X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

8 เรื่องควรรู้ไว้เมื่อใช้คาร์ซีท

24 Apr, 2016
เรื่องที่ควรรู้ไว้เมื่อใช้คาร์ซีท

เรื่องที่ควรรู้ไว้เมื่อใช้คาร์ซีท

ลงทุนซื้อคาร์ซีทให้ลูก แต่ถ้าใช้ผิดวิธีก็อาจไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด มาเรียนรู้วิธีใช้คาร์ซีทอย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยตลอดการเดินทางด้วยทิปส์ต่อไปนี้กันค่ะ
1. หันคาร์ซีทไปด้านหลัง

1. หันคาร์ซีทไปด้านหลัง

ไม่ควรให้ลูกนั่งคาร์ซีทแบบหันหน้าออกจนกว่าลูกจะอายุ 2 ปี เพราะกระดูกคอของเด็กยังไม่แข็งแรงที่จะประคองศีรษะให้อยู่ในแนวเดียวกับกระดูกสันหลัง หากเกิดอุบัติเหตุจากการชนด้านหน้า แรงกระแทกจะทำให้ตัวและศีรษะของลูกถูกเหวี่ยงไปข้างหน้า แต่ตัวจะถูกคาร์ซีทรั้งตัวไว้ ในขณะที่ศีรษะไม่ได้ถูกยึดไว้ด้วย เช่นนี้ลูกน้อยอาจเป็นอันตรายถึงขั้นคอหักได้ ในปี 2011, American Academy of Pediatrics จึงแนะนำให้เด็กนั่งคาร์ซีทแบบหันหลังไปจนกว่าจะอายุ 2 ปี อย่างไรก็ดีในบางประเทศ อาจแนะนำให้นั่งคาร์ซีทหันหลังจนลูกอายุ 4 ปี
2. การติดตั้งที่ไม่แน่นพอ

2. การติดตั้งที่ไม่แน่นพอ

การติดตั้งคาร์ซีทที่ถูกต้องจะต้องแน่นหนาเพียงพอ โดยคาร์ซีทจะสามารถขยับได้ไม่เกิน 1 นิ้ว เมื่อลองขยับไปด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง เพื่อให้แน่ใจว่า คุณติดตั้งคาร์ซีทแน่นหนาเพียงพอแล้วหรือยัง คุณอาจลองทดสอบโดยการใช้น้ำหนักส่วนบนของคุณกดลงบนที่นั่งก็ได้
3. สายรัดสูงหรือต่ำเกินไป

3. สายรัดสูงหรือต่ำเกินไป

สายรัดที่ออกมาจากใต้เบาะคาร์ซีทด้านบนควรอยู่ในระดับไหล่หรือต่ำกว่า หากเป็นเด็กโตที่นั่งบูสเตอร์ซีทโดยใช้เข็มขัดนิรภัยที่มากับรถยนต์ สายรัดควรพาดอยู่ที่ต้นขาและไม่พาดที่ท้องหรือสัมผัสคอ
4. สายรัดหลวมเกินไป

4. สายรัดหลวมเกินไป

คุณอาจกลัวลูกอึดอัด หากรัดสายรัดแน่นเกินไป แต่การรัดแน่นย่อมปลอดภัยกว่าการรัดหลวม ๆ ถ้าคุณสามารถใช้สองนิ้วหนีบสายรัดคาร์ซีทขึ้นมาได้แล้วล่ะก็ แสดงว่าคุณยังปรับสายรัดไม่แน่นพอ
5. คลิปรัดหน้าอกผิดตำแหน่ง

5. คลิปรัดหน้าอกผิดตำแหน่ง

หากคาร์ซีทที่คุณซื้อมามีคลิปรัดบริเวณหน้าอก ควรให้สายอยู่ในระดับหน้าอก หรือรักแร้ ไม่ควรให้สายรัดหน้าออกอยู่ต่ำกว่านั้น
6. ใช้อุปกรณ์เสริมที่ไม่ใช่ของรุ่นนั้นโดยตรง

6. ใช้อุปกรณ์เสริมที่ไม่ใช่ของรุ่นนั้นโดยตรง

คุณพ่อคุณแม่อาจซื้อปลอกหุ้มสายรัดคาร์ซีทมาสวมทับ เพราะสายรัดเดิมอาจทิ้งรอยแดงหรือรอยถลอกไว้บนผิวบอบบางของลูกน้อย แต่ทราบหรือไม่ว่า ปลอกหุ้มสายรัดคาร์ซีท หมอนรองคอ หรือเบาะรองคาร์ซีทหนานุ่ม ที่ซื้อแยกต่างหาก หรือไม่ได้มากับคาร์ซีทรุ่นนั้นโดยตรง อาจไม่ได้ปกป้องลูกน้อยของคุณอย่างเหมาะสม เนื่องจากอาจทำให้การรัดเข็มขัดคาร์ซีทไม่แน่นเท่าที่ควร
7. เปลี่ยนคาร์ซีทเร็วหรือช้าเกินไป

7. เปลี่ยนคาร์ซีทเร็วหรือช้าเกินไป

การเปลี่ยนจากคาร์ซีทมาเป็นบูสเตอร์ซีทเร็วเกินไปอาจเป็นอันตราย โดยเฉพาะเมื่อลูกยังตัวเล็ก สายที่ควรพาดบ่าอาจจะพาดที่คอ ส่วนสายที่พาดหน้าตักอาจจะพาดที่ท้อง ซึ่งไม่ปลอดัย ในขณะที่การให้ลูกนั่งในคาร์ซีทที่เล็กเกินไปก็ไม่ปลอดภัยเช่นเดียวกัน
8. ใช้คาร์ซีทหมดอายุ หรือคาร์ซีทมือสอง

8. ใช้คาร์ซีทหมดอายุ หรือคาร์ซีทมือสอง

ฟังดูเหมือนไร้สาระ แต่เคธี่จาก Babble.com กล่าวว่าการใช้คาร์ซีทที่หมดอายุเป็นอันตราย เพราะพลาสติกเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา และคุณต้องให้แน่ใจว่าคาร์ซีทที่ใช้อยู่จะสามารถปกป้องลูกน้อยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
ถัดไป
img

บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 8 เรื่องควรรู้ไว้เมื่อใช้คาร์ซีท
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว