คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกไตรมาส จะช่วยให้ช่วงเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่ดี แทนที่จะเป็นช่วงเวลาคุณแม่ต้องเจอกับอะไรต่าง ๆ มากมาย ไหนจะความกังวลกับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดขึ้น หรือเกี่ยวกับสุขภาพและอาการของลูกน้อยในท้อง รวมถึงการดูแลตัวเอง และเรื่องความเชื่อต่าง ๆ หากคุณแม่คนไหนที่มีคำถามคาใจและไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร ลองมาดู คู่มือ ไตรมาสการตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่มือใหม่กันค่ะ
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์เดือนที่ 1 : ตั้งสติ
ความรู้สึกของคุณแม่เมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์อาจมีหลากหลายทั้ง ตื่นเต้น ดีใจ ตกใจ ทำอะไรไม่ถูก ในเดือนแรกนี้ ขอให้คุณแม่กินให้อิ่ม นอนให้หลับ และตั้งสติว่าคุณกำลังจะมีสมาชิกตัวน้อยเพิ่มขึ้นมาในครอบครัวแล้วจริง ๆ และช่วงเวลาต่อไปนี้จนถึงวันคลอดคือการเตรียมพร้อมหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตัวเองและลูกน้อยในครรภ์
บทความแนะนำ
- คนท้องเริ่มฝากครรภ์ได้เมื่อไหร่ ฝากครรภ์ช้าสุดกี่เดือน จำเป็นต้องฝากครรภ์ไหม?
- อาการคนท้อง เป็นยังไง เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ อาการแบบไหนที่บอกว่าท้องชัวร์!!
- คนท้องต้องตรวจอะไรบ้าง การตรวจโรคของ คนท้องแต่ละไตรมาส ฝากครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์เดือนที่ 2 : ดูแลสุขภาพ
ลูกน้อยของคุณแม่จะแข็งแรงไม่ได้เลย ถ้าตัวคุณแม่เองยังไม่แข็งแรง ดังนั้น พฤติกรรมการกิน การนอน และการออกกำลังกายของคุณแม่เป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพของลูกน้อยอย่างยิ่ง คุณแม่ต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักใบเขียว ธัญพืชเต็มเมล็ด พักผ่อนอย่างเพียงพอ เลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะกับคนท้อง เช่น เดินหรือวิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ โยคะ เป็นต้น
บทความแนะนำ
- 10 สุดยอดผลไม้อุดมไปด้วยแคลเซียมที่แม่ท้องต้องกิน
- โฟเลต คืออะไร ทำไมคนท้องถึงควรกิน อาหารที่มีโฟเลตสูง มีอะไรบ้าง
- คนท้องดื่มน้ำกี่ลิตร คนท้องกินน้ำเย็นดีไหม คนท้องกินน้ำมากเป็นไรไหม แม่ท้องต้องกินน้ำกี่แก้วต่อวัน
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์เดือนที่ 3 : เริ่มต้นบอกข่าวดี
เมื่อคนอื่น ๆ เริ่มรู้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ ความช่วยเหลือ คำแนะนำต่าง ๆ จะหลั่งไหลเข้ามา รวมถึงของใช้มือสองจากคุณแม่ที่มีลูกก่อนคุณด้วย คุณจะรับรู้ได้ว่าใครที่จะเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับคุณ ซึ่งจะช่วยให้การเตรียมตัวรับเจ้าตัวน้อยง่ายขึ้น
บทความแนะนำ
- ท้องสองใหญ่กว่าท้องแรกจริงไหม สาเหตุเกิดจากอะไร ทำไมท้องสองถึงใหญ่กว่า
- ตั้งท้องแล้วแต่ท้องไม่ออก ท้องไม่ใหญ่ ต้องอายุครรภ์เท่าไรจึงจะสังเกตเห็นได้?
- คนท้องท้องเล็ก ตั้งครรภ์ ท้องเล็ก ท้องเล็กกว่าอายุครรภ์ ลูกในท้องตัวเล็กไปไหม อ่อนแอหรือเปล่า
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์เดือนที่ 4 : เตรียมพร้อมสมาชิกในครอบครัว
ช่วงเวลานี้ควรใช้สำหรับเตรียมพร้อมคนในครอบครัวให้เข้าใจว่า ต้องเตรียมตัวอย่างไรเมื่อมีสมาชิกใหม่เข้ามา หากคุณมีลูกคนโต อาจหาซื้อหนังสือที่พูดถึงการมีน้องคนใหม่ พูดคุยกับลูกว่าน้องอยู่ในท้อง และร่างกายแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และให้พี่ร่วมเตรียมพร้อมรับน้องคนใหม่ไปพร้อมๆ กัน หากคุณมีสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะแมว ควรจำกัดขอบเขตของเจ้าเหมียว และไม่เก็บขี้แมวด้วยตนเอง เพราะแมวมีพยาธิและเชื้อโรคที่เป็นอันตรายซ่อนอยู่ในอุจจาระ เมื่อสัมผัสจะได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายและมีผลกระทบต่อลูกในครรภ์
บทความแนะนำ
- ฝึกให้พี่รักน้องตั้งแต่อยู่ในท้อง
- เป็นสิวตอนท้อง ทำอย่างไรดี วิธีรักษาสิวตอนท้องแบบได้ผลจริง!
- อาการครรภ์เป็นพิษ อันตรายมากไหม คนท้องควรดูแลตัวเองอย่างไร
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์เดือนที่ 5 : วางแผนลาคลอด
คุณแม่ควรคุยกับคุณพ่อในเรื่องการวางแผนดูแลลูกน้อย รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียม เพื่อทบทวนว่ามีอะไรที่คุณทั้งคู่ต้องปรับเปลี่ยนบ้าง หากคุณมีแผนจะลาออกมาดูแลลูก หรือเปลี่ยนมาทำงานแบบ part-time นี่คือจังหวะที่จะคุยกันว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน จากนั้นคุยกับเจ้านายของคุณว่าจะเตรียมแผนลาคลอดและจัดสมดุลชีวิตและงานอย่างไร
บทความแนะนำ
- คลอดลูกได้สิทธิอะไรบ้าง ประกันสังคมได้เท่าไหร่ ลดหย่อนภาษีได้อย่างไร
- มีลูกใช้เงินเท่าไหร่ เลี้ยงลูก 1 คน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
- คนท้องลาออกจากงาน ยังได้สิทธิค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรอยู่ไหม
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์เดือนที่ 6 : ลิสต์รายการของใช้จำเป็น
มาถึงเดือนนี้ เริ่มเตรียมของใช้เบบี๋กันค่ะ คุณสามารถดาวน์โหลดรายการของใช้สำหรับลูกน้อยได้ในอินเทอร์เน็ต หรือถามจากประสบการณ์ของคุณแม่ท่านอื่น ๆ ว่าอะไรที่จำเป็นและไม่จำเป็น จากนั้นเริ่มทยอยซื้อของใช้เตรียมไว้ เพื่อไม่ให้ฉุกละหุก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ครอบครัวด้วยว่า ถือเรื่องการเตรียมของใช้ทารกหรือเปล่า
บทความแนะนำ
- ของใช้ลูก ซื้อเมื่อไหร่ดี ของใช้อะไรบ้าง ที่คุณแม่ต้องซื้อก่อนคลอด
- ของใช้เด็กแรกเกิด อะไรบ้างที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนไปคลอด
- วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารก ชั่งน้ำหนักทารก วัดความยาวทารก วัดเส้นรอบศีรษะลูก ลูกโตตามเกณฑ์ไหม
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์เดือนที่ 7 : เตรียมบ้านให้พร้อม
ทยอยทำความสะอาดเสื้อผ้าเด็กอ่อน ผ้าอ้อมผ้า เตรียมที่นอนของลูก อุปกรณ์อาบน้ำ แต่งตัว ตกแต่งห้องให้ลูกน้อย รวมทั้งจัดกระเป๋าเตรียมคลอดให้พร้อมได้เลย
บทความแนะนำ
- ตกแต่งห้องนอนลูกด้วยงบจำกัด
- 5 สิ่งที่ควรทำตอนท้อง ลองสักครั้งหนึ่งในชีวิตก็ยังดี
- ระวัง! แม่ท้องกินอาหารแปรรูปเยอะ เสี่ยงลูกเกิดมาเป็นออทิสติก
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์เดือนที่ 8 : เตรียมคาร์ซีท
คาร์ซีทเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเตรียมให้พร้อมก่อนที่คุณแม่จะครบกำหนดคลอด เพราะเราไม่รู้เลยว่าจะคลอดตอนไหน และควรให้คุณพ่อติดตั้งคาร์ซีทไว้ให้พร้อมสำหรับต้อนรับลูกน้อยกลับบ้านในวันแรกที่ออกจากโรงพยาบาลด้วย
บทความแนะนำ
- 8 เรื่องควรรู้ไว้เมื่อใช้คาร์ซีท
- เตรียมของไปคลอด คนท้องต้องเตรียมอะไรบ้าง เช็คลิสต์ของใช้แม่และลูกอ่อน
- วิธีเล่นกับทารกในครรภ์ เล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ เสริมสร้างความฉลาดตั้งแต่อยู่ในครรภ์
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์เดือนที่ 9 : ทำความสะอาดบ้าน
มาถึงโค้งสุดท้ายในการเตรียมต้อนรับเจ้าตัวน้อย นั่นคือการทำความสะอาดบ้าน ในช่วงนี้ขนาดท้องของคุณแม่ค่อนข้างใหญ่แล้ว การขัดพื้นควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อ ส่วนคุณแม่อาจทำงานเบา ๆ เช่นเช็ดฝุ่นตามโต๊ะ ตู้ เตียงก็พอค่ะ เมื่อมั่นใจว่าได้เตรียมของสำหรับลูกน้อยพร้อมแล้ว คุณแม่ก็จะสบายใจ และไปคลอดอย่างไร้กังวลเมื่อสัญญาณการเจ็บท้องคลอดมาถึงค่ะ
บทความแนะนำ
- คนท้องยืนนาน ๆ คนท้องเดินเยอะได้ไหม คนท้องห้ามนั่งท่าไหน นอนท่าไหน ถึงจะปลอดภัยกับลูกในท้อง
- น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง
- แม่ท้องทำงานบ้าน ได้หายห่วงเพียงเลี่ยง 5 ข้อ คนท้องทำงานบ้านต้องระวังอะไร
เป็นอย่างไรคะกับคู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกไตรมาส อย่าลืมนะคะว่าแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ร่างกายคุณแม่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น คุณแม่ต้องดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองเพื่อลูกน้อยในครรภ์นะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
6 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก 1-3 เดือน ที่ส่วนใหญ่ต้องเจอ!
7 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง ต้องระวัง อาการแบบไหนเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
ที่มา : romper.com