X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตั้งครรภ์ เกินกำหนดคลอด อันตราย เสี่ยงทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์!

บทความ 5 นาที
ตั้งครรภ์ เกินกำหนดคลอด อันตราย เสี่ยงทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์!

ในการตั้งครรภ์ เกินกำหนดคลอด นั้นส่งผลเสียที่มีความอันตรายทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์หลายอย่าง ในวันนี้ เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะการตั้งครรภ์เกินกำหนดให้กับคุณแม่กัน ว่ามีข้อควรระวังอะไรบ้าง และมีวิธีป้องกันรักษาอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

 

การตั้งครรภ์เกินกำหนด คืออะไร

รองศาสตราจารย์ พญ.ประนอม บุพศิริ  สูตินรีแพทย์ กล่าวถึง  ตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดไว้ว่า  ตามปกติแล้วอายุครรภ์ที่ครบกำหนดคลอดและทารกมีความสมบูรณ์เต็มที่ คือ อายุครรภ์ช่วงระหว่าง 37 สัปดาห์ถึง 41 สัปดาห์ และอีกไม่เกิน 6 วัน เมื่อคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาปกติ สำหรับแม่ท้องที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ หรือ 294 วัน ถือว่าเป็น “การตั้งครรภ์เกินกำหนด (Post term pregnancy)” ซึ่งถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงนั่นเองค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : การตั้งครรภ์เกินกำหนด กับ 4 เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้

 

เกินกำหนดคลอด

 

Advertisement

สาเหตุของครรภ์ เกินกำหนดคลอด

ทางการแพทย์ยังไม่มีข้อยืนยันชัดเจนว่าครรภ์เกินกำหนดคลอดเกิดจากสาเหตุใด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่พบว่า ทารกในครรภ์พิการบางอย่าง เช่น ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ต่อมใต้สมองผิดปกติ, ต่อมหมวกไตฝ่อ และการขาดฮอร์โมน Placental sulfatase deficiency ทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อยลง คุณแม่จึงไม่มีอาการเจ็บท้องคลอด แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์เกินกำหนด คือ การที่แม่ท้องจำวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้หรือจำวันผิด ทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไป

แม่ท้องทุกคนควรเตรียมพร้อมในการฝากครรภ์ที่สำคัญ คือ ควรจำวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายให้ได้ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะคุณหมอจะได้คำนวณวันที่ครบกำหนดคลอดได้ไม่คลาดเคลื่อนมากนัก  แต่ถ้าจำไม่ได้จริง ๆ คุณหมอจะแนะนำให้เองค่ะ ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ควรดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจให้ดีที่สุด เพื่อลูกน้อยคลอดออกมาจะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง

 

ตั้งครรภ์ เกินกำหนดคลอด เสี่ยงอย่างไรบ้าง ต่อแม่และลูกน้อย

  • เสี่ยงต่อคุณแม่

    • เสี่ยงที่จะผ่าคลอด เพราะทารกในครรภ์มีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น หัวโตขึ้นทำให้คลอดยาก ทำให้คุณแม่ต้องเสี่ยงผ่าตัดคลอด  ต้องใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยในการคลอด  หรือต้องใช้คีมช่วยในการคลอด
    • ทารกตัวใหญ่ขึ้นส่งผลให้ช่องคลอดฉีกขาดในขณะคลอด
    • มีโอกาสที่จะตกเลือดหลังคลอดมากกว่าครรภ์ปกติ เนื่องจากมดลูกหดตัวไม่ดีเกิดจากมีบาดแผลบริเวณช่องคลอด
  • เสี่ยงต่อทารกในครรภ์

    • ทารกเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในครรภ์ ยิ่งถ้าหากเกินกำหนดมากขึ้นเท่าใด โอกาสจะเสียชีวิตของทารกจะมีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
    • ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการสำลักน้ำคร่ำ และอาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหลังคลอดได้สูง
    • ทารกเสี่ยงต่อการบาดเจ็บขณะคลอด เช่น บาดเจ็บที่เส้นประสาทแขนเนื่องจากทารกตัวใหญ่ทำให้ไหล่ติดมดลูกขณะที่คลอด
    • รกเสื่อม เพราะอายุครรภ์เกินกำหนด ส่งผลให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนเรื้อรัง(Chronic hypoxia) ทำให้ทารกเจริญเติบโตไม่เต็มที่ น้ำคร่ำจะน้อยลง เมื่อมดลูกยิ่งหดตัว รกจะยิ่งขาดออกซิเจนเพิ่มขึ้น ทำให้ทารกอยู่ในภาวะเครียด (Fetal distress) หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้

 

เกินกำหนดคลอด

 

การดูแลรักษา จากการตั้งครรภ์เกินกำหนด

เมื่อแพทย์ทราบอายุครรภ์ที่แน่นอนแล้ว ว่าเกินกำหนดครรภ์ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง แพทย์จะเริ่มทำการตรวจสุขภาพทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ สัปดาห์ละ 2 ครั้งขึ้นไป และวัดปริมาณน้ำคร่ำ แพทย์จะทำการชักนำคลอด เมื่อปากมดลูกมีความพร้อมแล้ว แต่ถ้าหากคุณแม่มีอายุครรภ์ 42 สัปดาห์เต็ม แพทย์จะชักนำคลอดทันที ซึ่งโดยปกติแล้ว 90% ของคุณแม่จะเข้าสู่ระยะคลอดภายใน 2 วันหลังจากนั้น

 

การดูแลทารกหลังคลอด

หลังจากคุณแม่คลอดทารกน้อยแล้ว ถ้าหากทารกมีอาการหายใจช้า หรือติดขัด แพทย์จะทำการดูดขี้เทาผ่านท่อช่วยหายใจ เพื่อให้สามารถหายใจได้อย่างเต็มที่ ถ้าหากทารกหายใจได้ดี มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที แพทย์จะทำการกู้ชีพทารกแรกคลอดไปตามปกติ โดยไม่ต้องทำการดูดขี้เทาผ่านท่อช่วยหายใจ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นเสียงของเด็กได้

 

เกินกำหนดคลอด

 

การดูแลตนเองของคุณแม่หลังคลอด

หากคุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม เช่น มดลูกติดเชื้อ การดูแลคุณแม่หลังคลอดก็จะเหมือนกับการดูแลหลังคลอดของคุณแม่โดยทั่วไป และสามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ ถ้าหากทารกน้อยไม่มีปัญหาใด ๆ และแพทย์จะคอยนัดให้มาตรวจหลังคลอดในตลอด 6 สัปดาห์ โดยในช่วงเวลานั้น คุณแม่ต้องงดการมีเพศสัมพันธ์เอาไว้ก่อน และเข้ารับการคุมกำเนิดที่ถูกต้องค่ะ

 

แนะนำการบริหารร่างกายหลังคลอดของคุณแม่

  • การให้นมบุตร

หนึ่งในวิธีการบริหารร่างกายที่ดีที่สุด ก็คือ น้ำนมแม่ นั่นเองค่ะ เพราะว่าน้ำนมแม่นั้น มีสารอาหารที่ครบถ้วน ที่ดีต่อลูกน้อย และสุขภาพของคุณแม่เป็นอย่างดี ช่วยลดภาวะการตกเลือดหลังคลอด มดลูกแห้งเร็ว และการให้นมยังช่วยให้ร่างกายของคุณแม่กลับมาเข้าทรวดทรงได้เร็วอีกด้วย!

  • ฝึกอุ้มให้นม

ในการฝึกอุ้มให้นมของคุณแม่ ควรจะนั่งบนเก้าอี้ที่นั่งได้สบาย สามารถปล่อยได้ทั้งแขนและหลัง เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง ปวดเมื่อย จากการอุ้มให้นมลูก

  • ปั๊มเก็บนม

ถ้าหากคุณแม่มีน้ำนมมาก ก็สามารถปั๊มเก็บเอาไว้ได้นะคะ เพราะดีต่อสุขภาพของคุณแม่ด้วย และไม่ต้องคอยป้อนจากเต้าให้ลูกน้อยอีกด้วย โดยปกติแล้ว นมแม่สามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 6 ชั่วโมง ในตู้เย็นธรรมดา 24 ชั่วโมง และสามารถเก็บในช่องแข็งได้ประมาณ 2 สัปดาห์ และนำมาละลายเมื่อต้องการนำมาใช้งานค่ะ

 

โดยสรุปแล้ว การที่อายุครรภ์เกินกำหนดคลอด เป็นเรื่องที่อันตรายมาก ทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ บ่งบอกถึงสุขภาพครรภ์ในหลาย ๆ อย่าง ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกน้อยในครรภ์โดยตรง และเสี่ยงต่อการคลอดด้วย เช่น ทารกน้อยอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บในการคลอด เพราะว่ามดลูกเกิดการหดตัวลง ทำให้ลูกน้อยขาดออกซิเจนอีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

นักวิจัยพบ หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรกินยาพาราเซตามอล

ตั้งครรภ์ได้ไหม ? หากเป็นโรคเบาหวาน

ภาวะรกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ คืออะไร อันตรายแค่ไหน

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ตั้งครรภ์ เกินกำหนดคลอด อันตราย เสี่ยงทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์!
แชร์ :
  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว