X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการอ้วกในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร ควรทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก

บทความ 5 นาที
อาการอ้วกในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร ควรทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก

อาการอ้วกในเด็ก สาเหตุการอ้วกนั้นเกิดจากอะไร และควรทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก บทความวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักอาการอ้วกในเด็กกันให้มากยิ่งขึ้นค่ะ ว่าอาการนี้จะสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีไหนบ้าง และสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอ้วกในเด็กนั้นมาจากอะไรกันแน่ เราจะมาคลายข้อสงสัยเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ ไปดูกันเลย

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอ้วกในเด็ก 

 

อาการอ้วกในเด็ก

 

สำหรับเด็กทารกแรกเกิด และเด็กเล็ก มีสาเหตุ ดังนี้

เด็กกลืนขี้เทาหรือเลือดแม่

  • เกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด เนื่องจากขี้เทาหรือเลือดของแม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร แต่จะอาเจียนไม่มาก ไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ และมักจะหายได้เอง ควรให้ทารกดูดน้ำกลูโคสหรือน้ำผสมน้ำตาลทีละน้อยบ่อย ๆ ระหว่างที่มีอาการอาเจียน

 

ทารกได้รับบาดเจ็บระหว่างคลอด

  • มักเกิดจากการคลอดยาก ภายหลังจากคลอดจะมีอาการอาเจียน ซึม ชัก กระหม่อมโป่งตึง หากไม่แน่ใจหรือสงสัยควรรีบนำส่งโรงพยาบาล

 

Advertisement

กระเพาะหรือลำไส้อุดกั้น

  • กระเพาะส่วนปลายตีบแต่กำเนิด ลำไส้กลืนกันเอง โดยจะมีอาการอาเจียนรุนแรง ปวดท้องรุนแรง หากไม่แน่ใจหรือสงสัยควรรีบนำส่งโรงพยาบาลด่วน

 

โรคติดเชื้อ

  • เมื่อมีโรคติดเชื้อเกิดขึ้นในเด็กเล็กทั้งภายในและภายนอกระบบทางเดินอาหาร มักจะอาเจียนร่วมด้วย สาเหตุที่อันตรายร้ายแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ โลหิตเป็นพิษ ส่วนสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง เช่น ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอกรน บิด ท้องเดิน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น

 

โรคเชื้อราในช่องปาก

  • มักตรวจพบมีฝ้าขาวที่ลิ้น อาเจียนเล็กน้อย ไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ใช้ยาเจนเชียนไวโอเลตป้ายลิ้นวันละ 2-3 ครั้งเพื่อรักษา

 

เด็กเล็กสำรอกนม

  • มักเกิดจากกินนมมากเกินไป กลืนอากาศเข้าไประหว่างดูดนมทำให้มีลมจุกแน่นในกระเพาะอาหาร ทารกจะสำรอกคราบนมปนน้ำออกมา แต่ยังดูดนมได้ดี ไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเป็นปกติ ไม่มีอันตรายจากภาวะสำรอกนมแต่อย่างใด จึงไม่ควรให้นมลูกจนอิ่มเกินไป หลังให้นมควรอุ้มทารกพาดบ่าสักครู่เพื่อให้เรอเอาลมในกระเพาะออกมาเสียก่อน

 

โรคกรดไหลย้อน

  • เด็กจะอาเจียนและไอตอนกลางคืนบ่อย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น

 

สำหรับเด็กโต มีสาเหตุ ดังนี้

ลำไส้อักเสบ

  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อให้การรักษาแบบอาการท้องเดิน

 

การหมุนตัวผิดปกติของลำไส้

  • เป็นภาวะที่พบได้น้อยแต่รุนแรง มักเป็นมาแต่กำเนิด เด็กมักจะอาเจียนและปวดท้องรุนแรง มักอาเจียนเอาน้ำดีสีเขียวขม ๆ ปนออกมาด้วย อาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ในบางราย หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการผ่าตัด

 

ไส้ติ่งอักเสบ

  • ไส้ติ่งอักเสบ หรือเยื่อบุช่องท้องอักเสบ อาเจียนและมีไข้ร่วมด้วย มีอาการปวดรุนแรง กดเจ็บบริเวณหน้าท้อง หากสงสัยควรนำส่งโรงพยาบาล

 

โรคพยาธิไส้เดือน

  • เด็กบางคนอาจมีอาการปวดท้องและอาเจียนแบบไม่รุนแรงเป็นครั้งคราว ส่วนมากมักเกิดหลังกินอาหารไปสักพัก จะมีอาการอยู่นิดเดียว ก็จะหายได้เอง บางครั้งอาจอาเจียนหรือถ่ายควรซื้อยาพยาธิมาถ่าย

 

ความเครียดทางจิตใจ

  • เด็กบางคนเมื่อมี ความเครียดทางจิตใจ เมื่อมีเรื่องเครียดมาก ๆ อาจมีอาการอาเจียนได้ ซึ่งอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ไปเอง หรือหากเครียดมากเกินไปอาจทำให้มีอาการเรื้อรังได้

 

อาการอ้วกในเด็ก บรรเทาอาการอย่างไร

 

อาการอ้วกในเด็ก

 

อย่าให้เด็กขาดน้ำ

การอาเจียนทำให้เด็กสูญเสียน้ำมากมาย คุณจึงต้องพยายามไม่ให้ลูกขาดน้ำในช่วงที่เขาป่วย น้ำเปล่าเป็นของเหลวที่ดีที่สุด แต่การให้เด็กดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ กันก็ช่วยให้เด็กดื่มน้ำได้มากขึ้น

 

จิบน้ำบ่อย ๆ

ถ้าทำได้ให้กระตุ้นให้เด็กจิบน้ำทีละน้อยช้า ๆ บ่อย ๆ ทุก 5 – 10 นาที พยายามวางเครื่องดื่มไว้ข้างตัวเด็กตลอดเวลา

 

พยายามให้เด็กดื่มของเหลวใสเป็นส่วนใหญ่

เครื่องดื่มอัดแก๊สรสเปรี้ยวอย่าง น้ำมะนาวก็ช่วยได้เหมือนกัน

 

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

กินต้มจืดหรือซุป

ต้มจืดหรือซุป ก็สามารถช่วยเด็ก ๆ ไม่ขาดน้ำได้ด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นซุปให้เลือกซุปใสและอย่าเลือกซุปที่มีมะเขือเทศ มันฝรั่ง และครีม ซุปไก่ทั่วไปก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี

 

ระวังเครื่องดื่มเกลือแร่

เพราะแม้ว่าจะประกอบด้วยน้ำ และมีรสชาติดี แต่เครื่องดื่มเหล่านี้เข้มข้นมาก และอาจทำให้อาการแย่กว่าเดิมได้จริง ๆ ผงเกลือแร่สำหรับเด็กและน้ำเปล่าจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

 

ถ้าเด็กยังอาเจียนบ่อยครั้ง อย่าให้เด็กรับประทานอย่างอื่นนอกจากของเหลวเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

ช่วง 24 ชั่วโมงแรกของการป่วยที่ทำให้อาเจียน เด็กไม่ควรรับประทานอย่างอื่นนอกจากของเหลว ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ 

  • แต่เด็กที่อาเจียนบ่อยครั้ง ส่วนมากก็ไม่อยากรับประทานอะไรอยู่แล้ว
  • เด็กบางคนจะอยากรับประทานอาหารมาก ๆ แม้ว่าจะคลื่นไส้ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นเพราะว่าเด็กสับสนระหว่างอาการปวดท้องเกร็งกับปวดท้องเพราะหิว ถ้าลูกของคุณมีนิสัยแบบนี้ ก็ให้ตระหนักไว้และระมัดระวัง

 

เลี่ยงกลิ่นแรงและสิ่งอื่น ๆ ที่ทำให้คลื่นไส้

เด็กบางคน มักจะคลื่นไส้เพราะกลิ่น กลิ่นอาหารและกลิ่นปรุงอาหาร น้ำหอม ควัน ความร้อน ความชื้น และแสง อาจทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลงได้ แต่อาการที่ว่านี้ก็ต่างกันออกไปในแต่ละคน แต่ถ้าเด็กบ่นว่าคลื่นไส้ ให้พาเด็กไปที่ห้องสบาย ๆ ที่มีแสงสว่างปกติ เลี่ยงที่กลิ่นแรง ๆ ไม่สามารถเข้าไปได้

 

ให้เด็กพักผ่อน

ปกติเด็กที่คลื่นไส้ก็มักจะซึม ๆ อยู่แล้ว แต่บางครั้งเด็กก็จะไม่สนใจอาการคลื่นไส้ ถ้าเขาตื่นเต้นหรือกำลังอยู่กับกิจกรรมบางอย่าง  เด็กบางคนจะซนมากขึ้นเล็กน้อยเวลาที่ป่วย แต่การทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายมากเกินไป อาจทำให้อาการของเด็กแย่ลงได้

 

ให้เด็กรับประทานอาหารจืด ๆ

หลังจากผ่านไปแล้ว 24 ชั่วโมง คุณสามารถให้เด็กเริ่มรับประทานอาหารปกติได้ถ้าเด็กหายอาเจียนแล้ว อาหารรสอ่อนหรือนิ่ม ๆ จะทำให้เด็กไม่อาเจียนออกมา แนะนำให้เด็กที่อาเจียนรับประทานกล้วย ข้าว ซอสแอปเปิล และขนมปังปิ้ง โดยเชื่อว่าอาหารเหล่านี้ย่อยง่าย ทำให้ลำไส้ได้พักผ่อนและฟื้นฟู

แต่กุมารแพทย์ปัจจุบันรู้สึกว่าอาหารเหล่านี้มีสารอาหารไม่เพียงพอที่จะรักษาอาการให้หาย แต่ในช่วงวันแรก ๆ ที่เด็กป่วยอาหารเหล่านี้อาจช่วยได้ เพราะเด็กที่คลื่นไส้สามารถรับประทานอาหารเหล่านี้ได้โดยไม่อาเจียน ลองให้เด็กรับประทานเหล่านี้ แล้วหลังจากนั้น 1 หรือ 2 วันก็ให้เด็กรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ผลไม้ และผักที่ดีต่อร่างกายตามปกติ

 

เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและมีรสเผ็ด

เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง คุณไม่ควรให้เด็กรับประทานอาหารปกติภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากอาเจียน

 

ลองโภชนบำบัด

แนะนำให้ลองการรักษาแบบโภชนบำบัด ก็คือการให้อาหารที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ และจัดให้ถูกหลักโภชนาการ เพื่อที่จะหาว่าอาหารชนิดไหนที่อาจทำให้อาเจียน ปกติแล้วนักโภชนาการที่ขึ้นทะเบียนจะทำงานร่วมกับคุณแม่และเด็ก เพื่อออกแบบแผนการรับประทานอาหารที่ตรงกับความต้องการของเด็กโดยเฉพาะ ปรึกษากุมารแพทย์เกี่ยวกับโภชนบำบัด เพราะแพทย์จะสามารถแนะนำนักโภชนาการให้คุณแม่และเด็กได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : สังเกตอาการขาดน้ำในเด็กแรกเกิด ก่อนจะสายไปจนต้องเข้าห้องฉุกเฉิน

หากลูกอาเจียนอาการแบบไหนควรพาลูกไปพบแพทย์ 

 

อาการอ้วกในเด็ก

 

  • คุณควรพาเด็กไปพบแพทย์ หากเด็กอาเจียนมากกว่า 24 ชั่วโมง หรือ 12 ชั่วโมง โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
  • ทารก และเด็กเล็กมักมีโอกาสขาดน้ำมากกว่าเด็กโต ทารกที่อาเจียนตลอดเวลาอาจต้องเข้ารับการรักษาเร็วกว่าเด็กวัยรุ่น ถ้าเด็กมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา อ่อนแอหรือเวียนศีรษะ ปัสสาวะหรือทำกิจกรรมน้อย ก็ควรไปพบแพทย์
  • ถ้าเด็กดูเหมือนจะอาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด ให้พาเด็กไปห้องฉุกเฉินทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการป่วยร้ายแรง
  • ถ้าเด็กมีไข้สูงพร้อมอาเจียน ท้องเสีย หรือปวดท้องรุนแรง ให้ไปพบแพทย์ทันที
  • ถ้าเด็กรับประทานอาหารและก็ยังอาเจียนออกมา แพทย์อาจจะต้องให้ของเหลวทดแทนทางเส้นเลือด เพื่อรักษาอาการขาดน้ำ หรือสั่งยารักษาอาการคลื่นไส้ และอาเจียน ถ้าคุณเชื่อว่าสาเหตุมาจากอาหารที่เด็กรับประทานเข้าไป คุณก็ควรพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นอาหารเป็นพิษหรือป่วยร้ายแรง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับข้อมูลที่เรานำมาฝากกันวันนี้ อาการอ้วกในเด็ก เรียกได้ว่าเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ยิ่งลูกอ้วกบ่อย ก็ยิ่งถือเป็นการบ่งบอกถึงสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อย ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น แนะนำให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และตรวจสอบหาสาเหตุทันทีนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาหารเป็นพิษในเด็ก โรคฮิตช่วงหน้าร้อน เกิดจากอะไร รักษายังไง

ลูกแหวะนม สำรอกนม ทารกแหวะนม สำรอกนม เกิดจากอะไร อันตรายไหม และควรดูแลอย่างไร?

สาเหตุที่ทำให้คลอดยาก เป็นเพราะ 7 สาเหตุนี้

ที่มา : wikihow, thailandonlinehospital.

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • อาการอ้วกในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร ควรทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก
แชร์ :
  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว