แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน แล้วตอนนี้ลูกเตี้ยเกินไปหรือเปล่า พัฒนาการด้านร่างกายของลูก เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเคลื่อนไหว การทรงตัว การกระโดด รวมไปถึง น้ำหนัก ส่วนสูง ของลูกด้วยเช่นกันเรามาไขข้อข้องใจเรื่องความสูงของลูกในบทความนี้กันเลย
แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน ลูกเตี้ยกว่าปกติหรือเปล่า
ถ้าไม่อยากให้ลูกเตี้ย แม่ต้องสังเกตให้ดีว่า แต่ละปีลูกเราสูงขึ้นกี่เซนแล้ว ลูกเราเตี้ยกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือเปล่า โดย แพทย์หญิงนวลผ่อง เหรียญมณี กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโรคต่อมไร้ท่อ เบาหวานและการเจริญเติบโตสุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2 อธิบายไว้ว่า ปัญหาพื้นฐานที่ทำให้ลูกเตี้ยมีอยู่ 2 ข้อ
- ร้อยละ 60 ที่เด็กเตี้ยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มาจากพันธุกรรม คือ ความสูงของพ่อแม่มีผลต่อความสูงของลูก พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าพ่อแม่ไม่สูง ลูกก็จะไม่สูงตามไปด้วย
- การผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย ‘ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน’ หรือ ‘ภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต’ คือสองตัวแปรสำคัญที่ทำให้เด็กไม่โตสมวัยได้
คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องสังเกต การเพิ่มความสูงของลูกในแต่ละปี ดังนี้
- แรกเกิดจนถึง 1 ปีจะเพิ่มขึ้น 25 เซนติเมตร
- อายุ 1 ขวบจนถึง 2 ขวบ จะเพิ่มขึ้น 10-12 เซนติเมตร
- อายุ 2 ถึง 4 ปีจะเพิ่มขึ้นที่ 6-8 เซนติเมตร
- อายุ 4 ถึง 10 ปีจะเพิ่มขึ้นที่ 5 เซนติเมตร
เมื่ออยู่ในช่วงโตเต็มที่ ผู้ชายจะมีความสูงมากกว่าผู้หญิง โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 160-180 เซนติเมตร ส่วนผู้หญิงจะอยู่ที่ประมาณ 150-170 เซนติเมตร นอกจากนี้ ความสูงของลูกยังมีฮอร์โมนตัวสำคัญ เรียกว่า Growth Hormone ฮอร์โมนเจริญเติบโต ที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมอง มีหน้าที่ให้เด็กมีการเจริญเติบโตปกติตามวัย ถ้าเกิดความผิดปกติที่ต่อมใต้สมอง ก็จะทำให้กระทบต่อการผลิต Growth Hormone และนำมาซึ่งการเติบโตที่ช้าและตัวเตี้ย
วิธีตรวจดูว่าลูกจะสูงหรือเตี้ย ในทางการแพทย์ ทำอย่างไร
- ตรวจดูอายุกระดูก และ/หรือ เจาะเลือดเบื้องต้นดูว่าขาดสารอาหารหรือไม่
- เจาะเลือดวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์และฮอร์โมนการเจริญเติบโต
โดยแพทย์หญิงนวลผ่อง เล่าเพิ่มเติมว่า วิธีรักษา ทำได้โดยการฉีดฮอร์โมนเติบโตเข้าสู่ร่างกาย โดยฉีดฮอร์โมนเข้าไปใต้ผิวหนัง การฉีดฮอร์โมนในคนไข้ที่มีระดับภาวะฮอร์โมนเจริญเติบโตที่ต่ำมาก ๆ จะได้ผลดี ทำให้เด็กมีความสูงเพิ่มขึ้น
เคล็ดลับ ปรับนิสัย “กิน เล่น พัก” ช่วยให้ลูกเติบโตสมวัย
พ่อแม่ต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้ลูกรัก หมั่นเติมอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วงส่งเสริมการผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตได้ ลองทำตามวิธีเหล่านี้ดูค่ะ
- กินเป็นกิน พ่อแม่ต้องส่งเสริมอาหารที่ดีให้ลูก อาหารที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโต และกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ดีคือ เนื้อสัตว์ และนมจืด เป็นต้น
- เล่นเป็นเล่น พ่อแม่ต้องกระตุ้นให้ลูกใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ออกกำลังกายให้เหงื่อไหล ไม่ว่าจะเป็น จักรยาน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือ แบดมินตัน
- นอนเป็นนอน งานวิจัยจากต่างประเทศ Washington University School of Medicine เผยว่า ระยะเวลาของการนอนหลับมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนเจริญเติบโต ฉะนั้น เด็กในวัยเจริญเติบโต ไม่ควรนอนดึกจนเกินไป
หากพบว่า ความสูงลูกต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ลองปรึกษาตรวจเช็คเรื่องพัฒนาการกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะได้แก้ปัญหาอย่างตรงจุด!
ดูแลลูกรักให้มีพัฒนาการดี เติบโตสมวัย สูงสมส่วน มีน้ำหนักตามเกณฑ์
รับฟรี พีเดียชัวร์ ขนาดทดลอง คลิกที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ชวนแม่มือใหม่มาเรียนรู้ ร่างกายทารก ลูกของคุณแม่เป็นแบบนี้หรือเปล่านะ
ทารกตัวยาวโตขึ้นจะสูงไหม? พร้อมวิธีคำนวณความสูงลูก
กระโดดเชือก ดีอย่างไร ช่วยเพิ่มความสูงลูกจริงหรือไม่ ?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!