X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รับมือ!!!หลากอารมณ์คนท้องต้องเข้าใจ

บทความ 8 นาที
รับมือ!!!หลากอารมณ์คนท้องต้องเข้าใจ

ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์แม่ท้องมีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ไปหลากหลาย เรียกว่า 1 วัน คุณแม่อาจมีอารมณ์ขึ้นลงสลับไปมา มาดูกันว่าอารมณ์ที่มักเกิดขึ้นในยามตั้งครรภ์ มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ คนท้องอย่างไร พร้อมทั้งวิธีการรับมือคลายเครียด...แบบฉบับแม่ท้อง อยากรู้แล้วใช่ไหมคะ ติดตามอ่าน

อารมณ์คนท้อง เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ในช่วงเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนภายในร่างกายของคุณแม่กำลังเปลี่ยนแปลง  ทำให้คุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เกิดขึ้นหลากหลาย  ทำให้คนรอบข้างมองว่า  คนท้องมักจะมีอารมณ์ที่ไม่แน่นอน  บางคนจากเดิมก่อนที่จะท้องจากคนเงียบ ๆ หรือคนอารมณ์ดีกลายเป็นคนขี้หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย  จนบางทีก็ทำให้คนรอบข้างลำบากใจทำอะไรไม่ถูกไปก็มีเหมือนกันมาดูกันว่าการเปลี่ยนแปลงอารมณ์คนท้องเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุคนท้องอารมณ์เปลี่ยนแปลง

สาเหตุหลักเลยก็คือ  การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ในช่วงตั้งครรภ์ใน 1 วัน ร่างกายแม่ท้องจะผลิตฮอร์โมนชนิดนี้มากพอ ๆ กับปริมาณฮอร์โมนที่ร่างกายของคนปกติใช้เวลาผลิตถึง 3 ปี กันเลยทีเดียว  มิน่าล่ะ อารมณ์ถึงแกว่งไปแกว่งมา อะไรๆ ก็ไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอยตลอด จนแม่หลายคนกังวลว่าตัวเองผิดปกติหรือเปล่า  ซึ่งเรื่องนี้แน่นอนว่า  คนรอบข้างต้องพยายามทำความเข้าใจ และพยายามหาทางเอาน้ำเย็นเข้าลูบ ต้องให้กำลังใจและปลอบประโลม เพื่อความสุขในครอบครัวและเพื่อสุขภาพกายสุขภาพจิตของคุณแม่และลูกในท้องนะคะ

หลากหลายอารมณ์คนท้องต้องเข้าใจนะคะ

การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ คนท้อง

Advertisement

1. ภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าในขณะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์  สามารถพบได้ถึงร้อยละ 14 -23 ภาวะซึมเศร้านี้มาจากหลายปัจจัย ทั้งด้านพันธุกรรม  สภาพจิตใจของแม่ท้องเอง ฮอร์โมน รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม  การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเมื่อตั้งครรภ์อาจกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้า  นอกจากนี้  ความเครียด  ความกังวล หรือการไม่พร้อมตั้งครรภ์  หรือปัญหาครอบครัวในช่วงที่ตั้งครรภ์  การไม่ได้การดูแลเอาใจใส่จากสามีหรือคนรอบข้าง เป็นต้น ล้วนมีส่วนกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าในช่วงตั้งครรภ์ได้ทั้งสิ้น

อาการ

– แม่ท้องที่มีภาวะซึมเสร้ามักจะมีสมาธิไม่ดี  ความจำลดลง อารมณ์เศร้าหมอง  ท้อแท้  เหนื่อยหน่าย หดหู่  หงุดหงิด อาการเหล่านี้จะส่งผลให้นอนไม่หลับ  หลับได้น้อยเพราะตื่นบ่อยหรือหรือตื่นเช้ามากกว่าปกติ

– ร่างกายอ่อนเพลีย  เหนื่อยง่าย แม้ว่าใช้แรงงานเพียงเล็กน้อย  ความอยากอาหารลดลง ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงตามไปด้วย  หรือตรงกันข้ามไปเลยค่ะ คือ  ทานมากว่าปกติ  เกิดอะไรขึ้น  แน่นอนว่า  น้ำหนักตัวพุ่งพรวด  ขึ้นมากผิดปกติไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์  แบบนี้ไม่ดีแน่

– ความต้องการทางเพศลดลง มีความกลัวสิ่งต่าง ๆ ร่วมกับการตั้งครรภ์ คิดแต่เรื่องในแง่ร้ายหมดหวัง สิ้นหวัง และรู้สึกผิด เศร้าตลอดเวลา และอาจมีความคิดหรือการกระทำที่จะทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายได้ค่ะ

2. วิตกกังวล

การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ คนท้อง

อาการวิตกกังวลของคนท้อง แบ่งออกเป็นหลัก ๆ 3 ข้อ ดังนี้

1. วิตกกังวลเรื่องการทำงาน  ในช่วงตั้งครรภ์แม่ท้องที่ทำงานประจำอยู่อาจมีเรื่องเครียด  หรือมีภาวะกดดันจากการทำงาน  ส่งผลให้สุขภาพอ่อนล้า  ปวดศีรษะ  เบื่ออาหาร  เป็นต้น

2. วิตกกังวลเรื่องรูปร่าง ทรวดทรง  การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายทำให้อารมณ์ของคุณแม่แปรปรวน  การแพ้ท้อง รูปร่างที่เริ่มเปลี่ยนแปลงขยายใหญ่ขึ้น  ผิวพรรณเปลี่ยนแปลง ทำให้คุณแม่บางคนเกิดความวิตกกังวลเกรงว่า  หากคลอดแล้วรูปร่างจะกลับมาเหมือนเดิมได้หรือไม่  ช่วงท้องทำไมฉันดูน่าเกลียดแบบนี้ ซึ่งถ้าคุณแม่ทำความเข้าใจว่า น้ำหนักตัวที่เพิ่มในขณะตั้งครรภ์อยู่ในภาวะสมดุล น้ำหนักตัวจะกลับสู่ภาวะเดิมภายใน 2 เดือนหลังคลอด ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้น้ำหนักตัวกลับสู่ภาวะเดิมได้เร็วขึ้นอีกด้วย จะทำให้คุณแม่คลายกังวลลงไปได้บ้าง

3. วิตกกังวลเรื่องลูกในท้อง  ความรักความผูกพันของแม่ที่มีต่อลูกในท้องนั้น ส่งผลให้คุณแม่เกิดความวิตกกังวลได้  เช่น  กังวลว่าลูกจะไม่สมบูรณ์ ลูกจะไม่โตตามอายุครรภ์ เป็นต้น แม้ว่าสามีหรือคนรอบข้างจให้คำแนะนำหรือเตือนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์ บางทียิ่งทำให้คุณแม่วิตกกังวลมากขึ้น

3. เครียด

การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ คนท้อง

ความเครียดขณะตั้งครรภ์ เกิดจากความกังวลหรือหวาดหวั่นต่อเรื่องราวในอนาคต เมื่อลูกคลอดออกมาแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสามารถในการเลี้ยงดู  การเงิน หรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกรงว่าจะต้องพบเจอ  จนก่อให้เกิดอารมณ์ผันผวน หงุดหงิด  ก้าวร้าว โโยเฉพาะกับสามีหรือคนสนิท และที่สำคัญไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้  ผลของความเครียดจากแม่ทำให้คุณแม่มีอาการหัวใจเต้นเร็ว  เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด หลอดเลือดตีบ  ความดันโลหิตสูง และที่สำคัญทารกในครรภ์สามารถรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ของคุณแม่ได้จากสารเคมีที่ร่างกายของคุณแม่หลั่งออกมาในกระแสเลือด

บทความแนะนำ  แท้งได้ หากแม่ท้องเครียดจัด

แม่รู้ไหมความเครียดทำร้ายลูกในท้องได้นะ!!!

เมื่อคุณแม่รู้สึกโกรธ  เครียด  หงุดหงิด  กระทั่งอารมณ์หวาดผวา ร่างกายของคุณแม่จะหลังสารแห่งความเครียด  ที่เรียกว่า  สารอะดรีนาลิน  ส่งผ่านความรู้สึกไปยังลูก  แน่นอว่าเจ้าตัวน้อยย่อมรับรู้ความรู้สึกนี้  ส่งผลให้ลูกคลอดออกมามีน้ำหนักแรกคลอดน้อยผิดปกติ  อาจคลอดก่อนกำหนดได้    หรือเมื่อลูกคลอดออกมาจะมีพัฒนาการที่ล่าช้า  มีพื้นฐานทางอารมณ์ที่ไม่ดี  และทำให้เป็นเด็กเลี้ยงยากด้วยนะคะ

4. อารมณ์อ่อนไหว&ใจน้อย

อารมณ์อ่อนไหวบางครั้งมีใจน้อย  อารมณ์นี้มักจะพบในช่วงแรกของการตั้งครรภ์  เพราะระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว   อารมณ์อ่อนไหวใจน้อยใครพูดอะไรนิดอะไรหน่อยก็พานจะร้องไห้  ดูละครเศร้า  ฟังเพลงเศร้าก็ร้องไห้ได้  บางทีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่ายเช่นนี้อาจทำให้คนรอบข้างปรับตัวไม่ทัน แต่อย่างไรก็ตามต้องพยายามเข้าใจคนท้องหน่อยนะคะ ก็ฮอร์โมนมันขึ้น !!!!นี่คะ

5. กลัวการคลอด

การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ คนท้อง

ข้อนี้เห็นจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ทุกๆคน ยิ่งคุณแม่มือใหม่  เพราะผู้เขียนเองก็เคยผ่านความรู้สึกเช่นนี้มาแล้ว กลัวความเจ็บปวดในการคลอดลูก  กลัวการผ่าตัดคลอด  แม้กระทั่งบางคนกลัวตายเพราะคลอดลูก  ความกลัวทำให้จินตนาการแต่เรื่องไม่ดี  ทำให้ทุกข์ใจ แต่อยากให้ให้คุณแม่คิดว่า   ความเจ็บปวดเพียงชั่วขณะกับการที่เราจะได้เห็นหน้าเจ้าตัวน้อยที่เฝ้าประคบประหงมตั้งแต่อยู่ในท้อง รอคอยจะได้พบหน้ากันมันมีความสุขมากมายมากกว่าความเจ็บปวด  ที่สำคัญการคลอดเป็นกลไกธรรมชาติทุกอย่างจะเป็นไปตามขั้นตอนโดยมีคุณหมอช่วยดูแลจนคลอดทารกน้อยอย่างปลอดภัย

อ่าน คลายเครียด…แบบฉบับแม่ท้อง คลิกหน้าถัดไป

คลายเครียด…..แบบฉบับแม่ท้อง                                                                            

การตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตผู้หญิงเพราะการให้กำนิดทารกน้อย ๆ นั้นหมายถึงอะไรมากมาย ทั้งเป็นโซ่ทองคล้องใจพ่อแม่  เป็นผู้สืบสกุล  เป็นหลานปู่ ย่า ตา ยาย สารพัดสารพัน  ทำให้คุณแม่หลาย ๆ คนหรือแทบจะทุกคนก็ว่าได้มีหลากหลายอารมณ์ร่วมกันในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง   อารมณ์หลากหลายดังกล่าวนี้ก็ได้แก่  ดีใจที่จะมีเจ้าตัวน้อยมาชื่นชม  อีกทั้งก็มีความกังวลใจว่าจะดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ได้ดีเพียงไร  ไหนจะวิธีคลอด  กลัวเจ็บ กลัวๆๆๆไปสารพัด

สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่คุณแม่ไม่ควรละเลยคือ  พยายามลดความเครียดให้เหลือน้อยที่สุด เพราะความเครียดมีผลต่อทารกในครรภ์ตามคำยืนยันของคุณหมอ หากคุณแม่อยากให้ลูกคลอดออกมาอารมณ์ดี ไม่โยเย เลี้ยงง่าย คุณแม่ต้องมีสุขภาพจิตที่ดีระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ ข้อนี้สำคัญมาก คุณแม่ควรหาวิธีการจัดการกับเจ้าความเครียดนี้ค่ะ  มาคลายเครียด…แบบฉบับแม่ท้อง กันดีกว่าค่ะ

1. ดูภาพยนตร์ ละครคลายเครียดกันดีกว่า

การดูภาพยนตร์หรือดูละครเบาสมอง คลายเครียด หัวเราะได้ทั้งแม่และลูก เพราะเมื่อคุณแม่อารมณ์ดี อารมณ์แจ่มใส ได้หัวเราะ ผ่อนคลาย  ร่างกายก็จะหลั่งสารแห่งความสุข หรือที่เรียกว่า เอ็นโดรฟินส์ สารนี้จะผ่านเข้าสู่ตัวลูกน้อยมีผลทำให้เขารับรู้ถึงความรู้สึกสภาพอารมณ์ของคุณแม่ด้วย  สารเอ็นโดรฟินส์มีผลทำให้ลดความวิตกกังวล ลดความเครียด ทำให้นอนหลับได้สนิท และหลับได้ง่ายขึ้น ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างสมดุล

2.  ฟังเพลงจังหวะสบายๆ

การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ คนท้อง

การฟังเพลงที่มีจังหวะสบาย ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงคลาสสิคของต่างประเทศก็ได้ค่ะ  ฟังเพลงในแบบที่คุณแม่ชื่นชอบแต่ขอให้เป็นจังหวะสบาย   มีผลการวิจัยออกมาว่า เพลงหรือดนตรีคลาสสิคมีผลต่อสมองของเด็กให้ได้รับการกระตุ้นเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีต่อไป  การฟังเพลงคลาสสิคหรือเพลงที่ฟังสบายๆทำให้คุณแม่รู้สึกสบายใจ ผ่อนคลาย ลูกก็จะรับรู้ถึงความรู้สึกสบายใจ ผ่อนคลายตามไปด้วย จากผลการวิจัยเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ลูกสามารถจดจำเสียงดนตรีที่ลูกได้ยินมาบ่อยเมื่ออยู่ในครรภ์ และสามารถแยกแยะระดับเสียงดนตรีได้การฟังเพลงที่มีจังหวะและท่วงทำนองที่เป็นจังหวะซ้ำ ๆ กัน มีเสียงสูงต่ำ จะช่วยกระตุ้นเซลล์สมองของลูกได้เป็นอย่างดี

คลิปเพลงฟังสบายสไตล์แม่ท้อง : เพลงสากลคลาสสิค

คลิปเพลงฟังสบายสไตล์แม่ท้อง : แม่ท้องผ่อนคลายเพื่อสมาธิ (เพลงไทย)

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

คลิปเพลงฟังสบายสไตล์แม่ท้อง :  บรรเลงทำนองผสมผสานเสียงธรรมชาติ

https://www.youtube.com/watch?v=8p7WX14AfDE&list=RD8p7WX14AfDE#t=1

3. ออกกำลังกาย

การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ คนท้อง

การออกกำลังกายที่จะช่วยเสริมพัฒนาการให้ทารกในครรภ์  เรียกว่าแม่ท้องมีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตเด่น ย่อมส่งผลถึงลกในท้องก็จะดีตามไปด้วย การออกกำลังกายที่ชวยให้แม่ท้องสดชื่นอารมณ์ดี  เช่น

– การเดินการเดินถือเป็นการออกกำลังกายที่ดีมากสำหรับคนท้อง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินวันละ 30 นาทีดีต่อสุขภาพแม่ท้องและทารกในครรภ์  การเดินเป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่ง  เพียงแค่คุณแม่มีสมาธิจดจ่อกับการเดิน  เดินช้า ๆ ด้วยความระมัดระวัง  พยายามไม่คิดเรื่องอื่นใด  เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดหรือเหม่อลอยจนอาจเกิดการสะดุดหกล้มได้ การกระทำเช่นนี้ก็ช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายได้เหมือนกันนะคะ

บทความแนะนำ  เดิน 30 นาทีต่อวันดีต่อสุขภาพครรภ์

– การฝึกโยคะ  โยคะทั่วไปจุดประสงค์  ฝึกความแข็งแรง ทำให้หัวใจเต้นแรงเหนื่อยง่าย แต่โยคะคนท้องเราต้องพยายามให้เหนื่อยน้อยที่สุดการฝึกโยคะต้องยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพราะถ้าเราไม่ยืด กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่เตรียมจะรองรับน้ำหนักตัวของลูกในท้อง จะหนักขึ้นเรื่อยๆ มันจะไปลงอุ้งเชิงกราน นั่นก็คือ ช่วงสะโพก ก้น ต้นขา หากไม่เตรียมพร้อม จะรู้สึกเจ็บ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ได้ง่าย  ควรเริ่มฝึกตอนไตรมาสที่ 2 ค่ะ เพราะร่างกายเริ่มปรับตัวได้แล้ว  โยคะทำให้จิตใจสงบ  ร่างกายแข็งควบคู่กันไปค่ะ

– การว่ายน้ำ การว่ายน้ำดีต่อสุขภาพจิตของคุณแม่ เพราะช่วยลดความเครียด ช่วยให้ร่างกายสดชื่น  เมื่อร่างกายขยับในน้ำไม่ว่าจะเดินหรือว่ายน้ำ แรงดันของน้ำจะไหลเวียนผ่านตัวของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แรงดันของน้ำจะช่วยนวดตัว ทำให้ร่างกายผ่อนคลายและรู้สึกสดชื่นมากขึ้น ในขณะที่คุณแม่ลอยตัวเหนือน้ำ ช่วยให้แม่ท้องได้ลอยนิ่ง ๆ และสร้างสมาธิ มีความเย็นของน้ำช่วยให้จิตใจสงบ

บทความแนะนำ  คนท้องว่ายน้ำเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ดีเยี่ยม

4. การอ่านหนังสือ

การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ คนท้อง

คุณแม่เคยรู้สึกว่า  แม้ตาจะจดจ่ออยู่กับหน้าหนังสือ  แต่สมองกลับคิดอะไรมากมาย  กลับมาค่ะ!!กลับมา พยายามทำใจให้สงบ  บอกตัวเองว่าตอนนี้กำลังทำอะไร  ทำสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ  “อ่านหนังสือ  อ่านหนังสือ  อ่านหนังสือ”   ท่องไว้ในใจหากรู้สึกว่า  จิตของคุณแม่เริ่มคิดไปเรื่องอื่น  การทำจิตให้จดจ่อกับสิ่งที่ทำจะทำให้คุณแม่เกิดสมาธิ   สำหรับหนังสือที่อ่าน  คุณแม่สามารถเลือกอ่านหนังสือประเภทต่าง ๆ ได้ตามใจชอบ และที่สำคัญ ควรเลือกหนังสือที่อ่านแล้วรู้สึกผ่อนคลาย เนื้อหาไม่ควรหนักมากจนทำให้รู้สึกเครียด

5. เล่นเกม

การเล่นเกมก็สามารถช่วยให้คุณแม่คลายเครียดได้  เช่น   เล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ ต่อจิ๊กซอว์  เป็นต้น  นอกจากความเพลิดเพลิน และมีสมาธิแล้ว ยังเป็นการบริหารสมองอีกด้วย และการที่บริหารสมองอยู่เสมอจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ดีขึ้น ลดความเครียด ทำให้ใจสงบและรู้สึกสดชื่น ซึ่งส่งผลให้ลูกน้อยอารมณ์ดีไปด้วย

6. นอนหลับพักผ่อน

การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ คนท้อง

การนอนหลับเป็นวิธีการพักผ่อนที่ดีสำหรับแม่ท้อง การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ คือ  หลับได้สนิทและยาวนาน  ขอแนะนำวิธีการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ  เริ่มตั้งแต่การเตรียมตัวเข้านอน  ให้งดการออกกำลังกายหรือฝึกกายบริหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 – 4 ชั่วโมง  ไม่รับประทานอาหารหนักหรือดื่มน้ำมากจนเกินไป เพื่อให้กระเพาะอาหาร  ลำไส้ได้พักขณะหลับ ก่อนนอนดื่มนมอุ่นจะช่วยให้หนักท้องและนอนหลับง่าย

เมื่อถึงเวลานอนก็ต้องตั้งใจนอนจริง ๆ ค่ะ  ไม่ควรเปิดทีวี ดูหนัง ฟังเพลง หรืออ่านหนังสือ  ควรฝึกนอนให้เป็นเวลา  เพราะหากเราฝึกการเข้านอนเป็นเวลาเมื่อทำเป็นประจำพอรู้สึกง่วงก็จะนอนหลับได้ง่ายขึ้น

ท่านอนของคนท้องสำคัญนะคะ

คนท้องจะนอนหลับได้ดี  ท่นอนก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะตอนนี้ร่างกายไม่เหมือนเดิมแล้ว  การนอนจำเป็นต้องจัดระเบียบให้ร่างกายค่ะเพราะท่านอนที่เหมาะสมจะทำให้คุณแม่นอนหลับง่าย ท่านอนที่ดีที่สุด คือ การนอนตะแคงซ้าย จะช่วยป้องกันไม้ให้มดลูกกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ ทำให้เลือดจากขาไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้น ช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดี ทำให้ไตสามารถขับของเสียได้ตามปกติ  ในขณะที่นอนคุณแม่ควรหาหมอนหลาย ๆใบ มาหนุนรองตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะทำให้นอนหลับสบายขึ้น เพราะหมอนข้างจะช่วยรองรับน้ำหนักบริเวณแขนและขาได้

ท่านอนที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง คือ  ท่านอนหงาย เนื่องจากมดลูกตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ขึ้นไป จะเริ่มมีขนาดโตอาจไปกดทับเส้นเลือดใหญ่บริเวณกลางลำตัว ทำให้เกิดอาการเท้าบวม  เส้นเลือดขอด  ริดสีดวงทวารหรือบางครั้งอาจกดทับจนเส้นเลือดไหลกลับไม่ได้  ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง เกิดอาการใจสั่นหรือวิงเวียนศีรษะ

ได้ทราบกันแล้วนะคะว่าหลากหลายอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงของคนท้องในช่วงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง พร้อมกับวิธีการคลายเครียดฉบับแม่ท้อง  เครียดได้ก็หายได้  เป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนรวมไปถึงคุณพ่อนะคะที่ต้องเจอศึกหนักจากอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ แต่เชื่อเถอะคะว่ามันเป็นเพียงระยะเดียวเท่านั้น  หากคุณแม่รู้ทันอารมณ์และพยายามควบคุมด้วยการหากิจกรรมต่าง ๆ มาช่วยผ่อนคลาย ทุกอย่างจะดีขึ้นเอง

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ เตรียมตัวคลอดอย่างไรให้ปลอดภัย ทั้งแม่และเด็ก ผู้เขียน พ.ญ.ภักษะ เมธากูล

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของแม่ท้องทั้ง 3 ไตรมาส

10 วิธีกระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจให้ลูกในท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • รับมือ!!!หลากอารมณ์คนท้องต้องเข้าใจ
แชร์ :
  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว