หวัดให้พ้นไปจากตัวลูกได้ นอกจากคอยให้อาการหายขาดไปเอง แต่ก็ยังพอมีหนทางที่จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายขึ้นได้ขึ้น

  • ซุปไก่ ของเหลวร้อน ๆ ช่วยให้โพรงจมูกโล่งขึ้น และบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เกลือในน้ำซุปยังช่วยทุเลาอาการเจ็บคอ และช่วยกำจัดเสมหะด้วย
  • ของเหลว ควรให้ลูกรับของเหลวมาก ๆ โดยเฉพาะหากลูกมีไข้ หรือไม่ค่อยทานอาหาร ร่างกายของเด็กอาจขาดน้ำได้หากปริมาณของเหลวที่ได้รับลดลง การขาดน้ำก่อให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนรุนแรงอย่างอื่นตามมา จึงควรให้ลูกได้รับของเหลวอย่างสม่ำเสมอ ข้อพึงระวังคืออย่าให้ลูกดื่มนม นมปั่น และไอศกรีม เมือกจากอาหารเหล่านี้จะยิ่งทำให้มีเสมหะมากขึ้น
  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เกลือช่วยให้เสมหะแห้ง และบรรเทาการติดเชื้อในลำคอ
  • อาบน้ำร้อน (แต่ไม่ร้อนจนเกินไป) ไอน้ำช่วยให้โพรงจมูกโล่งโปร่งสบายขึ้น
  • ว่ายน้ำที่สระในร่ม ถ้าลูกไม่มีไข้ พาลูกไปว่ายน้ำที่สระในร่มสัก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง คลอรีนในน้ำช่วยให้โพรงจมูกโล่งได้อย่างเห็นผล
  • วิตามินซี และสังกะสี ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยได้ แต่ต้องระวังอย่าให้ลูกทานมากเกินไป ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่ปัญหารุนแรงได้
  • ยาตามร้านขายยาทั่วไปอาจไม่ช่วยให้ลูกหายจากไข้หวัดได้ แต่จะบรรเทาอาการต่าง ๆ และประคับประคองให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้นจนกว่าจะหายเอง เช่นเดียวกับวิธีการที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น ข้อพึงระวังคือหากจะซื้อยาให้ลูกเอง ต้องให้ปริมาณยาที่ถูกต้องตามใบกำกับยาอย่างเคร่งครัด

 

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นหวัด

ยาปฏิชีวนะไม่ช่วยรักษาโรคไข้หวัดธรรมดา และอาจทำให้อาการทรุดหนักลงด้วย หลายคนมักเข้าใจผิดว่าต้องทานยาปฏิชีวนะหากน้ำมูก หรือเสมหะเป็นสีเขียวหรือเหลือง อาการของโรคก่อให้เกิดการขับน้ำมูก และเสมหะเหนียวสีออกเหลือง หรือเขียวเป็นปกติอยู่แล้ว ไข้หวัดธรรมดาเป็นโรคที่เราต้องปล่อยให้หายขาดเอง นอกจากนี้ ไข้หวัดอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น

  • การติดเชื้อในหู
  • การติดเชื้อในลำคอ
  • หลอดลมอักเสบ
  • ไซนัสอักเสบ
  • ปอดบวม

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจทราบได้ว่าลูกเป็นมากกว่าแค่ไข้หวัดธรรมดาโดยดูจากอาการ ดังต่อไปนี้

  • อาเจียน และท้องเสีย
  • เหงื่อออกมากกว่าปกติ
  • ไม่รับประทานอาหาร
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือมีไข้ติดต่อกันนานกว่า 48 ชั่วโมงแม้จะใช้ยาลดไข้แล้ว
  • หายใจลำบาก
  • อาการไม่ดีขึ้นเลยหลัง 7 วัน
  • ลูกอาการทรุดหนักลงแม้จะได้รับการรักษาพยาบาล

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไข้หวัดใหญ่ สังเกตอาการไข้หวัดใหญ่ พร้อมวิธีป้องกัน ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรค

 

วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด

 

ดูแลลูกเวลาเป็นหวัดอย่างไร

ระหว่างที่ลูกเป็นหวัด (หรือจะป่วยด้วยโรคอะไรก็ตามแต่) ลูกควรได้รับความเอาใจใส่ และการเอาใจจากคุณพ่อคุณแม่มากกว่าปกติค่ะ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรกอดลูกให้บ่อยขึ้น และอยู่ใกล้ลูกให้มากขึ้น เพราะการทำแบบนี้ เป็นสิ่งดีที่สุดที่คุณจะให้ได้ในช่วงที่ลูกป่วย อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่ยังควรเช็ดตัวให้ลูกบ่อย ๆ เพื่อช่วยลดไข้ให้แก่ลูก นอกจากนี้ การให้ลูกห่มผ้าห่มผืนโปรด อ่านนิทานสนุก ๆ ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ รสอร่อย และเล่นกับตุ๊กตานุ่มนิ่มน่ากอด ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกดีขึ้นได้ค่ะ และเมื่ออาการหวัดของลูกทุเลาลง คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความสะอาดที่นอน ห้องนอน และของเล่นของลูกอย่างสะอาดหมดจด และอย่าลืมเปลี่ยนแปรงสีฟันเป็นแท่งใหม่ และนำขยะทั้งหมด เช่น กระดาษทิชชูออกไปทิ้งข้างนอกบ้านให้เรียบร้อยด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัย และป้องกันเชื้อโรคจากไข้หวัดค่ะ

 

การป้องกันคือวิธีที่ดีที่สุด

“กันไว้ดีกว่าแก้” คือคติที่ไม่เคยล้าสมัยค่ะ ในฐานะพ่อแม่ เราต่างก็รู้ว่าไม่มีทางใด ที่จะป้องกันไม่ให้ลูกเป็นหวัดเลยได้ แต่เรายังพอมีวิธีลดความเสี่ยงและความถี่ที่ลูกจะเป็นไข้หวัดค่ะ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันลูกเป็นหวัดได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1. หลีกเลี่ยงยาปฏิชีวนะ นอกจากจะจำเป็นจริง ๆ โชคไม่ดีนักที่แพทย์บางคน มักสั่งยาปฏิชีวนะให้คนไข้เป็นว่าเล่น การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินควรจะบั่นทอนความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อโรค ทำให้เป็นหวัด และโรคอื่น ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น

2. ถ้าลูกต้องไปเข้าสถานรับเลี้ยงเด็ก พยายามเลือกที่ที่มีขนาดเล็กเข้าไว้ ยิ่งจำนวนเด็กน้อยเท่าไร โอกาสติดหวัด ก็น้อยลงเท่านั้นค่ะ

3. รักษาความสะอาดในบ้านสม่ำเสมอ

4. ให้ลูกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทานอาหารที่มีคุณค่าและดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อสร้างเสริมร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง อาหารที่ลูกได้รับควรมีโยเกิร์ตรวมอยู่ด้วย จุลินทรีย์มีประโยชน์ในโยเกิร์ตช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ดี

5. หลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่ เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่าควันบุหรี่มีส่วนทำให้เกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งไข้หวัดด้วย

 

โรคหวัดธรรมดา สามารถรักษาได้ง่าย ๆ ที่บ้าน หากลูกมีอาการดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีดูแลลูกง่าย ๆ ด้วยการให้ลูกรับประทานยา พักผ่อน และคอยเฝ้าสังเกตลูกอยู่ตลอดเวลา หากลูกมีอาการผิดปกติ มีไข้สูง อาเจียน หรือหายใจลำบาก ควรรีบพาเขาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรักษาอาการต่อไป

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกจามบ่อย เป็นอะไรไหม สังเกตอย่างไรว่าจามเพราะฝุ่นหรือลูกไม่สบาย

แม่ให้นมลูกเป็นหวัด กินยาลดน้ำมูก ยาแก้เจ็บคอได้ไหม ให้นมลูกได้หรือเปล่า

ลูกเป็นหวัดอาบน้ำได้ไหม สระผมได้หรือเปล่า ลูกป่วยไม่สบายควรดูแลอย่างไร?

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด ลูกมีน้ำมูก แต่ไม่มีไข้ ควรทำอย่างไร?
แชร์ :
  • สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้ แม่รู้มั้ยบางอย่างอันตรายกว่าที่คิด

    สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้ แม่รู้มั้ยบางอย่างอันตรายกว่าที่คิด

  • สิ่งที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด

    สิ่งที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด

  • สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้ แม่รู้มั้ยบางอย่างอันตรายกว่าที่คิด

    สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้ แม่รู้มั้ยบางอย่างอันตรายกว่าที่คิด

  • สิ่งที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด

    สิ่งที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ