ช่วงท้องไตรมาสแรก ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มันอาจทำให้ว่าที่คุณแม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง เช่น อาการคลื่นไส้ อาการบวม การปัสสาวะ อาการปวดหลังส่วนล่าง หน้าอกที่ขยายใหญ่ขึ้น นี่มันเกิดอะไรขึ้นเนี่ยะ!!
แน่นอนว่าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเฉพาะตอนท้องเท่านั้น และสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณแม่คลายกังวลกับอาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ลงได้คือต้อง “คิดบวก” เข้าไว้และจดจำไว้ว่ายังมีสิ่งเล็ก ๆ ในท้องที่รอคอยแวลาอีก 9 เดือนมาพบหน้าคุณแม่อยู่นะ การตั้งท้องนั้นเป็นดังพรจากฟ้า และเป็นโอกาสที่ผู้หญิงคนหนึ่งได้เข้ามาใช้บทบาทความเป็น “แม่”
เริ่มตั้งท้อง จะคิดบวกยังไงให้ไหวใน ช่วงท้องไตรมาสแรก
#พยายามจดจ่ออยู่กับลูกน้อย
สิ่งที่จะช่วยให้คุณแม่รับมือกับช่วงท้องไตรมาสแรกได้ง่ายขึ้น นั้นคือการให้ความสำคัญกับลูกน้อยในท้อง แม้บางครั้งต้องเผชิญกับอาการแพ้ท้องและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายก็ตาม
#พยายามนอนหลับให้สนิท
แม้ว่าคุณแม่จะต้องลุกตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำถึง 6 ครั้งหรือมากกว่านั้นในช่วงเวลากลางคืน ให้จำไว้ว่าสิ่งที่เป็นอยู่นี่ก็เพื่อลูก
#พยายามกินอาหารให้ได้
ยามที่คุณแม่แพ้ท้องแล้วต้องนั่งกองอยู่บนพื้นห้องน้ำหลังจากโอ้กอ้าก หายใจลึก ๆ เข้าไว้และหาวิธีรับมือกับอาการแพ้ท้องและพยายามที่จะกินข้าวให้ลง โปรดจำไว้ว่าสิ่งที่คุณแม่ทำนั้นก็เพื่อลูก
#พยายามเปลี่ยนแปลงเพื่อลูก
ในเวลาที่หน้าท้องเริ่มขยายใหญ่จนคุณแม่ไม่สามารถติดกระดุมกางเกงยีนส์รัดรูปได้อีกต่อไป และต้องเปลี่ยนมาเป็นชุดคนท้องหลวมโครกคราก ที่มันจะไม่สวยงามแต่ก็ทำให้ใส่สบายตัวมากขึ้น โปรดจำไว้ว่าสิ่งที่คุณแม่ทำนั้นก็เพื่อลูก
#พยายามหาท่านอนที่สบาย
ในยามท้องที่คุณแม่ไม่สามารถนอนคว่ำหน้าทับหน้าท้องได้ เพราะไม่ปลอดภัยต่อลูกในท้องอีกทั้งความรู้สึกเจ็บปวดของหน้าอกที่เริ่มขยายขึ้น ในขณะที่ท้องเริ่มใหญ่ขึ้นคุณแม่สามารถนอนตะแคงซ้ายเพื่อช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตทำงานได้ดี และค่อย ๆ โยกสลับมานอนตะแคงขวาบ้าง และควรหลีกเลี่ยงการนอนหงายนะคะ เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกไม่เพียงพอ เกิดอาการใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด อึดอัด หายใจลำบาก โปรดจำไว้ว่าสิ่งที่คุณแม่ทำนั้นก็เพื่อลูก
อ่านเพิ่ม : คนท้องนอนท่าไหน ปลอดภัย ไม่ทับลูก
คนท้องไตรมาสแรก มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
คนท้องไตรมาสแรก มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แม่ๆ รู้ไหม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย หรือทางด้านอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจากอะไร คนท้องต้องเตรียมรับมือแบบไหน และต้องดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อให้ลูกในท้องร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายคนท้อง
- หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น: หลังจากคุณแม่แล้วตั้งท้องสิ่งแรกที่จะมีการเปลี่ยนแปลงก็คือฮอร์โมนของร่างกาย ทำให้คุรแม่รู้สึกว่าหน้าอกเริ่มเจ็บ คล้ายกับช่วงที่เป็นประจำเดือน หลังจากนั้นอีกประมาณ 3 สัปดาห์อาการเหล่านี้ก็จะเริ่มทุเลาลง
- คลื่นไส้ อาเจียน: อาการเหล่านี้เปรียบเสมือนสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่กำลังตั้งท้องแล้วนะ บางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อย หรือบางคนแทบจะไม่มีเลย ส่วนใหญ่มักจะเริ่มขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ได้ประมาณ 1 เดือน สำหรับวิธีแก้อาการแพ้ท้อง คือ อย่าปล่อยให้ท้องว่าง กินอาการช้าๆ อาจจะกินทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ และอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำขิงจะช่วยได้ดีค่ะ
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น: คนท้องจะรู้สึกว่าตัวเองปัสสาสะบ่อยขึ้น เนื่องจากว่าในร่างกายมีปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อผลิตของเหลวและขับถ่ายออกมาในที่สุดค่ะ
- เมื่อยล้า: เนื่องจากเวลาที่ตั้งครรภ์ในระยะแรกระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะพุ่งสูงขึ้น ทำให้ร่างกายรู้สึกอยากพักผ่อนอยากนอนบ่อยๆ วิธีแก้ คือ ต้องพักผ่อนมากๆ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายค่ะ
- ไวต่อกลิ่น: คุณแม่บางท่านจะมีประสาทสัมผัสไวต่อกลิ่นมาก หรืออาจทำให้รสนิยมการกินอาการที่เปลี่ยนแปลงไปที่เกิดจากฮอร์โมนของคนท้อง
- กรดไหลย้อน: คนท้องส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ทานอาหารเสร็จแล้วแล้วนอนเลย เนื่องจากว่ากรดในกระเพาะอาหารไหลเข้าสู่หลอดอาหารทำให้เกิดอาการแน่น จุกเสียดท้อง วิธีป้องกัน คือ คุณแม่ต้องแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ หลีกเลี่ยงอาหารทอด ผลไม้รสเปรี้ยว ช็อคโกแลต และอาหารที่มีรสเผ็ดค่ะ
- ท้องผูก: อาการนี้เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ไปชะลอการเคลื่อนไหวของอาหารในระบบย่อยอาหาร ทำให้คุณแม่เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหานี้อยู่แนะนำให้เลือกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ดื่มน้ำมากๆ หรือจะดื่มน้ำผลไม้โดยเฉพาะน้ำลูกพรุนก็ได้ ที่สำคัญการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยได้มากเช่นกันค่ะ
การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของคนท้อง
ช่วงที่รู้ว่าตัวเองกำลังจะมีลูก เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านคงดีใจกันอย่างมาก แต่ช่วงที่ดีใจนี้ก็มาพร้อมกับอาการเหนื่อย เมื่อยล้าไปพร้อมๆ กัน เพราะว่าร่างกายของคุณแม่กำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงรองรับการเจริญเติบโตของลูกน้อยนั้นเอง บางครั้งคุณแม่อาจจะรู้สึกเครียดกับการตั้งครรภ์เอามากๆ โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแรก เพราะมีเรื่องที่ต้องกังวลเกี่ยวกับลูกน้อยมากมาย ไหนจะเรื่องที่ต้องปรับตัวให้กับบ้านของสามีอีก (สำหรับคนที่ต้องอยู่บ้านสามี) ไหนจะต้องเตรียมเงินไว้เลี้ยงลูก วางแผนเก็บเงินให้ลูกในอนาคต การทำงาน และเรื่องงานบ้าน สารพัดปัญหาที่คุณแม่ต้องเผชิญ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้คนท้องเกิดอารมณ์แปรปรวนได้
สิ่งสำคัญเมื่อคุณแม่รู้สึกว่าตัวเองเริ่มมีอารมณืที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ต้องพยายามเข้าใจตัวเอง และมองหาคนรอบข้าง พยายามพูดคุยเพื่อหากำลังใจจากพวกเขา แต่ถ้าเมื่อไหร่เริ่มรู้สึกว่าอาการมันรุนแรงเพิ่มขึ้น รู้สึกแย่มากๆ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ อย่าปล่อยให้ตัวเองเครียดมากเกินไป เพราะอาจจะมีผลต่อลูกในท้องได้ค่ะ
การดูแลตัวเองของคนท้องไตรมาสแรก
เข้าฝากครรภ์กับแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านหรือที่ทำงาน ทำการตรวจประเมินสุขภาพของคุณแม่และครรภ์ เพื่อให้คุณหมอตรวจหาความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ ดูอายุครรภ์ของทารก ตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ และรับยาบำรุงครรภ์ เพื่อที่ลูกน้อยในครรภ์จะได้เติบโตอย่างสมวัยค่ะ
สุขใจก็จริงแต่กลัวไม่น้อย
แม้ช่วงไตรมาสแรกนั้นอาจเป็นช่วงที่ยากลำบาก และตั้งตารอให้การตั้งท้องนี้มันผ่านไปในแต่ละเดือน แต่สิ่งที่คุณแม่กำลังทำอยู่นี้ล้วนทำเพื่อลูกน้อยนะคะ อย่าเพิ่งไปเครียด พยายามคิดบวกเข้าไว้ และผ่านพ้นแต่ละวันไปด้วยรอยยิ้ม เพราะลูกที่กำลังจะเกิดมานั้นเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากว่าอะไรทั้งหมด.
credit content : www.lifewithmylittles.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
20 สิ่งที่แม่ท้องต้องเจอ ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก-สุดท้าย คนท้องเจออะไรบ้าง?
อาการคนท้องที่พบบ่อยในไตรมาสแรก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!