X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกหลับยาก แม่ทำไงดี มาดูวิธีกล่อมลูกให้หลับใน 5 ขั้นตอน

บทความ 5 นาที
ทารกหลับยาก แม่ทำไงดี มาดูวิธีกล่อมลูกให้หลับใน 5 ขั้นตอน

ถ้าคุณพ่อคุณแม่กำลังเผชิญกับปัญหา ทารกหลับยาก เจ้าตัวน้อยแรกเกิดที่ไม่ยอมนอนง่าย ๆ มาเรียนรู้เคล็ดลับที่จะทำให้ลูกน้อยนอนหลับได้ยาว ๆ จากผู้เชี่ยวชาญที่ได้ทดลอง และพิสูจน์มาแล้วว่าจะช่วยคุณพ่อคุณแม่ ทำให้ลูกน้อยได้นอนนานในยามค่ำคืน

เป็นเรื่องปกติ ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ จะต้องเจอกับ ทารกหลับยาก ในตอนกลางคืน การพาลูกเข้านอนไม่ใช่เรื่องง่าย มองผ่าน ๆ อาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่สำหรับพ่อแม่มือใหม่ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องอดหลับอดนอนในตอนกลางคืนบ่อย ๆ จนเหนื่อย วันนี้ เราเลยจะมาแนะนำวิธีกล่อมเด็กที่ได้ผลดี ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่กัน จะมีวิธีไหนบ้าง มาดูกันเลย

 

กล่อมลูก ทำยังไงให้เด็กหลับปุ๋ยได้ไว

ลูกนอนยาก ลูกไม่ยอมนอน เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านหนักใจอยู่ไม่น้อย “คุณแม่ขา หนูยังไม่ง่วง” “คุณพ่อครับ ผมอยากเล่นต่ออีก!” “หนูหิว หนูอยากไปห้องน้ำ!” คุณพ่อคุณแม่คงจะคุ้นเคยกับประโยคเหล่านี้กันดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ อาจเป็นสิ่งที่ลูกพูดกับเราคืนแล้วคืนเล่าเพราะยังไม่อยากเข้านอน และถึงแม้ว่าจะทำให้ลูกเข้านอนได้แล้ว แต่ไม่นานลูกก็สามารถหาเหตุผลอื่นเพื่อลุกขึ้นมาจากเตียงได้อยู่ดี หากคุณพ่อคุณแม่ต้องพบเจอกับปัญหาเหล่านี้ในช่วงกลางคืนบ่อย ๆ ลองใช้วิธีต่อไปนี้เลย

 

1. เข้านอนในเวลาเดิม

เพื่อให้ลูกเคยชินกับตารางเวลา และรู้ว่าเมื่อไหร่คือเวลานอนของตัวเอง นอกจากจะช่วยให้เด็กง่วงในเวลาเดิม ๆ ได้แล้ว ยังทำให้เด็กได้ประโยชน์จากการบริหารเวลาอีกด้วยเมื่อเด็กโตขึ้น ซึ่งก็เคยมีคุณแม่ท่านหนึ่งแบ่งปันประสบการณ์ให้เราฟัง ว่าครอบครัวของเธอ เริ่มต้นกิจวัตรยามเย็นด้วยการอาบน้ำ จากนั้นก็เป็นการเล่านิทานก่อนนอน และปิดไฟ ทำแบบนั้นกันตั้งแต่ลูกอายุได้เก้าเดือน จนลูกชินและไม่งอแงตอนที่ต้องเข้านอน

 

2.  ฟังเหตุผลของลูกก่อน

หากลูกลุกขึ้นมาจากเตียง ให้ฟังเหตุผลของลูกก่อน หากลูกลุกขึ้นมาโดยบอกว่าตัวเองหิวน้ำ ก็ให้หาแก้วน้ำหรือหาขวดน้ำมาวางไว้ที่โต๊ะข้างเตียง เพื่อที่ลูกจะได้ดื่มได้และเข้านอนต่อ แต่หากลูกอ้างว่าอยากเข้าห้องน้ำ ก็ให้พาลูกเข้าห้องน้ำก่อนเข้านอนเสีย เขาจะได้ไม่มีข้ออ้างอีก

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ : เคล็ดลับสร้างตารางนอนทารก ให้ลูกนอนเป็นเวลา

 

กล่อมลูก 1 ทารกหลับยาก ลูกไม่ยอมนอน  กล่อมลูก กล่อมทารกนอน กล่อมเด็ก ให้นอนง่าย ๆ ทำยังไงได้บ้าง

 

3. ให้ลูกทำสิ่งต่าง ๆ ให้เสร็จก่อนเข้านอน

ก่อนเข้านอน ให้ถามลูกว่าลูกอยากได้อะไร หรือต้องทำอะไรก่อนนอนหรือเปล่า หากลูกปฏิเสธว่าไม่อยากได้อะไรแล้ว แต่ยังคงลุกขึ้นมาจากเตียงตอนกลางคืน คุณก็จะได้บอกลูกได้ว่า ตอนนั้นลูกบอกว่าไม่ต้องการอะไรแล้ว และให้จัดการส่งลูกเข้านอนต่อได้เลย

 

4. ให้รางวัลเมื่อเด็กทำได้ดี

บางครั้งการให้รางวัลก็ได้ผลเหมือนกัน หากลูกนอนอยู่กับเตียงและไม่ลุกไปไหนเลยในคืนแรก อาจจะลองให้รางวัลลูกเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือให้คำชมก็ได้ รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรใหญ่โต แค่สติ๊กเกอร์ ขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือรูปหน้ายิ้มปั๊มที่หลังมือก็เพียงพอแล้ว

 

5. ทารกหลับยาก ควรให้ลูกนอนกลางวันน้อยลง

หลาย ๆ ครั้ง เด็กมักจะตื่นตัวในตอนกลางคืนและไม่ง่วงเพราะนอนกลางวันเยอะจนร่างกายกระปรี้กระเปร่า หากเด็กไม่ยอมนอนตอนกลางคืนเลยจริง ๆ ให้ลองชวนเด็กเล่นในตอนกลางวันดูได้ เพื่อที่เขาจะได้ง่วงไวในตอนกลางคืน แต่ก็อย่าให้เด็กอดนอนช่วงกลางวันเยอะจนเกินไป เพราะเด็กอายุน้อย ๆ ยังคงต้องการนอนวันละหลาย ๆ ชั่วโมงอยู่

 

ทารกหลับยาก แม่ทำไงดี มาดูวิธีกล่อมลูกให้หลับใน 5 ขั้นตอน

 

เตรียมตัวเด็กก่อนนอน ให้ผ่อนคลาย สบายตัว

ก่อนการเข้านอน คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้เด็กผ่อนคลายได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • อาบน้ำอุ่นให้ลูก และลดใช้เสียงในระหว่างการอาบน้ำ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
  • ห่อตัวลูกน้อยด้วยผ้าอ้อมที่บางเบาและอ่อนนุ่ม แต่หากเด็กอายุประมาณ 4 เดือน อาจไม่จำเป็นต้องห่อตัวแล้ว เนื่องจากหากแขนและขาเด็กถูกห่อไว้ เด็กจะไม่สามารถพลิกตัวกลับมานอนหงายได้อีก จนอาจทำให้ขาดอากาศหายใจ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • ให้ลูกน้อยดูดจุกนม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายในทารก (เด็กส่วนใหญ่จะเลิกใช้จุกนมเมื่อมีอายุประมาณ 7 เดือน)
  • เลือกชุดนอนที่เหมาะสมให้ลูก ไม่ควรเป็นชุดที่รัดหรือแน่นจนเกินไป เลือกชุดที่ทำจากผ้าฝ้าย และให้หลีกเลี่ยงชุดที่ทำจากผ้าใยสังเคราะห์ เพราะอาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว เกิดการระคายเคือง และเป็นอุปสรรคต่อการนอน
  • นวดมือลูกเบา ๆ ประมาณ 15 นาทีก่อนเข้านอน เพื่อให้กล้ามเนื้อลูกผ่อนคลาย
  • สร้างบรรยากาศสลัว ๆ ในห้อง โดยการหรี่ไฟ หรือปิดไฟให้หมด
  • เล่านิทานหรือร้องเพลงกล่อมลูกก่อนนอนเป็นจังหวะซ้ำ ๆ และเบาสบาย
  • กอดและหอมลูกก่อนนอน เพื่อเพิ่มความผ่อนคลายให้ลูก
  • เตรียมให้ลูกน้อยนอนในท่าหงาย แผ่นหลังสัมผัสกับที่นอนราบ
  • ใช้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยช่วยสร้างบรรยากาศในการนอน

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ : 10 เคล็ดลับการนอน นอนยังไงให้สุขภาพดี นอนให้ดีก็มีสุขภาพดีได้ด้วย

 

ทารกหลับยาก ทารกหลับยาก ลูกไม่ยอมนอน กล่อมลูก กล่อมทารกนอน กล่อมเด็ก ให้นอนง่าย ๆ ทำยังไงได้บ้าง

 

วิธีปราบเจ้าตัวน้อย ที่ไม่ยอมหลับไม่ยอมนอน

ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะยอมนอนง่าย ๆ โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดในช่วง 3 เดือนแรก ช่วงนี้เด็กยังไม่คุ้นเคยกับโลกภายนอก คุณแม่จึงต้องเลียนแบบโลกใบเดิมของลูก โดยอาจทำได้ดังนี้

  1. ใช้ผ้าห่อตัวลูกเอาไว้ โดยให้แขนลูกแนบข้างลำตัว ราวกับถูกโอบอุ้มไว้ด้วยอ้อมกอดแสนอบอุ่น จะช่วยทำให้ลูกรู้สึกเหมือนกลับไปอยู่ในท้องของแม่อีกครั้ง
  2. อุ้มลูกด้วยท่า Side Stomach Position เพื่อช่วยให้ลูกหลับได้ง่าย และช่วยปลอบลูกให้สงบลงได้
  3. ส่งเสียง ชู่วส์ เพื่อกล่อมให้ทารกหลับได้ง่ายยิ่งขึ้นหรือเปิดเสียง White noise ให้ลูกฟัง ซึ่งเสียง White noise คือ เสียงธรรมชาติ เช่น เสียงฝนตก เสียงลม เสียงสายน้ำ เสียงบรรยากาศในป่าไม้ เป็นต้น

 

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเทคนิคพิชิตการหลับยากของเจ้าตัวน้อย มีบ้านไหนเคยทำวิธีไหนแล้วได้ผลบ้างเอ่ย สุดท้ายแล้วถ้าการนอนไม่หลับ หรืออาการหลับยากของลูกน้อยของคุณดูเหมือนจะเป็นอาการเรื้อรัง ใช้วิธีไหนแล้วก็ไม่สามารถทำให้พวกเขานอนหลับได้อย่างมีความสุข ควรพาพวกเขาไปปรึกษาแพทย์นะคะ เพราะบางทีอาจมีสาเหตุมาจากอย่างอื่นก็เป็นได้

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

 

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

เมลาโทนิน สำหรับเด็ก ปลอดภัยจริงไหม? ผู้ปกครองควรรู้ก่อนให้ลูกกินยา

15 กิจกรรมก่อนนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย ไม่ตื่นกลางดึก

อ่านนิทานให้ลูกฟัง ยิ่งบ่อย ยิ่งดี กิจกรรมก่อนนอน เสริมความสุขในครอบครัว

ที่มา : 1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ทารกหลับยาก แม่ทำไงดี มาดูวิธีกล่อมลูกให้หลับใน 5 ขั้นตอน
แชร์ :
  • ทารกหลับยาก เป็นเรื่องปกติความที่คุณคิด วิจัยเผยว่าคือเรื่องธรรมชาติ

    ทารกหลับยาก เป็นเรื่องปกติความที่คุณคิด วิจัยเผยว่าคือเรื่องธรรมชาติ

  • วิจัยเผย ลูกนอนหลับยาก เป็นการพัฒนาการของลูกน้อย พ่อแม่ไม่ต้องกังวล!

    วิจัยเผย ลูกนอนหลับยาก เป็นการพัฒนาการของลูกน้อย พ่อแม่ไม่ต้องกังวล!

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ทารกหลับยาก เป็นเรื่องปกติความที่คุณคิด วิจัยเผยว่าคือเรื่องธรรมชาติ

    ทารกหลับยาก เป็นเรื่องปกติความที่คุณคิด วิจัยเผยว่าคือเรื่องธรรมชาติ

  • วิจัยเผย ลูกนอนหลับยาก เป็นการพัฒนาการของลูกน้อย พ่อแม่ไม่ต้องกังวล!

    วิจัยเผย ลูกนอนหลับยาก เป็นการพัฒนาการของลูกน้อย พ่อแม่ไม่ต้องกังวล!

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ