X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน คุณหมอนับวันกำหนดคลอดอย่างไร

บทความ 8 นาที
กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน คุณหมอนับวันกำหนดคลอดอย่างไร

การไปฝากครรภ์ครั้งแรกนอกจากคุณหมอจะตรวจสุขภาพทั่วไปแล้ว มักจะสอบถามถึงวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุดเพื่อกำหนดวันคลอดแต่จะแม่นแค่ไหน ติดตามอ่าน

กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

ครั้งแรกที่ไปฝากครรภ์ แน่นอนว่าคุณแม่ต้องเจอคำถามจากคุณหมอ “วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด เมื่อไหร่” อาจทำให้รู้สึก “งง” กับคำถาม และโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่อาจไม่เข้าใจว่าเกี่ยวข้องอะไร อาจจะนับผิดนับถูกได้ เพราะบางคนประจำเดือนไม่ได้มาตรงกัน หรือมาสม่ำเสมอทุกเดือน แต่ที่คุณหมอถาม นั่นเป็นเพราะคุณหมอจะคำนวณกำหนดวันคลอดคร่าว ๆให้ยังไงล่ะคะ มาดูกันว่า กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน คุณหมอนับวันกำหนดคลอดอย่างไร ติดตามอ่านได้เลย

ทำความเข้าใจ คำเหล่านี้มีผลต่อการคลอด

กำหนดคลอด, วิธีการนับกำหนดคลอด

กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

1. กำหนดวันคลอด

กำหนดวันคลอด คือ การคำนวณจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด รวมไปถึงการอัลตราซาวด์ ซึ่งจะเท่ากับอายุครรภ์ 40 สัปดาห์พอดี คุณแม่มักจะเจ็บท้องคลอด และคลอดใกล้ ๆ กับวันที่กำหนดคลอด ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ อาจจะเป็นช่วงก่อนหรือหลังที่คุณหมอกำหนดไว้ก็ได้ (จะกล่าวในหัวข้อ กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน)

2. อายุครรภ์ครบกำหนดคลอด

คำว่า อายุครรภ์ครบกำหนด ไม่จำเป็นว่าต้องเป็น 40 สัปดาห์ เพราะมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามากระตุ้นให้เกิดการคลอดได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลทางการแพทย์ พบว่า หลัง 37 สัปดาห์ไปแล้วหากทารกในครรภ์แข็งแรงที่จะออกมาและอยู่รอดได้ก็อาจจะคลอดได้ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนด และมักจะพบปัญหาเกี่ยวกับตัวทารกน้อยกว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนด แต่ไม่ได้หมายความว่า 37 สัปดาห์แล้วต้องคลอดเหมือนกันทุกคน เพราะจริง ๆ แล้ว เด็กส่วนใหญ่จะคลอดที่ 39 – 40 สัปดาห์ กรณีที่คุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ

3. อายุครรภ์เกินกำหนดคลอด

คำว่า เกินกำหนดในทางการแพทย์ไม่ได้นับสัปดาห์ที่ 40 แต่นับหลังจากสัปดาห์ที่ 42 ซึ่งในระยะท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์การทำงานของรก ซึ่งเป็นตัวนำอาหารและออกซิเจนมาให้เด็กจะลดลง หรือที่เรียกกันว่า รกเสื่อม ทำให้เสี่ยงที่เด็กจะเสียชีวิตในท้อง หรือขาดออกซิเจนขณะคลอด แต่มักไม่เกิดขึ้นบ่อย หากคุณแม่มีอายุครรภ์ 41 – 42 สัปดาห์แล้ว คุณหมอมักจะพิจารณาการกระตุ้นให้เจ็บครรภ์คลอดเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารก และจะเป็นไปตามกระบวนการที่อยู่ในความดูแลของคุณหมอ

บทความแนะนำ เรื่องน่ารู้ วิธีการเร่งคลอดมีอะไรบ้าง

4. คลอดก่อนกำหนด

คลอดก่อนกำหนด คือ คลอดก่อน 37 สัปดาห์ค่ะ แบ่งย่อยต่อเป็นก่อนกำหนดมาก ๆ (early preterm) คือ น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และก่อนกำหนดไม่มาก (late preterm) คือ 34-36 สัปดาห์ ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมาก ๆ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

อ่าน กำหนดคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน คลิกหน้าถัดไป –>

กำหนดคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

กำหนดคลอด, วิธีการนับกำหนดคลอด

กำหนดคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

การนับกำหนดคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์ สูติ-นรีแพทย์ กล่าวถึง การนับกำหนดคลอด ไว้ว่า

  • การนับกำหนดคลอดแบบที่ชาวบ้านนับกัน คือ เมื่อตั้งครรภ์ครบ 9 เดือน นับตั้งแต่ประจำเดือนขาด ซึ่งจริง ๆ ก็มีความถูกต้องแต่ไม่แม่นยำ ที่สำคัญคุณแม่มักจะจำไม่ได้ว่าประจำเดือนขาดไปตั้งแต่เมื่อไร
  • นอกจากนี้ การนับจำนวนเดือน 9 เดือนในแต่ละช่วงของปีก็ไม่เท่ากัน เนื่องจากบางเดือนมี 31 วัน บางเดือนมี 30 วันและเดือนกุมภาพันธ์มี 28 หรือ 29 วัน
  • เพื่อความสะดวกและแม่นยำยิ่งขึ้น การนับจึงเริ่มนับตั้งแต่วันแรกประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพราะจะจำง่ายกว่า และนับไปทั้งสิ้น 40 สัปดาห์ การนับเป็นสัปดาห์จะแม่นยำกว่า โดยที่เมื่อคลอดอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไปก็ถือว่าครบกำหนดแล้ว
  • ในครรภ์แรกมักคลอดใกล้กับกำหนดคลอด แต่ในครรภ์หลังมักคลอดก่อนกำหนดคลอด 1 – 2 สัปดาห์ สำหรับสูตรในการคำนวณที่ทางการแพทย์มักใช้ คุณหมอก็จะนับอายุครรภ์ด้วยการคำนวณวันกำหนดคลอด (Expected date of delivery หรือ EDD) นั่นคือ การเอาวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย บวก 7 วัน ลบด้วย 3 เดือน ก็จะทราบได้ว่าวันกำหนดคลอดเมื่อไหร่ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

1. นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายบวกไปอีก 9 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วันก็จะได้วันกำหนดคลอด

ตัวอย่าง วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของคุณแม่ คือวันที่ 1 มกราคม 2559 ก็ให้บวกไปอีก 9 เดือน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม 2559 แล้วให้นับบวกต่อไปอีก 7 วัน ดังนั้น กำหนดคลอดของคุณแม่ก็จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2559

2. นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายย้อนหลังไป 3 เดือนและนับบวกต่อไปอีก 7 วันก็จะได้วันกำหนดคลอด

ตัวอย่าง วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของคุณแม่ คือ วันที่ 1 มกราคม 2559 ก็ให้นับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน คือ ธันวาคม พฤศจิกายน และตุลาคม และนับบวกไปอีก 7 วัน ดังนั้น กำหนดวันคลอดของคุณแม่จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2559

เคลียร์ชัด!!! กำหนดคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์ สูติ-นรีแพทย์ สรุปการนับวันกำหนดคลอด ไว้ดังนี้

  1. สำหรับสูตรการนับกำหนดคลอดทั้ง 2 วิธีนี้จะให้ผลเหมือนกัน แล้วแต่ว่าจะสะดวกนับแบบไหน เป็นสูตรที่สูติแพทย์และผดุงครรภ์ใช้กันทั่วโลก ซึ่งอาศัยการสังเกตจากประสบการณ์และการทำสถิติการคลอดของคนทั่วโลก
  2. สูตรดังกล่าว จะให้ผลอย่างแม่นยำในกรณีที่คุณแม่จำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายได้เท่านั้น และถ้าหากคุณแม่มีรอบเดือนมาสม่ำเสมอทุก ๆ 28-30 วัน คุณแม่ส่วนใหญ่ก็มักจะคลอดก่อนวันที่กำหนดไว้ประมาณ 1 สัปดาห์
  3. ในความเป็นจริงแล้วจะมีคุณแม่เพียง 5-6% เท่านั้น ที่จะคลอดลูกได้ตรงกับกำหนดวันคลอดพอดี และอีก 40% มักจะคลอดลูกเกินกำหนด ซึ่งร้อยละ 25 ของคุณแม่ในกลุ่มนี้จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 42 สัปดาห์, ร้อยละ 12 จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 43 สัปดาห์ และที่เหลือเพียงร้อยละ 3 จะคลอดลูกเมื่ออายุ 44 สัปดาห์

จากการคำนวณกำหนดคลอดตามที่คุณหมอได้กล่าวมานั้น หลักสำคัญขึ้นอยู่กับการจดจำวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเพราะหมายถึง การนับช่วงเวลากำหนดคลอดได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ในความเป็นจริงแล้วคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะจดจำวันแรกของการมีประจำเดือนคลาดเคลื่อน

แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคที่สำคัญของการกำหนดวันคลอด เพราะยังมีการนับกำหนดวันคลอดจากการอัลตราซาวด์ได้อีก (จะกล่าวในหัวข้อถัดไป) ดังนั้น กำหนดวันคลอดที่คุณหมอนับนั้นส่วนใหญ่จะคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 สัปดาห์ค่ะ

อ่าน การประเมินกำหนดคลอดโดยการอัลตราซาวด์ คลิกหน้าถัดไป —>

การกำหนดคลอดโดยการอัลตราซาวด์

กำหนดคลอด, วิธีการนับกำหนดคลอด

กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

รศ.พญ. สายฝน ชวาลไพบูลย์ สูติ-นรีแพทย์ กล่าวถึง การกำหนดวันคลอดโดยการตรวจอัลตราซาวด์ ไว้ว่า

  • การตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อประเมินอายุครรภ์มีความสำคัญมากในกรณีที่แม่ตั้งครรภ์ที่จำวันแรกของการประจำเดือนครั้งล่าสุดไม่ได้
  • การตรวจในไตรมาสแรกอายุครรภ์ที่ตรวจพบจะมีกำหนดวันคลอดคลาดเคลื่อนน้อยมากเพียง 7 วัน
  • ในไตรมาสที่ 2 และ 3 จะมีความคลาดเคลื่อนได้ 2 และ 3 สัปดาห์ตามลำดับ หมายความว่า ถ้าคุณหมอตรวจอัลตราซาวด์แล้ว พบว่า ทารกมีอายุครรภ์ 8 สัปดาห์ คุณหมอจะทำนายกำหนดวันคลอดอีก 32 สัปดาห์ถัดไป (คือครบ 40 สัปดาห์) ความคลาดเคลื่อนจะบวกลบเพียง 1 สัปดาห์หรือ 7 วันเท่านั้น เพราะเป็นการตรวจในไตรมาสแรก
  • โดยทั่วไป เมื่อถึงกำหนดวันคลอด 40 สัปดาห์ แม่ตั้งครรภ์อาจจะคลอดได้ในช่วง 38-42 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าปกติ ถ้าก่อนหน้านี้ถือว่าคลอดก่อนกำหนด ถ้าหลังจากนี้ถือว่าคลอดเกินกำหนดค่ะ

คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะในช่วงที่อายุครรภ์มากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายคุณหมอจะนัดตรวจถี่ขึ้น เพื่อติดตามอาการต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด สบายใจได้นะคะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ


อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. “การกำหนดวันคลอด”. (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ). หน้า 63-67.

หนังสือ 40 สัปดาห์ พัฒนาครรภ์คุณภาพ. “ประจำเดือนครั้งสุดท้ายกับการตั้งครรภ์”. (รศ.พญ.สายฝน – นพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์). หน้า 115.

https://www.facebook.com

https://frynn.com

https://guruobgyn.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

วิธีนับอายุครรภ์ เพื่อรู้กำหนดคลอดที่แม่นยำ

จะเลยกำหนดคลอดแล้ว เร่งคลอดแบบธรรมชาติทำไง

วิธีคุยกับลูกในท้อง เพิ่มทักษะและพัฒนาการทารกในครรภ์ก่อนคลอด

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน คุณหมอนับวันกำหนดคลอดอย่างไร
แชร์ :
  • ระยะห่างของชีวิตคู่จำเป็นแค่ไหน จะกระชับความสัมพันธ์อย่างไรและวิธีมัดใจแฟน

    ระยะห่างของชีวิตคู่จำเป็นแค่ไหน จะกระชับความสัมพันธ์อย่างไรและวิธีมัดใจแฟน

  • ไม่รู้ตัวว่าท้อง จะนับอายุครรภ์ กำหนดวันคลอดอย่างไร?

    ไม่รู้ตัวว่าท้อง จะนับอายุครรภ์ กำหนดวันคลอดอย่างไร?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ระยะห่างของชีวิตคู่จำเป็นแค่ไหน จะกระชับความสัมพันธ์อย่างไรและวิธีมัดใจแฟน

    ระยะห่างของชีวิตคู่จำเป็นแค่ไหน จะกระชับความสัมพันธ์อย่างไรและวิธีมัดใจแฟน

  • ไม่รู้ตัวว่าท้อง จะนับอายุครรภ์ กำหนดวันคลอดอย่างไร?

    ไม่รู้ตัวว่าท้อง จะนับอายุครรภ์ กำหนดวันคลอดอย่างไร?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ