X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์เป็นต้นไป ทำไมต้องตรวจฉี่

บทความ 5 นาที
แม่ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์เป็นต้นไป ทำไมต้องตรวจฉี่

การตรวจปัสสาวะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ท้องในการประเมินความเสี่ยงภาวะผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณแม่ท้องต้องตรวจปัสสาวะทุกครั้งเวลาไปตรวจครรภ์

ตรวจปัสสาวะคนท้อง ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหรือไต เบาหวาน ภาวะขาดน้ำ และครรภ์เป็นพิษ โดยตรวจคัดกรองจาก ระดับน้ำตาล โปรตีน คีโตน และแบคทีเรียในปัสสาวะ ซึ่งมักจะตรวจพบตั้งแต่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20 เป็นต้นไป

 

แม่ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์เป็นต้นไป ทำไมต้องตรวจฉี่

การตรวจปัสสาวะทำอย่างไร

คุณแม่สามารถเก็บปัสสาวะในเวลาใดก็ได้ โดยจะได้รับกระปุกเล็กๆ สำหรับเก็บปัสสาวะ วิธีเก็บปัสสาวะให้ทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยน้ำสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งจากด้านหน้าไปด้านหลัง ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งกระป๋อง

โดยตัวอย่างปัสสาวะของคุณแม่จะถูกทดสอบทางเคมีซึ่งมักจะได้รับผลทันที แต่หากต้องวิเคราะห์มากขึ้นจำเป็นต้องส่งปัสสาวะไปยังห้องแล็บเพื่อทดสอบเพิ่มเติม

 

การตรวจปัสสาวะบอกอะไรได้บ้าง

การตรวจปัสสาวะในหญิงตั้งครรภ์ น้ำตาล

โดยปกติ ในปัสสาวะของคนท้องจะพบน้ำตาล (กลูโคส) อยู่น้อยมาก หรือไม่พบเลย แต่หากคุณแม่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป อาจทำให้พบน้ำตาลในปัสสาวะได้ ซึ่งการพบน้ำตาลในปัสสาวะเช่นนี้เป็นสัญญาณของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่จะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น เนื่องจากฮอร์โมนของแม่ท้องไปทำลายความสามารถของร่างกายในการใช้อินซูลิน ซึ่งเป็นสารเคมีในร่างกายที่จะเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน

ในการตรวจหาโรคเบาหวานช่วงตั้งครรภ์ จะทำระหว่างสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ โดยการกลืนกลูโคส และตรวจเลือดหลังจากกลืนกลูโคส หนึ่งชั่วโมง

บทความแนะนำ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

หากคุณแม่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องควบคุมอาหารอย่างเข้มงวด ลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลหรือแป้ง) และเพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน (เนื้อสัตว์) และผักให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักจำพวกใบเพราะมีใยอาหารและวิตามินมาก ดื่มนมสดรสจืดและพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย งดหรือหลีกเสี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยปรึกษาแพทย์ถึงการออกกำลังกายที่ไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ และหมั่นตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง แต่หากการควบคุมอาหารดังกล่าวไม่ได้ผลก็จำเป็นต้องใช้ยาอินซูลินฉีดเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล

คุณแม่ท้องที่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ถ้าควบคุมน้ำตาลอย่างเคร่งครัดก็สามารถให้กำเนิดลูกน้อยสุขภาพดีได้ แต่หากคุณแม่ปล่อยทิ้งไว้ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง คลอดก่อนกำหนด แท้ง หรือพิการแต่กำเนิด รวมทั้งทารกอาจมีน้ำหนักตัวมากทำให้คลอดลำบาก และมีโอกาสเกิดอันตรายระหว่างการคลอดได้สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม การที่คุณแม่มีระดับน้ำตาลในปัสสาวะสูงนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเบาหวานในคนท้องเสมอไป หากคุณแม่ดื่มน้ำหวาน หรือรับประทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนมาตรวจก็อาจเป็นสาเหตุให้ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งคุณหมอจะนัดให้คุณแม่กลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งในภายหลัง

 

  • การตรวจปัสสาวะในหญิงตั้งครรภ์ โปรตีน

โปรตีนในปัสสาวะสามารถบ่งบอกถึงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) การติดเชื้อที่ไตหรือโรคไตเรื้อรัง หากพบโปรตีนในปัสสาวะช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ร่วมกับความดันโลหิตสูง อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของอาการครรภ์เป็นพิษ และเพิ่มความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงต่อแม่และลูกน้อย

หากคุณแม่มีโปรตีนในปัสสาวะแต่ความดันโลหิตปกติ คุณหมออาจให้คุณแม่เก็บปัสสาวะส่งตรวจ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโปรตีนที่พบหรือไม่ หากตรวจพบการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมต่อไป

แต่หากคุณแม่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ คุณหมออาจแนะนำให้คุณแม่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและนอนพักเพื่อลดระดับความดันโลหิต และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากไม่มีอาการแทรกซ้อนอาจรอจนครบกำหนดคลอด แล้วจึงกระตุ้นให้คลอด แต่หากมีอาการครรภ์เป็นพิษรุนแรงคุณหมออาจให้ยากระตุ้นคลอดหรือผ่าคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากการคลอดคือหนทางเดียวที่จะรักษาอาการครรภ์เป็นพิษได้

 

  • แบคทีเรีย

การพบแบคทีเรียในปัสสาวะเป็นสัญญาณของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) หากได้รับการรักษาที่รวดเร็วและถูกต้อง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา แต่หากปล่อยไว้ อาจแพร่กระจายไปยังไต และเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดทารกน้ำหนักน้อย หรือทารกคลอดก่อนกำหนดได้

การตรวจปัสสาวะด้วยแถบทดสอบไม่สามารถตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย แต่สามารถพบเอนไซม์ที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แถบทดสอบยังสามารถตรวจพบไนไตรต์ในปัสสาวะซึ่งจะหลั่งมาจากแบคทีเรียบางชนิดอีกด้วย

แพทย์จึงมักส่งตรวจปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์หาชนิดของแบคทีเรีย และจะจ่ายยาปฏิชีวนะที่มีความปลอดภัยต่อคุณแม่ท้อง เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่พบก่อนที่การติดเชื้อจะลุกลามเป็นอันตรายมากขึ้น

บทความแนะนำ แม่ท้องกลั้นปัสสาวะ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

 

  • คีโตน

เมื่อร่างกายใช้ไขมันในการให้พลังงานจะทำให้เกิดคีโตนขึ้นมาและไหลออกทางปัสสาวะ การพบคีโตนในปัสสาวะเป็นจำนวนมากอาจหมายถึงสถานการณ์ที่ร้ายแรง เช่น มีภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน หรือที่เรียกว่า ดีเคเอ (Diabetic ketoacidosis : DKA) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายถึงชีวิตซึ่งพบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนี้อาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตต่ำ การอดอาหาร หรือการอาเจียนอย่างรุนแรงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดคีโตนในปัสสาวะได้เช่นกัน

หากแพทย์ตรวจพบคีโตนในปัสสาวะคุณแม่ท้อง อาจเนื่องมาจากได้รับอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งคีโตนจะหายไปเมื่อได้รับอาหาร อาการเช่นนี้ไม่เป็นอันตราย แต่หากคุณแม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง คุณอาจจำเป็นต้องได้รับสารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ

โปรตีน น้ำตาล แบคทีเรีย และคีโตนในปัสสาวะอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณและลูกน้อยได้ คุณแม่ท้อจึงต้องได้รับการตรวจปัสสาวะเป็นประจำ เพื่อให้สามารถป้องกันและรักษาได้ทันท่วงทีหากพบความผิดปกติค่ะ

 

แม่ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์เป็นต้นไป ทำไมต้องตรวจฉี่

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20 มีอาการอย่างไรบ้าง

นอกจากการ ตรวจปัสสาวะคนท้อง คนท้องที่ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง มาดูกัน

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 20

  • ผิวของลูกน้อยหนาขึ้นแล้ว และกำลังพัฒนาชั้นผิวหนังในสัปดาห์นี้
  • ทารกบางคนลืมตาได้แล้วนะ
  • ลูกน้อยกำลังกลืนน้ำคร่ำจำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีกับระบบย่อยอาหารของลูก
  • ในร่างกายของลูกมี ขี้เทา ( meconium) เกิดจากการกลืนน้ำคร่ำ รวมกับพวกน้ำย่อย น้ำดี ทำให้เกิดเป็นสีดำมีลักษณะเหนียวข้น ซึ่งขี้เทานี้จะสะสมอยู่ในลำไส้ของลูก แล้วทารกก็จะถ่ายขี้เทาหลังคลอด หรืออาจถ่ายขี้เทาออกมาปนในน้ำคร่ำได้
  • ตุ่มรับรสของทารก รับรู้รสชาติได้แล้วนะแม่
  • ถ้าแม่อุ้มท้องลูกสาว มดลูกของลูกจะสร้างขึ้นแล้ว ขณะที่ร่างกายอยู่ในระหว่างพัฒนาช่องคลอด แต่หากแม่อุ้มท้องลูกชาย ร่างกายจะเริ่มมีการเคลื่อนย้ายอัณฑะ สำหรับถุงอัณฑะนั้นยังไม่ถูกสร้างขึ้น

อาการ ตั้ง ครรภ์ 20 สัปดาห์

  • น้ำหนักของแม่ท้องจะขึ้นราว ๆ ครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์
  • แม่ท้องจะนอนหลับไม่ค่อยสนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ เพราะยอดมดลูกอยู่ระดับสะดือแล้ว
  • ความเมื่อยล้าและอาการแพ้ท้องที่เคยเกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์ไตรมาสแรกหายไปแล้ว
  • ความต้องการทางเพศจะกลับมา แม่ตั้งครรภ์ลองหาท่วงท่าที่ปลอดภัย สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ดูนะคะ
  • แม่ท้องมักจะมีตกขาวระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้ามีอาการอื่น ๆ ที่ผิดปกติร่วมด้วย แม่ก็ต้องไปพบคุณหมอนะคะ

การดูแลตัวเองตอนท้อง 20 สัปดาห์

  • ควบคุมน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ให้ดี อย่าให้น้ำหนักน้อยเกินไปจนกระทบต่อลูกในท้อง หรือปล่อยตัวจนน้ำหนักมากไปก็เพิ่มความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ของแม่ได้นะ
  • ระหว่างตั้งครรภ์แม่ท้องต้องออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดอาการปวดของร่างกาย

 

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://consumer.healthday.com/, https://www.si.mahidol.ac.th/, https://haamor.com/

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

5 อาการแทรกซ้อนแบบนี้ไม่ดีแน่แม่ท้องต้องระวัง

ระวัง! แม่ท้องขาดแคลเซียม อาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

7 อาหารคนท้องเสีย ท้องเสียกินอะไรดี? พร้อมวิธีดูแลตนเองเบื้องต้น

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แม่ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์เป็นต้นไป ทำไมต้องตรวจฉี่
แชร์ :
  • ครรภ์ 20 สัปดาห์ อาการคนท้อง 5 เดือน กับพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ครรภ์ 20 สัปดาห์ อาการคนท้อง 5 เดือน กับพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

    การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

  • ครรภ์ 20 สัปดาห์ อาการคนท้อง 5 เดือน กับพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ครรภ์ 20 สัปดาห์ อาการคนท้อง 5 เดือน กับพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

    การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ