สิ่งที่ควรรู้ก่อนตรวจอัลตร้าซาวด์ สำหรับคุณแม่ทุกคน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนตรวจอัลตร้าซาวด์
จำเป็นไหม คนท้องต้องอัลตราซาวด์ทุกเดือน
แม่ท้องหลายท่าน ถามกันเข้ามาว่า จำเป็นไหม คนท้องต้องอัลตราซาวด์ทุกเดือน ? เราไปหาคำตอบพร้อมกันเลยครับ
การตรวจอัลตราซาวด์ คืออะไร
การตรวจอัลตราซาวด์เป็นการตรวจทางการแพทย์ที่อาศัยคลื่นความถี่สูงเกินกว่าความสามารถที่หูมนุษย์จะได้ยิน (มากกว่า 20,000 เฮิซร์ต) ส่งคลื่นเสียงผ่านหัวตรวจไปยังอวัยวะที่ต้องการตรวจ เมื่อเสียงกระทบเนื้อเยื่อต่างชนิดกัน ก็จะเกิดการสะท้อนและการดูดกลับของเสียงไม่เท่ากันในเวลาที่ไม่เท่ากันตามระดับความลึกของเนื้อเยื่อนั้นๆ และจะถูกแปลผลให้ปรากฏเป็นภาพบนจอ
การตรวจอัลตราซาวด์ บอกอะไรแม่ท้องได้บ้าง
ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ การอัลตราซาวด์จะช่วยวินิจฉัยชนิดครรภ์แฝด และประเมินอายุครรภ์ได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งช่วยวินิจฉัยความผิดปกติบางอย่าง เช่น ภาวะไม่มีกะโหลกศีรษะได้
เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 5-6 ของการตั้งครรภ์ การตรวจอัลตราซาวด์สามารถตรวจหาความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายทารกในครรภ์ โดยเฉพาะโครงสร้างหลัก ได้แก่ กะโหลกศีรษะ เนื้อสมอง โครงกระดูก แขนขา ทรวงอก เนื้อปอด หัวใจ ผนังหน้าท้อง อวัยวะหลักภายในช่องท้อง ได้แก่ ตับ ไต ความผิดปกติของลำไส้บางชนิด กระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะส่วนอื่น เช่น ภาวะปากแหว่ง จำนวนนิ้วมือนิ้วเท้าครบหรือไม่ เป็นต้น
จำเป็นไหม คนท้องต้องอัลตราซาวด์ทุกเดือน
โดยทั่วไปแล้ว คนท้องไม่จำเป็นต้องอัลตราซาวด์ทุกเดือนนะครับ ซึ่งในระหว่างตั้งครรภ์ คุณหมอก็มักจะแนะนำให้อัลตราซาวด์เพียง 2–3 ครั้งเท่านั้น หรืออย่างน้อยที่สุด 1 ครั้ง และควรทำในขณะที่มีอายุครรภ์ได้ประมาณ 18–22 สัปดาห์ เพื่อตรวจดูว่าอายุครรภ์ถูกต้องหรือไม่ ตั้งครรภ์แฝดหรือเปล่า และมีความผิดปกติอื่นๆหรือไม่อย่างไร เพราะจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนเพื่อครรภ์คุณภาพต่อไป
การตรวจอัลตราซาวด์มีอันตรายไหม
รศ.พญ. สายฝน ชวาลไพบูลย์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “อัลตร้าซาวด์ ที่ใช้ตรวจคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีความเข้มข้นของเสียงผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อของร่างกายในปริมาณที่น้อยมาก ในต่างประเทศมีการศึกษาของสถาบันทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านอัลตร้าซาวด์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Institute of Ultrasound in Medicine) และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งอังกฤษ (Royal College of Obstetricians and Gynaecologists) พบว่า ลูกในท้องที่คุณแม่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ ไม่ได้มีความพิการหรือการเจริญเติบโตช้ากว่าลูกในท้องของคุณแม่ที่ไม่ได้รับการตรวจแต่อย่างใด เมื่อทำการตรวจติดตามเด็กที่คลอดไปนานแล้ว ก็ไม่พบว่ามีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง”
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การอัลตราซาวด์ขณะตั้งครรภ์ไม่เป็นอันตรายใด ๆ สามารถตรวจการตั้งครรภ์ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพียงแต่คุณหมอมักจะแนะนำให้อัลตราซาวด์เพียง 2–3 ครั้งเท่านั้น หรืออย่างน้อยที่สุด 1 ครั้ง และควรทำในขณะที่มีอายุครรภ์ได้ประมาณ 18–22 สัปดาห์ครับ
อัลตราซาวด์ บอกน้ำหนักตัวเด็กได้หรือไม่
อัลตราซาวด์ นอกจากจะสามารถบอกเพศของเด็กในท้องได้แล้วยังช่วยในการคำนวณน้ำหนักของทารกได้ แต่ว่าการตรวจอัลตราซาวด์นั้นมักจะคลาดเคลื่อนเมื่อใช้คำนวณน้ำหนักทารกในครรภ์
ซึ่งภาพอัลตราซาวด์นั้นสามารถคาดคะเนน้ำหนักของลูกน้อยได้ แต่ก็ยังคลาดเคลื่อนมากกว่าหรือน้อยกว่าถึงราวๆ 2.5 กิโลกรัม เพราะวิธีการคาดคะเนน้ำหนักผ่านอัลตราซาวด์มีหลายทางและอาจมีความคลาดเคลื่อนแตกต่างกันไป จึงไม่แนะนำให้ใช้การอัลตราซาวด์ สำหรับการวางแผนผ่าคลอดที่คาดคะเนจากน้ำหนักของลูกในครรภ์ครับ
ปัจจุบันมีสูตรการคำนวณนำ้หนักทารกมากกว่า 30 สูตรจากการอัลตราซาวด์ ส่วนใหญ่คาดคะเนจากเส้นรอบวงศีรษะ รอบตัว ความยาวขา และอื่นๆ และยังสามารถคาดคะเนอายุของทารก อายุครรภ์ และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งมีความแม่นยำแตกต่างกันไป
นอกจากนี้พยาบาลผดุงครรภ์หรือคุณหมอสามารถคาดคะเนน้ำหนักทารกได้โดยใช้มือคลำที่ท้องเมื่อตรวจครรภ์ ซึ่งช่วยตรวจตำแหน่งของทารกได้ด้วย แต่การตรวจแบบนี้ก็ยังคำนวณน้ำหนักของทารกได้ไม่แม่นยำนัก
เด็กตัวใหญ่ต้องผ่าคลอดเสมอจริงไหม ติดตามได้หน้าถัดไปครับ
เด็กตัวใหญ่ต้องผ่าคลอดเสมอจริงหรือ?
คุณแม่หลายคนอาจจะเคยได้ยินวิธีการเพิ่มขนาดตัวของทารกในครรภ์เพราะตองการให้ลูกตัวใหญ่ หรือแม้กระทั่งเชื่อว่าสามารถนัดเวลาผ่าคลอดจากการคำนวณน้ำหนักของทารกผ่านการอัลตราซาวด์ อีกทั้งแม่หลายคนเชื่อว่าหากลูกหนักมากกว่า 3 กิโลกรัมจะต้องผ่าคลอด
คุณแม่นามว่าอแมนดาเล่าเรื่องการคลอดของเธอให้ฟังว่า “คุณหมอของฉันต้องการให้ฉันทำการผ่าคลอด เพราะลูกคลอดช้ากว่ากำหนด ฉันอัลตราซาวด์ก่อนที่จะคลอด คุณหมอบอกว่าลูกน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม แต่ปรากฏว่าลูกฉันหนักเกือบ 4 กิโลกรัม ซึ่งหนักเกินกว่าที่คาดไว้มาก
มีการศึกษาหลายชิ้นระบุว่าเด็กตัวใหญ่ที่เห็นจากการอัลตราซาวด์มักจะต้องผ่าคลอด แต่ก็ไม่เสมอไปครับ
ซึ่งหากคุณอัลตราซาวด์ระหว่างการตั้งครรภ์ระยะที่ 3 คุณอาจจะต้องระวังเรื่องต่อไปนี้
1.ตำแหน่งรก
2.ตำแหน่งทารก
3.ปริมาณน้ำคร่ำ
4.ลักษณะทางกายภาพ
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ เพราะไม่จำเป็นว่าเด็กตัวใหญ่จะต้องผ่าคลอดเสมอไปครับ
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
มีใครอยากรู้บ้างว่า คนท้องดูดวงได้ไหม การตั้งครรภ์กับความเชื่อ สายมูเตลูต้องรู้
ไขข้อสงสัย คนท้องวิ่งได้ไหม คนท้องออกกำลังกายได้ไหม วิ่งแล้วเป็นอะไรไหม?
บทสวดมนต์คนท้อง คนท้องสวดมนต์ ให้ลูกปลอดภัยตอนคลอด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!