ตู้สต๊อคนม ไฟดับ
ประกาศไฟดับ งดจ่ายไฟชั่วคราวช่วงสงกรานต์ ตู้สต๊อคนม ไฟดับ ตู้แช่แข็งที่ใส่สต๊อกนมแม่ฟรีซไว้ จะทำอย่างไร น้ำนมสต็อกละลายแล้ว เอามาฟรีสใหม่ได้ไหม
ประกาศดับไฟบางพื้นที่ กทม.และปริมณฑล 13-19 เม.ย.
ประกาศดับไฟทำงาน วันที่ 13-19 เมษายน 2562 การไฟฟ้านครหลวง มีความจำเป็นต้องทำงานเกี่ยวกับสายป้อนไฟฟ้าแรงสูง ทั้งนี้เพื่อพัฒนาและบำรุงรักษาระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การไฟฟ้านครหลวงจึงจำเป็นต้องงดจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นการชั่วคราวบางพื้นที่ดังกล่าวดังต่อไปนี้
ตู้สต๊อคนม ไฟดับทำอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม https://www.mea.or.th
ประกาศดับไฟบางพื้นที่ ทั่วไทย
สำหรับการงดจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นการชั่วคราวบางพื้นที่ทั่วไทย สามารถตรวจสอบพื้นที่ในจังหวัดต่าง ๆ ได้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ตู้สต๊อคนม ไฟดับทำอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม https://www.pea.co.th
ตู้สต๊อคนมไฟดับทำอย่างไร
แม่ ๆ หลายคนตั้งใจปั๊มนมกว่าจะได้แต่ละหยด แต่อยู่ ๆ ก็ไฟดับซะอย่างนั้น โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ หรือวันหยุดยาวอื่น ๆ ที่เป็นวันหยุดติดต่อกัน พ่อแม่บางคนพาลูกไปต่างจังหวัดด้วย ไม่รู้จะทำอย่างไร
ก่อนอื่นต้องวางแผนป้องกัน คิดเสียว่า ดีแล้วที่รู้ล่วงหน้า อย่างน้อย ๆ ก็สามารถวางแผนได้ ดีกว่าไฟดับปุบปับนะคะ อย่างแรกที่แม่ต้องทราบคือ หากน้ำนมสต็อกละลาย แต่ยังเย็นอยู่ในตู้ก็อย่าทิ้งเลยค่ะ เพราะมีการทดสอบว่าน้ำนมที่ละลายเอามาฟรีซใหม่ได้ เพราะไม่มีตัวอย่างไหนที่มีแบคทีเรียในระดับที่เป็นอันตราย (เพราะในน้ำนมแม่มีสารฆ่าเชื้อหรือ anti-bacteria agents) ส่วนวิตามินต่าง ๆ ในน้ำนมแม่ก็อาจจะลดลงนิดหน่อย ดังนี้
- วิตามินเอ คงเหลือเท่าเดิม
- วิตามินซี ลดลงเหลือครึ่งหนึ่งหากปล่อยให้ละลาย 8 ชั่วโมง และจะเหลือ 1 ส่วน 4 เมื่อเอาไปเข้าตู้เย็นใหม่ ผู้วิจัยระบุว่าวิตามินซี ยังเพียงพอสำหรับทารกที่เกิดครบกำหนดและทารกที่อายุมากขึ้น
- กรดไขมันดีเอชเอ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะละลายกี่รอบ น้ำนมแม่ที่ละลายในตู้เย็นถึง 8 ชั่วโมง แต่ยังเย็นอยู่ สามารถนำมาแช่แข็งได้ใหม่
อย่างไรก็ตาม หากทิ้งนมแม่ไว้ในตู้เย็น อย่าเปิดตู้ 6 ชั่วโมงก็ไม่ละลาย หรือใส่น้ำแข็งแห้งเข้าไป เมื่อไฟมาก็ให้เอาน้ำแข็งแห้งออก เพื่อไม่ให้ตู้เย็นเสีย แต่ก่อนให้ลูกกินก็ควรชิมดูว่า เปรี้ยวหรือไม่ ถ้าเปรี้ยวก็ทิ้งนะคะ
ตู้สต๊อคนม ไฟดับทำอย่างไร
วิธีเตรียมตัวก่อนไฟดับ เพื่อเก็บรักษาน้ำนมสต็อก
เพจมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย โดยพญ.ปิยาภรณ์ บวรกีรติขจร ได้โพสต์เรื่อง ไฟจะดับ ทำยังไงกับสต็อกในตู้เย็น ไว้ว่า ไฟจะดับ ถ้ารู้ล่วงหน้า สามารถเตรียมการได้
- นำของที่ไม่จำเป็นออกจากตู้เย็นให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณของที่จะมาแย่งใช้ความเย็น
- คืนก่อนที่ไฟจะดับจนถึงเวลาที่ไฟดับ ให้ปรับอุณหภูมิตู้เย็นให้เย็นจัดไว้
- ถ้าย้ายน้ำนมไปฝากแช่แข็งที่บ้านอื่นได้ก็ดี (แต่ถ้าไฟดับพียง 3 – 4 ชั่วโมง ก็อาจไม่จำเป็น)
- ถ้าไม่ได้ ก็ใช้แผ่นเก็บรักษาความเย็น ( ice pack ) ถ้าไม่มีก็ใช้น้ำแข็งแทน ใส่ไว้ในช่องแช่แข็งเยอะ ๆ เพื่อเพิ่มความเย็นให้นมที่เก็บไว้
ระหว่างที่ไฟดับ ต้องไม่เปิดตู้เย็นเลย เพื่อรักษาความเย็นไว้ให้มากที่สุด
- เมื่อไฟมาแล้ว เปิดตู้เย็นสำรวจน้ำนมที่เก็บไว้ ถ้าน้ำนมที่แช่แข็งไว้ไม่ละลายมากนัก ก็อาจใช้ได้อีกระยะหนึ่ง (แน่นอน คงไม่ได้นานเท่าที่มาตรฐานกำหนดไว้ ) ถ้าละลายไปเยอะ ก็คงต้องย้ายลงมาแช่ชั้นล่าง และรีบใช้ภายใน 3 – 5 วัน ส่วนนมที่แช่อยู่ในชั้นล่างอยู่แล้ว ก็ต้องรีบใช้ก่อน
เมื่อไม่รู้มาก่อนว่า ไฟจะดับ ให้แม่ ๆ รักษาความเย็นไว้ให้มากที่สุด ด้วยการไม่เปิดตู้เย็นเลย และเมื่อไฟมาแล้วให้สำรวจน้ำนม ถ้าน้ำนมที่แช่แข็งไว้ไม่ละลายมากนัก ก็อาจใช้ได้อีกระยะหนึ่ง ถ้าละลายไปเยอะ ก็คงต้องย้ายลงมาแช่ชั้นล่าง และรีบใช้ภายใน 3 – 5 วัน หากนมแช่อยู่ในชั้นล่างอยู่แล้ว ก็ต้องรีบใช้ก่อน แม่ ๆ ลองชิมดูถ้านมไม่เหม็นเปรี้ยวเป็นใช้ได้
วิธีแพ็คแบบแห้ง
หากตู้สต๊อคนม ไฟดับ ตู้แช่แข็ง แช่นมแม่ หรือตู้เย็นไม่ทำงาน ก็สามารถเก็บน้ำนมในกระติกน้ำแข็งได้ การเก็บน้ำนมในกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลาเก็บได้ 1 วัน ใส่กระติกน้ำแข็งรักษาความเย็น
ใช้วิธีแพ็คแบบแห้ง รักษาอุณหภูมิได้ดีพอสมควร 12-15 ชั่วโมง เปิดมายังเป็นน้ำแข็ง ไม่ละลาย
- รองก้นและรอบ ๆ กล่องโฟมด้านในด้วยหนังสือพิมพ์พับหลาย ๆ ทบ (นสพ.จะช่วยรักษาอุณหภูมิให้เย็น)
- เอาถุงนมแม่ใส่ถุงใบใหญ่และมัดปากถุงเพื่อความสะอาด ใส่ลงกล่องโฟมให้แน่น ถ้าสต็อกไม่พอเต็มกล่อง ให้ยัดหนังสือพิมพ์ให้เต็ม
- ก่อนปิดกล่องทบด้วยหนังสือพิมพ์อีกหน่อย ปิดกล่องให้แน่น แปะเทปกาวให้รอบคอบ
ข้อควรระวังเรื่องสต๊อกนมฟรีซ
ลักษณะของน้ำนมแม่ที่ไม่ควรนำมาใช้ คือมีลักษณะคล้ายกับนมที่บูดเสียทั่วไป เช่น ชิมแล้วมีรสเปรี้ยว มีกลิ่นบูด และลักษณะเหนียวเป็นยาง
ทั้งนี้ หากต้องการน้ำนมแม่ที่แช่แข็งมาใช้ ให้นำลงมาแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาล่วงหน้า 1 คืน และสามารถเก็บได้ 24 ชั่วโมง ไม่ควรน้ำนมแม่ที่ละลายแล้วกลับไปแช่แข็งอีก นมที่ละลายแล้ว หากวางไว้ที่อุณหภูมิห้องสามารถเก็บไว้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ในกรณีต้องการอุ่นนมแม่ ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟหรือใช้น้าร้อนจัด แต่ควรแช่ในน้ำอุ่นเพื่อไม่ให้คุณค่าของน้ำนมเสียไป
ที่มา : พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย และ bumrungrad.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
หัวนมบอด ให้นมลูกได้ไหม อยากให้ลูกได้ประโยชน์น้ำนมแม่ แต่กลัวลูกดูดไม่ได้ อดกินน้ำนมแม่
ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี ฉี่น้อย ไม่ฉี่เลยทั้งวัน อั้นฉี่หรือเปล่า ปัสสาวะของทารกน้อย แบบใดจึงผิดปกติ?
ทำไมทารกชอบยิ้มเวลาหลับ ลูกชอบนอนยิ้ม นอนหัวเราะ หมายความว่าอะไร
ทารกจามบ่อยอันตรายไหม ทำไมลูกถึงจามบ่อย พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!