โรคทางใจในเด็ก PTSD คือ ? พ่อแม่จะสามารถรับมือกับโรคนี้ได้อย่างไร วันนี้ TheAsianparent จะมาตอบทุกข้อสงสัยว่าแท้จริงแล้ว PTSD คือ อะไรกันแน่
PTSD โรคทางใจในเด็ก คืออะไร? พ่อแม่จะรับมือกับโรคนี้ได้อย่างไร
โรคที่วงการแพทย์เรียกว่า PTSD (Post-traumatic stress disorder) โรคptsd คือสภาวะป่วยทางจิตใจหลังจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง เหตุการณ์ร้ายแรงต่าง ๆ ที่ไม่อาจคาดฝัน ร่วมถึงสถานการณ์อันตรายที่คุกคามต่อชีวิตของผู้นั้น หรือคนอื่น ๆ ทั้งที่ต้องตกเป็นผู้เผชิญกับเหตุการณ์เองโดยตรง
PTSD โรคทางใจในเด็ก
หรืออาจได้เห็นเป็นพยานรับรู้ในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่มีความร้ายแรงส่งผลต่อสภาพจิตใจ รวมถึงการสูญเสียบุคคลที่รักในเหตุการณ์นั้น ๆ ทำให้ส่งผลเกี่ยวกับความเคียด เพราะเหตุการณ์นั้นมีความรุนแรงมากพอที่จะทำให้เกิดอาการ และปัญหาในการยอมรับปรับตัว เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่ความเครียดจากการสูญเสียทั่วไป แต่เป็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงเกินกว่าปกติ
อ้างอิงจาก โรงพยาบาลพยาไท เมื่อเด็กเป็นโรค PTSD พญ.ชนนิภา บุตรวงศ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น อธิบายว่า ความแตกต่างของโรคptsd ในเด็กและผู้ใหญ่นั้น คือ ปัญหาเรื่องการสื่อสาร และการแสดงออก เมื่ออาการนี้เกิดขึ้น ในผู้ใหญ่อาจจะมีการแสดงอาการที่ตรงไปตรงมา สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมอย่างชัดเจน และยังสามารถอธิบายอาการได้ว่าเขามีความคิดอย่างไร เห็นภาพอะไร หรือกำลังรู้สึกอะไรอยู่
แต่เมื่อโรค PTSD เกิดขึ้นในเด็ก แม้จะมีการแสดงออกทางกายที่เหมือนกับผู้ใหญ่ แต่ในการสื่อสารและการอธิบายอาการที่เป็นอยู่นั้นจะค่อนข้างยากลำบาก เนื่องจากเด็กยังไม่มีความเข้าใจต่อโรค ไม่เข้าใจสภาวะของตัวเอง และไม่รู้จักวิธีการที่จะสื่อสารอาการของตัวเองออกไปได้มากนัก ดังนั้นผู้ปกครองจะทราบโดยการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งมักพบว่าเด็กจะเสียทักษะทางพัฒนาการบางอย่างที่เคยทำได้และมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างน้อยลง
บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 วัฒนธรรม ต่างชาติ ที่เด็กต้องรู้ ! เพื่อไม่ให้เผลอสร้างบาดแผลในจิตใจของคนอื่น
อาการของ PTSD คือ กลุ่มอาการที่เกิดได้กับทุกเพศและวัย
โรค ทาง ใจ ในเด็ก
- คิดว่าอยู่ในเหตุการณ์นั้น (Re-experiencing) การคิดวนเวียนถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ หรือบางครั้งนึกถึงความทรงจำเลวร้ายนั้นขึ้นมาเอง ทำให้รู้สึกเหมือนต้องไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำไปซ้ำมาจนทำให้เกิดอาการตกใจกลัว (Flashback) ฝันถึงเหตุการณ์เหล่านั้นซ้ำ ๆ หรือมีปฏิกิริยาทางร่างกายและจิตใจเวลาต้องเจอสัญลักษณ์ สิ่งของหรือสถานการณ์ที่ลักษณะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา
- กลัวและหลีกเลี่ยง (Avoidance) กลัวสถานที่ หรือสถานการณ์หลังจากประสบเหตุการณ์นั้น ๆ อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงที่จะคิดและรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์
- มีความรู้สึกนึกคิดในทางลบ (Negative alteration of cognition and mood) คือการไม่มีอารมณ์ในทางบวก ไม่มีความสุขและไม่สนใจที่จะร่วมกิจกรรมนั้น ๆ การรู้สึกแปลกแยกจากผู้อื่น มีความเชื่อและคาดหวังที่เป็นไปในทางลบอย่างต่อเนื่อง มีการตีความขยายออกไปในทางลบ บางรายไม่สามารถจดจำส่วนที่สำคัญของเหตุการณ์นั้นได้ ทำให้อาจมีความคิดบิดเบือนจากสาเหตุและผลลัพท์ที่เกิดขึ้นตามมาของเหตุการณ์ ซึ่งความคิดดังกล่าวจะนำไปสู่การตำหนิตัวเองและคนอื่น
- อาการตกใจและหวาดกลัว (Hyperarousal symptoms) เป็นอาการคอยจับจ้อง คอยระวังตัว ตื่นตัว และมักมีอาการหงุดหงิด ตกใจง่าย โกรธง่าย รวมถึงสะดุ้งและผวาง่ายขึ้นกับเสียงดัง ๆ ส่งผลให้ขาดสมาธิ นอนหลับไม่สนิท หลับยาก หรือชอบสะดุ้งตื่นในขณะที่นอนหลับ
วิธีการรักษา PTSD การรักษาทางด้านจิตใจ
เด็ก กับ โรค PTSD
- Trauma-Focused Cognitive Therapy สำรวจ และพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยแนะนำวิธีการที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายกับการเผชิญสิ่งที่ทำให้ตื่นกลัว ปรับเปลี่ยนความเชื่อ และความคิดบิดเบือนเกี่ยวกับอาการ หรือเหตุการณ์ครั้งนั้น ฝึกให้ควบคุมความรู้สึกนึกคิด และรับมือกับอารมณ์ของตนเองได้ โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้าใจโดยการให้ความรู้ผู้ปกครอง รวมทั้งให้ทักษะผู้ปกครองในการช่วยปรับ และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ลูกอย่างถูกต้อง
- Cognitive-Behavior Therapy (CBT) การทำจิตบำบัดรายบุคคล พ่อแม่มีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา Child-Parental Psychotherapy ,Family Therapy ถือเป็นการร่วมสำรวจแก้ไขจิตใจ อารมณ์ และหาวิธีการที่เหมาะสมที่พ่อแม่จะสามารถช่วยเด็กได้ แก้ไข และเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม โดยการให้ความรู้กับคุณพ่อคุณแม่ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโรค PTSD
โรค ทางใจในเด็กสุขภาพจิตของพ่อแม่ของเด็กที่แสดงออกถึงความวิตกกังวล ซึมเศร้าหลังเกิดเหตุการณ์มีส่วนสำคัญต่อการเกิด PTSD ในเด็ก ได้ รวมถึงการที่พ่อแม่ไม่สนับสนุน ไม่ให้กำลังใจ ไม่เป็นมิตรกับเด็ก การเลี้ยงดูแบบบังคับ
วิธีรับมือกับลูกเมื่อลูกมีอาการ
- พยายามรับฟังปัญหา เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีอาการเข้าข่ายโรคนี้ ให้คุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ เปิดใจและรับฟังลูกน้อยของเราอย่างอบอุ่น ให้พวกเขารู้สึกสบายใจที่ได้มีคุณอยู่ข้าง ๆ และรับฟังปัญหาของพวกเขา และค่อย ๆ ปลอบประโลมและให้คำแนะนำแก่พวกเขา
- ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้ใช้ชีวิต อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ทุก ๆ อย่างในชีวิตเหมือนเดิมหลังจากผ่านเหตุการณ์ที่ร้ายแรงจนส่งผบกระทบต่อจิตใจ แต่การปล่อยให้เด็กได้ใช้ชีวิตเป็นวิธีการทำให้เขาได้รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น ในขั้นตอนนี้อาจจะต้องได้รับการช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คุณครู หรือบุคคลในครอบครัวคนอื่น ๆ
- พยายามมอบความมั่นใจให้กับเด็ก ๆ บางครั้งเด็ก ๆ ก็เสียความมั่นใจลงเมื่อผ่านเหตุการณ์ใดมาก็ตามที่ส่งผลกระทบ การให้พวกเขาได้ลองตัดสินใจ และพยายามมอบความมั่นใจให้แก่พวกเขาเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำ มันเป็นการปลูกฝัง ไม่ควรต่อว่าหรือตำหนิลูก พยายามชมเชยพวกเขาบ่อย ๆ
- หากการรับมือที่กล่าวไม่สามารถบรรเทาพฤติกรรมที่เด็ก ๆ แสดงออกมาและเข้าข่ายโรค PTSD ให้คุณพ่อคุณแม่พาพวกเขาเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นการดีที่สุด อย่าปล่อยปละละเลยสิ่งนี้เพียงเพราะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมันอาจจะส่งผลเสียมากกว่าที่คิด
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่และบุคคลที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ๆ อย่าลืมเอาใจใส่และดูแลลูกหลานของท่านไว้ คอยสังเกตลูก ๆ หลาน ๆ ของตนเองหลังจากผ่านเหตุการณ์รุนแรงมาแล้ว เพื่อเป็นการรับมือและป้องกันกับปัญหาที่ตามมาในภายหลังได้อย่างทันท่วงที
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
กรมควบคุมโรค เตือนให้ เฝ้าระวัง โรคไข้เลือดออกในเด็ก ในช่วงนี้!!
ศูนย์ควบคุมโรค เผยอันตราย เจลล้างมือและเด็ก ข้อเสียของเจลล้างมือ
เสริมภูมิคุ้มกันเด็กเล็ก วัย 1-3 ปี อย่างไรใน สถานการณ์โรคระบาด
ที่มา : บริษัทคลินิคจิต-ประสาท , samitivejhospitals , phyathai
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!