ทารกหายใจเร็วหลังคลอด ทารกแรกเกิดหายใจแรง ผิดปกติหรือไม่ ทารกหายใจเร็ว ทารกแรกเกิดหายใจแรง ทารกหายใจแรง อันตรายไหม วิธีสังเกตลักษณะการหายใจผิดปกติของทารก
ทารกหายใจเร็ว ลูกหายใจเร็ว หายใจแรงอันตรายไหม และวิธีสังเกตการหายใจของทารก
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจสงสัยว่าลูกน้อยวัยทารก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกเกิด) บางครั้งดูเหมือนทารกหายใจเร็ว ทารกหายใจแรง การหายใจที่เร็วและแรง ทำให้วิตกกังวลว่าลูกจะมีการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่ ทารกหายใจเร็ว ทารกหายใจแรงจะเกิดจากโรคร้ายแรงได้หรือเปล่า
วันนี้หมอจะมาแนะนำวิธีการสังเกตการหายใจของลูกน้อยวัยทารก ลูกหายใจเร็ว ว่าเมื่อใดถึงจะสงสัยว่าผิดปกติ หรือเป็นอันตรายร้ายแรง ในเบื้องต้นนะคะ
อัตราการหายใจปกติของเด็กเป็นเท่าไร และมีวิธีการนับอย่างไร?
ทารกแรกเกิดหายใจแรง ลูกหายใจเร็ว วิธีการนับอัตราการหายใจของเด็กทำได้โดยสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก โดยเมื่อหายใจเข้าหน้าอกขยาย-หายใจออกหน้าอกยุบลง นับเป็น 1 ครั้ง หากเด็กหายใจสม่ำเสมอ เราอาจนับเพียง 30 วินาทีแล้วคูณด้วย 2 ก็จะเป็นอัตราการหายใจต่อนาทีได้ แต่หากเด็กหายใจไม่สม่ำเสมอก็ควรต้องนับให้ครบ 1 นาทีเต็ม
**โดยไม่นับอัตราการหายใจตอนที่เด็กร้องไห้นะคะ
เด็กจะมีอัตราการหายใจเร็วกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งเด็กเล็กก็จะยิ่งหายใจเร็วมากขึ้น อัตราการหายใจของเด็กจะค่อย ๆ ลดลงตามอายุ ดังนี้ค่ะ
- ทารกอายุน้อยกว่า 2 เดือน อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที
- ทารกอายุ 2-12 เดือน อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 50 ครั้งต่อนาที
- ลูกอายุ 1-5 ปี อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 40 ครั้งต่อนาที
- ลูกอายุ 6-8 ปี อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 30 ครั้งต่อนาที
เมื่อเด็กอายุมากกว่า 9 ปีขึ้นไป อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 20 ครั้งต่อนาที ซึ่งเท่ากับผู้ใหญ่
ทั้งนี้ เด็กแต่ละคนอาจมีอัตราการหายใจในภาวะปกติที่แตกต่างกันบ้าง เช่น ลูกอายุ 4 ขวบ โดยปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่นับอัตราการหายใจของลูกอยู่ที่ประมาณไม่ถึง 20 กว่าครั้งต่อนาที หากเมื่อใดคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกหายใจเหนื่อย และนับอัตราการหายใจได้ถึงเกือบ 40 ครั้งต่อนาที ถึงแม้ว่าไม่ได้เกินค่าปกติทั่วไปตามวัย ลูกก็อาจมีการหายใจที่เร็วกว่าปกติของเค้าได้ ก็ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุนะคะ
วิธีสังเกตการหายใจของทารก เด็กทารกหายใจแรง ทารกหายใจเร็ว ผิดปกติ?
หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่ ควรสังเกตอาการดังนี้
- จำนวนครั้งของการหายใจต่อนาทีมากกว่าเกณฑ์ตามอายุ
- หน้าและปากมีความสีคล้ำ เขียว หรือซีด ปลายมือปลายเท้าเขียว ซึ่งบ่งถึงภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
- ปีกจมูกขยายกว้างออกทุกครั้งที่หายใจเข้า
- ขณะที่หายใจเข้าพบว่ามีการดึงรั้งของกล้ามเนื้อทรวงอก โดยเห็นเป็นผิวหนังบริเวณซี่โครงบุ๋มลงไป กล้ามเนื้อทรวงอกมีการหดตัวลึก
- มีเสียงหายใจเหมือนเสียงครางผิดปกติในช่วงหายใจออก ซึ่งเกิดจากการที่ทารกพยายามหายใจเพื่อเพิ่มความดันในช่องอก
- หยุดหายใจเป็นพัก ๆ
- มีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น ไม่ยอมดูดนม มีไข้ หรือดูซึมผิดปกติ
***หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีการหายใจที่ผิดปกติ หรือเข้าได้กับข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที โดยไม่ต้องลังเลใจนะคะ เพราะอาการผิดปกติของการหายใจบางสาเหตุอาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ และการวินิจฉัยที่ชัดเจนจะต้องทำได้โดยการตรวจร่างกายหรือตรวจพิเศษอย่างอื่นเพิ่มเติมเท่านั้น จึงจะทราบว่าลูกหายใจผิดปกติจริงหรือไม่ และเกิดจากสาเหตุใด
**ทั้งนี้ หากสงสัยว่าลูกหายใจผิดปกติเป็นบางช่วง คุณพ่อคุณแม่อาจลองถ่ายคลิปวีดีโอในช่วงการหายใจที่สงสัย มาให้คุณหมอได้ดูเป็นตัวอย่างด้วย ก็จะมีประโยชน์มากค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีปลุกทารกแรกเกิด ทารกนอนนานควรปลุกกินนมไหม ทารกแรกเกิดกินน้อย นอนนาน ต้องปลุกไหม
ทารกแรกเกิดเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด แม่ต้องรู้และระวังลูกน้อยเอาไว้
ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี ฉี่น้อย ไม่ฉี่เลยทั้งวัน อั้นฉี่หรือเปล่า ปัสสาวะของทารกน้อย แบบใดจึงผิดปกติ?
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารก ชั่งน้ำหนักทารก วัดความยาวทารก วัดเส้นรอบศีรษะลูก ลูกโตตามเกณฑ์ไหม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!