X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคใกล้ตัวที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

บทความ 8 นาที
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคใกล้ตัวที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

หนุ่มสาวชาวออฟฟิศ ที่มักมีกิจวัตรประจำวันเร่งรีบ งานเยอะ และมีพฤติกรรมชอบกลั้นปัสสาวะต้องอ่าน! อันตรายใกล้ตัวจาก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กำลังรอคุณอยู่...

ด้วยวิถีชีวิตเปลี่ยนไปของสาว ๆ ที่มักจะทำงานนอกบ้านมากขึ้นและหนึ่งโรคยอดฮิตนอกจากออฟฟิสซินโดรมแล้ว คงหนีไม่พ้นโรค กระเพาะปัสสาวะอักเสบ นี่เอง
เพราะการทำงานในออฟฟิส ที่ต้องนั่งตลอดทั้งวัน การประชุม และตารางงานที่แน่นทำเรามักจะกลั้นปัสสาวะอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะสาว ๆ ที่ทำงานจนลืมตัว ไม่ยอมลุกไปเข้าห้องน้ำ ทำให้เกิดการกลั้นปัสสาวะ หรือแม้แต่การอยู่นอกบ้านเวลาปวดปัสสาวะขึ้นมาก็ไม่ยอมเข้าห้องน้ำเพียงเพราะกลัวความสกปรก นี้ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เรากลั้นปัสสาวะ และทำให้เกิดการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น

 

ขอขอบคุณวีดีโอจาก : Siriraj Pr

 

กระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่อะไร?

กระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่กักเก็บปัสสาวะ ซึ่งสามารถกักเก็บได้ ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร และเมื่อในกระเพาะปัสสาวะ มีปริมาณปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ผนังจะเริ่มบีบตัว เพื่อขับปัสสาวะออก

 

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากอะไร

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งพบบ่อยในผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย จึงทำให้เชื้อโรคเข้าไปในร่างกายได้ง่ายกว่า แต่ในบางรายอาจเกิดจากการกลั้นปัสสาวะบ่อยครั้ง และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคบริเวณดังกล่าวจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิง ได้ง่ายกว่าผู้ชายนั่นเอง

 

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดคือการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะเชื่อแบคทีเรีย เอสเชอริเชีย โคไล หรืออีโคไล ซึ่งเชื่อเหล่านี้จะมีอยู่ในจำนวนมากที่บริเวณรอบรูทวารหนัก สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่นการมีเพศสัมพันธ์ การทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระที่ไม่ถูกวิธี การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือการสวนปัสสาวะ นอกจากนี้อาจเกิดขึ้นได้โดยสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช้เชื้อแบคทีเรีย แต่มักเกิดขึ้นได้น้อยมาก เช่นเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังการใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณจุดซ่อนเร้น การฉายรังสีบริเวณกล้ามเนื้อเชิงกราน หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ

 

สาเหตุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
  • การดูแลอนามัยของอวัยเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้หญิงหากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี ก็อาจจะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายมากกว่าเป็นผู้ชาย
  • การส่วนล้างช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ ทำให้แบคทีเรียชนิดดีที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคถูกกำจัดออกไป
  • การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงในช่วงที่หมดประจำเดือน
  • ผู้ป่วยในโรคเบาหวาน หากควบคุมโรคได้ไม่ดี ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำอยู่แล้ว
  • ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน
  • การที่ใส่สายส่วนปัสสาวะเป็นเวลานาน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี ฉี่น้อย ไม่ฉี่เลยทั้งวัน อั้นฉี่หรือเปล่า ปัสสาวะของทารกน้อย แบบใดจึงผิดปกติ?

 

อาการเหล่านี้บ่งบอกว่า กำลังเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ปวดปัสสาวะบ่อยโดยปวดมากกว่า 10 ครั้ง/ วัน และปัสสาวะแบบกระปริบกระปรอยมีอาการคล้าย ๆ ถ่ายปัสสาวะไม่สุด และส่วนใหญ่ต้องลุกมาปัสสาวะบ่อย ๆ ในเวลากลางคืน
  • ปัสสาวะแสบคันอาการ คือ เมื่อปัสสาวะเสร็จแล้วอาจมีเจ็บเสียวแสบบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ ในบางรายอาจมีปัสสาวะปนเลือดร่วมด้วย
  • ปัสสาวะมีสีขุ่น และบางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ และในรายที่เป็นมากปัสสาวะอาจมีเลือดปนเปื้อนออกมาด้วย อีกทั้งยังมีไข้ร่วมด้วย

 

ปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานเป็นประจำ ทำให้เชื้อโรคในปัสสาวะเติบโตได้ดี
  • ไม่รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ ทำให้มีโอกาสที่จะติดเชื้อจากช่องคลอดได้
  • เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน ซึ่งผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ความชุ่มชื้นที่บริเวณช่องคลอด และเยื่อบุท่อปัสสาวะจะลดลงตามไปด้วย
  • การสวนล้างช่องคลอด ทำให้แบคทีเรียที่ช่วยป้องกันเชื้อโรค ถูกกำจัดออกไป ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว
  • ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยากดภูมิต้านทาน
  • การสวมใส่สายสวนปัสสาวะเป็น ติดต่อกันเป็นเวลานาน

 

วิธีสังเกตอาการ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • มีปัสสาวะสีขุ่น
  • ปัสสาวะแสบ ติดขัด ผิดปกติ
  • มีอาการปวดท้องน้อย
  • ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้
  • ปวดปัสสาวะบ่อย

 

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นปัสสาวะอักเสบ

  • การดื่มน้ำที่สะอาดมาก ๆ ประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน เมื่อเป็นโรคที่ต้องจำกัดการดื่มน้ำ เช่นโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งการดื่มน้ำจะช่วยในการขับเชื้อโรคออก และลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้
  • ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะปัสสาวะ เช่นกาแฟ น้ำอัดลม และน้ำผลไม้ที่ไม่มีน้ำตาล
  • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ ไม่ควรนั่งแช่อยู่กับที่เป็นเวลานาน
  • การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศหลังขับถ่ายในผู้หญิง ต้องทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลังอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะได้
  • ในผู้หญิงไม่ควรใช้วิธีคุมกำหนดโดยการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ หรือการใช้ฝาครอบมดลูก เพราะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะ และปากช่องคลอดส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • ไม่ควรใช้สเปรย์หรือน้ำยาดับกลิ่นตัวในอวัยวะเพศ เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสเกิดการบาดเจ็บ และการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ
  • ควรอาบน้ำจากฝักบัว หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในอ่าง เพราะอาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และลดโอกาสในการติดเชื้อขั้นรุนแรง
  • ผู้ป่วยไม่ควรที่จะซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจจะทำให้ได้ยาไม่ตรงตามโรคที่เป็น หรือขนาดและระยะเวลาในการใช้ยาไม่ถูกต้อง จึงอาจส่งผลให้โรคไม่หาย

 

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคปัสสาวะอักเสบ

  • ซักถามประวัติการเจ็บป่วย และตรวจร่างกายพื้นฐาน
  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เช่นเชื้อแบคทีเรีย เลือด หรือเม็ดเลือดขาว
  • หากมีการติดเชื้อ แพทย์อาจส่งน้ำปัสสาวะเพื่อการเพาะเชื้อ
  • ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเรื้อรัง แพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่นการส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ การตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจ หรือการถ่ายภาพรังสีเพื่อวินิจฉัยความปกติในระบบทางเดินปัสสาวะที่มากกว่าการติดเชื้อ

 

แนวทางการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • โดยทั่วไปจะให้รับประทานยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7-10 วัน

 

ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคปัสสาวะอักเสบ

  • เสาวรส เป็นผลไม้ที่มีวิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 และมีวิตามินซีสูงมากจึงช่วยเพิ่มสภาวะเป็นกรดให้น้ำปัสสาวะ ไม่มีการตกตะกอนของเกลือต่าง ๆ ที่มีอยู่ในน้ำปัสสาวะ
  • แครนเบอร์รี่ ผลไม้สีแดงในตระกูลเบอร์รี่อุดมไปด้วยวิตามินซีสูงมากและยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ทั้งยังมีสารต้านแบคทีเรียจึงมีสรรพคุณในการรักษา โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้แบบเห็นผล เพียงดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ก็จะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียในปัสสาวะให้ลดลงได้
  • โทงเทงฝรั่ง เป็นผลไม้ในกลุ่มเบอร์รี่มีวิตามินซีสูงมาก เมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นๆ ช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้ปัสสาวะแสบร้อน ช่วยรักษาปัสสาวะมีสีเหลืองอีกด้วย
  • แคนตาลูป มีวิตามินซีสูงจึงช่วยเพิ่มสภาวะเป็นกรดให้น้ำปัสสาวะ ไม่มีการตกตะกอนของเกลือต่าง ๆ ที่มีอยู่ในน้ำปัสสาวะ จึงช่วยบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ
  • น้ำมะพร้าวคุณสมบัติเป็นธาตุเย็น จึงช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย ขับสารพิษ ชำระล้างร่างกาย และยังมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะและสารพิษออกจากร่างกาย จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้อีกด้วย

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ส่วนมากโรคนี้จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ซึ่งถ้ายังไม่ได้รับการรักษาเชื้อโรคอาจจะลุกลามขึ้นไปที่ไตทำให้เป็นกรวยไตอักเสบได้ และถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังก็อาจทำให้ไตวายเรื้อรังแทรกซ้อนได้ ส่วนผู้ชายเชื้ออาจลุกลามเข้าไปทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบได้

นอกจากนี้ เมื่อการอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเป็นการอักเสบติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปัสสาวะคนท้องสีอะไร ต้องระวัง! สีปัสสาวะของคนท้อง ทําไมคนท้องปัสสาวะบ่อย คนท้องต้องดื่มน้ำวันละกี่แก้ว

 

ปัสสาวะบ่อยมีสาเหตุ

ในคนทั่วไปโดยปกติถ้าดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้วหรือ 1500-2000 ซี.ซี. จะปัสสาวะวันละประมาณ 3-5 ครั้งต่อวันและหลังเข้านอนจะไม่ตื่นมาปัสสาวะเลย แต่อาการปัสสาวะบ่อย ๆ เกินวันละ 5 ครั้งต่อวัน อย่าเข้าใจว่าเป็นได้แค่เพียงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเท่านั้น เพราะอาจมีหาเหตุดังต่อไปนี้

1. ไตขับปัสสาวะมากกว่าปกติจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ดื่มน้ำมาก, รับประทานยาขับปัสสาวะเนื่องจากเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งส่งผลให้ปัสสาวะที่มากักเก็บในกระเพาะปัสสาวะเต็มเร็ว จึงปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ (มากกว่า 5 ครั้งต่อวัน) และอาจต้องตื่นมาปัสสาวะหลังเข้านอนแล้วประมาณไม่เกิน 2 ครั้ง ที่สำคัญผู้ป่วยจะมีปริมาณปัสสาวะแต่ละครั้งเท่าคนปกติ (ประมาณ 350-500 ซี.ซี.) เมื่อตรวจปัสสาวะจะไม่พบการติดเชื้อแต่อย่างใด

2. มีความผิดปกติที่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ไม่สามารถกักเก็บปัสสาวะได้นาน ปวดปัสสาวะเร็ว บางคนอาจปัสสาวะทุก 1-2 ชั่วโมง ที่สำคัญคือจะปวดปัสสาวะหลังนอนหลับแล้วตอนดึกก่อนถึงเช้าทุก ๆ คืนมากกว่า 2 ครั้ง ครั้งละน้อยกว่าปกติ (ไม่ถึง 300 ซี.ซี.) เช่น

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
  • กระเพาะปัสสาวะเล็กขยายไม่ได้ เนื่องมาจากถูกฉายแสงรักษามะเร็งปากมดลูก เป็นวัณโรคกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะชั้นกล้ามเนื้อขยายเพื่อเก็บปัสสาวะมากไม่ได้ หรือมีเนื้องอกขนาดใหญ่ในมดลูก หรือหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 6 เดือน มดลูกจึงกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เก็บปัสสาวะไม่ได้และปัสสาวะบ่อย ๆ
  • มีสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะปัสสาวะ เช่น ก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกขนาดใหญ่ ซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะบ่อย

3. ประสาทควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ทำให้ผนังกล้ามเนื้อทำงานบีบตัวบ่อย จำเป็นต้องตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะด้วยเครื่องมือพิเศษเพื่อตรวจการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ

4. มีความผิดปกติทางจิตใจ เช่น มีความเครียดจากการทำงาน มีปัญหาครอบครัว กลัวโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากจะปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางวันหรือหัวค่ำ เมื่อหลับแล้วจะไม่ตื่นมาปัสสาวะอีก เนื่องจากไม่มีความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ

 

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการปัสสาวะ

โดยปกติ คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะ ประมาณ 6-8 ครั้งต่อวัน หากมีการปวดปัสสาวะบ่อยกว่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ ดังนี้

  • โรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร่างกายของเราจึงต้องปรับสมดุล โดยการกำจัดน้ำตาลส่วนเกิน ผ่านทางการปัสสาวะ
  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการอักเสบ ติดเชื้อ ที่มีที่มาจากท่อปัสสาวะ มักเกิดจากการกลั้นปัสสาวะนาน ๆ มาก ๆ บ่อย ๆ หรือ การทำความสะอาดอวัยวะเพศไม่ถูกต้อง
  • โรคไต การทำงานที่ผิดปกติของไต ทำให้ไต ไม่สามารถดูดน้ำ กลับเข้าสู่ร่างกายได้ จึงทำให้น้ำ ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ในปริมาณมาก และบ่อยครั้ง
  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิด (OAB) จะทำให้มีการปัสสาวะบ่อย ทั้งกลางวัน และกลางคืน หรือ ปวดแบบฉับพลัน ไม่สามารถกลั้นได้ 
  • โรคต่อมลูกหมากโต เป็นภาวะที่ต่อมลูกหมาก มีขนาดใหญ่ขึ้นจนผิดปกติ จึงเกิดการกดทับ บริเวณกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะติด ขัด ปัสสาวะบ่อย
  • การตั้งครรภ์ เมื่อร่างกายของผู้หญิง อยู่ในภาวะของการตั้งครรภ์ มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น จึงไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย

บทความที่เกี่ยวข้อง :ท่อปัสสาวะอักเสบ มีหนอง เพราะแม่ทำความสะอาด จุ๊ดจู๋ จิมิ ของหนูไม่ดี

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เซ็บเดิร์มคืออะไร เซ็บเดิร์มมีอาการอย่างไรบ้าง รวมความรู้เกี่ยวกับเซ็บเดิร์ม

โรคกลัว (Phobia) อาการกลัวสิ่งต่าง ๆ โรคทางจิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว

โรคฮีโมฟีเลีย hemophilia คืออะไร อันตรายอย่างไร? พร้อมวิธีป้องกันรักษา

 

แหล่งที่มาจาก : medthai.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

@GIM

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคใกล้ตัวที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม
แชร์ :
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

    การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

  • ท่อปัสสาวะอักเสบ มีหนอง เพราะแม่ทำความสะอาด จุ๊ดจู๋ จิมิ ของหนูไม่ดี

    ท่อปัสสาวะอักเสบ มีหนอง เพราะแม่ทำความสะอาด จุ๊ดจู๋ จิมิ ของหนูไม่ดี

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

    การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

  • ท่อปัสสาวะอักเสบ มีหนอง เพราะแม่ทำความสะอาด จุ๊ดจู๋ จิมิ ของหนูไม่ดี

    ท่อปัสสาวะอักเสบ มีหนอง เพราะแม่ทำความสะอาด จุ๊ดจู๋ จิมิ ของหนูไม่ดี

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ