มีใครกำลังมองหาวิธีที่จะช่วยให้ลูกสูงขึ้นบ้างหรือไม่ อยากให้ลูกสูง 180 เซนติเมตร จะเป็นไปได้หรือไม่ มีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวกำหนด จะช่วยให้ลูกสูงขึ้นได้ด้วยวิธีไหน หรือลูกจะมีส่วนสูงประมาณไหน ต้องลองอ่านบทความนี้ดู
ลูกจะสูงเท่าไหร่ อยากให้ลูกสูง 180 ได้ไหม ?
วัดจากมาตรฐานส่วนสูงของคนไทย ส่วนสูง 180 เซนติเมตร ถือว่าเป็นคนที่ตัวสูงมาก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องการให้ลูกสูงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะสามารถเสริมบุคลิกภาพ และช่วยในเรื่องอื่น ๆ ได้ แต่จะเป็นไปได้ไหม ที่จะมีวิธีที่ทำให้เด็กทุกคนสูงถึง 180 เซนติเมตรได้ ถึงแม้คุณพ่อและคุณแม่จะไม่ได้ตัวสูงถึงระดับนั้น เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ที่จะเป็นตัวกำหนดส่วนสูงของลูกอย่างแท้จริง
บทความที่เกี่ยวข้อง : กลัวลูกเตี้ย แม่ต้องทำไง แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน นอนดึกมีผลต่อความสูงจริงไหม
4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อส่วนสูงของลูก
สิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดส่วนสูงโดยรวมขอลูกมาจากทั้งปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ และปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ปกครองจึงควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ก่อนว่าส่งเสริมให้ลูกมากแค่ไหน ได้แก่
- กรรมพันธุ์ : กรรมพันธุ์ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญมาก ด้วยการถ่ายทอดลักษณะผ่านยีน จากพ่อแม่ไปสู่ลูกในแต่ละรุ่น หากพ่อแม่ไม่สูง ก็จะทำให้ลูกไม่สูงตามไปด้วย ปัจจัยกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่แก้ไม่ได้ อย่างไรก็ตามหากเด็กได้รับการดูแลที่ถูกต้องก็ยังมีโอกาสเพิ่มโอกาสสูงได้อยู่
- ภาวะโภชนาการ : อาหารมีส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับวัยเจริญเติบโต เพราะจำเป็นสำหรับพัฒนาการของกล้ามเนื้อ, กระดูก และระบบประสาท ควรทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะแคลเซียมวันละประมาณ 800 – 1,200 มิลลิกรัม / วัน
- สุขภาพร่างกาย : การเป็นโรคประจำตัวบางโรคส่งผลต่อพัฒนาการของร่างกาย เช่น การเจ็บป่วยเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคทางเดินอาหาร, โรคต่อมไร้ท่อ และโรคกระดูก เป็นต้น ทำให้ลูกมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กทั่วไป ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาก่อน
- ฮอร์โมน : ฮอร์โมนที่เป็นตัวแปรสำคัญของความสูงโดยตรงก็คือ ฮอร์โมนความสูง (Growth hormone), ฮอร์โมนเพศ (Sex hormone), ฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid hormone) และฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid) หากมีฮอร์โมนเหล่านี้มีน้อย หรือผิดปกติ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานได้
วิดีโอจาก : สังเวียนสูงวัย
สูตรทำนายหาส่วนสูงลูก หาส่วนสูงโดยประมาณล่วงหน้า
แม้ลูกจะยังเล็ก หรืออาจจะยังเป็นทารกในครรภ์อยู่ ก็สามารถคำนวณหาส่วนสูงของลูกล่วงหน้าไว้ได้ โดยเรามีสูตรมาแจกให้ แต่ต้องบอกก่อนว่า สูตรนี้เป็นเพียงการคาดการณ์โดยประมาณเท่านั้น เพราะส่วนสูงของลูกยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ที่เรากล่าวไปด้านบนด้วย
- ลูกชาย : ให้นำความสูงของพ่อมา + ความสูงของแม่ + 13 จากนั้นนำมาหารด้วย 2 แล้ว + 8 จะได้ผลลัพธ์โดยประมาณ เช่น พ่อสูง 170 ซม. ความสูงของแม่ 160 ซม. สูตรก็คือ 170+160 = 330 ต่อมา 330 + 13 = 343 ต่อมา 343 ÷ 2 = 171.5 และ 5 + 8 = รวมทั้งหมด 179.5 เซนติเมตร เป็นต้น
- ลูกสาว : ให้นำความสูงของพ่อมา + ความสูงของแม่แล้ว – 13 จากนั้นนำมาหารด้วย 2 แล้วจึง + 6 เช่น พ่อสูง 170 ซม. ความสูงของแม่ 160 ซม. สูตรก็คือ 170+160 = 330 ต่อมา 330 -13 = 317 ต่อมา 317 ÷ 2 = 158.5 และ 5 + 6 = รวมทั้งหมด 164.5 เซนติเมตร เป็นต้น
4 วิธีช่วยลูกพิชิตส่วนสูง 180 เซนติเมตร
วิธีที่จะสามารถช่วยให้ลูกมีส่วนสูงที่เพิ่มมากขึ้นได้ ถ้าจะให้ดูวิธีแต่ละอย่างก็จะพบว่าเป็นวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นที่ทุกคนน่าจะรู้จักคุ้นเคยกัน แต่จะทำครบทุกข้ออาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะดูแลลูกในแนวทางที่ถูกต้อง เป็นการปลูกฝังลูกไปในตัว แถมยังช่วยให้สูงขึ้นได้ ดังนี้
1. ออกกำลังกายเป็นประจำ
วิธีเพิ่มความสูงให้ลูกด้วยการชวนไปออกกำลังกาย เล่นกีฬาที่ลูกชอบ สามารถทำได้เป็นครอบครัว ช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวไปด้วยในตัว เช่น เต้นแอโรบิก, กระโดดเชือก หรือกีฬาที่เล่นเป็นทีมอย่างบาสเกตบอล เป็นต้น ควรออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 3 – 4 ครั้ง / สัปดาห์ ยิ่งลูกเคลื่อนไหวร่างกาย ยืดแขนยืดขาผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ จะสามารถช่วยให้ลูกมีส่วนสูงที่เพิ่มมากขึ้นได้ ประกอบกับยังทำให้ร่างกายแข็งแรง ฝึกตั้งแต่เด็กโตไปจะเป็นนิสัยที่ชอบออกกำลังกาย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี
2. พักผ่อนให้เพียงพอ
ฮอร์โมน ที่ชื่อ “Growth Hormone” มีความสำคัญต่อการเติบโตของร่างกาย และจะหลั่งออกมาได้ดีก่อน 3 ทุ่ม ดังนั้นจึงควรฝึกลูกให้นอนแต่หัววันไม่เกิน 3 ทุ่ม ฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยให้กระดูกยืดได้มากขึ้น อีกทั้งการฝึกนอนให้เป็นเวลา และนอนไม่ดึก เป็นการลงทุนกับร่างกายของลูกในระยะยาว เพราะจะทำให้ลูกมีนิสัยนอนไม่ดึก ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอในแต่ละวัน พร้อมสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมเรียนรู้ และเล่น จะยิ่งส่งผลดีต่อลูกมากขึ้นไปอีก
3. เน้นโปรตีน และแคลเซียม
หากจะกล่าวถึงสารอาหารที่สำคัญต่อการเติบโตของกล้ามเนื้อ และกระดูก คงหนีไม่พ้นโปรตีน และแคลเซียมแน่นอน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องกินเอาสารอาหารแค่ 2 ชนิดนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตามการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ก็ยังต้องทำ แต่แค่แบ่งสัดส่วนให้มีโปรตีน และแคลเซียมมากขึ้นอีกหน่อย โดยโปรตีนจะหาได้จากนม, เนื้อสัตว์ และไข่ ส่วนแคลเซียมจะหาได้จากผักคะน้า, นมถั่วเหลือง, ปลาแซลมอน และอัลมอนด์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องเลี่ยง หรือให้ลูกกินขนมขบเคี้ยว หรือน้ำอัดลมให้น้อยที่สุดด้วย
4. สังเกตอาการป่วย และตรวจสุขภาพ
ความเสี่ยงต่อโรคร้าย หรือโรคเรื้อรังไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว ในเด็กเองก็ต้องระวังด้วย เพราะเชื้อโรคเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น และอยู่ทุกที่ ผู้ปกครองควรสังเกตอาการผิดปกติของลูก เพราะธรรมชาติของเด็กจะไม่ค่อยเข้าใจว่าตนเองเป็นอะไรหรือเปล่า หากมีอาการใด ๆ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ หากพบโรคจะได้รักษาได้ทัน นอกจากนี้ควรปลูกฝังนิสัยในการรักการตรวจสุขภาพให้กับลูก ด้วยการพาไปตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้รู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงในด้านใด สำหรับใช้ในการปรับตัวในปีต่อ ๆ ไป
ถึงแม้จะทำวิธีเหล่านี้แล้วแต่ลูกก็ไม่ได้สูงถึง 180 เซนติเมตร ผู้ปกครองก็อย่าน้อยใจไป เพราะคงเป็นเรื่องยากหากพ่อหรือแม่สูงไม่ถึง 180 เซนติเมตร และเรื่องส่วนสูงก็ไม่ใช่ทุกสิ่งในชีวิตของลูก ยังมีอีกหลายสิ่งที่ผู้ปกครองสามารถสนับสนุน และช่วยเหลือลูกได้ต่อไป
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อยากให้ลูกสูง ไม่ยาก รวม 10 อาหารที่ทำให้ลูกตัวสูง อยากให้ลูกตัวสูง
วิธีเพิ่มความสูงให้ลูก ด้วยการออกกำลัง โดยไม่ต้องผ่าตัด
ลูกตัวเตี้ย ต้องไปหาหมอเลยหรือ แล้วเตี้ยแค่ไหนถึงเรียกผิดปกติ
ที่มา : professgrow, medicacenters, parentsone
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!