ผศ.พญ.อาภัสสร วัฒนาศรมศิริ กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ รพ.วิภาวดี กล่าวว่า การไอ ที่เกิดจากการมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบทางเดินหายใจ ร่างกายจึงพยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น ด้วยการไอออกมา แต่สำหรับเด็กเล็ก ที่ยังไม่สามารถบ้วนเสมหะออกมาได้เอง วิธีเคาะปอดระบายเสมหะ วิธีละลายเสมหะ ร่วมกับการจัดท่าระบายเสมหะ และการไอที่ถูกวิธี จะช่วยให้เสมหะหลุดออกมาจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่มีเสมหะมาก ๆ ลูกมีเสมหะอยู่ในคอต้อง เสมหะติดคอทําไง ในเด็กเล็กอาจต้องใช้ลูกยางเบอร์ 1 ช่วยดูดเสมหะในปาก หากมีบางส่วนกลืนลงไปบ้าง ร่างกายก็จะขับถ่ายออกมาได้เอง
ทารกมีเสมหะในคอ เสมหะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ดังนั้นหากเด็กไม่สามารถขับเสมหะออกเองได้ ก็จะเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ในการช่วยลูกเอาเสมหะออก วิธีละลายเสมหะ ทำได้ยังไงบ้าง
วิธีเคาะปอดระบายเสมหะ คืออะไร
การเคาะปอด คือ การใช้แรงสั่นจากลมที่กระทบผนังทรวงอกขณะเคาะ ไปทำให้เสมหะหลุดจากหลอดลม โดยใช้ผ้าบาง ๆ วางบนตำแหน่งที่จะเคาะ โดยทำมือเป็นกระเปาะ ปลายนิ้วชิดกัน ข้อมือ ข้อศอก และไหล่เคลื่อนไหวสบาย ๆ ขณะเคาะ ด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อวินาที ให้ทั่ว ๆ บริเวณทรวงอกส่วนที่เคาะอยู่ โดยวนเป็นวงกลม หรือเลื่อนไปทางซ้าย และขวา
การจัดท่าระบายเสมหะ ลูกมีเสมหะอยู่ในคอต้องทำอย่างไร วิธีละลายเสมหะ
การจัดท่าระบายเสมหะที่เหมาะสม จะช่วยให้เสมหะจากปอดส่วนต่าง ๆ ถูกขับออกมาได้ง่ายขึ้น ให้ทำการเคาะในแต่ละท่า ท่าละ 3 – 5 นาที รวมทุกท่าไม่ควรนานเกิน 30 นาที และจึงลุกนั่งหรือยืน เพื่อให้ไออย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเด็กเหนื่อยหรือเบื่อ ให้ทำเพียงบางท่าก็ได้ และควรทำก่อนอาหาร หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้อาเจียน หรือสำลัก
การไอที่ถูกวิธี และมีประสิทธิภาพ
การไอให้มีประสิทธิภาพ ต้องหายใจเข้าเต็มที่ แล้วกลั้นหายใจ 1 – 2 วินาที เพื่อให้ลมกระจายไปทั่วทุกส่วนของปอด และมีแรงขับดันเอาเสมหะออกมาได้เต็มที่ จากนั้นไอติดต่อกัน 2 – 3 ครั้ง การให้เด็กเล็กสูดหายใจเข้าเต็มที่ อาจใช้ของเล่นที่ต้องสูดหายใจแรง ๆ มาช่วย เช่น เป่าลูกโป่ง เป่าฟองสบู่ หรือเป่ากังหัน เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง ทำอย่างไรดี เมื่อลูกไอมาก
เมื่อใดที่ควรเคาะปอด
- ไอ เสมหะมาก หายใจเสียงดังครืดคราด
- มีเสมหะคั่งค้างในหลอดลมจำนวนมาก เช่น ปอดอักเสบ
- พบภาพรังสีทรวงอก แสดงภาวะปอดแฟบ เนื่องจากการอุดตันของเสมหะ
- ผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรัง ที่มีภาวะเสมหะคั่งค้าง
- ผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัด ที่มีปัญหาของเสมหะคั่งค้างในปอด และหลอดลม
- ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท กล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่มีปัญหาของเสมหะคั่งค้างในหลอดลม ไม่สามารถระบายเสมหะได้ด้วยตนเอง
วิธีการเคาะปอดระบายเสมหะให้ลูก
สถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้ให้คำแนะนำในการเคาะปอดไว้ ดังนี้
ท่าระบายเสมหะที่ใช้ร่วมกับการเคาะปอด ท่าที่ 1
- อุ้มลูกให้หันหน้าเข้าหาอกพ่อแม่ ศีรษะลูกพาดบนไหล่พ่อแม่ แล้วเคาะบริเวณด้านหลังส่วนบน เหนือกระดูกสะบักขึ้นไป
- หลีกเลี่ยงการเคาะบริเวณกระดูกสะบัก
ทารกมีเสมหะในคอ วิธีละลายเสมหะ ท่าระบายเสมหะที่ใช้ร่วมกับการเคาะปอด ท่าที่ 1
ท่าระบายเสมหะที่ใช้ร่วมกับการเคาะปอด ท่าที่ 2
- จัดท่านอนหงาย ให้ศีรษะหนุนหมอน ใช้ผ้าบางรองบริเวณหน้าอก เคาะบริเวณระดับไหปลาร้าถึงใต้ราวนม
- หลีกเลี่ยงการเคาะบริเวณกระดูกหน้าอก
ทารกมีเสมหะในคอ วิธีละลายเสมหะ ท่าระบายเสมหะที่ใช้ร่วมกับการเคาะปอด ท่าที่ 2
ท่าระบายเสมหะที่ใช้ร่วมกับการเคาะปอด ท่าที่ 3
- จัดท่าให้ลูกนอนตะแคง ยกแขนลูกขึ้นไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วเคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้าง ต่ำจากรักแร้ลงมาเล็กน้อย
- และเคาะบริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูกสะบักจนถึงชายโครงซี่สุดท้าย โดยเคาะทั้งท่านอนตะแคงซ้ายและขวา
ทารกมีเสมหะในคอ วิธีละลายเสมหะ ท่าระบายเสมหะที่ใช้ร่วมกับการเคาะปอด ท่าที่ 3
ข้อควรระวังใน และควรหยุดทันทีขณะเคาะปอด
- ลูกบ่นหรือเจ็บ ปวดบริเวณที่เคาะ หรือมีประวัติได้รับการกระแทกที่หน้าอก
- มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น ริมฝีปากซีดคล้ำ หายใจจมูกบาน
- ร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ
ข้อห้ามในการเคาะปอด
- มีภาวะกระดูกหัก บริเวณทรวงอก
- มีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็ง วัณโรคปอด
- มีอาการหอบเหนื่อย ตัวเขียว
- มีแผลเปิด หรือหลังผ่าตัดที่แผลยังไม่ติดดี
- มีภาวะกระดูกผุ
- มีภาวะเสี่ยงต่อการเลือดออกง่าย โดยสังเกตได้จากสีผิว สีปากคล้ำ หน้าซีด สัญญาณชีพผิดปกติ เช่น มีไข้สูง หายใจเร็ว และความดันโลหิตสูง
บทความที่เกี่ยวข้อง วิธีสังเกตการหายใจของทารก ลูกหายใจเร็ว หรือแรง อันตรายไหม ?
เคาะปอดทำได้บ่อยแค่ไหน
การเคาะปอด ควรทำเมื่อตื่นเช้า และก่อนเข้านอน เพื่อให้หลับสบาย และอาจทำเพิ่มก่อนอาหารกลางวัน ช่วงบ่าย รวมทั้งกลางคืน ถ้านอนหลับไปสักพักแล้วไอมาก จะช่วยให้เด็กหลับต่อได้ดีขึ้น
ทราบได้อย่างไรว่า ลูกดีขึ้นแล้ว
ลูกจะไอลดลง ลดอาการหายใจเสียงดัง ลดเสียงครืดคราด ขณะหายใจ สามารถดื่มนม และหลับได้นานขึ้น
ชมคลิปสาธิตการเคาะปอดระบายเสมหะลูกอย่างถูกวิธี
วิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยเอาเสมหะออกให้ลูก
1. การจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ
เพราะน้ำจะช่วยลดความหนืดเหนียวของเสมหะที่อยู่ในลำคอให้ระบายออกได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำอุ่นจะช่วยละลายเสมหะได้ดีกว่าน้ำธรรมดา
2. การกลั้วคอ
ช่วยละลายเสมหะ วิธีนี้อาจจะต้องใช้กับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย ซึ่งสามารถที่จะกลั้วคอได้โดยไม่เสี่ยงต่อการสำลัก การกลั้วคอด้วยน้ำผสมเกลือเล็กน้อย หรือกลั้วคอด้วยโซดา ก็จะช่วยละลายเสมหะอ่อนตัวลงได้
3. สมุนไพรที่มีความเผ็ดร้อน และผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวช่วยละลายเสมหะ
ผลไม้ เช่น มะนาว มะขาม สมอไทย สมุนไพร เช่น พริก พริกไทย ดีปลี เป็นต้น โดยนำสมุนไพร หรือผลไม้เหล่านี้มาปรุงอาหาร หรือต้มน้ำเพื่อดื่ม ไม่เพียงแต่ช่วยในการละลายเสมหะเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในลำคออีกด้วย
4. การสูดหายใจเข้า – ออกลึก ๆ
การหายใจเข้าออกจนเต็มปอดติดต่อกัน 3 – 5 ครั้ง พัก 5 – 10 นาที สัก 2 – 3 รอบ ทำให้ถุงลมในปอดขยาย และเมื่อหายใจออก ลมจะช่วยขับดันเสมหะให้หลุดออกมาอยู่ที่ลำคอ และสามารถกำจัดออกไปได้ง่าย
5. การไอเพื่อเอาเสมหะออก
โดยธรรมชาติ การไอเป็นการขับเสมหะอยู่แล้ว โดยการไอที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถขับเสมหะออกได้มากกว่า วิธีการคือ หายใจเข้าลึก ๆ จนเต็มปอด โดยไม่ยกไหล่ ก้มคอลงเล็กน้อย และกลั้นหายใจไว้ 1 – 2 วินาที จึงค่อยไอออก หากเสมหะมีความเหนียวมาก ควรจะดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อช่วยลดความเหนียวของเสมหะก่อน ไม่ควรไอแรง ๆ ติดต่อกัน เพราะอาจจะทำให้เจ็บคอได้
เมื่อไหร่ที่ควรช่วยลูกขับเสมหะ
โดยส่วนมากเสมหะมักจะคั่งค้างในเวลากลางคืน ลูกจึงมักจะตื่นขึ้นมาไอในตอนเช้า และมีอาการนอนไม่หลับในเวลากลางคืน การขับเสมหะจึงควรทำก่อนเข้านอน และหลังจากตื่น หรือหากลูกตื่นมาไอกลางดึก ก็สามารถช่วยลูกขับเสมหะออกด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาได้
บทความที่เกี่ยวข้อง เสมหะลงปอด ทารก ปอดอักเสบ ปอดบวม วิธีช่วยให้ลูกหายใจโล่ง
ข้อควรระวังในการขับเสมหะออก
- ผู้ที่มีอาการหืดหอบ ควรจะให้อาการหืดหอบดีขึ้นก่อนทำการขับเสมหะ ด้วยการพ่นยา หรือสูดยาขยายหลอดลม เพื่อเปิดทางหลอดลมให้โล่ง
- การไอจะทำให้เหนื่อย ไม่ควรไอถี่เกินไป อีกทั้งการไอต้องใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง และกะบังลมมาก บางรายอาจจะไอจนเจ็บท้องได้ ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้โดยการวางมือไว้บนหน้าท้อง ออกแรงกดเล็กน้อย ระหว่างไอ
- เสมหะ เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดี ซึ่งหากคั่งค้างมาก จะทำให้ลูกไม่สบาย มีไข้ และยิ่งไอมากขึ้นได้ หากเสมหะอุดตัน อาจทำให้เป็นปอดบวม ปอดแฟบ หรือถุงลมโป่งพอง
อ้างอิงข้อมูลจาก
เอกสารเผยแพร่ ช่วยเด็กเพื่อไอเอาเสมหะออกเองได้อย่างไร โรงพยาบาลวิภาวดี , YouTube Thirathat Thongkaew สถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี , thaihealthlife.com , healthserv.net
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีป้องกันเด็กติดเชื้อ วิธีป้องกันเชื้อโรค หากจำเป็นต้องเดินทางช่วงที่มีโรคระบาด
5 วิธีป้องกันเพื่อความปลอดภัยเด็กเมื่อเด็กเล่นน้ำ เล่นยังไงให้เซฟ
วิธีป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่มากับฝน ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย ต้องทำแบบนี้!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!