พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 1 เดือน ลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ความเข้าใจอย่างไร พ่อแม่ควรเสริมพัฒนาการหรือทักษะอะไรได้บ้าง อาการน่าเป็นห่วงของเด็กวัยนี้คืออะไร เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ และข้อควรรู้ของเด็กวัยนี้จะมีอะไรบ้าง มาเริ่มกันเลย!
พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของเด็กวัย 5 ขวบ 1 เดือน
เด็กวัยนี้ จะมีความคล่องแคล่ว และสามารถแสดงอาการตื่นเต้นดีใจได้หลายวิธี มีพัฒนาการทางด้ารกาารสอดประสานของมือและดวงตาได้ดียิ่งขึ้น สามารถเข้าห้องน้ำและตักอาหารเองได้ดี สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระ กระโดดได้สูง ทำให้น้องสามารถที่จะเล่นกีฬาที่ใช้แรงและความซับซ้อนทางด้านร่างกายได้ เช่น คาราเต้ เทควันโด้ หรือเต้น นอกจากนี้ หนูน้อยยิ่งทำสิ่งเหล่านี้ได้อีก
- สามารถตีลังกายไปข้างหน้าได้
- สามารถปีนป่ายได้ดี
- สามารถยืนทรงตัวด้วยขาข้างเดียวนานกว่า 10 วินาที
- สามารถแต่งตัวและเปลี่ยนเสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง
- สามารถใช้ช้อนส้อมกินอาหารได้
- เข้าห้องน้ำเองได้
ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะสามารถไปเข้าห้องน้ำได้ด้วยตนเอง แต่ปัญหาการฉี่รดที่นอนของเด็กยังมีอยู่ คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะเป็นเรื่องปกติของเด็กค่ะ
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- พาลูกไปสนามเด็กเล่นที่มีอุปกรณ์การเล่นที่หลากหลาย
- ให้ลูกได้ลองทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อน เช่น เรียนว่ายน้ำ เล่นกีฬา
- พยายามให้ลูกได้ช่วยเหลือตัวเอง เช่น อาบน้ำ หรือแต่งตัว
- ให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำงานบ้านง่ายๆ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยในเรื่องของพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมือและสายตา
- พยายามทำให้ห้องนอนของลูกมีเทคโนโลยีให้น้อยที่สุด เช่น โทรทัศน์หรือโทรศัพท์
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกไม่สามารถจับดินสอหรือสีได้ถูกวิธี
- ลูกไม่สามารถในการกินอาหารได้เแงหรือไปเขาห้องน้ำด้วยตนเองได้
- ลูกถอดเสื้อผ้าเองไม่ได้
พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 1 เดือน
พัฒนาการทางด้านความรู้และความเข้าใจของเด็กวัย 5 ขวบ 1 เดือน
ลูกมีความพร้อมที่จะเรียนรู้มากขึ้น ตอนนี้น้องมีข้อมูลมากมายที่สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ รวมถึงมีความคิดเป็นของตัวเอง สำหรับเหตุการณ์สำคัญของเด็กวัยนี้ ได้แก่
- สามารถวาดรูปทรงสามเหลี่ยมหรือรูปทรงเลขาคณิตต่างๆ ได้
- สามารถนับได้ถึง 20 ขึ้นไป
- สามารถวาดภาพเก็บร่างละเอียดของร่างกายคนได้ถึงหกส่วน
- สามารถบอกชื่อและข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านได้
- สามารถเรียกชื่อสีถูก 4 สีขึ้นไป
- สามารถเขียนตัวอักษรและตัวเลขได้
- มีความเข้าใจเรื่องของเวลา
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- พยายามส่งเสริมลูกให้ได้วาดภาพมากขึ้น เพราะสิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อได้
- ให้ลูกได้ลองเขียนจดหมายถึงเพื่อน โดยอาจจะแนบไปพร้อมกับขนม เพื่อให้ลูกได้ฝึกพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ความรู้และความทรงจำของเด็ก
- ให้ลูกทำงานศิลปะ DIY เพื่อให้ลูกได้ฝึกการใช้กรรไกรและอุปกรณ์อื่นๆ
- จำกัดเวลาการเล่นโทรศัพท์มือถือและการดูโทรทัศน์ของลูกไม่ให้เกิน 1 ชั่วโมง
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกน้อยขาดสมาธิไม่จดจ่อกับกิจกรรมที่ทำอยู่ไม่เกิน 5 นาที
พัฒนาการเด็กวัย 5 ขวบ 1 เดือน
พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคมของเด็กวัย 5 ขวบ 1 เดือน
ลูกน้อยมีจินตนาการที่ซับซ้อนมากขึ้น หากสังเกตจะเห็นว่าเขาสามารถเล่นกับคนอื่นได้ดี และมีการทำเป้าหมายให้สำเร็จด้วยกัน เช่น ลูกสร้างปราสาทจากบล็อกกับเพื่อน อีกทั้งยังรู้จักแบ่งปันสิ่งของให้กับเพื่อนๆ และจะไม่ค่อยบังเพื่อนหากเพื่อนไม่เล่นด้วย แต่อาจมีการแสดงอาการบางอย่างบ้างเมื่อเขาไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- ให้ลูกได้เลือกทำกิจกรรมเข้าสังคมกับเพื่อน เพื่อฝึกทักษะการพูดคุยและการเจรจาต่อรองกับเพื่อน
- หากเกิดปัญหาระหว่างลูกคุณและเพื่อนของเขา พ่อแม่ควรปล่อยลูกให้แก้ไขปัญหาด้วยตัวเองก่อน เพื่อที่ลูกจะได้รู้จักการประนีประนอมซึ่งกันและกัน
- พยายามพูดคุยกับลูก สนใจลูก และควรให้ลูกมีส่วนร่วมภายในบ้าน
- สนับสนุนให้ลูกได้ทั้งร้องทั้งเต้นภายในบ้าน โดยที่พ่อแม่อาจเข้าร่วมด้วย
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกมีความกลัว หรือขี้อาย หรือมีนิสัยก้าวร้าว
- ลูกมีความกังวลเมื่อถูกแยกจากพ่อแม่
- ลูกไม่ยอมเล่นกับเพื่อน
พัฒนาการเด็กวัย 5 ขวบ 1 เดือน
พัฒนาการทางด้านภาษาและการสื่อสารของเด็กวัย 5 ขวบ 1 เดือน
ลุกน้อยจะสามารถสื่อสารความต้องการของตัวเองได้ผ่านทางคำพูด และยังมีความเข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่พูดด้วย สามารถอธิบายตำแหน่งของวัตถุได้ เช่น ข้างยน ข้างช่าง ทั้งยังสามารถเล่าเรื่องราว แสดงความคิดเห็น และบอกรายละเอียดของตัวละครในนิทานหรือการ์ตูนที่อ่านจากหนังสือด้วย นอกจากนี้ ลูกน้อยยังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ดังนี้
- สามารถจำที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ได้ล
- สามารถจำชื่อ-นามสกุลของตัวเองได้
- สามารถพูดคำที่มีความคล้องจองในเสียงหรือสัมผัสเสียงได้
- พูดได้ชัดขึ้น พูดเรียงประโยคได้
ในตอนนี้น้องจะมีคลังคำศัพท์มากถึง 20,000 คำเลยทีเดียว! ซึ่งมากพอที่จะทำให้เด็กสามารถพูดคุยสื่อสารได้อล่างคล่องแคล่ว และเมื่อลูกเข้าโรงเรียนลูกน้อยก็จะได้ฝึกการอ่านเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น พ่อแม่ควรที่จะหากิจกรรมที่ให้ลูกได้ฝึกอ่านหนังสือพร้อมกับพ่อแม่เพื่อเตรียมตัวเข้าโรงเรียนค่ะ
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- พยายามอ่านหนังสือกับลูกให้ลูกมีนิสัยรักการอ่าน
- พยายามเน้นคำที่น่าใช้บ่อยให้ลูกได้ฝึกอ่านและทบทวนความจำอยู่เสมอ
- พูดคุยกับลูกในลูกเล่าเรื่องราวต่างๆ รอบตัว และอธิบายสิ่งที่เห็น
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกพูดไม่คล่องตะกุกตะกัก
- ไม่สามารถเรียบเรียงประโยคหรือลำดับเวลาได้
พัฒนาการเด็กวัย 5 ขวบ 1 เดือน
พัฒนาการทางด้านสุขภาพและโภชนาการของเด็กวัย 5 ขวบ 1 เดือน
สำหรับหนูน้อยในวัย 5 ขวบ 1 เดือน พวกเขาจะมีน้ำหนักมากถึง 2.25 กก. มีความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 5.5. ซม. ทำให้มีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 17 – 20.3 กก. และมีส่วนสูงอยู่ที่แระมาณ 106 – 112.2 ซม. รวมถึงมีฟันที่กำลังงอกขึ้นมาใหม่ด้วย
เนื่องจากเด็กยังอยู่ในวัยซน ไม่ชอบอยู่นิ่ง สิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงวัยนี้จึงหนีไม่พ้นการทานอาหารอย่างครบถ้วน เพื่อที่ลูกน้อยจะได้เติบโตอย่างสมวัย โดยปกติแล้วเด็กจะต้องการพลังงานในแต่ละวันประมาณ 1300 แคลอรี่ แต่ก็อาจขึ้นอยู่กับกิจกรรมของน้องด้วยค่ะ สำหรับแนวทางโภชนาการของเด็ก มีดังนี้
|
ประเภทของอาหาร |
ปริมาณอาหารที่แนะนำ |
ธัญพืช (6 มื้อเล็กๆ ทุกวัน) |
- ขนมปังแผ่น 1 ชิ้น
- ข้าวสุก 1/2 ถ้วย
- เส้นพาสต้า 80 กรัม
|
ไขมัน (3-4 มื้อทุกวัน) |
|
ผักและผลไม้ (วันละ 4-6 มื้อ) |
- ผลไม้เล็กเล็กประมาณ 1 – 1/2 ถ้วย
- ผัก 1/2 ถ้วย (80 กรัม)
|
เนื้อสัตว์ (2 มื้อต่อวัน) |
- เนื้อสัตว์ติดมัน หรือปลาไก่
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- ถั่ว 5 ช้อนโต๊ะ
|
นม (2-3 มื้อต่อวัน) |
- นมหรือโยเกิร์ต 3/4 ถ้วย
- ชีส 22 กรัม
|
วัคซีนที่จำเป็นของเด็กวัย 5 ขวบ 1 เดือน
- วัคซีนที่จำเป็น
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV)
- วัคซีนเสริม
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap หรือ DTaP)
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV)
- วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ (HAV)
- วัคซีนโรคอีสุกอีใส (VZV) หรือวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน-อีสุกอีใส (MMRV)
- วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)
- วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ก่อนการสัมผัสโรค
ตารางวัคซีน
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกมีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรือต่ำกว่าเกณฑ์
- ลูกกินจุกจิก กินมากเกินไป
ที่มา: sg.theasianparent
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ลูกเข้าโรงเรียน ใช้เอกสารอะไรบ้าง ไม่มีเอกสารพ่อ หรือแม่ ควรทำอย่างไรดี
ทักษะที่ลูกควรมีในวัยอนุบาล มีอะไรบ้าง พ่อแม่ช่วยเสริมทักษะให้ลูกได้อย่างไร?
เกมคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กเล็ก พร้อมวิธีการเล่นอย่างง่าย ใครๆ ก็สอนลูกได้!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!