X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กที่เกิดจากแม่ผ่าคลอดนั้น ฉลาดกว่าจริงหรือไม่ เรามาดูกันเลย

บทความ 5 นาที
เด็กที่เกิดจากแม่ผ่าคลอดนั้น ฉลาดกว่าจริงหรือไม่ เรามาดูกันเลย

ลูกที่เกิดจากแม่ผ่าคลอด ฉลาดกว่าจริงหรือ การผ่าคลอดส่งผลต่อลูกอย่างไร ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์มีบทความเกี่ยวกับแม่ผ่าคลอดมาฝาก

เด็กที่เกิดจากแม่ผ่าคลอดนั้น ฉลาดกว่าจริงหรือไม่ เรามาดูกันเลย

เด็กที่เกิดจากแม่ผ่าคลอดนั้น ฉลาดกว่าจริงหรือไม่ เรามาดูกันเลยเด็กที่เกิดจากแม่ผ่าคลอดนั้น ฉลาดกว่าจริงหรือไม่ เรามาดูกันเลย การผ่าคลอดส่งผลต่อลูกอย่างไร ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์มีบทความเกี่ยวกับแม่ผ่าคลอดมาฝาก

โดยปกติผู้หญิงท้องจะคลอดลูกเองตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมีอีกหนึ่งวิธี คือ การผ่าคลอด (Caesarean Section หรือ C-Section) โดยการผ่าคลอดจะเกิดขึ้นในกรณีที่สภาพร่างกายของผู้เป็นแม่ไม่เอื้ออำนวยต่อการคลอดเองตามธรรมชาติ จึงต้องมีการผ่าคลอดเพื่อรักษาชีวิตของเด็กไว้ และเพื่อความปลอดภัยของผู้เป็นแม่ หรือคุณแม่อาจตัดสินใจเลือกทำการผ่าคลอดได้ด้วยตนเองภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์

แม่ขอแชร์ประสบการณ์ผ่าคลอด

แม่ขอแชร์ประสบการณ์ผ่าคลอด

การผ่าคลอด ทำอย่างไร ?

การผ่าคลอด เป็นการทำคลอดด้วยการผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง แพทย์จะกรีดผ่านชั้นผิวหนังเหนือหัวหน่าวลงไป เมื่อผิวหนังเปิดจึงผ่าตัดส่วนที่เป็นมดลูกแล้วนำทารกออกมาโดยแพทย์จะประคองนำส่วนหัวของเด็กออกมาก่อน

ในระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะให้ยาชากับผู้เป็นแม่แล้วกั้นผ้าม่านบังตั้งแต่ช่วงล่างของลำตัวลงไป ตลอดการผ่าตัดคุณแม่จะรู้สึกตัวแต่ไม่รู้สึกเจ็บปวด คุณแม่จะได้เห็นวินาทีที่ลูกน้อยออกมาจากครรภ์ และขั้นตอนการผ่าตัดทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที-1 ชั่วโมง

ทำไมต้องผ่าคลอด ?

คุณแม่บางท่านเลือกที่จะผ่าคลอด เพราะสามารถวางแผนเตรียมการล่วงหน้ากับสูติแพทย์ได้ การผ่าตัดจะเป็นไปตามขั้นตอน ลดความเสี่ยงจากอันตรายไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่ดึงตัวเด็กออกมาทางช่องคลอด ลดผลข้างเคียงจากการคลอดตามธรรมชาติ และยอมเจ็บปวดด้วยแผลผ่าตัดแทนการทนเจ็บปวดจากการเบ่งคลอดเอง

อีกกรณี คือ แพทย์ลงความเห็นว่าคุณแม่มีความจำเป็นที่ต้องผ่าคลอด ทั้งผ่าคลอดที่วางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้า และผ่าคลอดด้วยความจำเป็นที่เด็กต้องคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้

  • ปากมดลูกไม่เปิดหรือเปิดน้อย
  • คุณแม่อุ้มท้องเด็กมากกว่า 1 คน
  • ขนาดและท่าของเด็กในท้องไม่เอื้อต่อการคลอดตามธรรมชาติ เช่น เด็กหมุนตัวเอาส่วนเท้าหรือก้นมาอยู่ที่ปากมดลูก
  • เด็กในท้องอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงอันตราย เช่น ขาดออกซิเจน สัญญาณชีพจรไม่คงที่
  • มีเส้นเลือดหรือก้อนเนื้ออุดตันบริเวณช่องคลอด
  • ภาวะรกเกาะต่ำ รกไม่เคลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการคลอด
  • ภาวะสายสะดือย้อย หรือสายสะดือโผล่
  • คุณแม่มีปัญหาสุขภาพ ป่วยด้วยโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย เช่น โรคหัวใจ การติดเชื้อ HIV

ทุกวันนี้ยังไม่มียืนยันอย่างเป็นทางการถึงเรื่องดังกล่าวว่า ลูกที่เกิดจากการผ่าคลอดนั้น จะฉลาดกว่าลูกที่เกิดจากการคลอดธรรมชาติ เพียงแต่ที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยออกมาว่าการผ่าคลอดนั้นอาจจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กทารก และอาจทำให้เด็กมีสมาธิสั้นซึ่งจะส่งผลทำให้เด็กไม่สามารถทำอะไรให้เสร็จสมบูรณ์ได้ อีกทั้งเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นจะทำตามคำสั่งหรือประมวลข้อมูลได้ลำบากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ลูกที่เกิดจากแม่ผ่าคลอด

โปรตีนที่มีชื่อว่า Ucp2 มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาการทางสมองและควบคุมระบบปราสาทนั้นสามารถสร้างมาได้จาก ฮิปโปแคมพัส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมอง และเป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะเป็นสมองที่เกี่ยวกับระบบความจำและพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งโปรตีนชนิดนี้จะมีอยู่ในเด็กที่คลอดตามธรรมชาติมากกว่าเด็กผ่าคลอดครับ

ความเสี่ยงจากการผ่าคลอดที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กมีอะไรบ้าง ติดตามต่อหน้าถัดไปครับ

ความเสี่ยงจากการผ่าคลอดที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก

การผ่าคลอดอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีกว่าการคลอดธรรมชาติสักเท่าไร เพราะเด็กที่เกิดจากการผ่าคลอดอาจมีปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่างตามมาภายหลังได้ เช่น

1.ปัญหาทางการหายใจ

การผ่าคลอดอาจทำให้เด็กแรกเกิดไม่สามารถปรับการหายใจให้ปกติได้ ซึ่งเกิดจากการที่ไม่สามารถรีดน้ำอยู่ที่ในปอดออกได้หมด จึงทำให้หายใจเร็ว แพทย์ต้องเพิ่มออกซิเจน เพื่อช่วยในการหายใจ

ผ่าคลอด

2.เสี่ยงต่อโรคหอบหืด

มีข้อมูลยืนยันจากการวิจัยในบางประเทศเช่นเนเธอร์แลนด์และนอร์เวย์ ว่าเด็กที่เกิดจากการผ่าคลอด มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหอบหืดในอนาคต  แบคทีเรียบางชนิดถูกพบในลำไส้ของเด็กหลังการผ่าคลอดซึ่งอาจจะนำไปสู่อาการแพ้และโรคหอบหืดได้

3.ปัญหาเรื่องการกินนมแม่

ปัญหาเรื่องการกินนมเป็นปัญหาที่พบมากในเด็กที่เกิดจากแม่ผ่าคลอด บางครั้งยาที่ใช้ในการผ่าตัดนั้นอาจส่งผลทำให้ลูกน้อยมีปัญหาเกี่ยวกับการดูดนมแม่ได้ครับ

ความเสี่ยงจากการผ่าคลอดที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กมีอะไรบ้าง ติดตามต่อหน้าถัดไปครับ

4.เด็กเจ็บป่วยง่าย

เด็กที่เกิดจากการผ่าคลอดจะไม่ได้สัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในช่องคลอดของแม่ ในระยะยาวจะทำให้เด็กป่วยง่าย

ผ่าคลอด

ข้อดีของการผ่าคลอด

ในปัจจุบัน เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากอีกทั้งเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับวิธีการคลอด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการคลอดธรรมชาติหรือการผ่าคลอดนั้น ต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ซึ่งข้อดีของการผ่าคลอดอาจมีดังนี้

  • คุณแม่สามารถกำหนดวันและเวลาที่ชัดเจนในการคลอดได้
  • ไม่ต้องรอให้ปวดท้องคลอดก็สามารถผ่าตัดคลอดได้
  • เจ็บปวดในระหว่างการคลอดน้อยกว่าการคลอดธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ การผ่าคลอดมีความปลอดภัยขึ้นมาก ซึ่งหากคุณต้องผ่าคลอดจริงๆ ก็อาจขอรับคำปรึกษาจากคุณหมอเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยได้ครับ

แม่ขอแชร์ประสบการณ์ผ่าคลอด

แม่ ขอ แชร์ ประสบ การณ์ ผ่าคลอด

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการผ่าคลอดต่อคุณเเม่

การผ่าคลอดเป็นการผ่าตัดอวัยวะภายในร่างกายอย่างหนึ่ง ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ใกล้เคียงกับมดลูกได้ ดังนี้

  • ร่างกายอ่อนเพลียจากการเสียเลือดมาก การผ่าตัดจะทำให้เสียเลือดมากกว่าการคลอดตามธรรมชาติ
  • ผลกระทบจากยาชา ในบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนหรือได้รับผลข้างเคียงจากยาชา เช่น อาการปวดหัวรุนแรงหลังฟื้นตัวหลังการคลอด
  • การอักเสบและติดเชื้อ ทั้งการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด และบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้เป็นไข้ มีกลิ่นเหม็นออกมาจากช่องคลอด และเจ็บปวดขณะปัสสาวะ
  • การเกิดแผลหรือการบาดเจ็บที่อวัยวะใกล้เคียง เช่น การเกิดแผลที่กระเพาะปัสสาวะ
  • การเกิดลิ่มเลือดอุดตันบริเวณขาหรืออวัยวะบริเวณกระดูกเชิงกราน เพื่อป้องกันการอุดตันของลิ่มเลือด เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะคอยกระตุ้นให้คุณแม่ลุกเดินเปลี่ยนอิริยาบถหลังคลอด ซึ่งจะทำให้กระเทือนต่อแผลผ่าตัด สร้างความเจ็บปวดหลังยาชาหมดฤทธิ์
  • เพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป รอยแผลผ่าตัดบริเวณมดลูกอาจฉีกขาด เสี่ยงต่อการเกิดมดลูกแตกในขณะตั้งครรภ์

ส่วนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กที่คลอดออกมา พบว่าทารกที่คลอดโดยการผ่าคลอดก่อนอายุครบ 39 สัปดาห์ มักมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เกิดภาวะหายใจเร็วใน 2-3 วันแรกที่คลอด หรือภาวะกดการหายใจในทารกแรกคลอดที่จะทำให้เด็กหายใจลำบาก และเด็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดบาดแผลจากการผ่าตัดได้เช่นกัน

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น แพทย์แผนปัจจุบันได้พัฒนาปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายจากการผ่าคลอด อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น การคลอดเองตามธรรมชาติก็ยังคงเป็นวิธีการคลอดที่ปลอดภัยกว่าสำหรับแม่และเด็ก นอกจากจะมีปัจจัยอื่นที่สนับสนุนให้คุณแม่คลอดด้วยการผ่าคลอด

ไม่ว่าคุณแม่จะเลือกคลอดด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อยู่เสมอทั้งก่อนและหลังการคลอด เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและลูกรัก

ผลิตภัณฑ์ดูแลแผลผ่าคลอด

The Asianparent Thailand

เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”


ที่มา momjunction.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อุ้มลูกอยู่ดี ๆ ก็ร้องไห้ ใบเตย อาร์สยาม มีอาการ เบบี้บลู หลังคลอดน้องเวทย์มน

บทสวดมนต์คนท้อง คนท้องสวดมนต์ ให้ลูกปลอดภัยตอนคลอด

https://mommy.teenee.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เด็กที่เกิดจากแม่ผ่าคลอดนั้น ฉลาดกว่าจริงหรือไม่ เรามาดูกันเลย
แชร์ :
  • แม่อายุมากมีลูก ลูกก็มีพัฒนาการที่ดีได้

    แม่อายุมากมีลูก ลูกก็มีพัฒนาการที่ดีได้

  • อันตรายของลูกที่เกิดจากแม่ลูกดก!!

    อันตรายของลูกที่เกิดจากแม่ลูกดก!!

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • แม่อายุมากมีลูก ลูกก็มีพัฒนาการที่ดีได้

    แม่อายุมากมีลูก ลูกก็มีพัฒนาการที่ดีได้

  • อันตรายของลูกที่เกิดจากแม่ลูกดก!!

    อันตรายของลูกที่เกิดจากแม่ลูกดก!!

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ