วัคซีนที่คนท้องต้องฉีด
วัคซีนที่คนท้องต้องฉีด วัคซีนจำเป็นสำหรับแม่ตั้งครรภ์ ช่วยป้องกันอันตรายจากการติดเชื้อ สร้างภูมิคุ้มกันให้คนท้อง คุ้มครองทารกในครรภ์ให้ปลอดภัย
รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แนะนำวัคซีนที่คนท้องต้องฉีด ไว้ในรายการพบหมอศิริราช ว่า วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ปัจจุบันมีวัคซีนอยู่หลายชนิดด้วยกัน หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยทั้งแม่และลูก โดยปกติแม่ตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แต่มีบางรายที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อนที่จะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดโรค
วัคซีนที่แนะนำให้คนท้องฉีดมี ดังนี้
-
คนท้องต้องฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เป็นวัคซีนที่จำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แม้ว่าจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฉีดวัคซีน เพื่อให้ภูมิคุ้มกันไปสู่ลูกได้มากที่สุดคือ ช่วงอายุครรภ์ 27 – 36 สัปดาห์ โดยวัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีน 3 ชนิด ที่ฉีดพร้อมกันใน 1 เข็ม เพื่อป้องกันโรคร้าย เพราะโรคคอตีบ ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้แม่และลูกในท้องเสียชีวิต โรคไอกรน โรคนี้ต้องป้องกันเพราะลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรนจะติดเชื้อมาจากแม่ ถ้าฉีดแม่ท้องก็จะป้องกันให้ลูกที่คลอดออกมาได้ประมาณ 6 เดือน และวัคซีนนี้ยังช่วยป้องกันโรคบาดทะยัก ป้องกันการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์และคลอด
-
คนท้องต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ทำอันตรายกับคนท้องมากกว่าคนธรรมดา หากเป็นแล้วจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงกับคนท้อง เช่น ปอดบวม เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจวาย วัคซีนนี้ฉีด 1 เข็ม ป้องกันได้ 1 ปี
-
คนท้องต้องฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
ในรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่เคยฉีดวัคซีนดังกล่าว หรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้าน ทาน โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสเสี่ยง เช่น สามีเป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี ก็อาจจะรับการฉีดวัคซีนนี้ได้
วัคซีนที่คนท้องต้องฉีดหรือวัคซีนจำเป็นแม่ท้อง หญิงตั้งครรภ์ ต้องฉีดเพื่อลูกในท้อง
ทั้งนี้ หากแม่ตั้งครรภ์ถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขจะบ้าหรือไม่ ให้ฉีดวัคซีนทันที นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนที่คนท้องต้องฉีดหลายชนิดที่แม่ตั้งครรภ์ควรทราบ โดยเฉพาะวัคซีนที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ หัด คางทูม หัดเยอรมัน โปลิโอ วัณโรค เพราะวัคซีนเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ซึ่งแม่ตั้งครรภ์สามารถสอบถามรายละเอียดได้จากแพทย์ที่ดูแลการตั้งครรภ์
ที่มา : https://www.si.mahidol.ac.th/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คนท้องเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ใจสั่น เป็นเพราะอะไร แม่ท้องต้องทำอย่างไร?
ระวังให้ดีสารเคมีใกล้ตัว อันตรายกับแม่ท้อง! เคยสังเกตไหม มีสารนี้อยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้หรือเปล่า
4 ท่าทารกผิดท่า คลอดยาก เสี่ยงผ่าคลอด ท่าของทารกในครรภ์ เมื่อลูกไม่กลับหัว
ลูกในท้องเริ่มกลับหัวตอนไหน ทำอย่างไรให้ลูกในท้องกลับหัวเร็วๆ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!