X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หยอดวัคซีนโรต้าแล้ว ทำไมลูกยังท้องเสียจากไวรัสโรต้าอีก

บทความ 5 นาที
หยอดวัคซีนโรต้าแล้ว ทำไมลูกยังท้องเสียจากไวรัสโรต้าอีก

เชื้อไวรัสโรต้า เป็นสาเหตุสำคัญของโรคอุจจาระร่วงในเด็ก มีรายงานว่าเด็กอายุต่ำกว่า5ปีแทบทุกคนต้องเคยติดเชื้อไวรัสนี้ จะทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรต้าไวรัส

ลูกน้อย 1 ขวบ มาพบหมอพร้อมกับคุณแม่ ด้วยอาการถ่ายเหลว เป็นน้ำมากกว่าเนื้อมา 2 วัน ถ่ายวันละ 4 – 5 ครั้ง จนก้นแดง มีไข้ต่ำ ๆ อาเจียน 1 –  2 ครั้ง แต่ร่าเริงดี สามารถทานนม ทานข้าวได้ปกติ เมื่อหมอตรวจอุจจาระ จึงวินิจฉัยได้ว่าลูกมีอาการท้องเสียจากการติด เชื้อไวรัสโรต้า

แล้ว เชื้อไวรัสโรต้า คืออะไร อันตรายอย่างไรกับเด็ก ?

เชื้อไวรัสโรต้า

เมื่อลูกอายุ 15 สัปดาห์จะเป็นการรับวัคซีนโรต้าครั้งแรก และต้องรับต่อเนื่อง 2 – 3 โดส จนครบอายุ 8 เดือน

รู้จักกับไวรัสโรต้า

โรต้า เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ง่ายชนิดหนึ่ง และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก โดยพบได้มากสุดในเด็กช่วงอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี มีรายงานว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีแทบทุกคนต้องเคยติดเชื้อ ไวรัสโรต้าอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต อาการของติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ ทำให้เด็กเล็กมีอาการท้องเสียรุนแรง จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จากการขาดน้ำ และเกลือแร่

เด็ก ๆ ติดเชื้อไวรัสโรต้าได้อย่างไร ?

การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือหยิบเอาสิ่งที่มีการปนเปื้อนของไวรัสโรต้า เข้าทางปาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อาหาร หรือของเล่น เมื่อเด็ก ๆ นำสิ่งของ หรือ มือที่เปื้อนเชื้อไวรัสเข้าปาก หรือติดจากผู้ใหญ่ที่สัมผัสเชื้อมาก่อน ก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส จะเดินทางไปตามระบบทางเดินอาหาร คือ กระเพาะอาหาร ลำไส้ และไปทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการอักเสบ และติดเชื้อในที่สุด

เชื้อไวรัสโรต้านี้ มีความทนทานต่อผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถมีชีวิตอยู่บนร่างกายของมนุษย์ได้นาน 2 – 3 ชั่วโมง และอยู่บนพื้นผิวแห้ง ๆ ได้หลายวัน ทำให้โรต้า เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย ภายในครอบครัว โรงเรียน สนามเด็กเล่น และโรงพยาบาล

Advertisement
เชื้อไวรัสโรต้า

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส จะเดินทางไปตามระบบทางเดินอาหาร คือ กระเพาะอาหาร ลำไส้ และไปทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการอักเสบ และติดเชื้อในที่สุด

เมื่อติดเชื้อไวรัสโรต้าแล้ว จะแสดงอาการอย่างไร ?

หลังได้รับเชื้อ 1 – 2 วัน เด็ก ๆ ที่ติดเชื้อจะเริ่ม มีไข้ และอาเจียน บางรายอาจเกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจ คือ มีน้ำมูกไหล ไอ คอแดง ร่วมด้วย ต่อมาจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ส่วนใหญ่อาการจะหายไปภายใน 3 – 5 วัน ส่วนน้อยจะมีอาการท้องเสียเรื้อรังมากกว่า 1 สัปดาห์ หากอาการท้องเสียเกิดขึ้นเป็นเวลานาน หรือมีอาการรุนแรงทำให้เด็กขาดน้ำ และเกลือแร่มาก อาจต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

สังเกตอย่างไรว่าลูกมีภาวะร่างกายขาดน้ำ

  • มีอาการเซื่องซึม ไม่สนใจ ไม่ค่อยตอบสนองต่อการสัมผัส หรือคำพูดของพ่อแม่
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • ร้องไห้ แต่ไม่มีน้ำตา
  • ผิวแห้ง
  • ปากแห้ง
  • ตาโหล เบ้าตาลึก
  • มีรอยบุ๋มลึกกลางศีรษะ
  • มีอาการกระหายน้ำมาก
  • ในลูกวัยทารก คุณแม่อาจสังเกตได้จากการที่ผ้าอ้อมแห้งนานหลาย ๆ ชั่วโมง
เชื้อไวรัสโรต้า

ไม่มีวัคซีนชนิดใดป้องกันโรคได้ 100% แต่วัคซีนสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ จากการศึกษาวัคซีนไวรัสโรต้า พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงได้ประมาณ 80 – 90%

จะทราบได้อย่างไรว่าอาการท้องเสียเกิด เกิดจากไวรัสโรต้า?

เมื่อเด็ก ๆ มีอาการท้องเสีย และได้ไปพบคุณหมอ หากสามารถเก็บอุจจาระได้ คุณหมอจะนำส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาการติดเชื้อจากจำนวนเม็ดเลือดในอุจจาระ

ถ้าลูกติดเชื้อไวรัสโรต้า ควรได้รับการรักษาอย่างไร?

เนื่องจากไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยตรง การรักษาอาการท้องเสียเนื่องจากไวรัสโรต้า ทำได้เช่นเดียวกับการรักษาโรคท้องเสียจากสาเหตุอื่น ๆ คือ ถ้าอาการไม่รุนแรง ก็สามารถรับยามาทานที่บ้านได้ โดยดื่มกินน้ำเกลือแร่ เพื่อชดเชยส่วนที่สูญเสียไปจากการถ่าย และอาเจียน ถ้ามีอาการอาเจียนบ่อย ก็ทานยาแก้อาเจียน แต่หากมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล ซึม หรือทานไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยด่วน

การปกป้องลูกจากเชื้อไวรัสโรต้า

คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันลูกจากเชื้อไวรัสโรต้าได้ ด้วยวัคซีนป้องกันโรค โดยการหยอดวัคซีนเข้าทางปาก เมื่อลูกอายุ 15 สัปดาห์จะเป็นการรับวัคซีนโรต้าครั้งแรก และต้องรับต่อเนื่อง 2 – 3 โดส จนครบครั้งสุดท้ายที่อายุ 8 เดือน การได้รับวัคซีนจะลดความรุนแรงของอาการต่าง ๆ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโรต้าได้ แต่เด็กอาจท้องเสีย หรืออาเจียนเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน

อีกหนึ่งวิธีการปกป้องลูกจากเชื้อไวรัสโรต้า คือการดูแลเรื่องสุขอนามัย ความสะอาดของอาหาร และน้ำดื่มของลูก รวมทั้งสอนให้ล้างมืออย่างถูกต้อง โดยใช้ฝ่ามือถูกันให้ทั่วถึง ทั้งบริเวณหลังมือ ซอกมือ ฝ่ามือ หัวแม่มือ รอบข้อมือ ทั้งสองข้าง คุณพ่อคุณแม่ และคนใกล้ชิดเองก็ต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยเช่นกัน

เชื้อไวรัสโรต้า

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยามาให้ลูกรับประทานด้วยตนเอง ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาจากแพทย์ จึงจะปลอดภัย

หากได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าแล้ว สามารถติดเชื้อได้หรือไม่?

ไม่มีวัคซีนชนิดใดป้องกันโรคได้ 100% แต่วัคซีนสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ จากการศึกษาวัคซีนไวรัสโรต้า พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงได้ประมาณ 80 – 90% โดยเด็กที่เคยได้รับวัคซีนครบ ถึงแม้จะติดเชื้อไวรัสนี้ และมีอาการท้องเสีย ก็มักมีจะไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วนั่นเอง

การติดเชื้อไวรัสโรต้าที่รุนแรงกว่าอาการท้องเสีย

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักจะมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโรต้า ซึ่งนำไปสู่อาการอุจจาระร่วง ร่างกายขาดน้ำ หากการติดเชื้อมีความรุนแรง อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่กระเพาะอาหาร และลำไส้

รายงานจากเว็บไซต์ kidshealth.org ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เข้ารับการรักษาเนื่องจากมีอาการท้องเสีย และร่างกายขาดน้ำ จากการติดเชื้อไวรัสโรต้ารุนแรงกว่า 55,000 ราย และในจำนวนนี้ อาจนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้

หากลูกน้อยมีอาการท้องเสีย ร่างกายขาดน้ำ ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว แพทย์อาจตรวจเลือด ปัสสาวะ และอุจจาระ เพื่อหาการติดเชื้อไวรัสโรต้า และทำการรักษาต่อไป

เชื้อไวรัสโรต้า

ในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เข้ารับการรักษาเนื่องจากมีอาการท้องเสีย และร่างกายขาดน้ำ จากการติดเชื้อไวรัสโรต้ารุนแรงกว่า 55,000 ราย และในจำนวนนี้ อาจนำสู่การสูญเสียชีวิตได้

ดูแลลูกที่บ้าน หลังจากการรักษา

คุณพ่อคุณแม่ควรจะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากลูกมีอาการท้องเสียติดต่อกัน 2 -3 วัน การรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ และเกลือแร่ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อทดแทนส่วนที่ร่างกายสูญเสียไป หลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ น้ำหวาน ต่าง ๆ ที่อาจทำให้มีอาการท้องเสียรุนแรงขึ้น หากลูกอาเจียนร่วมด้วย ควรให้รับประทานอาหารทีละน้อย ๆ แต่หลาย ๆ มื้อต่อวันแทน อย่างไรก็ตาม หากลูกยังดื่มนมแม่อยู่ ก็สามารถดื่มต่อไปได้ปกติ

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยามาให้ลูกรับประทานด้วยตนเอง ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาจากแพทย์ จึงจะปลอดภัย

source medlineplus.gov , kidshealth.org

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

อาการข้างเคียงของวัคซีน แต่ละชนิดส่งผลอะไรกับลูกบ้าง

ทุกเรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ เมื่อลูกท้องเสีย

ส่าไข้ ทารก ไข้ออกผื่น เกิดจากอะไร แม่อาบน้ำให้ลูกได้ไหม ทำยังไงถึงจะหาย

parenttown

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • หยอดวัคซีนโรต้าแล้ว ทำไมลูกยังท้องเสียจากไวรัสโรต้าอีก
แชร์ :
  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว