X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เล่าประสบการณ์ป้อนนม เมื่อ ลูกหิวตอนขับรถ

บทความ 5 นาที
เล่าประสบการณ์ป้อนนม เมื่อ ลูกหิวตอนขับรถ

สำหรับแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกที่ยังเป็นทารกเองเวลาไปไหนก็ต้องไปกับลูก ต่อให้คุณคำนวนเวลาไว้อย่างดีว่าพอลูกหลับจะออกเดินทางไปยังจุดหมาย พอถึงที่หมายลูกก็ตื่นเราก็สามารถให้กินนมได้พอดี แต่การจราจรในกรุงเทพมหานครก็ใช่ว่าจะเป็นไปตามที่เราคาดคิดเสมอไป แล้วเราจะทำอย่างไรเมื่อลูกหิวเวลาขับรถ

เล่าประสบการณ์ป้อนนม เมื่อ ลูกหิว ตอนขับรถ                                                                                                                                      โดยปกติเด็กทารกจะตื่นมากินนมทุก ๆ 3 – 4 ชั่วโมง ดังนั้นในระหว่างที่ลูกหลับ ก็เป็นโอกาสที่คุณจะพักผ่อน ทำกิจกรรมส่วนตัว หรือ งานบ้าน ฉันเอง ก็เลือกใช้เวลานี้ทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึง ตอนขับรถ เมื่อต้องออกไปไหนมาไหน แต่พอเข้าหน้าฝนทุกคนคงส่ายหน้ากันเป็นแถว เวลาต้องติดแหง็กบนถนนเป็นชั่วโมง ๆ ในที่สุดเสียงร้องไห้หิวนมก็ดังขึ้น แล้วคุณจะทำอย่างไรล่ะทีนี้ เมื่อ ลูกหิว ตอนขับรถ

เมื่ออาทิตย์ก่อนฉัน และสามีมีนัดกับเพื่อนว่าจะพาลูกไปหา และเราก็มากินข้าวที่เซ็นทรัลเวิร์ดตอนหนึ่งทุ่ม เราก็ออกจากบ้านกันตอน 5 โมงเย็น (นี่ขนาดเผื่อเวลาแล้วถึง 2 ชั่วโมงนะคะเพราะปกติจากบ้านดิฉันไปห้างอย่างเร็วก็ 30 นาที อย่างช้าก็ 1 ชั่วโมง) ลูกน้อยวัย 1 เดือนก็นอนหลับอยู่ในคาร์ซีท สามีก็นั่งเบาะหลังข้าง ๆ ลูก เวลาผ่านไปรถยังคงติดอยู่ที่เสาชิงช้าไม่ขยับ ผ่านไป 2 ชั่วโมงขยับไปได้ 200 เมตร เสียงอ้อแอ้เริ่มดังมาจากด้านหลัง ลูกเริ่มตื่น ทำปากเหมือนลูกนกรอแม่นกมาป้อนอาหาร ฉันบอกสามี ซึ่งเป็นชาวต่างชาติให้มาขับรถแทน แต่สามีปฏิเสธเพราะไม่อยากขับรถในเมืองไทยโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร สักพักลูกเริ่มร้องหานม อีกแป๊บเสียงค่อย ๆ ดังขึ้น ๆ ฉันบอกสามีให้มาขับรถแทนอีกครั้ง สามีก็ยังคงยืนกรานคำตอบเดิม ที่นี้ลูกโมโหหิวแล้วฉันก็เริ่มเครียดไม่อยากได้ยินเสียงลูกร้องแบบจะขาดใจเพราะหิวนม รถก็ติด ตำรวจก็ให้แต่อีกฝ่ายเป็นไฟเขียวผ่านฉลุย ทางเรานี่ไฟแดงตลอด

ลูกหิว ตอนขับรถ-01

ลูกหิว ตอนขับรถ-01

ฉันบอกให้สามีเอาลูกออกจากคาร์ซีทมาให้หน่อย รถติดขนาดนี้ป้อนนมลูกได้สบายมาก สามีก็บอกว่าไม่ปลอดภัยไม่ทำ ในที่สุดฉันบังคับจนสามีต้องอุ้มลูกที่ร้องไห้หิวนมมาให้ฉันที่เบาะคนขับ เฮ้อเอาเป็นว่าเหมือนฉันมากับลูกแค่ 2 คน ฉันก็เลยให้ลูกกินนมจนอิ่ม และหลับไประหว่างยังติดอยู่บนถนน

Advertisement

ทีนี้หลายคนคงมีคำถามว่าทำไมไม่ใช้ขวดนมป้อนนมลูกแทน คงเป็นเพราะฉันเองก็เหมือนแม่คนอื่น ๆ ทั่วไปที่กลัวลูกจะติดขวดนมแล้วไม่ยอมดูดกระตุ้นน้ำนมจากฉัน แต่ถึงแม้ว่าจะมีขวดนมก็ไม่สามารถหาที่จอดรถเพื่อป้อนนมลูกได้ ถ้าอยู่กรุงเทพ ฯ รอบนอกหรือออกต่างจังหวัด ฉันยังสามารถแวะเข้าปั๊มน้ำมันเพื่อให้ลูกกินนมได้ แต่เจอสถานการณ์รถติดในกรุงเทพ ฯ แบบนี้ ดิฉันก็จนปัญญาค่ะ เลยต้องเลือกการให้นมบนรถ นอกจากนี้แล้วฉันยังเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกหลังกินนมบนรถได้อีกด้วย

ท้ายที่สุดเราก็ตัดสินใจยกเลิกนัดทานข้าวกับเพื่อนที่น่ารักของฉันไป เพราะดูสถานการณ์แล้วไม่มีวี่แววที่เราจะไปถึงก่อนห้างปิดเลย ดังนั้นเราจึงแยกย้ายกันกลับบ้านไปพักผ่อน โดยใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาทีเพื่อขับรถกลับบ้าน เรียกได้ว่าทริปนี้เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศกินนมของลูกก็แล้วกัน

ลูกหิว ตอนขับรถ-02

ลูกหิว ตอนขับรถ-02

รถติดในประเทศไทยเนี่ย ไม่ใช่เล่น ๆ เลยจริง ๆนะคะ ถึงแม้ว่าคุณแม่ในเรื่องเล่า จะอุ้มเจ้าตัวน้อยออกจากคาร์ซีท ในช่วงเวลารถติด แต่ถ้าหากเป็นช่วงที่รถเคลื่อนที่แล้วล่ะก็ เป็นเรื่องที่อันตรายมาก ๆ ค่ะ เพราะการไม่ใช้คาร์ซีท เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เด็กเล็กเสียชีวิตได้ โดยหน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยบนท้องถนน ได้รวบรวมข้อมูลจากปี 2551 – 2555 อ้างอิงจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า อัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีต่อประชากร 100,000 คนอยู่ที่ร้อยละ 5.03 – 7.25

คาร์ซีท จำเป็นอย่างมาก แม้จะยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้ แต่คุณพ่อและคุณแม่ก็ห้ามละเลยเรื่องนี้ เพราะคาร์ซีทหรือเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ถูกออกแบบ เพื่อป้องกันเด็กเล็กไม่ให้ได้รับอันตราย แม้ว่ารถยนต์บางยี่ห้อจะถูกออกแบบให้ปลอดภัยสำหรับเด็กแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ทุกครอบครัว จึงควรฝึกลูกให้คุ้นเคยกับคาร์ซีทตั้งแต่เล็ก ๆ โดยจำเป็นต้องติดตั้งคาร์ซีทอย่างถูกวิธีด้วยฝีมือของผู้เชี่ยวชาญ และมีการฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทให้เป็นด้วยค่ะ

ลูกหิว ตอนขับรถ-03

ลูกหิว ตอนขับรถ-03

วิธีการฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีท

1. หมั่นมีกิจกรรมให้ลูกติดใจเสียงเราบ่อยๆ เช่น ร้องเพลงร่วมกัน เล่านิทานด้วยเสียงที่น่าสนใจของเรา เพราะช่วงเวลาที่เราขับรถ มือเราไม่ว่าง แต่ปากเรายังสามารถทำงานได้! เพื่อดึงเวลาให้ลูกจดจ่อกับเรามากกว่าตั้งหน้าตั้งตาร้องไห้อย่างเดียว

2. ก่อนขึ้นรถควรให้ลูกมีความรู้สึกว่า “สามารถควบคุม” ได้บ้าง เช่น ให้ลูกเลือกของเล่น และหยิบของเล่นใส่ถุงเล็กๆ เพื่อไว้เล่นในรถ หรืออาจเป็นเลือกของทานเล่น (ที่มีประโยชน์) กับของเล่นบางอย่าง ไปเพลิดเพลินในรถ หรือบางบ้านที่เดินทางไกลและเด็กอายุมากกว่า 2 ปีที่ระยะเวลาการดูทีวียังไม่เกินกำหนดก็จะให้เลือกเรื่องที่จะดูในรถได้ (แต่ข้อนี้ต้องระวังการติดทีวีด้วย)

3. การพูดคุยกับลูกช่วงนี้ ไม่ใช่การติดสินบน ไม่ใช่ลูกร้องแล้วส่ง IPAD ให้ดู หรือลูกร้องแล้วบอกว่า “จะได้กินไอติมเมื่อไปถึงที่หมาย” ความต่างอยู่ที่ว่า เราเป็นคนนำเสนอก่อนที่ลูกจะร้องโวยวาย มักเกิดขึ้นก่อนขึ้นรถ และเป็นข้อเสนอที่เราพิจารณาแล้วว่า เหมาะกับวัย ไม่ติดของ

4. หากลูกร้อง ดิ้น ไม่ยอมแม้แต่จะเข้ามานั่งใน car seat เราจำต้องจับตัวลูกให้แน่น ๆ เพื่อพาลงที่นั่ง ใช้เสียงที่นุ่มนวลและหนักแน่น

_________________________________________________________________________________________

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

แหล่งข้อมูล : หมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก

บทความอื่น ๆ แนะนำ:

ขับรถพาลูกเที่ยว

ท่าให้นมลูก ไม่ให้เมื่อย

ความสําคัญของคาร์ซีท คาร์ซีทจำเป็นไหม วิธีฝึกลูกนั่งคาร์ซีท ให้ทารก เด็กเล็ก ปลอดภัย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จุฑาทิพ ดันน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เล่าประสบการณ์ป้อนนม เมื่อ ลูกหิวตอนขับรถ
แชร์ :
  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว