คุณแม่เคยได้ยินเกี่ยวกับอาการแพ้ถั่วปากอ้ากันไหมคะ ถ้าเคยได้ยิน ในวันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติม เพราะอาการแพ้ถั่วปากอ้าของเด็ก บางทีก็เกี่ยวกับโรคความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่เรียกว่า G6PD เราจะมาเจาะลึกกันว่า G6PD คือ อะไร เกิดจากอะไร อันตรายมากแค่ไหน หากน้อง ๆ เป็นโรคดังกล่าว คุณแม่จะสังเกตยังไง และจะทำอะไรได้บ้าง
โรค G6PD คืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง
โรค G6PD หรือ ภาวะเอนไซม์พร่อง ถือเป็นโรคความผิดปกติทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ จะมีเอนไซม์ G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase) ในร่างกายต่ำกว่าปกติ ซึ่งโดยทั่วไป G6PD เป็นเอนไซม์ที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยปกป้องเม็ดเลือดแดงจากการถูกทำลาย ผู้ที่ขาดเอนไซม์ชนิดนี้ จะเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายกว่าคนปกติ
โรค G6PD เกิดจากการถ่ายทอดยีนด้อยของโครโมโซม x จากแม่สู่ลูก ที่ต่อมามีการกลายพันธุ์ ซึ่งเด็กผู้ชาย จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ 50% ในขณะที่ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นพาหะ 50% จึงทำให้เด็กผู้ชายมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเด็กผู้หญิงนั่นเอง แต่ว่าผู้หญิงนั้น ก็สามารถส่งต่อพาหะนี้ ไปให้ลูกของตัวเองต่อได้ในอนาคตเช่นเดียวกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : กินถั่วตอนท้อง ว่ากันว่าคนท้อง / แม่ให้นม ไม่ควรกินถั่ว ทำให้ลูกแพ้ถั่ว ได้จริงหรือ?
อาการของโรคพร่องเอนไซม์ G6PD
รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ได้อธิบายไว้ว่า เด็กที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD มักจะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลืองตั้งแต่แรกเกิด ตัวซีด มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ หายใจไม่อิ่ม หัวใจเต้นเร้ว ตับหรือม้ามโต มีปัสสาวะสีน้ำตาลดำคล้ายน้ำปลาหรือโคล่า หรืออาจมีภาวะไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่แตกไปตกค้างอยู่ในทางเดินปัสสาวะจนเกิดการอุดกั้น นอกจากนี้ เด็ก ๆ อาจหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วยหากโลหิตจางมากเกินไป แต่ว่าเด็กบางคน ก็ไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาเลย นอกจากจะไปรับประทานยาบางชนิด หรืออาหารบางอย่าง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ภูมิแพ้ ลูกเป็นภูมิแพ้ รับมือได้ยังไงบ้าง รักษาได้หรือเปล่า?
สิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ป่วย G6PD อาการกำเริบ
มีอาหารบางอย่าง และของบางชนิด ที่เด็ก ๆ ที่ป่วยเป็น G6PD ต้องงดสัมผัส และงดทานไปก่อน เนื่องจากว่าของเหล่านั้นอาจไปกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงของเด็กแตก โดยสิ่งของเหล่านั้น ได้แก่
- ยาบางชนิด เช่น ยาไพรมาควิน ซัลโฟนาไมด์ ไนโตรฟูแรนโทอิน แอสไพริน และ แดปโซน เป็นต้น
- การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไข้ไทฟอยด์ โรคปอดอักเสบ เป็นต้น
- สารปรุงแต่งในอาหารหรือในขนมขบเคี้ยว
- เมนทอล ลูกอมบางชนิด
- ลูกเหม็น การบูร
- ถั่วปากอ้า
- บลูเบอร์รี่
ดูแลลูกที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD อย่างไรดี
หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูก ๆ มีอาการตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ให้รีบพาเด็กเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลโดยด่วน หากเด็กมีเม็ดเลือดแดงแตก อาจต้องได้รับเลือดและสารน้ำทดแทนโดยด่วน เพื่อป้องกันภาวะไตวายและรักษาความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด เมื่อทราบว่าลูกมีภาวะดังกล่าว คุณแม่ไม่ควรให้น้อง ๆ ทานอาหารที่อาจไปกระตุ้นการแตกของเม็ดเลือดแดงโดยเด็ดขาด รวมทั้งไม่ควรให้ลูกทานยาที่หมอไม่ได้แนะนำ เพราะอาจทำให้ลูกอาการแย่ลงได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!
ทารกตัวเหลือง มีอุจจาระสีซีด ผิดปกตินะแม่! ต้องรีบพาลูกไปพบหมอแล้วล่ะ
พาลูกแรกเกิดกลับบ้านยังทำอะไรไม่ถูกเลย อยากรู้ควร อาบน้ำทารกวันละกี่ครั้ง
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับโรค G6PDได้ที่นี่!
โรค G6PD คืออะไรคะ แล้วอันตรายไหม ป้องกันได้อย่างไรบ้างคะ
ที่มา : bccgroup
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!