X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกแรกเกิดร้องไห้ มีสาเหตุมาจากอะไร? ไม่สบายหรือไม่?

บทความ 5 นาที
ทารกแรกเกิดร้องไห้ มีสาเหตุมาจากอะไร? ไม่สบายหรือไม่?

อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าที่ ทารกแรกเกิดร้องไห้ นั้นจะร้องหนักในช่วง 1-3 เดือนแรก ทำให้คุณแม่หรือคุณพ่อมือใหม่ไม่มีเวลานอน เพราะว่าต้องคอยโอ๋ตลอดเวลา เรามาดูกันดีกว่าความจริงแล้วพวกเขาที่ร้องไห้นั้นต้องการจะสื่อสารอะไรกันแน่

 

ทำไม ทารกแรกเกิดร้องไห้ เกือบจะตลอดเวลา?

ทารกแรกเกิดมักจะร้องไห้วันละ 2 ถึง 3 ชั่วโมง ถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติมาก ซึ่งอาการเหล่านี้คงทำให้ผู้ปกครองอย่างคุณเป็นกังวลเป็นอย่างมากว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขาหรือเปล่า แต่ในบางครั้งสาเหตุของการร้องไห้ของพวกเขาก็ไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าพวกเขาเป็นอะไร หรือต้องการสิ่งใด แต่การร้องไห้นั้นเป็นการสื่อถึงคุณแน่นอน ดังนั้นเราจึงรวบรวมอาการของทารกแรกที่มักจะร้องไห้มาให้ ดังต่อไปนี้

 

1. ทารกอาจหิวนม

มีความเป็นไปได้มากที่สุดหากพวกเขายังไม่ได้ทานนม ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกของเด็กแรกเกิดนั้น พวกเขาจะร้องหิวบ่อยครั้งหรือทุก ๆ 2 ชั่วโมง เมื่อพวกเขาต้องการนม เขาจะส่งเสียงร้องสั้น ๆ และเสียงต่ำขึ้น ๆ ลงๆ

ทารกแรกเกิดร้องไห้ 2

 

2. ความเหนื่อยล้า

เด็กที่ขยับตัว หรือเล่นหยอกล้อกับผู้ใหญ่มากจนเกินไปอาจส่งผลทำให้พวกเขาเกิดความเหนื่อยล้าได้ ทั้งนี้รวมถึงการถูกกระตุ้นให้ตื่นเมื่อมีญาติ หรือบุคคลภายนอกมาเยี่ยมมากจนเกินไป ซึ่งสิ่งนี้อาจส่งผลทำให้พวกเขากลายเป็นทารกที่นอนหลับยากมากยิ่งขึ้น

 

3. โรคภูมิแพ้

ทารกที่เกิดมาช่วง 1-3 เดือนแรกส่วนใหญ่จะดื่มนมของแม่ ซึ่งการทานอาหารบางชนิดของคุณแม่นั้นสารอาหารจะส่งผ่านน้ำนมไปยังทารกได้ หากทารกมีการสารอาหารเหล่านั้นอาจส่งผลทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบายท้อง และร้องไห้เพราะรู้สึกไม่สบายตัวได้ ซึ่งทารกนั้นอาจแพ้นมวัว ถั่ว ข้าวสาลี หรืออาหารอื่น ๆ คุณแม่ควรระวังเรื่องการรับประทานด้วย
บทความที่น่าสนใจ : ตอบข้อสงสัย ลูกแพ้นมวัว ได้อย่างไร ? แม่กินนมวัว ทำให้ลูกแพ้โปรตีนนมวัว จริงหรือ ?

 

4. กรดไหลย้อน

หากทารกร้องไห้ออกมาหลังจากดื่มนมเสร็จนั้นอาจเป็นสัญญาณของอาการเสียดท้อง แต่หากทารกของคุณได้ดื่มนมจากขวดนมนั้นอาจเป็นอาการที่เกิดจากการได้กลืนอากาศเข้าไปในท้องมากจนเกินไป ดังนั้นหลังดื่มนมเสร็จคุณควรทำให้พวกเขาเรอก่อนที่จะปล่อยให้พวกเขานอนหลับ

 

5. การนอนหลับ

ทารกช่วง 6 เดือนแรกพวกเขาสามารถหลับได้ด้วยตัวของพวกเขาเองเมื่อพวกเขารู้สึกง่วงนอน แต่ในบางครั้งพวกเขาก็ไม่สามารถนอนหลับลงได้หากคุณไม่ได้อยู่ข้าง ๆ หรือคอยกล่อมเขา รวมทั้งการที่พวกเขาอยู่นอกสถานที่ที่อาจทำให้พวกเขารู้สึกแปลกตา หรือไม่ปลอดภัยจึงทำให้เขาไม่สามารถหลับได้ ถึงเป็นเหตุทำให้พวกเขาร้องไห้งอแง

 

ทารกแรกเกิดร้องไห้ 3

 

6. ไม่สบายตัวจากผ้าอ้อม

ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเด็กมากแต่พวกเขาก็ทราบเป็นอย่างดีว่าอะไรที่พวกเขาไม่ชอบ หรือสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งผ้าอ้อม หรือแพมเพิสที่เราใส่ให้กับทารกนั้นอาจมีของเสียจำนวนมากจนเกินไป ทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบายตัวได้ หรือแม้กระทั่งการถูกกัดบริเวณผิวหนังที่ทำให้พวกเขาร้องไห้

 

7. ภาวะโคลิก

ทารกที่มีอาการดังกล่าวมักพบในทารกแรกเกิดประมาณ 1 ใน 5 คนที่พบอาการ ซึ่งจะมีการร้องไห้ออกมามากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง และมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนแรกหลังคลอด โดยการร้องไห้นี้สังเกตได้จากการร้องที่ดังขึ้น และเสียงสูงขึ้นกว่าปกติ ใบหน้าของทารกจะแดง ท้องนูน และ งอตัว กำมือ ขาของทารกจะพันเกี่ยวกันไว้
บทความที่น่าสนใจ : 7 วิธีสังเกตอาการ ลูกร้องโคลิก

 

8. อาการป่วย

หรือเกิดโรค สำหรับอาการนี้ถือว่าเป็นอาการที่อันตรายสำหรับทารกแรกเกิดมาก โดยนอกจากพวกเขาจะร้องไห้แล้วยังมีอาการอื่นร่วมด้วย อาทิ น้ำมูกไหล ไอ มีไข้ ง่วง ขยับตัวน้อยลง อาเจียน ท้องร่วมหรือท้องผูก หากพบอาการดังกล่าวให้พาไปพบแพทย์ในทันที

 

9. อากาศร้อนหรือหนาวจนเกินไป

ทารกแรกเกิดนั้นมักอ่อนไหวกับอุณหภูมิภายนอกเป็นอย่างมากคุณควรดูให้แน่ใจว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ในที่ที่ร้อง หรือหนาวจนเกินไป เพราะอากาศอาจส่งผลทำให้พวกเขาป่วยได้

 

10. การงอกของฟัน

ทารกสามารถเริ่มงอกฟันได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน และเมื่อมีการงอกนั้นก็ทำให้มีอาการปวดตามมา คุณสามารถสังเกตการณ์กระทำของทารกได้จากน้ำลายของพวกเขาจะไหลออกมาเป็นจำนวนมาก และมักจะคว้าสิ่งของที่อยู่ใกล้มือมาเข้าปาก รวมถึงการที่พวกเริ่มดูดนิ้วมือบ่อยมากยิ่งขึ้น หากพวกเขาร้องไห้เพราะการงอกของฟันคุณอาจใช้มือนวดเบา ๆ บริเวณเหงือกเพื่อคลายความเจ็บปวดให้กับพวกเขาได้

 

11. ต้องการความสนใจ

ในบางครั้งคุณอาจต้องการให้ทารกของคุณนอนในที่ที่เงียบสงบ หรือคุณเองก็อยากมีเวลาพักผ่อนส่วนตัวในช่วงที่ทารกนอนหลับ แต่ในทางกลับกัน ลูกน้อยของคุณอาจต้องการมีคุณอยู่ข้างกายตลอดเวลา หากพวกเขาตื่นมาแล้วไม่พบคุณ หรือคุณอาจจะอยู่ใกล้ ๆ แต่สายตาของพวกเขามองไม่เห็นคุณก็อาจส่งเสียงร้องออกมาได้ เพราะพวกเขานั้นต้องการเรียกความสนใจจากคุณ และให้คุณอยู่กับเขาตลอดเวลานั่นเอง ซึ่งในกรณีนี้เมื่อคุณอุ้ม หรืออยู่ในสายตาของพวกเขาแล้วก็จะสงบลงเอง
บทความที่น่าสนใจ : 8 ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง ปลอดภัยและสบายสำหรับลูก ท่าอุ้มลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่

 

ทารกแรกเกิดร้องไห้ 4

บทความจากพันธมิตร
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
ชวนคุณแม่ ฝึกลูกน้อยเคลื่อนไหว เสริมพัฒนาการร่างกาย ในวัยขวบปีแรก
ชวนคุณแม่ ฝึกลูกน้อยเคลื่อนไหว เสริมพัฒนาการร่างกาย ในวัยขวบปีแรก
วิธีเลือก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ให้ปลอดภัย ลูกใส่สบาย ไม่งอแง คุณแม่เบาใจ
วิธีเลือก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ให้ปลอดภัย ลูกใส่สบาย ไม่งอแง คุณแม่เบาใจ

 

วิธีทำให้ทารกหยุดร้องไห้

วิธีที่ดีที่สุดในการปลอบทารกที่กำลังร้องไห้ คือ คุณต้องเข้าใจก่อนว่าทำไมทารกถึงร้องไห้ และพวกเขาร้องไห้มาจากสาเหตุอะไร เพื่อที่คุณจะได้ตอบสนองความต้องการ หรือปฏิบัติตัวกับต่อพวกได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็วที่สุด หลายครั้งที่ผู้ปกครองมักจะแก้ปัญหาด้วยการปลอบให้เงียบก่อนเป็นอันดับแรก จึงทำให้ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการร้องไห้นั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามการทำให้ทารกหยุดร้องไห้ ไม่ว่าจะเป็นจากสาเหตุใดก็ตามมีดังต่อไปนี้

  • ห่อตัว

    ทารกชอบการถูกห่อตัวไว้ในผ้า เพราะการห่อนั้นทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย และทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนตอนที่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ และหลังจากห่อตัวพวกเขาเสร็จคุณควรที่จะอุ้มพวกเขาแนบกับอก เพื่อทำการปลอบให้เขาหยุดร้อง

  • การกระซิบเบา ๆ

    การกระซิบเบา ๆที่หูของทารกโดยตรง ซึ่งเสียงที่คุณเปล่งออกไปจะต้องเป็นเสียงที่แผ่วมาก ถึงมากที่สุด อาจใช้คำว่า “ชู่” เบา ๆ ซึ่งเสียงกระซิบของคุณจะเหมือนกับเสียงที่พวกเขาได้ยินตอนที่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่นั้นเอง หากพวกเขาร้องไห้เสียงดังขึ้น คุณสามารถเพิ่มระดับเสียงขึ้นตามได้เพื่อให้เขาได้ยินอย่างชัดเจน

  • อุ้มโยก หรือแกว่งเบา ๆ

    หากพวกเขาร้องไห้ขณะที่อยู่ในเปล โดยที่ไม่ใช่เวลาตื่นนอนตามปกติของพวกเขาคุณสามารถแกว่งเปลไปมาเบา ๆ เพื่อให้เขาสงบลงได้ หรือหากคุณอุ้มพาเขาขึ้นมาแล้ว สามารถกอดปลอบและโยกตัวพวกเขาเบา ๆ ไปมา เพราะว่าพวกเขาจะชินกับการโยกตัวไปมา หรือการเคลื่อนไหวในรูปแบบนี้ตอนที่อยู่ในครรภ์ แล้วจะทำให้พวกเขาสงบลง

  • จุกนมปลอม

    การใช้จุกนมปลอมมักจะถูกใช้กับเด็กที่เริ่มจะมีฟันงอกออกมา หรือประมาณ 4 เดือน ซึ่งสาเหตุที่เขาร้องมักเกิดจากการเตรียมตัวงอกของฟัน เขาจะอยากเคี้ยว หรือปวดบริเวณเหงือก ดังนั้นการใช้จุกนมปลอมสามารถทำให้พวกเขารู้สึกเจ็บปวดน้อยลง และสงบลงได้

 

ทารกแรกเกิดร้องไห้ 5

 

เมื่อทำทุกวิธีแล้ว ทารกไม่หยุดร้องจะต้องทำอย่างไร?

สำหรับคุณพ่อคุณแม่คงเป็นกังวลเป็นอย่างมาก หากได้ยินเสียงของลูกร้องไห้งอแงเป็นเวลานานไม่หยุดสักที แต่ของให้เข้าใจก่อนว่าในช่วงแรกเกิดการร้องไห้ของทารกนั้นเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกของการลืมตาดูโลก พวกเขาจะร้องไห้เกือบจะตลอดเวลา นั่นคือเรื่องธรรมชาติ และจะเป็นแบบนี้จนเข้าเดือนที่ 2 และความถี่ของการร้องไห้จะเริ่มลดลงตามอายุของทารกที่มากขึ้น

 

การร้องไห้ของทารกแรกเกิดนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติของพวกเขาที่ไม่ชินกับสภาพแวดล้อมภายนอกครรภ์มารดา อาจทำให้พวกเขาร้องไห้บ่อยจนเกินไป ขอเป็นกำลังให้คุณพ่อคุณแม่ในช่วงเริ่มต้นด้วยนะคะ แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณก็ควรตรวจสอบให้ดีว่าการร้องนั้นไม่ได้มาจากสาเหตุของอาการป่วย เพื่อความปลอดภัยของทารกน้อยด้วยนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

ลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ มีสาเหตุมาจากอะไร? ฝันร้ายหรือเปล่า

ร้องไห้ อาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์

เทศกาล เด็กร้องไห้ Naki Sumo เด็กคนไหนร้องไห้ก่อน คนนั้นชนะ

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ทารกแรกเกิดร้องไห้ มีสาเหตุมาจากอะไร? ไม่สบายหรือไม่?
แชร์ :
  • การร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร

    การร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร

  • ทารกร้องไห้ ไม่หยุด ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี ?

    ทารกร้องไห้ ไม่หยุด ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี ?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • การร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร

    การร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร

  • ทารกร้องไห้ ไม่หยุด ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี ?

    ทารกร้องไห้ ไม่หยุด ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี ?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว