ปัญหาการ นอนกรน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ชาย ซึ่งสาเหตุของอาการนอนกรน สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น น้ำหนักตัวมาก คอสั้น จมูกอักเสบ โพรงจมูกอักเสบ ฟันสบกันไม่ดี เป็นต้น
สำหรับคุณแม่ที่ต้องนอนเคียงข้างสามีที่นอนกรนเป็นประจำ คงจะทราบดีว่าปัญหานี้อาจสร้างความรำคาญและรบกวนการนอนไม่น้อย ยิ่งหลังจากที่ต้องเลี้ยงดูเจ้าตัวเล็กทั้งวันแล้ว ปัญหานี้อาจทำให้คุณแม่เองนอนไม่หลับ อ่อนเพลียในตอนกลางวัน ส่งผลเสียต่อสุขภาพและความสัมพันธ์ในครอบครัวได้
เมื่อคุณพ่อ นอนกรน แม่กับลูกถึงขั้นนอนไม่ได้ สุดท้ายจัดการด้วยวิธีนี้!
วันที่ 28 ธันวาคม 2023 ที่มณฑลกุ้ยโจว มีคลิปวิดีโอของครอบครัวสามพ่อแม่ และ ลูกน้อยในวัย 15 เดือน กำลังนอนอยู่ในห้อง แต่เสียงกรนอันโหดร้ายของพ่อดันไม่ยอมปล่อยให้แม่กับลูกน้อยได้พักผ่อนสักงีบ!
โดยคลิปดังกล่าวเป็นวงจรปิดห้องนอนของครอบครัว ระบุเวลา 22.52 น. ของวันที่ 28 ธ.ค. ที่ผ่านมา เผยให้เห็นภาพคุณแม่และเจ้าตัวเล็กวัย 15 เดือนกำลังนอนกอดกันบนเตียงอย่างสงบ แต่ใบหน้าทั้งสองกลับเต็มไปด้วยความเหนื่อยล้า สาเหตุก็เพราะเสียงกรนอันทรงพลังของคุณพ่อที่ดังสนั่นราวกับฟ้าร้องทำให้ทั้งแม่และลูกน้อยนอนตาไม่ติด พยายามหลับไปสักทีก็ยากเหลือเกิน
จนสุดท้าย ลูกน้อยวัย 15 เดือน ทนเสียงกรนไม่ไหว ลุกขึ้นย่องไปหาพ่อแล้วฟาดมือปลุกเบา ๆ เหมือนจะบอกให้หยุดกรน เสียงพ่อเงียบลงไปชั่วครู่ เด็กน้อยก็กลับไปนอนต่ออย่างสบายใจ แต่ไม่นานหลังจากนั้น เสียงกรนก็กลับมาอีก เด็กน้อยก็ไม่รอช้า ฟาดมือลงบนตัวพ่ออีกครั้ง! ผู้เป็นแม่เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด อดหัวเราะไม่ได้กับวิธีลงโทษคุณพ่อแบบน่ารักของลูกน้อย
ที่มา : Instagram : medialahmy
ซึ่งเหตุการณ์สุดน่ารักน่าเอ็นดูในครั้งนี้ได้ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์ และได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นจำนวนมาก ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นถึงความน่ารักและน่าเอ็นดูของครอบครัวนี้ นอกจากนี้หลาย ๆ คนยังชื่นชมคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยความรักและความอบอุ่น ทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยและสบายใจ
อาการ นอนกรน คืออะไร?
การ นอนกรน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1) การนอนกรนแบบธรรมดา
โดยเป็นการนอนกรนที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น น้ำหนักเกิน คอหนา จมูกอุดตัน หรือต่อมทอนซิลโต การนอนกรนแบบธรรมดาไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจทำให้นอนหลับไม่สนิท เหนื่อยล้าในระหว่างวัน และรบกวนผู้อื่นได้
2) การนอนกรนแบบอันตราย
เป็นการนอนกรนที่เกิดจากปัจจัยภายใน เช่น กล้ามเนื้อคอหย่อนตัว เพดานอ่อนหย่อนตัว หรือลิ้นใหญ่ นอนกรนแบบอันตรายอาจก่อให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ซึ่งเป็นภาวะที่ทางเดินหายใจส่วนบนปิดสนิทเป็นเวลานานกว่า 10 วินาที ซึ่งถ้าหากภาวะหยุดหายใจเกิดขึ้นขณะที่เรานอนหลับอยู่ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกนอนกรน ปกติไหม ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า
ปัญหาการ นอนกรน อันตรายไหม?
อย่างที่ได้บอกไปข้างต้น ว่าการนอนกรนแบบอันตราย คือการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ร่วมด้วย ซึ่งถ้าหากคุณพ่อคุณแม่รู้สึกได้ว่าตนเองหรือคู่ของคุณมีภาวะนี้ขณะนอนหลับ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาทันที เพราะโรค OSA นี้จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้หลายอย่าง
ความรุนแรงและอันตรายของการนอนกรน สามารถแบ่งได้ 2 ระดับ ดังนี้
อันตรายในระยะสั้น:
- ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง ไม่สดชื่น รู้สึกเหมือนนอนไม่พอ
- จะรู้สึกเหนื่อยล้า ง่วงมาก ๆ ในช่วงเวลากลางวัน อาจหลับในเวลาทำงาน หรือขับรถได้
อันตรายในระยะยาว:
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- อาจเกิด ภาวะ Stroke ทำให้เป็นอัมพฤกษ์และอัมพาตได้
- โรคซึมเศร้าได้
- โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
วิธีการรักษาอาการ นอนกรน และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ผู้ที่มีปัญหาการนอนกรนในระยะเริ่มต้น สามารถเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตประจำวันได้ เช่น การออกกำลังกายและการลดน้ำหนัก งดดื่มสุราหรือรับประทานอาหารก่อนเวลานอน ไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง แต่ถ้าหากผู้ที่มีปัญหาการนอนกรน ในระดับอันตรายระยะยาว ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น การผ่าตัดเนื้อเยื่อคอ ขากรรไกร ลิ้น หรือลิ้นไก่ เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น หรือ การใช้เครื่องเป่าลมในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Continuous Positive Airway Pressure Titration) และนอกจากนี้ยังมีการใช้เครื่องมือในช่องปาก ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ลดค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดได้อีกด้วย
ซึ่งวิธีการรักษาปัญหาการนอนกรน และ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนั้น ควรพิจารณาจากความรุนแรงของอาการ ความเหมาะสม และรวมไปถึงความร่วมมือของตัวผู้ป่วยเองด้วย โดยผู้ป่วยจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น ตรวจสอบการนอนหลับ (polysomnography) เพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับและวัดดูระดับความรุนแรงของโรคนี้
ที่มา : Bangkok Hospital, Vital Sleep
ทั้งนี้ ถึงแม้การนอนกรนส่วนใหญ่จะไม่ได้ไม่ร้ายแรงมาก แต่ก็มีกรณีที่ต้องระวัง! การนอนกรนแบบรุนแรงอาจเป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถส่งผลต่อสุขภาพได้ ควรสังเกตอาการ หากเหนื่อยล้า นอนไม่พอ มีประวัติโรคหัวใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ฝันร้ายกับละเมอฝันผวา ต่างกันอย่างไร?
มาแน่! โรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว
ทารกหลับยาก แม่ทำไงดี มาดูวิธีกล่อมลูกให้หลับใน 5 ขั้นตอน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!