สภาวะการ มีบุตรยาก คือความไม่สามารถปฏิสนธิหรือมีบุตรได้ ของชายหรือหญิงและภาวะนี้ยังหมายถึงผู้หญิงที่มีอาการแท้งบุตรตามธรรมชาติ ผู้ชายเป็นหมันก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ร้อยละ 15 ของคู่สามี ภรรยาในประเทศไทยไม่สามารถมีลูกได้ภายในช่วง 12 เดือนที่พยายามจะมีลูก อรอุมา อายุ 39 ปี เคยพยายามมีลูกประมาณเกือบ ๆ ปี แต่เมื่อเธอไม่สามารถมีลูกได้ เธอเริ่มโทษตัวเธอเองว่าเป็นหมัน แต่หลังจากที่เธอและสามีตรวจร่างกายแล้วพบว่าสามีของเธอต่างหากที่เป็นหมัน
ภาวะการ มีบุตรยาก คืออะไร
ภาวะการมีบุตรยากคือความไม่สามารถปฏิสนธิหรือมีบุตรได้ ของชายหรือหญิงและภาวะนี้ยังหมายถึงผู้หญิงที่มีอาการแท้งบุตรตามธรรมชาติ ความเข้าใจผิดของภาวะเป็นหมันที่พบได้บ่อยคือผู้หญิงเป็นหมันได้เท่านั้นแต่หนึ่งในสามของกรณีที่พบเกิดจากสาเหตุจากฝ่ายชายคือผู้ชายเป็นหมัน
ปัญหาการมีบุตรยากคือปัญหาที่ผู้หญิงหรือผู้ชาย คนใดคนหนึ่งที่มีปัญหาในการผลิตทายาท รวมถึงผู้หญิงที่แท้งบุตรด้วย โดยส่วนใหญ่ปัญหามีบุตรยากมักเกิดกับผู้หญิง แต่ 1 ใน 3 ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากฝั่งผู้ชายเช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว 1 ใน 7 ของคู่รักทั่วโลกจะมีปัญหานี้
อะไรคือความเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหามีลูกยาก
มีหลายปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหามีบุตรยาก แต่จะแตกต่างกันไปสำหรับหญิงชาย
- ปัจจัยเสี่ยงสำหรับผู้ชาย คือ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด บุหรี่ อายุที่มากขึ้น กัมมันตภาพรังสี การทำคีโม และปัญหาสุขภาพ
- ปัจจัยเสี่ยงของผู้หญิง คือ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด บุหรี่ อายุที่มากขึ้น ความเครียด การควบคุมอาหารที่ไม่ถูกต้อง ปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนัก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป หรือแม้กระทั่งการฝึกกีฬาต่าง ๆ ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการมีบุตรยากด้วย
ภาวะการมีบุตรยากพบบ่อยแค่ไหน
โดยทั่วไปแล้ว หนึ่งในเจ็ดคู่สามีภรรยาทั่วโลกมีปัญหาการมีบุตรยาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาล้วนมีสาเหตุคล้าย ๆ กัน สำหรับประเทศไทย อัตราการมีบุตรยากอยู่ที่ประมาณร้อยละ 15 ของประชากรทั่วประเทศ
สาเหตุที่ไม่ท้อง สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก
สาเหตุการมีบุตรยากนั้นมีมากมายและสาเหตุเหล่านั้นก็ยังขึ้นอยู่กับเพศด้วยเช่นกัน
- สาเหตุส่วนมากของฝ่ายชาย คือ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด การสูบบุหรี่ อายุ สารรังสี เคมีบำบัดและปัญหาทางสุขภาพ
- สาเหตุส่วนมากของฝ่ายหญิง คือ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด การสูบบุหรี่ อายุ ความเครียด อาหารการกินที่ไม่ดี ปัญหาน้ำหนักตัว โรคติดต่อทางเพศ ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนหรือแม้แต่การออกกำลังกาย
ดอกเตอร์ เขียร์ร่า โลห์ สูตินรีแพทย์กล่าวไว้ว่าสาเหตุการมีบุตรยาก หลัก ๆ มีสามประการ คือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปัญหาการตกไข่ (การตกไข่หลายใบหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมน) และปัญหาของผู้ชาย สำหรับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่นั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีอาการเซลล์เติบโตผิดที่ ปกติเซลล์ที่เติบโตภายในมดลูกกลับเกิดเติบโตนอกมดลูก สำหรับปัญหาการตกไข่หลายใบนั้นเกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ร้อยละ 5-10 โดยมักมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติหรือไม่มีเลย
บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากท้องทำไงดี ทำไมถึงมีลูกยาก เคลียร์ทุกปัญหาคาใจ พร้อมวิธีแก้ไข
สาเหตุและวิธีการรักษาสำหรับภาวะการมีลูกยากสำหรับฝ่ายชาย
การรักษาภาวะการมีบุตรยากสำหรับฝ่ายชาย มีหลายวิธีและการเลือกวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและความสบายใจในการรักษาของคนไข้
ความผิดปกติของฮอร์โมนสองส่วนจากต่อมใต้สมอง คือฟอลลิเคิล สติมิวเลติงฮอร์โมน (follicle stimulating hormone หรือ FSH ) และลูทิไนซิงฮอร์โมน (luteinizing hormone หรือ LH) ความผิดปกตินี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เกิดหรือเป็นผลข้างเคียงจากการรักษาโรคอื่น ๆ โดยปกติแล้วคนไข้จะมีอาการหลั่งน้ำเชื้อโดยไม่มีตัวอสุจิและและฮอร์โมนเพศชายลดน้อยลงจนไม่มี
การรักษาสาเหตุการขาดฮอร์โมน LH และ FSH คือการสร้างสเปิร์มให้ทำงานโดยทันทีและการตั้งครรภ์มักจะเกิดขึ้นหลังจากการรักษาไม่นาน ร้อยละ 6 ของผู้ชายที่มีปัญหาการมีบุตรยากมีสาเหตุจากการขัดขวางของการขนถ่ายสเปิร์มเนื่องจากปัญหาการพัฒนาของระบบอวัยวะสืบพันธุ์เคยติดเชื้อมาก่อนหรือการตัดท่อนำอสุจิทิ้งในอดีต การผ่าตัดต่อท่อนำอสุจินั้นสามารถทำได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำอสุจิมาใช้ผสมเทียมในหลอดแก้ว (IVF) เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ การรักษาทางการแพทย์เช่น การใช้เสริมสเตอรอยด์และการรักษาแบบทำลายเซลล์ ปกติการผลิตสเปิร์มรักษาได้โดยการหยุดยาหรือการเปลี่ยนยา
-
ภาวะปัญหาภูมิคุ้มกันสเปิร์ม
สาเหตุของปัญหานั้นไม่ชัดเจนนัก ภาวะปัญหาภูมิคุ้มกันสเปิร์มจะเป็นสาเหตุในการมีบุตรยาก เนื่องจากมีการลดจำนวนการเคลื่อนไหวของสเปิร์มและมีผลต่อการปฏิสนธิอย่างรุนแรง โอกาสการตั้งครรภ์จะมีเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการรักษาภาวะปัญหาภูมิคุ้มกันสเปิร์ม แต่อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีวิธีการปฏิสนธิในหลอดแก้วเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี
ปัญหานี้ประกอบไปด้วยการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากอวัยวะเพศชายแข็งตัวไม่เพียงพอ ปัญหาการหลั่งน้ำอสุจิ การมีเพศสัมพันธ์กันน้อยครั้ง และเวลาที่ไม่เหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์ การเข้ารับคำปรึกษาอย่างเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญเป็นการรักษาวิธีหนึ่งที่นิยมกัน
เด็กหลอดแก้วคืออะไร เด็กหลอดแก้วเกี่ยวข้องกับการนำไข่และสเปิร์มมาปฏิสนธิกันจากการเลือกโดยธรรมชาติ ไข่โดยทั่วไปจะยอมให้สเปิร์มเพียงตัวเดียวเข้าไปปฏิสนธิและหลังจากนั้นจะนำไปสู่กระบวนการปฏฺิสนธิในห้องปฏิบัติการ หลังจากปฏิสนธิแล้ว ตัวอ่อนจะโตขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะนำกลับเข้าไปในมดลูก การตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จจะได้รับการยืนยันสองสัปดาห์หลังจากนั้น
ปัจจัยของการมีบุตรยากในคู่สมรสฝ่ายหญิง
- สุขภาพกาย ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่ มีผลทำให้ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์น้อยลง ทำให้โอกาสของการตั้งครรภ์น้อยลงด้วย
- สุขภาพจิต ความเครียด ความวิตกกังวล โรคจิต โรคประสาท มีผลทำให้การทำงานของรังไข่ผิดปกติ มีการตกไข่นาน ๆ ครั้ง หรือไม่มีการตกไข่เลย
- ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งจะมีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์โดยตรง
- ความผิดปกติในช่องเชิงกราน เช่น มีเยื่อพังผืด เนื้องอก ซึ่งยึดเบียดทำให้ท่อนำไข่ทำงานได้ไม่ปกติ
- ความผิดปกติของการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ เช่น ไฮโปธาลามัส ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ และต่อมหมวกไต เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 สิ่งที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ และ พฤติกรรมที่ทำให้มีลูกยาก
ใครที่เหมาะที่จะทำเด็กหลอดแก้ว
เด็กหลอดแก้วเหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีท่อนำไข่ที่เสียหายหรืออุดตันและแก้ไขไม่ได้ เด็กหลอดแก้วยังเหมาะสำหรับผู้หญิงที่เป็นหมัน ไม่สามารถมีบุตรได้ตามวิธีการหรือสภาวะปกติ เนื่องจากมีอาการของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การตกไข่ผิดปกติ การเป็นหมันโดยไม่ทันตั้งครรภ์ ปัญหาด้านสเปิร์มและปัญหาด้านภูมิคุ้มกัน
อัตราการประสบความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วในโรงพยาบาลในประเทศไทยมีประมาณร้อยละ 30-35 และร้อยละ 25-27 สามารถคลอดลูกโดยใช้การผสมเทียมเด็กหลอดแก้ว นอกจากนี้ยังมีการเก็บตัวอ่อนแช่แข็งซึ่งสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ของคนไข้จำนวนมากทีเดียว
การทำอิ๊กซี่คืออะไร (ICSI)
อิ๊กซี่หรือการฉีดสเปิร์ม (Intra-Cytoplasmic Sperm Injection – ICSI) เป็นการฉีดสเปิร์มแต่ละตัวเข้าไปในไข่แต่ละฟองเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการ
ใครเหมาะที่จะทำอิ๊กซี่ (ICSI)
อิ๊กซี่เหมาะสำหรับสามีที่มีปัญหาสเปิร์มไม่มีคุณภาพหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิสนธิในอดีต มันเป็นเรื่องปกติที่คุณจะรู้สึกท้อแท้หรือหมดกำลังใจถ้าคุณค้นพบว่าคุณเป็นหมัน แต่จำไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวและนี่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีโอกาสมีลูกสักหน่อย ถ้าคุณลองทุกวิธีแล้วแต่ก็ยังล้มเหลว การอุปถัมภ์และรับเด็กมาเป็นลูกบุญธรรมก็ยังเป็นตัวเลือกที่ดีให้คุณลองตัดสินใจดู
ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง การที่คู่สมรสไม่สามารถมีการตั้งครรภ์ได้ โดยที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกันอย่างสม่ำเสมอและไม่ได้คุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือระยะเวลา 6 เดือนในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหญิงที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ภาวะมีบุตรยากแบบปฐมภูมิ (Primary infertility) หมายถึง ภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่ไม่เคยมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นมาก่อนเลย ภาวะมีบุตรยากแบบทุติยภูมิ (Secondary infertility) หมายถึง ภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่เคยมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยที่ไม่ว่าการตั้งครรภ์นั้นที่เป็นการตั้งครรภ์ที่สิ้นสุดลงด้วยการแท้งหรือการคลอดก็ตาม
Fecundability หมายถึง โอกาสที่คู่สมรสจะตั้งครรภ์ในหนึ่งรอบประจำเดือน ซึ่งคู่สมรสปกติมี fecundability rate อยู่ที่ประมาณร้อยละ 20-25 และจะเป็นอัตราที่คงที่ทุกรอบเดือน แต่จากการศึกษาพบว่า อัตราการตั้งครรภ์รวมใน 1 ปี คือ ร้อยละ 93 และภายใน 3 เดือนแรก ประมาณร้อยละ 50 ของคู่สมรสจะตั้งครรภ์ได้ แต่ในเดือนที่ 4 – 6 มีคู่สมรสเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่สามารถตั้งครรภ์ได้ อัตราดังกล่าวมานี้เป็นกุญแจสำคัญในการรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้น เพื่อเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ให้เท่าหรือใกล้เคียงกับคู่สมรสปกติ คือ ร้อยละ 20-25
บทความที่เกี่ยวข้อง : การทำ IVF หรือ เด็กหลอดแก้ว มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
Fecundity หมายถึง โอกาสที่คู่สมรสจะมีการตั้งครรภ์และการตั้งครรภ์นั้นสามารถดำเนินไปจนถึงการคลอดบุตรมีชีพ ภายใน 1 รอบประจำเดือน โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 85 ของคู่สมรสจะสามารถมีบุตรได้ภายใน 1 ปี หลังการแต่งงาน และประมาณร้อยละ 95 ของคู่สมรสจะมีบุตรได้ภายใน 2 ปี แต่ภาวะมีบุตรยากมีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหาที่เพิ่มความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมทางเพศของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน และการเปลี่ยนคู่เพศสัมพันธ์บ่อย ๆ การทำแท้งผิดกฎหมายที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเกิดการอักเสบติดเชื้อของอวัยวะในช่องเชิงกรานได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยาก
อีกทั้งในปัจจุบันนี้สตรีมีโอกาสได้รับการศึกษาสูงขึ้น พร้อมที่จะแต่งงานและมีบุตรช้าลง ทำให้อุบัติการณ์การมีบุตรยากในปัจจุบันสูงเพิ่มมากขึ้น อุบัติการณ์ของภาวะมีบุตรยากในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาพบว่ามีประมาณร้อยละ 12 ในฝ่ายหญิงที่มีอายุ 15-44 ปี ซึ่งอุบัติการณ์ในประเทศไทยก็พบว่า มีอัตราที่ไม่แตกต่างกัน
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากนี้พบได้แตกต่างกันไปในแต่ละคู่สมรส สาเหตุอาจเกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายได้ ส่วนการรักษาเพื่อช่วยให้มีบุตรก็แตกต่างกันตามสาเหตุของแต่ละคู่สมรส ซึ่งมีได้ตั้งแต่ระดับที่ง่าย ๆ ไปจนถึงการช่วยเหลือในขั้นสูงด้วยวิธีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น เด็กหลอดแก้ว การทำอิ๊กซี่ เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติ
การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ
- ฝ่ายชายสามารถสร้างตัวอสุจิที่มีจำนวน รูปร่าง และการเคลื่อนไหวในเกณฑ์ปกติ
- ท่อนำอสุจิของฝ่ายชายไม่มีการอุดตัน
- ฝ่ายชายมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ และสามารถหลั่งน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอดได้
- ตัวอสุจิต้องเคลื่อนที่เข้าไปถึงปากมดลูก ผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก และเข้าไปตามท่อนำไข่ เพื่อปฏิสนธิกับไข่ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
- ฝ่ายหญิงสามารถผลิตไข่ที่ปกติได้ และมีการตกไข่เข้าไปในท่อนำไข่ได้
- ไข่ที่ถูกผสมเป็นตัวอ่อนที่ปกติแล้ว ต้องเคลื่อนเข้าไปในโพรงมดลูกได้ และมีการฝังตัวเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูกที่พร้อมรองรับการฝังตัว
- ตัวอ่อนที่ฝังตัวแล้ว สามารถเจริญเป็นทารกต่อไปได้
ความสามารถในการมีบุตรของคู่สมรส
ความสามารถในการมีบุตรของคู่สมรสขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- อายุของฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงที่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี จะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการมีบุตรได้สูงสุด และหลังจากนั้นโอกาสของการตั้งครรภ์จะค่อย ๆ ลดลง ตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นหากคู่สมรสที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป และพยายามมีบุตรมาเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือน ก็ควรได้รับการตรวจและรักษาภาวะมีบุตรยากได้
- อายุของฝ่ายชาย ในคู่สมรสที่ฝ่ายชายมีอายุ 55 ปี ขึ้นไป จะมีความผิดปกติของอสุจิมากขึ้น
- ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ มีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์ เนื่องจากอสุจิที่สร้างขึ้นมาใหม่มีคุณภาพดีและแข็งแรงกว่าอสุจิที่สร้างมานานแล้ว และตัวอสุจิจะสามารถมีชีวิตอยู่ในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิงได้ประมาณ 2 วัน ดังนั้นความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมคือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ระยะเวลาของการแต่งงาน ในระยะเวลา 18 เดือนแรกของการแต่งงาน อัตราการตั้งครรภ์สะสมจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 60, 80 และ 90 หลังการแต่งงาน 6 เดือน 12 เดือน และ 18 เดือนตามลำดับ แต่หลังจากนั้นหากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น อาจเกิดจากสาเหตุของการมีบุตรยาก ซึ่งต้องการการตรวจวินิจฉัยและการรักษา
ถึงแม้ภาวะ มีบุตรยาก จะสร้างความปวดใจให้แก่ครอบครัวที่อยากมีลูกเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีก้าวหน้าที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำอิ๊กซี่ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง และการทำเด็กหลอดแก้ว การรักษาเหล่านี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีลูกได้ง่ายขึ้น
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
5 เคล็ดลับ เปลี่ยนฮวงจุ้ยคุณแม่มีลูกยาก เปลี่ยนปุ๊บท้องปั๊บ
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ขอลูก มีลูกยากต้องไปขอ! ขอแล้วได้ลูก แน่นอนแม่
ความเครียด ทำให้มีลูกยากจริงไหม? แม่เครียดมาก ๆ กลัวตั้งครรภ์ไม่ได้
ที่มา : w1.med.cmu.ac.th
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!