บุหรี่ไฟฟ้า กำลังแพร่ระบาดในหมู่เด็กและเยาวชนไทยอย่างน่าตกใจ! รูปลักษณ์ภายนอกที่ดูน่ารัก สีสันสดใส กลิ่นหอมหวานชวนหลงใหล ถูกออกแบบมาเพื่อดึงดูดใจ “นักสูบหน้าใหม่” โดยเฉพาะ แต่เบื้องหลังความสวยงามนั้นคืออันตรายร้ายแรงที่พ่อแม่ต้องรู้ให้ทัน โทษของบุหรี่ไฟฟ้า ภัยร้ายของเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ค่ะ
สาเหตุที่บุหรี่ไฟฟ้าพุ่งเป้า “เด็กและเยาวชน” เป็นอันดับแรก
กรมควบคุมโรคได้ออกมาเตือนคุณพ่อคุณแม่ ว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นใกล้ตัวลูกน้อยมากกว่าที่คิด ด้วยปัจจัยต่อไปนี้
- จูงใจให้เป็น นักสูบหน้าใหม่ ได้ง่าย
- เด็กผู้หญิง เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ
- สูบแล้วเท่เป็นเทรนด์
- หลอกล่อว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน
- แพคเกจน่ารัก มีกลิ่นให้เลือกมากมาย
|
ทำไม บุหรี่ไฟฟ้า ถึงเป็นภัยร้ายต่อเด็กและเยาวชน
|
นิโคตินสังเคราะห์ ดูดซึมเร็ว เสพติดง่าย |
บุหรี่ไฟฟ้ามีนิโคตินสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์รุนแรงกว่านิโคตินในบุหรี่ธรรมดาถึง 10-100 เท่า! ดูดซึมเข้าสู่สมองอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กๆ ติดได้ง่าย แถมยังไม่ระคายคอ ทำให้สูบได้เรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว |
สารเคมีอันตรายนับพัน |
น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมี สารปรุงแต่ง และสารพิษมากมาย ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถผสมสารเสพติดชนิดอื่นๆ เพิ่มเข้าไปได้อีกด้วย |
ประตูสู่ยาเสพติด |
ผลวิจัยชี้ชัดว่า เด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีโอกาสเสพติดกัญชาสูงขึ้นถึง 4 เท่า! เพราะบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเหมือนบันไดขั้นแรก ที่นำไปสู่การทดลองยาเสพติดชนิดอื่นๆ ในอนาคต |
โทษของบุหรี่ไฟฟ้า ผลกระทบร้ายแรงที่มองข้ามไม่ได้
-
โทษของบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่แค่ทำลายปอด แต่หัวใจก็เสี่ยง!
บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้ทำลายแค่ปอดอย่างเดียวนะคะ! สารนิโคตินและสารเคมีอันตรายในบุหรี่ไฟฟ้า ส่งผลร้ายต่อระบบต่างๆ ในร่างกายของลูกน้อย โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจและระบบหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงมากมาย เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอด

ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ
- ระคายเคือง: สารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้ทางเดินหายใจระคายเคือง เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอแห้งๆ
- หายใจลำบาก: ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้เหนื่อยง่าย หอบง่าย แม้จะออกแรงเพียงเล็กน้อย
- เสี่ยงโรคปอด: เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด
ผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ
- หลอดเลือดแข็งตัว: สารนิโคตินทำให้หลอดเลือดแข็งตัว สูญเสียความยืดหยุ่น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ: หัวใจทำงานหนักขึ้น เต้นเร็ว เต้นผิดจังหวะ เสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว
-
โทษของบุหรี่ไฟฟ้า สมองพัง เรียนรู้ช้า
นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า ทำลายสมอง ขัดขวางพัฒนาการ ลดประสิทธิภาพการเรียนรู้ ทำให้เด็กมีสมาธิสั้น ความจำแย่ลง ตัดสินใจผิดพลาด

ผลวิจัยชี้ชัดว่า เด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง 3-4 เท่า เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่สูบ ส่งผลต่อสมองเด็กดังนี้
- สมาธิสั้น จดจ่ออะไรไม่ได้นาน เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง ทำงานไม่เสร็จ
- ความจำแย่ลง จำอะไรไม่ค่อยได้ ทั้งที่เรียนไปแล้ว ท่องไปแล้ว
- ตัดสินใจแย่ลง คิดอะไรไม่รอบคอบ เลือกทำในสิ่งที่ผิดพลาด
และไม่ใช่แค่เด็กนะคะ ผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า ก็มีประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง 2 เท่า เช่นกัน
-
โทษของบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตาย
วัยรุ่นที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล และฆ่าตัวตายสูงกว่า เพราะสารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้า ส่งผลต่อสมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์ โดยมีผลวิจัยระบุว่า วัยรุ่นที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงถึง 53%! และมีแนวโน้มที่จะมีอาการวิตกกังวลมากกว่าวัยรุ่นที่ไม่สูบถึง 1.7 เท่า

ทำไมบุหรี่ไฟฟ้าถึงทำให้ซึมเศร้า?
หลายคนอาจคิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยคลายเครียด แต่ความจริงแล้ว มันคือ “กับดักความสุขจอมปลอม” ที่นำไปสู่หลุมดำแห่งโรคซึมเศร้า! ซึ่งอธิบายได้ด้วยกลไกการทำงาน ต่อไปนี้
- นิโคตินกระตุ้นสมอง เมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้า นิโคตินจะเข้าสู่สมองอย่างรวดเร็ว กระตุ้นการหลั่งโดพามีน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ทำให้รู้สึกฟิน สดชื่น คล้ายกับการคลายเครียด
- ความสุขจอมปลอม ความรู้สึกฟินนี้เป็นเพียงแค่ภาพลวงตา เกิดจากการถูกกระตุ้นด้วยสารเคมี ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงจากการทำกิจกรรม หรือ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
- โดพามีนลด อารมณ์ตก เมื่อฤทธิ์ของนิโคตินหมดลง ระดับโดพามีนในสมองจะลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด และรู้สึกเศร้า ยิ่งสูบบ่อย ยิ่งเกิดวงจรแบบนี้ซ้ำๆ สมองจะยิ่งเคยชินกับการถูกกระตุ้นด้วยนิโคติน และยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า
ยิ่งสูบ ยิ่งเสี่ยง! เด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าควบคู่กับบุหรี่มวน มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าเด็กที่ไม่สูบถึง 2.3 เท่า!
ผลสำรวจชี้! เยาวชนไทยยังเข้าใจผิด คิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย
น่าตกใจ! ผลสำรวจจากกองสุขศึกษา เผยว่าเยาวชนไทยกว่า 18% สูบบุหรี่ไฟฟ้า และส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า คิดว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน
ความเข้าใจผิดที่พบบ่อย
- 61.23% คิดว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่มวนได้
- 51.19% คิดว่า นิโคตินมีประโยชน์ต่อร่างกาย
- 50.2% คิดว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน
- 26.28% คิดว่า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีนิโคติน
- 23.28% คิดว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ผิดกฎหมาย
- 12.53% คิดว่า ควันบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย
ความเชื่อผิดๆ ที่ต้องรีบแก้ไข
|
ความเชื่อผิดๆ |
ความจริง |
บุหรี่ไฟฟ้าเป็นแค่ไอน้ำ ไม่อันตราย |
ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าเต็มไปด้วยสารเคมีอันตราย |
บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีนิโคติน ไม่เสพติด |
บุหรี่ไฟฟ้ามีนิโคตินสังเคราะห์ ที่ทำให้เสพติดได้ง่ายกว่า |
ก็แค่สูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้หมายความว่าจะสูบบุหรี่จริง |
มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า วัยรุ่นเมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีแนวโน้มที่จะไปลองสูบบุหรี่จริง |
สูบบุหรี่ไฟฟ้า เลิกบุหรี่มวนได้ |
บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้ช่วยเลิกบุหรี่ แถมยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูบบุหรี่ชนิดอื่นๆ อีกด้วย |

สัญญาณเตือน ลูกอาจกำลังเสี่ยง!
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- ไม่มีสมาธิ ไม่มีความสุข
- เบื่อหน่าย ท้อแท้ สิ้นหวัง
- นอนไม่หลับ หรือ นอนมากเกินไป
- มีปัญหาเรื่องการเรียน หรือ การเข้าสังคม
อย่ามองข้ามสัญญาณอันตรายเหล่านี้! หากพบว่าลูกมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ควรรีบพูดคุย ให้ความช่วยเหลือ และพาไปพบแพทย์
ปกป้องลูกรักจากภัยร้ายบุหรี่ไฟฟ้า
อย่าปล่อยให้บุหรี่ไฟฟ้า ทำลายอนาคตของลูกหลาน! พ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคม ต้องร่วมมือกัน ปกป้องเด็กและเยาวชนจาก โทษของบุหรี่ไฟฟ้า
|
แนวทางปกป้องลูกรักจากภัยร้ายบุหรี่ไฟฟ้า
|
พูดคุย ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ |
สื่อสารกับลูก อธิบายถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า อย่างตรงไปตรงมา |
เป็นแบบอย่างที่ดี |
เลิกสูบบุหรี่ และไม่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก |
สอดส่องดูแล |
ใส่ใจพฤติกรรมของลูก สังเกตสัญญาณเตือน เช่น มีกลิ่นบุหรี่ไฟฟ้า ไอเรื้อรัง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และต้องรู้ทันรูปแบบใหม่ๆ ของบุหรี่ไฟฟ้าที่อาจตบตาพ่อแม่ได้อย่างแนบเนียน |
ร่วมมือกับโรงเรียน |
สนับสนุนกิจกรรมรณรงค์ ป้องกันบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียน |
ร้องเรียน แจ้งเบาะแส |
พบเห็นการขายบุหรี่ไฟฟ้าให้เด็ก รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย |
ปฏิเสธไม่ได้นะคะว่า ครอบครัว คือ รากฐานสำคัญที่สุดในการปกป้องลูกน้อยจากภัยร้ายของบุหรี่ไฟฟ้าและสารเสพติดต่างๆ พ่อแม่ควรดูแลเอาใจใส่ สื่อสารอย่างใกล้ชิด และสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อเป็นเกราะป้องกันที่แข็งแกร่ง ช่วยให้ลูกหลานเติบโตอย่างมีคุณภาพ ห่างไกลจากอบายมุขต่างๆ ค่ะ
ที่มา : hfocus , สสส , thecoverage , กรมควบคุมโรค
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เตือนพ่อแม่ระวัง! บุหรี่ไฟฟ้าทรงโดเรมอน หาซื้อง่าย เข้าถึงเด็กวัยประถม
สอนลูกให้รู้เท่าทันควันบุหรี่ เมื่อขนมหน้า ร.ร. อาจเพิ่มความเสี่ยงเด็กสูบบุหรี่ไฟฟ้า
คนท้องดูดบุหรี่ไฟฟ้าได้หรือไม่ อันตรายน้อยหรือมากกว่าสูบบุหรี่ปกติ?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!