อาการไวรัส โค โร น่า ระลอกใหม่ พบอาการผื่นขึ้น และตาแดง ไม่แสดงอาการเพียบ เข้าสู่เดือนเมษายน การแพร่กระจายของโคโรน่าไวรัส หรือโควิด 19 แพร่กระจายมากขึ้น ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อสะสม 37,453 ราย กลับบ้านแล้ว 28,383 ราย ยังรักษาใน รพ. 8,973 ราย และเสียชีวิต 97 ราย (ข้อมูลวันที่ 15 เมษายน 2564 เวลา 11:30 น.) ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 75 จังหวัดของประเทศไทย มีเพียง 2 จังหวัดคือระนอง และสตูล ที่ยังไม่พบผู้ป่วยจากการแพร่กระจายระลอกใหม่
COVID-19 หรือ โควิด-19 คืออะไร
เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า SARS-CoV-2 WHO พบไวรัสครั้งแรกที่เกี่ยวกับไวรัสชนิดใหม่นี้ในวันที่ 31 ธันวาคม 2019 หลังจากรายงานกลุ่มผู้ป่วย “โรคปอดบวมจากไวรัส” ในมณฑลอู๋ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน
อาการที่พบบ่อย ๆ
- ไข้
- ไอแห้ง
- ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
อาการที่พบได้น้อย หรือเกิดขึ้นเพียงบางราย
- สูญเสียการรับรสชาติ หรือการได้กลิ่น
- คัดจมูก
- เจ็บคอ
- ปวดหัว
- ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
- คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องร่วง
- หนาวสั่นหรือเวียนศีรษะ
อาการที่พบล่าสุดที่พบในผู้ป่วยระลอกใหม่
- ไม่มีไข้
- ตาแดง
- มีน้ำมูลไหล
- มีผื่นขึ้น
โดยการอาการของผู้ป่วยระลอกใหม่นี้ไม่ได้เป็นข้อมูลใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่เพิ่งพบในประเทศไทยในระยะหลังเท่านั้น โดย ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ ได้รวบรวมการแสดงอาการทางผิวหนังของโควิด-19 ไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ว่า พบผู้ป่วยหลายประเทศมีผื่นขึ้นที่เท้า หรือนิ้วเท้า (Covid toe) โดยสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
- มีผื่นแดงลักษณะคล้ายตาข่ายหรือเส้นใยเล็ก ๆ
- มีจุดเลือดออก
- มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
- บางรายอาจมีลักษณะกลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส
- เกิดอาการฉับพลัน ร่วมกับอาการมีไข้ ไอ จาม และระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ
บทความที่น่าสนใจ : ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
อาการไวรัส โคโรน่าหายเองได้?
ไวรัสโคโรน่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่เมื่อปี 2019 และแพร่กระจายไปทั่วโลก ทำให้ทุกประเทศ รวมถึงองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็เป็นวิตกกังวลไปตาม ๆ ด้วยสถานการณ์ที่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถควบคุมได้ แต่ทางกรมอนามัยโลกได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลว่า
“ในบรรดาผู้ที่มีอาการส่วนใหญ่ ประมาณ 80% หายจากโรคโดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประมาณ 15% ป่วยหนักและต้องการออกซิเจนและ 5% ป่วยหนักและต้องได้รับการดูแลอย่างเข้มข้น”
ดังนั้นมีเพียงแค่ 5% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่พบภาวะแทรกซ้อน และนำไปสู่การเสียชีวิต โดยส่วนใหญ่มักมีอาการอื่นแทรกซ้อน เช่น
- การหายใจล้มเหลวโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน (ARDS)
- ภาวะติดเชื้อและภาวะช็อกจากการติดเชื้อภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
- การบาดเจ็บที่หัวใจ ตับ หรือไต
รวมถึงผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปนั้นก็เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากโรคประจำตัวของผู้สูงอายุ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และปอดโรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือมะเร็ง แต่ถึงอย่างไรก็ตามทุกคนสามารถป่วยเป็น COVID-19 และป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้ทุกช่วงอายุ
อาการไวรัส โคโรน่า มีผลระยะยาวหรือไม่?
อาการโคโรน่า หรือบางคนที่เคยติดเชื้อ COVID-19 ไม่ว่าจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่ เมื่อรักษาหายแล้วแต่ก็ยังคงมีอาการอยู่เล็กน้อย โดยในบางรายอาจไม่ได้กลับมาสมบูรณ์ 100% ยังคงเหลืออาการบางอย่าง เช่น อ่อนเพลีย ระบบทางเดินหายใจ และระบบประสาท โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) กำลังทำงานร่วมกับ Global Technical Network for Clinical Management of COVID-19 นักวิจัยและกลุ่มผู้ป่วยทั่วโลกเพื่อออกแบบและดำเนินการศึกษาผู้ป่วยที่อยู่นอกเหนือระยะการเจ็บป่วยเฉียบพลันเบื้องต้นเพื่อทำความเข้าใจสัดส่วนของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบในระยะยาว ว่าพวกเขาเหล่านั้นที่ได้รับการรักษาแล้วยังคงมีอาการดังกล่าวอยู่นานแค่ไหน และหาสาเหตุของอาการนั้นว่าทำไมจึงยังปรากฏอยู่ในผู้ป่วยที่รักษาหายาแล้ว (ผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบเชื้อไวรัสแล้ว) ซึ่งการศึกษาเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาเพิ่มเติมสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในอนาคต
การเตรียมตัวก่อน-หลังเดินทางในยุคโควิด
ก่อนเดินทาง
- ตรวจเช็กอาการเบื้องต้นของตนเอง หากมีไข้ ไอ หรือมีน้ำมูก ควรงดการเดินทาง และสังเกตอาการตัวเองอยู่ที่บ้าน
- เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับออกเดินทาง สิ่งที่ต้องมีติดตัวไปด้วยตลอดก็คือ หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์
- ใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้านทุกครั้ง และเมื่ออยู่ข้างนอก ต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
ระหว่างเดินทาง
- เลี่ยงการอยู่ในที่แออัด หรือที่ที่มีประชากรจำนวนมาก ควรอยู่ในที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก
- งดคุยโทรศัพท์ หรือพูดคุยกับคนแปลกหน้าโดยไม่จำเป็น
- หากพบผู้ต้องสงสัยว่าจะมีอาการป่วย ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ประจำพาหนะทันที (กรณีเดินสารโดยรถโดยสารประจำทาง) และให้บุคคลนั้นนั่งแยกออกจากผู้โดยสารคนอื่น
หลังเดินทาง
- กักตัวดูอาการตัวเองอยู่ที่บ้าน คอยสังเกตอาการตนเอง และวัดไข้ตัวเองทุกวัน
- หากมีอาการป่วย หรือได้รับแจ้งจากบุคคลใกล้ชิดว่าพบเชื้อโควิด ให้รีบไปตรวจหาเชื้อที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทันที
บทความที่น่าสนใจ : เที่ยวในยุคโควิด อย่างไร ให้ปลอดภัย และห่างไกลจากไวรัส
หากทราบว่าพบเชื้อ ควรทำอย่างไร
- เตรียมเอกสารจำเป็นของตนเองให้พร้อม เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ผลตรวจ COVID-19 และติดต่อกับทางหน่วยงานที่รับรองเพื่อเข้าการรักษา โดยสามารถติดต่อไปได้ที่ 1339, 1669 หรือ 1668
- งดออกจากที่พัก หรือเดินทางข้ามจังหวัดเด็ดขาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ (หากฝ่าฝืนถือว่าผิด พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 34)
- แยกตัวอยู่คนเดียว งดใกล้ชิดกับคนในครอบครัว และผู้อื่น และควรแยกห้องน้ำกัน (ถ้าทำได้)
- หากมีไข้ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล และเช็ดตัวเพื่อลดไข้
- สวมแมสท์ตลอดเวลาและแยกของใช้ส่วนตัวกับคนในครอบครัว
ที่มา : who.int, chulalongkornhospital.go.th, www.facebook.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!