X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะคลอดยาก cpd คือ อะไร อุ้งเชิงกรานแม่แคบ ลูกหัวโต ต้องผ่าคลอดเท่านั้น

บทความ 5 นาที
ภาวะคลอดยาก cpd คือ อะไร อุ้งเชิงกรานแม่แคบ ลูกหัวโต ต้องผ่าคลอดเท่านั้น

สำหรับคุณแม่ที่ต้องเผชิญกับภาวะคลอดยาก เพราะคุณแม่มีอุ้งเชิงกรานแคบ ลูกหัวโต จนไม่แน่ใจว่าจะคลอดธรรมชาติได้ไหม หรือจำเป็นต้องผ่าคลอด cpd ซึ่งในวันนี้เราจะพาแม่ ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับ cpd ว่า cpd คือ อะไร มีความสำคัญต่อคุณแม่มากแค่ไหน ถ้าอยากรู้แล้วตามไปอ่านข้างในบทความได้เลยค่ะ

 

ภาวะคลอดยาก อุ้งเชิงกรานแคบ cpd คือ อะไร

อุ้งเชิงกราน หรือ cpd  คือ กระดูกเชิงกราน ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักที่ห่อหุ้มช่องทางคลอด เป็นตัวกำหนด ลักษณะช่องทางคลอด อุ้งเชิงกราน เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างช่องท้องกับขาของคุณแม่ ในอุ้งเชิงกรานของผู้หญิงทุกคนประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่ มดลูก ปากมดลูก ปีกมดลูก รังไข่ อุ้งเชิงกรานทำหน้าที่พยุงค้ำจุนอวัยวะภายในเหล่านี้ไว้

 

cpd คือ

 

cpd คือ หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คลอดยาก

  • ในผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ย มีผลคือ ช่องคลอดจะสั้นซึ่งน่าจะตีว่าระยะทางผ่านของทารกย่นระยะลง แต่ความจริงแล้วผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ยกระดูกเชิงกรานมักจะเล็กและสอบเข้าหากันทำให้ช่องคลอดแคบ ดังนั้น เมื่อเชิงกรานแคบทำให้ช่องคลอดแคบตามไปด้วย
  • โดยเฉลี่ยผู้หญิงที่มีความสูงน้อยกว่า 150 เซนติเมตร ถือว่าต้องระวัง ในขั้นตอนการคลอดทารกอาจคลอดออกมาติดหัวไหล่ ทำให้การคลอดทุลักทุเล อาจส่งผลร้ายทำให้ทารกพิการหรือเสียชีวิตได้

 

Advertisement

cpd คือ

 

  • หากคุณแม่ที่มีอุ้งเชิงกรานแคบ และมีความประสงค์อยากจะคลอดเองนั้นสามารถคลอดแบบธรรมชาติได้ค่ะ เพียงแต่ทารกในครรภ์อาจจะต้องตัวเล็ก มีขนาดไม่เกิน 3000 กรัม
  • ปัจจัยอื่น ๆ ถ้าคุณแม่มีลมเบ่งเก็บแรงเบ่งได้ดี และขนาดของลูกไม่ใหญ่มาก คุณแม่ก็สามารถคลอดเองได้ แต่คุณแม่ต้องอึดและอดทนมากค่ะ ยิ่งถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ก็คลอดเองได้สะดวกเลยค่ะ
  • ถ้าปล่อยให้เจ็บท้องคลอด คุณแม่อาจจะเจ็บทรมานยาวนานเกินไป อาจเกิดอันตรายกับคุณแม่และทารกได้ กรณีเช่นนี้ คุณหมอมักจะผ่าตัดคลอดเพื่อความปลอดภัยของแม่และลูกค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : สาเหตุที่ทำให้คลอดยาก เป็นเพราะ 7 สาเหตุนี้

 

ภาวะที่อุ้งเชิงกรานแม่กับขนาดศีรษะทารกไม่เหมาะสมกัน

ในเพจใกล้มิตรชิดหมอได้โพสต์เกี่ยวกับ #เรื่องเล่าจากห้องคลอด cpd คืออะไร โดยอธิบายถึงภาวะ cephalopelvic disproportion หรือ CPD ภาวะที่อุ้งเชิงกรานแม่กับขนาดศีรษะทารกไม่เหมาะสมกัน ซึ่งมาจากประสบการณ์แม่ท้องท่านหนึ่ง ไว้ว่า

มีคุณแม่ท้องสองรายที่มีอายุครรภ์ 38 สัปดาห์ ซึ่งคุณแม่น้ำหนักตัวค่อนข้างเยอะ ประมาณ 100 กว่ากิโลกรัม และหมอพบว่าคุณแม่มีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงมาตลอดการตั้งครรภ์ ถึงแม้จะยังไม่ถึงขั้นวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันสูงก็ตาม แต่เมื่อได้ตรวจคลำหน้าท้องของคุณแม่แล้ว ก็พบว่าเด็กตัวค่อนข้างโต คุณหมอประมาณน้ำหนักน่าจะเกิน 3500 กรัม และศีรษะค่อนข้างลอย คือ ยังไม่ลงในอุ้งเชิงกราน

จึงได้มีการพูดคุยกันในทีมว่า ความดันคุณแม่ดูไม่ค่อยน่าไว้ใจ แม้ไม่ได้เข้าเกณฑ์ครรภ์เป็นพิษเพราะไม่มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ แต่หลังจากประเมินน้ำหนักเด็กแล้วก็ดูตัวใหญ่ด้วย จึงให้ทางเลือกในการกระตุ้นคลอด และทางคุณแม่เองก็ได้ตกลงตามคำแนะนำของคุณหมอค่ะ

 

cpd คือ

 

สำหรับคุณแม่รายนี้แม้จะเป็นท้องที่สอง แต่ท้องแรกคุณแม่แท้งตอนไตรมาสแรก จึงยังไม่เคยผ่านคลอดมาก่อน คุณหมอจึงประเมินเหมือนท้องแรก โดยขั้นตอนก่อนการกระตุ้นคลอด ก็จะต้องประเมินปากมดลูกว่าพร้อมที่จะรับการกระตุ้นหรือยัง ซึ่งเมื่อประเมินปากมดลูกค่อนข้างนุ่ม และเปิดประมาณ 1 เซนติเมตร บางตัวนิดหน่อย ถ้าจะให้คะแนนความพร้อมของปากมดลูกก็อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง นั่นแปลว่าโอกาสกระตุ้นสำเร็จ สามารถคลอดทางช่องคลอดได้รับโอกาสล้มเหลวก็พอ ๆ กันเลยค่ะ

 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการที่คุณแม่อ้วนมาก ก็จะมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ cephalopelvic disproportion หรือ CPD เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งแปลตามตัว คือ ภาวะที่อุ้งเชิงกรานแม่กับขนาดศีรษะทารกไม่เหมาะสมกัน อาจจะแสดงในลักษณะที่ว่ากระตุ้นคลอดไปแล้ว ปากมดลูกไม่เปิดเพิ่ม หรือปากมดลูกเปิดระยะหนึ่งแล้วศีรษะเด็กไม่ลงมาก็ได้ หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า ปากมดลูกไม่เปิด หรือหัวเด็กไม่ลง แล้วทำให้ต้องไปผ่าคลอดกันบ่อย ๆ แต่อย่างที่เคยบอก เสี่ยงเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ว่าจะเกิดแน่ ๆ ดังนั้นจึงไม่ใช่เหตุผลว่าจะต้องไปผ่าคลอดเลย ยังสามารถลองกระตุ้นให้คลอดทางช่องคลอดได้ แต่แค่พึงระลึกไว้ในใจว่าอาจจะเกิด CPD ได้นะ

 

เกณฑ์การวินิจฉัย CPD หรือการดำเนินการคลอดล้มเหลว

การดำเนินการคลอดล้มเหลวที่ควรได้รับการผ่าตัดคลอด ควรจะพิจารณาจากการดำเนินการคลอดทางช่องคลอดเป็นหลัก โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. ปากมดลูกต้องเปิดอย่างน้อย 4 เซนติเมตรขึ้นไป และบางตัวอย่างน้อยก็ต้องร้อยละ 80 ขึ้นไป

2. มดลูกต้องหดรัดตัวสม่ำเสมอและแรงพออย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนการตัดสินใจ

3. การดำเนินการคลอดมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ protraction disorders, arrest disorders  และ second stage disorders

การวินิจฉัย CPD ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เช่น ทารกตัวโตมากเกินไป ประมาณน้ำหนักไม่น้อยกว่า 4,500 กรัม ก็ควรได้รับความเห็นชอบจากสูติแพทย์อย่างน้อย 2 ท่าน เพื่อลงความเห็นและเหตุผลกำกับเอาไว้

 

ดังนั้น การดูแลภาวะการผิดส่วนของศีรษะทารกและอุ้งเชิงกรานจึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย เพราะต้องตัดสินใจระหว่างการรอสำหรับการคลอดทางช่องคลอดต่อหรือตัดสินใจผ่าตัดคลอด ซึ่งปัจจุบันแม้การผ่าตัดจะมีความปลอดภัยกว่าสมัยก่อน แต่ความเสี่ยงในการผ่าตัดคลอดและการดมยาสลบก็ยังถือว่าสูงกว่าการคลอดเองทางช่องคลอดอยู่ดีค่ะ หากแต่การตัดสินใจที่ไม่เหมาะสมร่วมกับการเกิดผลลัพธ์ของการดูแลคลอดที่ไม่ดี คุณแม่หรือทารกในครรภ์ก็อาจจะเสียชีวิตได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

6 สัญญาณเตือน โค้งสุดท้ายใกล้คลอด คุณแม่เตรียมตัวได้เลย

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด วิธีสังเกต และแยกระหว่างปัสสาวะรั่วกับถุงน้ำคร่ำแตก

ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ข้อดีข้อเสีย และวิธีดูแลแผลผ่าคลอด

ที่มา : med.cmu

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ภาวะคลอดยาก cpd คือ อะไร อุ้งเชิงกรานแม่แคบ ลูกหัวโต ต้องผ่าคลอดเท่านั้น
แชร์ :
  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว