ความแตกต่างระหว่าง ไข้หวัด หรือไซนัสอักเสบ
เจ้าตัวน้อยอาจมีอาการผิดปกติทางจมูก ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูกไหล เสียงหายใจครืดคราด คัดแน่นจมูก จามหรือไอมากผิดปกติ อาการเหล่านี้อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความกังวลอยู่บ้างว่าลูกจะเป็นไข้หวัดหรือไซนัสอักเสบกันแน่
หวัด คือ อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ส่วนมากจะเป็นเพียงไข้หวัด ซึ่งจะมีอาการไม่นานสามารถหายได้เองภายใน 7 – 10 วัน
ไซนัสอักเสบ คือ โพรงอากาศที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะบริเวณส่วนใบหน้ามีรูขนาดเล็กเชื่อมต่อกับโพรงจมูก สาเหตุของไซนัสอักเสบ คือ การติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียหรือเยื่อบุโพรงไซนัสบวมอักเสบจากภูมิแพ้ นอกจากนี้สิ่งแปลกปลอมในจมูกมีก้อนเนื้อหรือริดสีดวงจมูกก็ทำให้เกิดไซนัสอักเสบได้
บทความแนะนำ ระวัง! โรคไข้หวัดใหญ่คร่าชีวิตเด็กชายสุขภาพดีวัย 5 ขวบ
รู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยเป็นหวัดหรือไซนัสอักเสบ
ลูกมีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก คันจมูก แต่หายได้เองภายใน 7 – 10 วัน อาการแบบนี้เรียกว่า หวัด ถ้าหลังจาก 10 วันไปแล้ว จะมีโอกาสเกิดการอักเสบเข้าสู่โพรงไซนัส นอกจากนี้จะมาการไข้สูง ไอ น้ำมูกเขียว รวมไปถึงปวดบริเวณใบหน้า อาการแบบนี้เรียกว่าไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ต้องรีบพาไปพบคุณหมอนะคะ เพื่อให้คุณหมอทำการรักษา โดยจัดยาปฏิชีวนะ ยาพ่นจมูก หรือน้ำเกลือล้างจมูก ตามอาการที่เกิดขึ้น
บทความแนะนำ เผยเกร็ด เคล็ดลับ ล้างจมูก ลูก Happy (มีคลิป)
คุณหมอฝากบอก
ตามปกติแล้วมากกว่า 90 % อาการคัดจมูก น้ำมูกไหลในเด็กจะเป็นเพียงไข้หวัดหรือโรคหวัด แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าอาการน้ำมูกไหล คัดจมูกมีระยะเวลานานผิดปกติ รวมถึงการเป็นแบบเรื้อรัง คือ กลับมาเป็นซ้ำ ๆ ควรพาลูกไปพบคุณหมอจะดีที่สุด การซื้อยาปฏิชีวนะมาทานเองอาจทำให้เกิดการดื้อยา ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานการรักษาจะยากขึ้น และอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงตามมาได้
นอกจากนี้ยังมีอาการภูมิแพ้จมูกกับไซนัสอักเสบ “ภูมิแพ้จมูก” กับ “ไซนัสอักเสบ” มีอาการใกล้เคียงกัน หากลูกน้อยมีน้ำมูกไหลไม่หายขาดนานติดต่อกัน 3 เดือน ก็มีโอกาสเป็นภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบเรื้อรัง ต้องพบคุณหมอให้ตรวจวินิจฉัย เพราะอาจจะเป็นทั้งสองอาการร่วมกันได้ ที่สำคัญการรักษาภูมิแพ้จมูกและไซนัสอักเสบมีการรักษาที่แตกต่างกัน
อย่ามองข้าม : อันตรายที่เกิดจากไซนัสอักเสบ
อันตรายจะเกิดขึ้นตามความรุนแรงของโรคหากเกิดการอักเสบเฉียบพลันจากเชื้อแบคทีเรียรุนแรง มีโอกาสที่จะติดเชื้อลามสู่อวัยวะใกล้เคียง เช่น ตาและสมอง แต่หากไซนัสอักเสบเกิดจากเนื้องอกฟันผุ มีสิ่งปลกปลอมในจมูก หรือมีความผิดปติของภูมิคุ้มกัน หากไม่ได้รับการรักษามีโอกาสที่จะเป็นโรคแทรกซ้อนได้สูงและอาการจะแย่ลงเรื่อย ๆ
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากไซนัสอักเสบ
1. การติดเชื้อที่อาจลุกลามเข้าไปในกระบอกตาซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อรอบ ๆ ตาอักเสบและเกิดเป็นฝีรอบตา (Periorbital abcess) ความรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้เลยทีเดียว โดยจะพบว่า มีอาการตาบวมข้างเดียว แดงรอบ ๆ และในลูกตา หนังตาบวมกดเจ็บ ลูกตาโปน สามารถรักษาได้โดยการฉีดยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม และการผ่าตัด
2.โรคแทรกซ้อนขึ้นสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีใต้เยื่อหุ้มสมอง ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อรุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน
3.ริดสีดวงจมูก คือ ก้อนในจมูกที่เกิดจากภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือเกิดจากภูมิแพ้ ไม่ลุกลามไปที่อื่น แต่เบียดกระดูก หากทานยาแก้แพ้จะทำให้ยุบลงได้บ้าง การรักษาทำได้ด้วยการผ่าตัด
แต่อาการแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้ไม่บ่อยนัก ในรายที่มีอาการเรื้อรังอาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางปอด หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบได้
สัญญาณเตือน : หากลูกมีอาการดังนี้ต้องไปพบคุณหมอ
1. คัดจมูกน้ำมูกไหลเพียงข้างเดียว
2. มีอาการเกี่ยวกับตาร่วมด้วย เช่น ตาบวม ตามัว
3. มีอาการปวดฟัน ปวดเหงือก ร่วมด้วย
4. มีอาการซึมลง ไม่สดใสร่าเริงเหมือนปกติ
ได้ทราบกันแล้วนะคะ ความแตกต่างระหว่างหวัดกับไซนัสอักเสบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร สังเกตอาการได้จากสิ่งใด สิ่งสำคัญหากลูกเป็นหวัดเรื้อรังบ่อยๆ หรือเป็นหวัดนานไม่หายควรพาไปพบคุณหมอนะคะ ไม่ควรซื้อยามทานเองอาจทำให้เกิดการดื้อยาได้
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.doctor.or.th
https://health.kapook.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
10 อาหารต้านหวัดให้ลูกน้อยไม่ป่วยบ่อย
ลองยัง? รักษาหวัดให้ลูกแบบธรรมชาติ โดยไม่ต้องกินยา
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!