ตั้งครรภ์ 3 เดือนท้องไม่โต ท้องไม่ใหญ่ ทำไมไม่มีคนทัก ลูกจะแข็งแรงไหม ต้องท้องนานแค่ไหน อายุครรภ์เท่าไรท้องจึงจะโตจนสังเกตเห็นได้ว่าตั้งท้อง? ตั้งครรภ์ 3 เดือนท้องไม่โต เกิดจากอะไร ไปดูกัน
ตั้งท้องแล้วแต่ท้องไม่ออก เป็นเพราะอะไร
สำหรับคุณแม่ที่ต้องท้องแล้วแต่ท้องเล็กมากจนถ้าไม่ประกาศเองว่าท้องอยู่คนอื่นไม่มีทางรู้แน่ๆ แล้วเริ่มเป็นกังวลกลัวว่าจะเกิดความผิดปรกติกับการตั้งครรภ์ กลัวว่าลูกในท้องจะมีพัฒนาการตามวัยหรือไม่ เกิดความผิดปรกติอะไรรึเปล่า ท้องจะโตเมื่อไรถึงจะวางใจได้ว่าไม่ผิดปรกติ อย่าพึ่งตกใจหรือเป็นกังวลมาเกินไปนะคะ ที่นี่เรามีคำตอบดีๆ เตรียมไว้ให้คุณแม่ที่ท้องเล็กหรือ ตั้งท้องแล้วแต่ท้องไม่ออก แล้วค่ะ
ท้องเล็กเพราะอะไร
ปัจจัยแรกที่เป็นตัวกำหนดขนาดพุงแม่ตั้งท้อง ก็คือรูปร่างและสรีระของคุณแม่เอง ถ้าคุณแม่เป็นคนรูปร่างเล็กบอบบางอยู่แล้ว ขนาดท้องก็จะโตไม่มากตามไปด้วย อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ หากคุณเป็นคุณแม่ที่ตั้งท้องตั้งแต่ยังสาว หรือพึ่งตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก กล้ามเนื้อท้องยังสตรอง กระชับแน่นอยู่ทำให้ท้องขยายช้าจนมองไม่ออกว่ามีเบบี้อยู่ในพุง ไม่เหมือนคุณแม่ท้อง 2 ขึ้นไป ที่อายุครรภ์ไม่มากแต่ท้องกลับออกชัดเจน นั้นก็เป็นเพราะว่ากล้ามเนื้อหน้าท้องผ่านการถูกเหยียดขยายมาแล้ว จึงขาดความกระชับทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของขนาดท้องได้ชัดเจนกว่านั้นเองค่ะ
ตั้งท้องแล้วแต่ท้องไม่ออก ท้องไม่ใหญ่ ต้องอายุครรภ์เท่าไรจึงจะสังเกตเห็นได้?
อายุครรภ์เท่าไรท้องจึงออก
แต่พออายุครรภ์เริ่มเข้าสัปดาห์ที่ 12 เมื่อยอดมดลูกเริ่มสูงขึ้น จนพ้นอุ้งเชิงกราน คุณแม่อาจเริ่มรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของลูกในท้อง และเริ่มเห็นความนูนใหญ่ขึ้นบริเวณเหนือกระดูกหัวหน่าว นั่นก็เป็นสัญญาณที่บอกให้คุณแม่รู้ว่าลูกในท้องกำลังค่อยเติบโตขึ้น เตรียมใจได้เลยว่าพุงคุณแม่กำลังจะขยายใหญ่ขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าแล้วล่ะค่ะ ได้เวลาเล็งชุดคลุมท้องเก๋ๆเตรียมไว้ล่วงหน้าได้เลย
เรื่องท้องเล็ก ท้องไม่ออก ท้องไม่โต ไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลหากคุณแม่รีบไปฝากท้องตั้งแต่รู้ตัวว่าเริ่มตั้งครรภ์ ไปพบคุณหมอตรงนัดเป็นประจำ และกินวิตามินเสริมที่คุณหมอจ่ายให้อย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังเบาๆบ้าง และคอยติดตามพัฒนาการของลูกในท้องอย่างใกล้ชิด หากลูกพัฒนาการของลูกโตตามวัย น้ำหนักได้ตามเกณฑ์เรื่องท้องเล็ก ท้องไม่ออก ท้องไม่โตก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายที่น่ากังวลอีกต่อไปแล้วล่ะคะ
ร่างกายคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ?
ในช่วงนี้คุณแม่ อาจจะมีน้ำหนักที่เพิม่ขึ้นได้ แพทย์จะแนะนำให้เพิ่มน้ำหนัก เพื่อผลที่ดีของการตั้งครรภ์ แต่หากคุณแม่มีน้ำหนักเกิน ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพราะว่าอาจจะส่งผลเสีย และเกิดโรคร้ายได้
หากคุณแม่คนไหน เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด เช่น หน้าท้องแตกลาย คุณแม่สามารถทาโลชั่น หรือครีมบำรุงผิว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว และควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองจากความปลอดภับ หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
อาการปวดหัว จะเริ่มมีในช่วงนี้ เนื่องจากฮอร์โมนที่วูงขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะขาดน้ำ นอนไม่หลับ หรือเกิดจากความเครียด คุณแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด และเอาใจใส่สุขภาพให้มากขึ้น
อาการนี้จะเกิดขึ้นได้ แต่ไม่รุนแรงมาก คุณแม่สามารถนั่งพักสักครู่ หรือนอนสักครู่ แต่หากรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ นอกจากนี้คุณแม่ควรกินน้ำให้เพียงพอ
จะมีตกขาวน้ำใส ๆ ออกมาจากช่องคลอด เพื่อช่วยป้องกันช่องคลอดจากการติดเชื้อ แต่คุณแม่ก็ควรที่จะสังเกต ความผิดปกติ ของตกขาวด้วย หากมีสีต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป เช่น สีเหลือง สีเขียว สีชมพู สีน้ำตาล ควรรีบพบแพทย์ทันที
บทความที่เกี่ยวข้อง 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 24 หลังคลอด 1 เดือน มีตกขาวสีน้ำตาลคล้ำ ใช่น้ำคาวปลาหรือไม่ ?
-
สภาพผิวหนังที่เปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนของฮอร์โมน จะส่งผลต่อผิวพรรณของคุณแม่ด้วย อาจจะทำให้เกิดฝ้า โดยเฉพาะหน้าผาก และแก้ม ซึ่งอาการเหล่านี้ไมเ่ป็นอันตราย และจะหายไปเองหลังคลอดลูก
ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ส่งผลให้มีลานนมที่ใหญ่ขึ้น เข้มขึ้น
ท้อง 3 เดือน คุณแม่ควรทำอย่างไร
-
เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์
เลือกอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อป้องกันการมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ่อน ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง ปวดหลัง ปวดขา
-
ปรึกษาแพทย์ กินวิตามินเสริม
ในบางกรณี คุณแม่บางคนอาจจะต้องกินวิตามินเสริม เพื่อบำรุงคุณแม่ และลูกในครรภ์ และช่วยป้องกันความผิดปกติบางอย่าง แต่เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
-
ฝึกกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอด
ฝึกการขมิบ เป็นประจำ เนื่องจาก จะส่งผลดีแก่ช่องคลอด ทำให้คลอดง่าย และช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวหลังคลอดได้ไวขึ้น หากคุณแม่เริ่มฝึก ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทราบวิธีการทำที่ถูกต้อง และไม่ส่งผลต่อเด็กในครรภ์
บทความที่เกี่ยวข้อง วิธีขมิบ ขมิบช่องคลอด ทําอย่างไร การขมิบช่องคลอดหลังคลอด ออกกำลังกายน้องสาว ขมิบน้องสาวให้ฟิต
ขอบคุณข้อมูลจาก www.thebump.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
คนท้องท้องเล็ก ตั้งครรภ์ ท้องเล็ก ท้องเล็กกว่าอายุครรภ์ ลูกในท้องตัวเล็กไปไหม อ่อนแอหรือเปล่า
ท้องเล็ก น้ำหนักขึ้นน้อย ลูกในท้องไม่โตหรือเปล่า
คนท้องเริ่มฝากครรภ์ได้เมื่อไหร่ ฝากครรภ์ช้าสุดกี่เดือน จำเป็นต้องฝากครรภ์ไหม? เดอ เดือน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!