X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความเชื่อแบบนี้? ดีต่อพัฒนาการลูกหรือไม่

บทความ 3 นาที
ความเชื่อแบบนี้? ดีต่อพัฒนาการลูกหรือไม่

คุณพ่อคุณแม่อาจได้รับคำแนะนำในการเลี้ยงดูลูกจาก ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนก็ตาม แต่ความเชื่อในการเลี้ยงดูลูก บางอย่างเราไม่รู้เลยว่าถูกต้องหรือไม่ มีคำแนะนำดีๆ จาก ดร. แอนดรูว์ เอเดสมัน ผู้เขียนหนังสือ“Baby Fact” มาดูกันว่ามีความเชื่ออะไรบ้าง และคุณหมอมีคำแนะนำอย่างไร

ความเชื่อในการเลี้ยงดูลูก, ความเชื่อต่อพัฒนาการเด็ก

ของเล่นช่วยให้ลูกฉลาดขึ้น

ความเชื่อ: ลูกต้องการเล่นของเล่นเพื่อกระตุ้นพัฒนาการสมอง

ความจริง: ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าของเล่นเด็กบางชนิดช่วยให้เด็กฉลาดขึ้นได้

คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า : สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็กเป็นสิ่งที่กระตุ้นพัฒนาการที่สำคัญสำหรับเด็ก  มากกว่าของเล่นที่เรียกว่า ของเล่นเสริมพัฒนาการ ที่จริงแล้วของเล่นสำหรับเด็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องซับซ้อนและของเล่นก็ไม่ได้ทำให้เด็กฉลาดขึ้น แต่สิ่งแวดล้อมและคุณพ่อคุณแม่ต่างหากที่จะช่วยลูกฉลาดขึ้นได้

ความเชื่อในการเลี้ยงดูลูก, ความเชื่อต่อพัฒนาการเด็ก

เมื่อลูกน้อยเป็นเด็กพูดช้า

Advertisement

ความเชื่อ: เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยของคุณเป็นเด็กพูดช้า ซึ่งไม่ต้องกังวลใจ เพราะเมื่อลูกโตขึ้นปัญหาเหล่านี้จะหายไปเอง

ความจริง: คุณพ่อคุณแม่ต้องรับมือด้วยการเสริมพัฒนาการด้านการพูดให้แก่ลูก เพราะการช่วยเหลือแต่เนิ่น ๆ จะทำให้ลูกมีพัฒนาการด้านการพูดดีขึ้นได้ หรือหากมีปัญหาอื่นที่พบควรปรึกษาคุณหมอ

คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า : พัฒนาการด้านการพูดของลูก  คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตให้ดีว่า  การพูดช้านั้นมีสาเหตุจากอะไรกันแน่  ด้านการเปล่งเสียง  ด้านการใช้ภาษา  การเข้าใจภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร หรือมีสาเหตุอื่น เช่น  ภาวะออทิสติกหรือปัญหาด้านการรับรู้อื่น ๆ ซึ่งต้องได้รับการประเมินพัฒนาการจากคุณหมอเพื่อการรักษาต่อไป

ความเชื่อในการเลี้ยงดูลูก, ความเชื่อต่อพัฒนาการเด็ก

ลูกคนเล็กมักพูดช้า

ความเชื่อ: ลูกคนเล็กในครอบครัวมักจะพูดได้ช้า

ความจริง: ลำดับการเกิดของลูกน้อยอาจมีผลต่อการกำหนดทักษะการเปล่งเสียงและภาษาได้แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่สำคัญ

คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า : สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรกังวล คือ พัฒนาการด้านการพูดของลูกที่ช้าผิดปกติ  เพราะแท้ที่จริงแล้วลำดับการเกิดของลูกนั้น ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกพูดเร็วหรือพูดช้า  อาจมีปัจจัยอื่น ๆ มาเกี่ยวข้อง ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเพิกเฉยกับปัญหาหากลูกมีพัฒนาการด้านการพูดล่าช้ากว่าปกติ และรีบหาทางแก้ไขจะดีที่สุด

ความเชื่อในการเลี้ยงดูลูก, ความเชื่อต่อพัฒนาการเด็ก

พฤติกรรมการอ่านของลูกที่คุณต้องทราบ

ความเชื่อ: การอ่านหนังสือในระยะใกล้สายตามากเกินไป  จะทำให้ลูกมีปัญหาด้านการมองเห็น

ความจริง: การอ่านหนังสือในระยะใกล้ตาไม่ได้ร้ายแรงจนถึงขั้นทำลายการมองเห็น แต่เป็นสัญญาณของสายตาสั้นนั่นเอง

คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า : การอ่านหนังสือหรือดูทีวีใกล้เกินไป  ไม่ได้ทำลายการมองเห็นของเด็ก แต่ถ้าลูกชอบอ่านหนังสือ  ดูทีวี ในระยะใกล้จนเคยชิน  ควรพาลูกไปตรวจสายตาจะดีที่สุด

ความเชื่อในการเลี้ยงดูลูก, ความเชื่อต่อพัฒนาการเด็ก

ทำความเข้าใจเรื่องความสูงของลูก

ความเชื่อ: ความยาวช่วงของเด็กในวัยทารกเป็นตัวบ่งชี้ความสูงของลูกเมื่อเขาเติบโตขึ้น

ความจริง: ความยาวของช่วงตัวไม่ใช่ตัวบ่งชี้ความสูง แต่ส่วนสูงเมื่อลูกโตแล้วอาจใช้คาดการณ์ความสูงในอนาคตได้

คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า :  จริง ๆ ก็เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่มักจะคิดว่า หากทารกน้อยของคุณมีช่วงตัวยาวแล้วเขาจะโตขึ้นมาเป็นคนตัวสูง แต่จริง ๆ แล้วมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้านความสูงของลูก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์  ด้านโภชนาการ ด้านการดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไป

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

ความเชื่อในการเลี้ยงดูลูก, ความเชื่อต่อพัฒนาการเด็ก

ลูกเป็นภูมิแพ้หรือเปล่านะ?

ความเชื่อ:  หากคุณพ่อคุณแม่เป็นโรคภูมิแพ้  ลูกก็จะเป็นโรคภูมิแพ้ด้วย หรือถ้าคุณไม่เป็นโรคภูมิแพ้ลูกก็จะไม่เป็นเช่นกัน

ความจริง: การถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือ สิ่งกำหนดว่าใครจะเป็นภูมิแพ้หรือไม่ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย

คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า : ปัจจัยด้านพันธุกรรมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ลูกอาจได้รับเชื้อแฝงจากพ่อแม่ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรสันนิษฐานไปก่อน   หากคุณมีอาการแพ้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วลูกจะต้องแพ้ตามไปด้วย เพราะบางครั้งอาการแพ้อย่างเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น  พันธุกรรมอาจไม่ใช่ปัจจัยกำหนดอาการภูมิแพ้ได้ทั้งหมด

ได้ทราบข้อเท็จจริงจากคุณหมอกันแล้วนะคะ  หวังว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวพอจะช่วยคลายข้อสงสัยของคุณพ่อคุณแม่ไปได้บ้าง  หากมีข้อสงสัยหรือข้อมูลอื่นเพิ่มเติม ทีมงานของเรายินดีค้นหาและรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณพ่อคุณแม่มานำเสนอค่ะ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.parents.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สารพันความเชื่อเกี่ยวกับเด็กทารก

10 ความเชื่อหลังคลอดเกี่ยวกับทารก

TAP-ios-for-article-footer-with button

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ความเชื่อแบบนี้? ดีต่อพัฒนาการลูกหรือไม่
แชร์ :
  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว