ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี
ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี ทารกฉี่น้อย ลูกไม่ฉี่เลยทั้งวัน หรือว่าลูกอั้นฉี่ ปัสสาวะของทารกน้อย แบบใดจึงผิดปกติ ทารกควรฉี่กี่ครั้งต่อวัน
ลูกไม่ฉี่เลยทั้งวันอันตรายไหม
ปัสสาวะของทารกน้อย แบบใดจึงผิดปกติ
คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าลูกน้อยวัยทารกควรจะมีลักษณะการปัสสาวะที่ปกติในปริมาณมากน้อยเพียงใด และแบบใดจึงเรียกว่าผิดปกติ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องปัสสาวะของทารกน้อยแบบใดจึงผิดปกติ กันนะคะ
แม่กังวลลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี ลูกอั้นฉี่หรือไม่
จำนวนครั้งของการปัสสาวะของลูกที่ปกติควรเป็นอย่างไร?
- โดยทั่วไปสำหรับทารกวัยแรกเกิดช่วงสัปดาห์แรกของชีวิต ทารกที่ทานนมแม่ล้วนอาจยังมีปริมาณปัสสาวะที่ไม่มากนักโดยเฉพาะในช่วง 2-3 วันแรกเกิด เพราะน้ำนมคุณแม่อาจจะยังมีไม่มากนัก แต่ทั้งนี้ทารกแรกเกิดควรจะต้องปัสสาวะอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 12-24 ชั่วโมงหลังเกิด
- ในช่วงต่อมา หลังเกิดคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตการปัสสาวะของทารกน้อยได้จากการดูความเปียกของผ้าอ้อม ซึ่งในวันต่อ ๆ มา ทารกควรจะมีปัสสาวะเปียกผ้าอ้อมอย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อวัน ในช่วงอายุ 2-3 วันแรกของชีวิต และมีปริมาณปัสสาวะที่เพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณน้ำนมคุณแม่เพิ่มขึ้น
- สำหรับทารกที่ทานนมแม่ล้วน จนเมื่อทารกอายุมากกว่า 5 วันก็ควรจะมีปัสสาวะมากกว่า 6 ถึง 8 ครั้งต่อวัน ซึ่งทารกบางคนอาจมีปัสสาวะมากถึง 10 ครั้งต่อวันคืออาจปัสสาวะทุก 1-3 ชั่วโมงหรือปัสสาวะทุกครั้งหลังจากทานนมคุณแม่ก็ได้
ทั้งนี้ หากคิดปริมาณปัสสาวะเป็นมิลลิลิตรโดยละเอียด ในทารกแรกเกิดจะมีปัสสาวะน้อยกว่าปกติหากมีปัสสาวะได้น้อยกว่า 1 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมใน 1 ชั่วโมง ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป การมีปัสสาวะน้อยหมายถึงปัสสาวะได้น้อยกว่า 0.5 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมใน 1 ชั่วโมงค่ะ
สาเหตุของการปัสสาวะน้อยผิดปกติในเด็กมีอะไรบ้าง?
ตัวอย่างสาเหตุของการปัสสาวะน้อยผิดปกติในเด็ก มีดังนี้
- ภาวะขาดน้ำ ซึ่งเกิดจากการทานน้ำน้อย หรือมีการเสียน้ำจากอาการท้องเสีย หรืออาเจียน
- โรคไต เช่นภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งพบได้ไม่บ่อยในเด็กทารก
- การอุดกั้นทางเดินปัสสาวะจากสาเหตุต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
- ภาวะช็อคจากสาเหตุต่างๆ
สาเหตุที่พบบ่อยสุดของการมีปัสสาวะน้อยในเด็กคือภาวะขาดน้ำนั่นเองค่ะ
ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดีนะ
เมื่อไหร่จึงควรสงสัยว่าลูกปัสสาวะน้อยจนเกิดภาวะขาดน้ำ?
หากลูกไม่สบาย ทานน้ำหรือนมได้น้อย มีไข้ตัวร้อน หรืออุณหภูมิของอากาศภายนอกร้อนมาก ปริมาณปัสสาวะของลูกอาจลดลงได้ประมาณมากที่สุดถึงเกือบครึ่งหนึ่งของปกติ โดยที่ยังไม่ได้มีอาการความผิดปกติใด ๆ
วิธีสังเกตลูกมีภาวะขาดน้ำ
แต่หากลูกมีภาวะขาดน้ำแล้ว ก็มักจะมีอาการและอาการแสดง ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ยกตัวอย่างเช่น
- ปากแห้ง
- ตาโหล
- กระหม่อมบุ๋ม
- ดูซึมผิดปกติ
- ไม่ยอมทานนม
หากลูกมีอาการเหล่านี้ก็ควรรีบพาไปพบคุณหมอโดยด่วนค่ะ
สีของปัสสาวะลูกแบบใดผิดปกติ?
หากลูกทานนมแม่ล้วน บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจพบว่าสีของปัสสาวะลูกในช่วงอายุ 2-3 วันแรกที่น้ำนมของคุณแม่ยังมาไม่มากอาจเห็นเป็นปัสสาวะสีเข้มหรือมีสีแดงอิฐได้เล็กน้อย แต่เมื่อเวลาผ่านไป น้ำนมคุณแม่มีมากสีปัสสาวะแบบนี้ก็หายไป หากลูกยังมีปัสสาวะเป็นสีแดงอิฐหลังอายุ 4-5 วัน หรือปัสสาวะมีเลือดปน อาจเป็นภาวะที่ไม่ปกติ ก็ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารก ชั่งน้ำหนักทารก วัดความยาวทารก วัดเส้นรอบศีรษะลูก ลูกโตตามเกณฑ์ไหม
โรคในทารกแรกเกิด โรคที่พบบ่อย ทารก 0-1 ปี ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย การแก้ไขเบื้องต้น
ทรงผมหน้าร้อนเด็กชาย ทรงผมคลายร้อนเด็กเล็ก ลูกชายขี้ร้อนตัดทรงไหนดี?
ลูกแรกเกิดถึง 1 ปี นอนกี่ชั่วโมง กินนมตอนไหน อึบ่อยไหม ฉี่น้อยหรือเปล่า ไม่รู้ไม่ได้!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!